หลักกาลามสูตรของชาวพุทธ
หลักกาลามสูตรที่พระพุทธองค์ตรัสสอนชาวกาลามะ ดังมีเรื่องอยู่ในบาลีเกศปุตตสูตรและกาลามสูตร
คัมภีร์อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต และ คัมภีร์อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต ดังนี้
สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจาริกไปในโกศลชนบท พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เสด็จถึงนิคมของชาวกาลามะ
มีชื่อว่า เกสปุตตะ
ชาวกาลามะพอได้ทราบข่าว จึงพากันไปเข้าเฝ้าและกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า มีสมณพราหมณ์หลายพวกด้วยกัน
ต่างมาที่เกสปุตตนิคมนี้ ต่างพวกต่างประกาศยกย่องลัทธิของตน แต่พูดกระทบกระเทียบ ดูหมิ่นกดขึ่สมณพราหมณ์พวกอื่น
พวกข้าพระองค์ไม่รู้ว่า ใครพูดจริง ใครพูดเท็จ จึงเกิดความเคลือบแคลงสงสัย ไม่รู้ว่าจะเชื่อสมณพราหมณ์พวกไหนดี พระเจ้าข้า
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนชาวกาลามะ สมควรแล้วที่ท่านทั้งหลายจะเกิดความเคลือบแคลงสงสัยในสมณพราหมณ์
เหล่านั้น แล้วพระพุทธองค์จึงตรัสถึงอาการที่ไม่ควรเชื่อ ๑๐ อย่าง ได้แก่
๑. มา อะนุสสะเวนะ อย่าได้เชื่อถือถ้อยคำ โดยการฟังตามกันมา
๒. มา ปะรัมปะรายะ อย่าได้เชื่อถือถ้อยคำ โดยนำสืบๆกันมา
๓. มา อิติกิรายะ อย่าได้เชื่อถือ โดยตื่นข่าวเล่าลือ
๔. มา ปิฏะกะสัมปะทาเนนะ อย่าได้เชื่อถือ โดยการอ้างตำรา
๕. มา ตักกะเหตุ อย่าได้เชื่อถือ โดยการนึกเดาเอาเอง
๖. มา นะยะเหตุ อย่าได้เชื่อถือ โดยการคาดคะเน
๗. มา อาการะปะริตักเกนะ อย่าได้เชื่อถือ โดยตรึกตรองตามอาการ
๘. มา ทิฏฐินิชฌา นักขันติยา อย่าได้เชื่อถือ โดยชอบใจว่าต้องกับความเห็นของตน
๙. มา ภัพพะรูปะตายะ อย่าได้เชื่อถือ โดยเชื่อว่าผู้พูดสมควรจะเชื่อได้
๑๐. มา สะมะโณ โน คะรุ อย่าได้เชื่อถือ โดยความนับถือว่าสมณะนี้เป็นครูของเรา
พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสกับชาวกาลามะต่อไปในการที่จะเชื่อถือ และนำมาประพฤติปฏิบัติ โดยจะขอสรุปข้อความไว้ดังนี้
เมื่อใด ท่านทั้งหลายพึงรู้ได้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านี้เป็น
อกุศล (ความชั่ว) มีโทษ ท่านผู้รู้ติเตียน ธรรมเหล่านี้ ใครถือมั่น
ให้เต็มที่แล้ว จักเป็นไปเพื่อความไม่เป็นประโยชน์ เพื่อความทุกข์ เมื่อนั้น พวกเธอควรละธรรมเหล่านั้นเสียเถิด
เมื่อใด ท่านทั้งหลายพึงรู้ได้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านี้เป็น
กุศล (ความดี) ไม่มีโทษ ท่านผู้รู้สรรเสริญยกย่อง ธรรมเหล่านี้
ใครถือมั่นให้เต็มที่แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข เมื่อนั้น ท่านทั้งหลายจึงควรเข้าถือมั่นธรรมเหล่านั้น
อนึ่ง พระสูตรนี้ มักจะถุกนำมาอ้างอิงกันมาก แต่ยกมาอ้างไม่ตลอดสายของเรื่อง คืออ้างแต่ไม่ให้เชื่อโดยอาการ ๑๐ อย่าง
ไม่ได้กล่าวอ้างถึงบทสรุปที่พระพุทธองค์ตรัสว่า "ต่อเมื่อรู้และเข้าใจได้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านั้นเป็น "
อกุศล" หรือเป็น
"
กุศล" คือไม่ดี หรือ ดี มีโทษหรือไม่มีโทษ ทำให้เกิดทุกข์หรือให้เกิดสุข เป็นต้นแล้ว จึงควรละหรือควรประพฤติปฏิบัติ
ตามที่รู้และเข้าใจแล้วนั้น
เพราะฉะนั้น การเชื่อต้องประกอบด้วยปัญญาที่พิจารณาให้เห็นตามเป็นจริงโดยชอบธรรมและเป็น "สันทิฏฐิโก" คือ ผู้ได้บรรลุ
ย่อมรู้เห็นเอง ไม่ต้องเชื่อตามคำของผู้อื่น
การเชื่อต้องประกอบด้วยปัญญา อย่าเชื่อแบบงมงายไร้เหตุผล
คัดลอกมาจาก :
หลักกาลามสูตรของชาวพุทธ
หนังสือ ชีวประวัติสามเณร
รวบรวมและเรียบเรียงโดย จำเนียร ทรงฤกษ์
หน้าที่ ๔๔๗-๔๔๘
หลักกาลามสูตรของชาวพุทธ
หลักกาลามสูตรที่พระพุทธองค์ตรัสสอนชาวกาลามะ ดังมีเรื่องอยู่ในบาลีเกศปุตตสูตรและกาลามสูตร
คัมภีร์อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต และ คัมภีร์อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต ดังนี้
สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจาริกไปในโกศลชนบท พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เสด็จถึงนิคมของชาวกาลามะ
มีชื่อว่า เกสปุตตะ
ชาวกาลามะพอได้ทราบข่าว จึงพากันไปเข้าเฝ้าและกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า มีสมณพราหมณ์หลายพวกด้วยกัน
ต่างมาที่เกสปุตตนิคมนี้ ต่างพวกต่างประกาศยกย่องลัทธิของตน แต่พูดกระทบกระเทียบ ดูหมิ่นกดขึ่สมณพราหมณ์พวกอื่น
พวกข้าพระองค์ไม่รู้ว่า ใครพูดจริง ใครพูดเท็จ จึงเกิดความเคลือบแคลงสงสัย ไม่รู้ว่าจะเชื่อสมณพราหมณ์พวกไหนดี พระเจ้าข้า
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนชาวกาลามะ สมควรแล้วที่ท่านทั้งหลายจะเกิดความเคลือบแคลงสงสัยในสมณพราหมณ์
เหล่านั้น แล้วพระพุทธองค์จึงตรัสถึงอาการที่ไม่ควรเชื่อ ๑๐ อย่าง ได้แก่
๑. มา อะนุสสะเวนะ อย่าได้เชื่อถือถ้อยคำ โดยการฟังตามกันมา
๒. มา ปะรัมปะรายะ อย่าได้เชื่อถือถ้อยคำ โดยนำสืบๆกันมา
๓. มา อิติกิรายะ อย่าได้เชื่อถือ โดยตื่นข่าวเล่าลือ
๔. มา ปิฏะกะสัมปะทาเนนะ อย่าได้เชื่อถือ โดยการอ้างตำรา
๕. มา ตักกะเหตุ อย่าได้เชื่อถือ โดยการนึกเดาเอาเอง
๖. มา นะยะเหตุ อย่าได้เชื่อถือ โดยการคาดคะเน
๗. มา อาการะปะริตักเกนะ อย่าได้เชื่อถือ โดยตรึกตรองตามอาการ
๘. มา ทิฏฐินิชฌา นักขันติยา อย่าได้เชื่อถือ โดยชอบใจว่าต้องกับความเห็นของตน
๙. มา ภัพพะรูปะตายะ อย่าได้เชื่อถือ โดยเชื่อว่าผู้พูดสมควรจะเชื่อได้
๑๐. มา สะมะโณ โน คะรุ อย่าได้เชื่อถือ โดยความนับถือว่าสมณะนี้เป็นครูของเรา
พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสกับชาวกาลามะต่อไปในการที่จะเชื่อถือ และนำมาประพฤติปฏิบัติ โดยจะขอสรุปข้อความไว้ดังนี้
เมื่อใด ท่านทั้งหลายพึงรู้ได้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านี้เป็นอกุศล (ความชั่ว) มีโทษ ท่านผู้รู้ติเตียน ธรรมเหล่านี้ ใครถือมั่น
ให้เต็มที่แล้ว จักเป็นไปเพื่อความไม่เป็นประโยชน์ เพื่อความทุกข์ เมื่อนั้น พวกเธอควรละธรรมเหล่านั้นเสียเถิด
เมื่อใด ท่านทั้งหลายพึงรู้ได้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านี้เป็นกุศล (ความดี) ไม่มีโทษ ท่านผู้รู้สรรเสริญยกย่อง ธรรมเหล่านี้
ใครถือมั่นให้เต็มที่แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข เมื่อนั้น ท่านทั้งหลายจึงควรเข้าถือมั่นธรรมเหล่านั้น
อนึ่ง พระสูตรนี้ มักจะถุกนำมาอ้างอิงกันมาก แต่ยกมาอ้างไม่ตลอดสายของเรื่อง คืออ้างแต่ไม่ให้เชื่อโดยอาการ ๑๐ อย่าง
ไม่ได้กล่าวอ้างถึงบทสรุปที่พระพุทธองค์ตรัสว่า "ต่อเมื่อรู้และเข้าใจได้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านั้นเป็น "อกุศล" หรือเป็น
"กุศล" คือไม่ดี หรือ ดี มีโทษหรือไม่มีโทษ ทำให้เกิดทุกข์หรือให้เกิดสุข เป็นต้นแล้ว จึงควรละหรือควรประพฤติปฏิบัติ
ตามที่รู้และเข้าใจแล้วนั้น
เพราะฉะนั้น การเชื่อต้องประกอบด้วยปัญญาที่พิจารณาให้เห็นตามเป็นจริงโดยชอบธรรมและเป็น "สันทิฏฐิโก" คือ ผู้ได้บรรลุ
ย่อมรู้เห็นเอง ไม่ต้องเชื่อตามคำของผู้อื่น
การเชื่อต้องประกอบด้วยปัญญา อย่าเชื่อแบบงมงายไร้เหตุผล
คัดลอกมาจาก :
หลักกาลามสูตรของชาวพุทธ
หนังสือ ชีวประวัติสามเณร
รวบรวมและเรียบเรียงโดย จำเนียร ทรงฤกษ์
หน้าที่ ๔๔๗-๔๔๘