พื้นฐานข้อต่อไปที่เราจะต้องยอมรับความจริงก็คือ พระพุทธเจ้าสอนเฉพาะเรื่องการดับทุกข์ของจิตใจเท่านั้น คือความทุกข์ของชีวิตมนุษย์เรานี้มันก็สรุปได้ ๒ อย่าง คือความทุกข์ของร่างกาย กับ ความทุกข์ของจิตใจ ซึ่งความทุกข์ของร่างกาย เช่น ความเจ็บ ความปวด ความหิว ความกระหาย ความหนัก ความเหนื่อย เป็นต้นนั้น เป็นความทุกข์ตามธรรมชาติของร่างกายมนุษย์ที่ไม่สามารถดับหรือแก้ปัญหาได้อย่างถาวร เราเพียงบรรเทาให้มันเบาบางลงได้เท่านั้น ซึ่งคนที่พอมีความรู้ในเรื่องของร่างกายอยู่บ้าง ก็สามารถที่จะบรรเทามันได้อยู่แล้ว ไม่ต้องใช้ความรู้ระดับพระพุทธเจ้าก็ได้
ส่วนความทุกข์ของจิตใจมนุษย์นั้น เป็นความทุกข์ที่เกิดมาจากการที่จิตมนุษย์ปรุงแต่งขึ้นมาเองด้วยความเข้าใจผิด (หรือโง่) ซึ่งความทุกข์ที่รุนแรงของจิตใจมนุษย์ก็แสดงอาการออกมาเป็น ความรู้สึกเศร้าโศก หรือเสียใจ ทรมานใจ ตรอมใจ แห้งเหี่ยวใจ ร้อนใจ หรือเครียด วิตกกังวล เบื่อหน่าย หรือ อย่างไม่รุนแรง ก็เป็นเพียง ความหงุดหงิดรำคาญใจ ความไม่สบายใจ ความเศร้าซึม เป็นต้น ซึ่งความทุกข์ทั้งอย่างรุนแรงและไม่รุนแรงของจิตใจนี้ เราทุกคนสามารถปฏิบัติเพื่อขจัดหรือดับมันได้ในทันทีที่มันเกิดขึ้น โดยใช้ความเข้าใจที่ถูกต้อง (ปัญญา) และสมาธิ (จิตที่ตั้งมั่น) มาทำงานร่วมกัน ซึ่งทั้งปัญญาและสมาธินี้ยังสามารถป้องกันไม่ให้ความทุกข์ทั้งหลายเกิดขึ้นมาในอนาคตของชีวิตนี้ได้อย่างถาวรอีกด้วย ซึ่งการที่เราจะปฏิบัติเพื่อดับทุกข์ของจิตใจนี้ได้นั้น จำเป็นจะต้องใช้ความรู้ระดับสูงของพระพุทธเจ้าเท่านั้น ส่วนความรู้ทั่วไปของชาวโลกแม้จะสูงส่งอย่างไรก็ไม่สามาถนำมาใช้ดับทุกข์ของจิตใจได้
นี่คือพื้นฐานข้อที่ ๒ ที่เราจะต้องยอมรับความจริงว่า ความทุกข์ของจิตใจนั้นสำคัญกว่าความทุกข์ของร่างกาย เพราะความทุกข์ของจิตใจนั้นเป็นปัญหาที่สำคัญที่สุดของมนุษย์ทุกคน ซึ่งเราทุกคนสามารถแก้ไขหรือดับมันได้ ดังนั้นพระพุทธเจ้าจึงสอนเฉพาะเรื่องการดับทุกข์ของจิตใจเท่านั้น ส่วนความทุกข์ของร่างกายหรือความเดือดร้อนของสังคมมนุษย์นั้น เป็นเรื่องที่มีความสำคัญรองลงมาและใครๆที่พอจะมีความรู้อยู่บ้างก็สามารถที่จะรู้วิธีแก้และป้องกันปัญหากันได้อยู่แล้ว แต่ถ้าเราสามารถดับทุกข์ของจิตใจได้แล้ว เราก็จะเกิดความเข้าใจที่ถูกต้องในการแก้ไขและป้องกันปัญหาของร่างกายและสังคมได้เป็นของแถม
จาก
http://www.whatami.net/for/bud.html
ทุกข์ของจิตใจสำคัญกว่าทุกข์ของร่างกาย
ส่วนความทุกข์ของจิตใจมนุษย์นั้น เป็นความทุกข์ที่เกิดมาจากการที่จิตมนุษย์ปรุงแต่งขึ้นมาเองด้วยความเข้าใจผิด (หรือโง่) ซึ่งความทุกข์ที่รุนแรงของจิตใจมนุษย์ก็แสดงอาการออกมาเป็น ความรู้สึกเศร้าโศก หรือเสียใจ ทรมานใจ ตรอมใจ แห้งเหี่ยวใจ ร้อนใจ หรือเครียด วิตกกังวล เบื่อหน่าย หรือ อย่างไม่รุนแรง ก็เป็นเพียง ความหงุดหงิดรำคาญใจ ความไม่สบายใจ ความเศร้าซึม เป็นต้น ซึ่งความทุกข์ทั้งอย่างรุนแรงและไม่รุนแรงของจิตใจนี้ เราทุกคนสามารถปฏิบัติเพื่อขจัดหรือดับมันได้ในทันทีที่มันเกิดขึ้น โดยใช้ความเข้าใจที่ถูกต้อง (ปัญญา) และสมาธิ (จิตที่ตั้งมั่น) มาทำงานร่วมกัน ซึ่งทั้งปัญญาและสมาธินี้ยังสามารถป้องกันไม่ให้ความทุกข์ทั้งหลายเกิดขึ้นมาในอนาคตของชีวิตนี้ได้อย่างถาวรอีกด้วย ซึ่งการที่เราจะปฏิบัติเพื่อดับทุกข์ของจิตใจนี้ได้นั้น จำเป็นจะต้องใช้ความรู้ระดับสูงของพระพุทธเจ้าเท่านั้น ส่วนความรู้ทั่วไปของชาวโลกแม้จะสูงส่งอย่างไรก็ไม่สามาถนำมาใช้ดับทุกข์ของจิตใจได้
นี่คือพื้นฐานข้อที่ ๒ ที่เราจะต้องยอมรับความจริงว่า ความทุกข์ของจิตใจนั้นสำคัญกว่าความทุกข์ของร่างกาย เพราะความทุกข์ของจิตใจนั้นเป็นปัญหาที่สำคัญที่สุดของมนุษย์ทุกคน ซึ่งเราทุกคนสามารถแก้ไขหรือดับมันได้ ดังนั้นพระพุทธเจ้าจึงสอนเฉพาะเรื่องการดับทุกข์ของจิตใจเท่านั้น ส่วนความทุกข์ของร่างกายหรือความเดือดร้อนของสังคมมนุษย์นั้น เป็นเรื่องที่มีความสำคัญรองลงมาและใครๆที่พอจะมีความรู้อยู่บ้างก็สามารถที่จะรู้วิธีแก้และป้องกันปัญหากันได้อยู่แล้ว แต่ถ้าเราสามารถดับทุกข์ของจิตใจได้แล้ว เราก็จะเกิดความเข้าใจที่ถูกต้องในการแก้ไขและป้องกันปัญหาของร่างกายและสังคมได้เป็นของแถม
จาก http://www.whatami.net/for/bud.html