"แต่ก่อนผมเองก็เคยคิดว่า เสียงที่รัฐบาลได้มานั้น มาจากคนไร้การศึกษาบ้าง หรือมีการซื้อเสียงบ้าง
แต่เมื่อถึงจุดหนึ่งเราต้องออกไปดูว่า จริงๆแล้วสมมุติฐานเหล่านี้ถูกต้องหรือเปล่า
แน่นอนว่าไม่ว่าจะทดลอง หรือวิจัยยังไง ก็สู้การออกไปพบ ออกไปเจอจริงๆไม่ได้
สิ่งที่พบเจอ ล้านคน ก็ล้านเหตุผล มีความหลากหลาย แตกต่าง แต่ทุกคนมีเหตุผลเป็นของตัวเองทั้งนั้น
ทำให้ผมพบว่า สมมุติฐานที่ผมเคยใช้ตอนนั้น ที่ผมเคยมองว่าคนเหล่านั้นคิดไม่สู้เรา คิดไม่ทันเรา
การเปิดโลกทัศน์ครั้งนั้นของผม ทำให้ผมเข้าใจได้มากขึ้น"
"บางคนอาจบอกว่า การเลือกตั้งคือการประนีประนอมกับคนโกง
หรือเป็นการประนีประนอมกับความชั่วร้าย ซึ่งแน่นอนรัฐบาลที่จะได้รับเลือกตั้งเข้ามาก็อาจจะมีการโกง มีความชั่วร้ายอยู่
แต่ผมอยากให้มองว่า การเลือกตั้งไม่ใช่การประนีประนอมกับรัฐบาล
แต่มันคือการประนีประนอมกับคนร่วมชาติ ซึ่งแต่ละคนก็มีจุดยืนในแบบของเค้า
มีความเชื่อในแบบของเค้า เราไม่สามารถไปกำหนดได้ว่า ใครต้องคิดตามเรา หรือต้องคิดแบบเดียวกับเรา
ผมเองหลายอย่างก็เห็นด้วยกับคนอื่น หลายอย่างก็ไม่เห็นด้วย
ดังนั้นสุดท้าย เราต้องเปิดพื้นที่ให้เค้าได้แสดงความคิดเห็น ให้เค้าได้แสดงตัวตนของเค้า"
"ถ้าไม่มีการเลือกตั้งนะครับ ในกระบวนการของมัน ความรู้สึกของคนในสังคมที่แตกต่างหลากหลายนี้
จะไม่ถูกปลดปล่อยออกมา เพราะเสียงของเค้าจะไม่ถูกรับฟัง"
"และถึงแม้กระบวนการเลือกตั้งครั้งนี้จะได้รัฐบาลชุดเดิมกลับมา แต่กระบวนการนั้นจะทำให้ทุกคนรู้สึกว่า ได้ถูกรับฟังแล้ว
แต่ถ้าหากว่าเรามุ่งหน้า(ไม่ให้เลือกตั้ง)ต่อไป โดยไม่เปิดพื้นที่ตรงนั้น ผมเกรงว่าสิ่งที่เราสู้กันมา สิ่งที่เราหวังใว้ว่าจะทำเพื่อให้สังคมดีขึ้นนั้น
มันจะไม่มีความหมายอะไรเลย เพราะสุดท้ายเราจะไม่มีสันติภาพในสังคม เพราะคนที่เหลือ เค้าก็จะรู้สึกว่า สิทธิของเค้าไม่โดนยอมรับ
และจะเป็นสิ่งที่ทำให้เค้าออกมาต่อสู้เหมือนกัน"
"แต่แน่นอนว่า ยังไงเราก็ต้องปฏิรูป เพราะปัจจุบันสันติภาพระยะยาวไม่สามารถเกิดขึ้นได้ ถ้าหากเรายินยอมหลายอย่างให้กับรัฐบาลชุดนี้หรือชุดไหน
เกิดความไม่เสมอภาคขึ้นในสังคม จะไม่เกิดสันติภาพในระยะยาว ไม่ว่ารัฐบาลชุดไหนก็ตาม"
"ตัวผมเองนี่คิดว่า สำหรับสันติภาพในระยะสั้นนั้น เราต้องยอมรับการเลือกตั้งครั้งนี้ก่อน
และเพื่อสันติภาพในระยะยาว เราต้องไปปฏิรูปกันอีกยาว ช่วยกันเติม ช่วยกันแต่ง ช่วยกันปิดล็อคจุดอ่อน เสริมสร้างจุดแข็งของประชาธิปไตยให้สมบูรณ์แบบ
ซึ่งสิ่งเหล่านั้น มันไม่ทางลัดนะครับ มันเฉพาะเจาะจง แต่ละจุดนั้น เราต้องค่อยๆช่วยๆแก้ไขกันไป
ช่วยกันแก้ ช่วยกันก่อทีละจุดๆ จากอิฐทีละก้อนๆ ในการสร้างบ้านของเรา"
"แต่จะอย่างไรก็ตาม เราต้องมีพื้นเอาใว้ให้ก่ออิฐบ้าง พื้นนั้นคือสิ่งที่เราเรียกว่า "การเลือกตั้ง"ยังไงล่ะครับ!!!
และถึงแม้พื้นจะยังไม่สมบูรณ์ แต่มันก็ใช้ก่ออิฐได้แล้ว
เพียงแค่รอให้เรา มาก่อร่วมกันแค่นั้นเองครับ!
-วรรณสิงห์ ประเสริฐกุล
นักคิด นักเขียนรุ่นใหม่
ที่มา : We Vote เลือกตั้ง 2 กถมภาพันธ์ 2557
5 ม.ค. 57
-----------------
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=197583487113008&set=a.161602520711105.1073741828.161594684045222&type=1&theater
กลับบ้านเถอะ " กำนัน " ใคร ๆ ก็อยากไปเลือกตั้ง
"แต่ก่อนผมเองก็เคยคิดว่า เสียงที่รัฐบาลได้มานั้น มาจากคนไร้การศึกษาบ้าง หรือมีการซื้อเสียงบ้าง
แต่เมื่อถึงจุดหนึ่งเราต้องออกไปดูว่า จริงๆแล้วสมมุติฐานเหล่านี้ถูกต้องหรือเปล่า
แน่นอนว่าไม่ว่าจะทดลอง หรือวิจัยยังไง ก็สู้การออกไปพบ ออกไปเจอจริงๆไม่ได้
สิ่งที่พบเจอ ล้านคน ก็ล้านเหตุผล มีความหลากหลาย แตกต่าง แต่ทุกคนมีเหตุผลเป็นของตัวเองทั้งนั้น
ทำให้ผมพบว่า สมมุติฐานที่ผมเคยใช้ตอนนั้น ที่ผมเคยมองว่าคนเหล่านั้นคิดไม่สู้เรา คิดไม่ทันเรา
การเปิดโลกทัศน์ครั้งนั้นของผม ทำให้ผมเข้าใจได้มากขึ้น"
"บางคนอาจบอกว่า การเลือกตั้งคือการประนีประนอมกับคนโกง
หรือเป็นการประนีประนอมกับความชั่วร้าย ซึ่งแน่นอนรัฐบาลที่จะได้รับเลือกตั้งเข้ามาก็อาจจะมีการโกง มีความชั่วร้ายอยู่
แต่ผมอยากให้มองว่า การเลือกตั้งไม่ใช่การประนีประนอมกับรัฐบาล
แต่มันคือการประนีประนอมกับคนร่วมชาติ ซึ่งแต่ละคนก็มีจุดยืนในแบบของเค้า
มีความเชื่อในแบบของเค้า เราไม่สามารถไปกำหนดได้ว่า ใครต้องคิดตามเรา หรือต้องคิดแบบเดียวกับเรา
ผมเองหลายอย่างก็เห็นด้วยกับคนอื่น หลายอย่างก็ไม่เห็นด้วย
ดังนั้นสุดท้าย เราต้องเปิดพื้นที่ให้เค้าได้แสดงความคิดเห็น ให้เค้าได้แสดงตัวตนของเค้า"
"ถ้าไม่มีการเลือกตั้งนะครับ ในกระบวนการของมัน ความรู้สึกของคนในสังคมที่แตกต่างหลากหลายนี้
จะไม่ถูกปลดปล่อยออกมา เพราะเสียงของเค้าจะไม่ถูกรับฟัง"
"และถึงแม้กระบวนการเลือกตั้งครั้งนี้จะได้รัฐบาลชุดเดิมกลับมา แต่กระบวนการนั้นจะทำให้ทุกคนรู้สึกว่า ได้ถูกรับฟังแล้ว
แต่ถ้าหากว่าเรามุ่งหน้า(ไม่ให้เลือกตั้ง)ต่อไป โดยไม่เปิดพื้นที่ตรงนั้น ผมเกรงว่าสิ่งที่เราสู้กันมา สิ่งที่เราหวังใว้ว่าจะทำเพื่อให้สังคมดีขึ้นนั้น
มันจะไม่มีความหมายอะไรเลย เพราะสุดท้ายเราจะไม่มีสันติภาพในสังคม เพราะคนที่เหลือ เค้าก็จะรู้สึกว่า สิทธิของเค้าไม่โดนยอมรับ
และจะเป็นสิ่งที่ทำให้เค้าออกมาต่อสู้เหมือนกัน"
"แต่แน่นอนว่า ยังไงเราก็ต้องปฏิรูป เพราะปัจจุบันสันติภาพระยะยาวไม่สามารถเกิดขึ้นได้ ถ้าหากเรายินยอมหลายอย่างให้กับรัฐบาลชุดนี้หรือชุดไหน
เกิดความไม่เสมอภาคขึ้นในสังคม จะไม่เกิดสันติภาพในระยะยาว ไม่ว่ารัฐบาลชุดไหนก็ตาม"
"ตัวผมเองนี่คิดว่า สำหรับสันติภาพในระยะสั้นนั้น เราต้องยอมรับการเลือกตั้งครั้งนี้ก่อน
และเพื่อสันติภาพในระยะยาว เราต้องไปปฏิรูปกันอีกยาว ช่วยกันเติม ช่วยกันแต่ง ช่วยกันปิดล็อคจุดอ่อน เสริมสร้างจุดแข็งของประชาธิปไตยให้สมบูรณ์แบบ
ซึ่งสิ่งเหล่านั้น มันไม่ทางลัดนะครับ มันเฉพาะเจาะจง แต่ละจุดนั้น เราต้องค่อยๆช่วยๆแก้ไขกันไป
ช่วยกันแก้ ช่วยกันก่อทีละจุดๆ จากอิฐทีละก้อนๆ ในการสร้างบ้านของเรา"
"แต่จะอย่างไรก็ตาม เราต้องมีพื้นเอาใว้ให้ก่ออิฐบ้าง พื้นนั้นคือสิ่งที่เราเรียกว่า "การเลือกตั้ง"ยังไงล่ะครับ!!!
และถึงแม้พื้นจะยังไม่สมบูรณ์ แต่มันก็ใช้ก่ออิฐได้แล้ว
เพียงแค่รอให้เรา มาก่อร่วมกันแค่นั้นเองครับ!
-วรรณสิงห์ ประเสริฐกุล
นักคิด นักเขียนรุ่นใหม่
ที่มา : We Vote เลือกตั้ง 2 กถมภาพันธ์ 2557
5 ม.ค. 57
-----------------
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=197583487113008&set=a.161602520711105.1073741828.161594684045222&type=1&theater