หมดตัวง่ายๆด้วยหุ้น ตอนที่ 2 : กับดักของ P/E Ratio
ค่า P/E ratio เป็นสัดส่วนที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ในงานของนักวิเคราะห์เองก็มีการนำเอาค่า P/E ratio มาประยุกต์ใช้ในการหามูลค่าหุ้นที่เหมาะสม อย่างไรก็ตาม ผมมองว่าการจะนำเอาอะไรมาใช้ เราควรศึกษาให้ดีก่อน ซึ่งหลังจากที่ผมได้ศึกษาแล้ว พบว่ามีหลายจุดที่สามารถทำให้เราเข้าใจผิดได้ง่ายๆ ผมจึงได้พยายามลองเขียนอธิบายในแบบของผมดู ลองอ่านดูครับ
กับดัก “หุ้น STA มีค่า P/E 10 เท่า แสดงว่าไม่แพง”
ความจริง ไม่ถูกต้อง ค่า P/E ใช้สำหรับ “เปรียบเทียบ” เท่านั้น ค่า P/E ด้วยตัวของมันเอง ไม่เพียงพอที่จะใช้บอกว่าหุ้นตัวนั้นถูกหรือแพง
กับดัก “หุ้น STA มีค่า P/E 10 เท่า แสดงว่าหากเราถือหุ้น STA ต่อไปอีก 10 ปี เราจะคืนทุน”
ความจริง ไม่ถูกต้อง จริงอยู่ว่า หากสมมุติว่าทุกอย่างคงที่ต่อไปอีก 10 ปี บริษัทจะมี Earning สะสมรวมต่อหุ้น เท่ากับราคาหุ้นในปัจจุบัน แต่ Earning ที่ว่านั้นจะถูกแบ่งเป็น Dividend กับ เงินลงทุนซ้ำ (Re investment) มีเพียงบริษัทที่นโยบายจ่ายเงินปันผล 100% ของ Earning เท่านั้นที่ทำให้ทฤษฏีนี้เป็นจริง ซึ่ง STA ไม่ใช่หนึ่งในบริษัทเหล่านั้น
กับดัก “หุ้น STA มีค่า P/E 10 เท่า ในขณะที่หุ้น CPALL มีค่า P/E 35เท่า แสดงว่าหุ้น STA ราคาถูกกว่าหุ้น CPALL”
ความจริง ไม่ถูกต้อง ห้ามเปรียบเทียบค่า P/E ของบริษัทที่อยู่ต่างหมวดอุตสาหกรรมกัน
กับดัก “หุ้น CPALL มีค่า P/E 35 เท่า ในขณะที่หุ้น MEGA ที่อยู่อุตสาหกรรม commerce เหมือนกัน มีค่า P/E 28 เท่า แสดงว่าหุ้น CPALL ราคาแพงกว่าหุ้น MEGA”
ความจริง ไม่ถูกต้อง เพราะถึงแม้จะอยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน แต่ปัจจัยต่างๆ ของบริษัททั้งสองต่างกันอย่างมาก (หลักของการเปรียบเทียบเบื้องต้น เราควรจะ hold other factors constant) ในกรณีนี้ การสรุปว่าหุ้น CPALL “แพงกว่า” หุ้น MEGA เนื่องจากมี P/E สูงกว่า จึงเป็นการสรุปที่ไม่ถูกต้อง
ความจริงอีกข้อ ไม่มีบริษัทไหนในโลกนี้ที่มีปัจจัยพื้นฐานทุกอย่างเหมือนกันเป๊ะ
อ่านมาถึงตรงนี้ บางท่านคงจะเริ่มงงกันแล้วว่าสรุปผมนำค่า P/E ไปใช้อะไรได้บ้าง ทำไมทำอะไรก็ผิดไปหมด
ค่า P/E จริงๆแล้วมันบ่งบอกว่า “ตลาด” ให้ความคาดหวังในบริษัทนั้นมากน้อยแค่ไหน เราสามารถนำค่า P/E ของบริษัทนั้นๆไปเทียบกับของคู่แข่งที่อยู่ในอุตสาหกรรมว่า ตลาดมองบริษัทไหนดูดีมีอนาคตมากกว่ากัน
ค่า P/E ที่สูง แสดงถึงความคาดหวังที่สูงว่าบริษัทนั้นๆ เป็นบริษัทที่ดี และจะมีการเติบโตอย่างมากในอนาคต
ค่า P/E ที่ต่ำ แสดงถึงความคาดหวังที่ต่ำ อาจจะเป็นเพราะความผันผวนของกำไร และอัตราการเติบโตที่ไม่หวือหวา
กับดัก “หุ้น BTS มีค่า P/E 7 เท่า แสดงว่าตลาดมองว่าหุ้น BTS แย่มากๆ”
ความจริง ไม่ถูกต้อง ก่อนจะคิดค่า P/E เราต้องตัดกำไรพิเศษออก ให้เหลือเพียงกำไรจากการดำเนินงานตามปกติ
ทั้งนี้เรายังสามารถเห็นค่า P/E ที่ต่ำหรือสูงผิดปกติในหุ้นของบริษัทที่ประกอบธุรกิจที่มีลักษณะ cyclical เช่นพวกสินค้าโภคภัณฑ์ที่มีกำไรไม่คงที่ ซึ่งเราควร adjust กำไรก่อนที่จะทำการคิดค่า P/E ของบริษัทเหล่านี้เช่นกัน
มีค่า Ratio อีกอย่างหนึ่งที่ผมคิดว่ามีประโยชน์คือค่า PEG ซึ่งเป็นการเปรียบเทียบค่า P/E ของบริษัท กับ expected growth ในอนาคตของบริษัท
ซึ่งสูตรการคำนวณคือ
P/E หารด้วย อัตราการเติบโตที่คาดการณ์ เฉลี่ยต่อปี ในอีก 5ปีข้างหน้า
ตัวอย่าง ค่า P/E ของหุ้น XYZ เท่ากับ 10 เท่า และเราคาดการณ์ว่าอีก 5 ปีข้างหน้า บริษัทจะมีกำไรเติบโตเฉลี่ยปีละ 15% เราจะคิดค่า PEG ออกมาได้ดังนี้ 10/15 = 0.67 เท่า
ค่า PEG มีหลักคิด ”พื้นฐาน” ดังนี้
1. ถ้าต่ำกว่า 1 เท่า แสดงว่าเรา “มอง” ว่าหุ้นราคาถูก
2. ถ้าสูงกว่า 1 เท่า แสดงว่าเรา “มอง” ว่าหุ้น ไม่ถูก
3. ยิ่งถูกเท่าไหร่ยิ่งมี Margin of safety สูง
คำถาม แล้วค่า PEG จะนำไปประยุกต์ใช้ยังไงดี?
ตอบ การจะทำกำไรจากตลาดหุ้น เราต้องมองต่างจาก “ตลาด” สมมุติว่าตลาดให้ความคาดหวังที่สูงกับ ABC เท่ากับ P/E แค่ 10 เท่า แต่เรามองว่า กำไรของบริษัทในอนาคต 5 ปี จะมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยถึงปีละ 15% แบบนี้หากคิดค่า PEG จะได้ 0.67 เท่า ถ้าเราคาดการณ์ได้ถูกต้องและซื้อหุ้นถือไป 5 ปี เราก็มีโอกาสทำกำไรได้ เพราะตลาดให้ความคาดหวังน้อยกว่าความจริงที่เป็น (ที่เราคาดการณ์)
ข้อควรจำ หุ้นที่มี P/E 20 เท่า และมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยปีละ 20% ดีกว่าหุ้นที่มี P/E 10 เท่า และมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยปีละ 10% ทั้งๆที่มีค่า PEG เท่ากับ 1 เท่ากัน
เหตุผลเป็นเพราะหลักของการทบต้น (ขอบคุณหนังสือ One up on Wall Street ของ Peter Lynch) ว่างๆลองไปหาอ่านกันดูครับ
เม่าตาสว่าง
สรุปแล้ว การที่เราจะได้กำไรจากการลงทุนไม่ได้มาจากสูตรคำนวณ หรือตัวเลขยุ่งยากอะไรหรอกครับ เราจะได้กำไรรึเปล่ามันขึ้นอยู่กับว่า
เรามองอนาคตของธุรกิจออกรึเปล่าต่างหาก ถ้าเรามองเห็นโอกาส ในขณะที่ตลาดยังมองไม่เห็น เราก็สามารถสร้างกำไรมหาศาลได้ด้วยการซื้อและถือไปจนกว่าสิ่งที่เราคาดหวังไว้จะผลิดอกออกผล
การถือหุ้นจนถึงวันนั้นได้โดยไม่ชิงขายไปก่อนเป็นสิ่งที่ยากเย็นพอๆกับการเลือกซื้อหุ้นทีเดียว เพราะระหว่างทางเราจะต้องเจอกับบททดสอบมากมาย ความผันผวนของราคาหุ้นเป็นเสมือนเสียงกระซิบให้เราขายหุ้นอยู่ตลอดเวลา ทุกครั้งที่หุ้นตก เราจะเริ่มนึกถึงความเสี่ยงทางการเมือง เปิด internet หาข่าวอ่านก็จะพบกับข่าวร้ายที่คนพยายามจะนำมาอธิบายการปรับตัวลงของดัชนีหุ้น ตัวเลขเศรษฐกิจถ้าออกมาดีเค้าก็จะบอกว่า Fed จะถอน QE ถ้าออกมาร้ายก็ง่ายหน่อย บอกว่านักลงทุนผิดหวังหรืออะไรก็ว่ากันไป
ในวันที่เราตัดสินใจซื้อหุ้น เรามีความคิดอย่างไร ถ้าเราคิดจะซื้อลงทุน เพราะเห็นอนาคตของบริษัทดี สินค้าน่าสนใจ อุตสาหกรรมมีโอกาสเติบโตสูง แต่ในวันที่ขายหุ้น เรากลับมาขายเพราะตกใจกับราคาหุ้นที่ผันผวน หากเป็นแบบนั้นสุดท้ายเราก็ยังคงติดอยู่ในวังวนของการเก็งกำไร ไม่ใช่การลงทุนแต่อย่างใด สุดท้ายสิ่งที่เกิดขึ้นบ่อยๆก็คือเราขายหมู หรือขาย cut loss ไปก่อนที่บริษัทจะแสดงผลงานที่เราคาดหวังไว้ เราจะตกรถและมานั่งเสียดายว่า เราคาดการณ์ได้แม่นยำแล้วแต่ดันถือหุ้นไปไม่ถึงฝั่ง ส่วนเงินต้นหรือกำไรที่ได้มาจากการขายหุ้นตัวเดิม เราก็เอาไป “เก็งกำไร” กับหุ้นตัวอื่นต่อไป
ผมไม่ได้บอกว่าการเก็งกำไรจะไม่สามารถทำให้เรารวยได้ คนที่ประสบความสำเร็จจากการเก็งกำไรในหุ้นก็มีให้เห็นอยู่มาก สิ่งที่ผมอยากจะบอกก็คือ ก่อนที่เราจะตัดสินใจซื้อหุ้นทุกครั้ง เราควรจะรู้ก่อนว่าเราซื้อเพราะอะไร มีวัตถุประสงค์จะลงทุน หรือเก็งกำไร และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ห้ามเปลี่ยนม้ากลางศึก ผมเคยทำและเจ็บตัวมาก่อน
บทความโดย วีรวัฒน์ วงศ์เจริญใหญ่ (Jo-oF-GluE)
อ่านตอนที่ 1
http://ppantip.com/topic/31437511
ติดตาม Page ของผมได้ที่
https://www.facebook.com/JoOfGlueInvestmentTalk
ขอบคุณทุกท่านที่สละเวลาอ่านครับ
หมดตัวง่ายๆด้วยหุ้น ตอนที่ 2 : กับดักของ P/E Ratio
ค่า P/E ratio เป็นสัดส่วนที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ในงานของนักวิเคราะห์เองก็มีการนำเอาค่า P/E ratio มาประยุกต์ใช้ในการหามูลค่าหุ้นที่เหมาะสม อย่างไรก็ตาม ผมมองว่าการจะนำเอาอะไรมาใช้ เราควรศึกษาให้ดีก่อน ซึ่งหลังจากที่ผมได้ศึกษาแล้ว พบว่ามีหลายจุดที่สามารถทำให้เราเข้าใจผิดได้ง่ายๆ ผมจึงได้พยายามลองเขียนอธิบายในแบบของผมดู ลองอ่านดูครับ
กับดัก “หุ้น STA มีค่า P/E 10 เท่า แสดงว่าไม่แพง”
ความจริง ไม่ถูกต้อง ค่า P/E ใช้สำหรับ “เปรียบเทียบ” เท่านั้น ค่า P/E ด้วยตัวของมันเอง ไม่เพียงพอที่จะใช้บอกว่าหุ้นตัวนั้นถูกหรือแพง
กับดัก “หุ้น STA มีค่า P/E 10 เท่า แสดงว่าหากเราถือหุ้น STA ต่อไปอีก 10 ปี เราจะคืนทุน”
ความจริง ไม่ถูกต้อง จริงอยู่ว่า หากสมมุติว่าทุกอย่างคงที่ต่อไปอีก 10 ปี บริษัทจะมี Earning สะสมรวมต่อหุ้น เท่ากับราคาหุ้นในปัจจุบัน แต่ Earning ที่ว่านั้นจะถูกแบ่งเป็น Dividend กับ เงินลงทุนซ้ำ (Re investment) มีเพียงบริษัทที่นโยบายจ่ายเงินปันผล 100% ของ Earning เท่านั้นที่ทำให้ทฤษฏีนี้เป็นจริง ซึ่ง STA ไม่ใช่หนึ่งในบริษัทเหล่านั้น
กับดัก “หุ้น STA มีค่า P/E 10 เท่า ในขณะที่หุ้น CPALL มีค่า P/E 35เท่า แสดงว่าหุ้น STA ราคาถูกกว่าหุ้น CPALL”
ความจริง ไม่ถูกต้อง ห้ามเปรียบเทียบค่า P/E ของบริษัทที่อยู่ต่างหมวดอุตสาหกรรมกัน
กับดัก “หุ้น CPALL มีค่า P/E 35 เท่า ในขณะที่หุ้น MEGA ที่อยู่อุตสาหกรรม commerce เหมือนกัน มีค่า P/E 28 เท่า แสดงว่าหุ้น CPALL ราคาแพงกว่าหุ้น MEGA”
ความจริง ไม่ถูกต้อง เพราะถึงแม้จะอยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน แต่ปัจจัยต่างๆ ของบริษัททั้งสองต่างกันอย่างมาก (หลักของการเปรียบเทียบเบื้องต้น เราควรจะ hold other factors constant) ในกรณีนี้ การสรุปว่าหุ้น CPALL “แพงกว่า” หุ้น MEGA เนื่องจากมี P/E สูงกว่า จึงเป็นการสรุปที่ไม่ถูกต้อง
ความจริงอีกข้อ ไม่มีบริษัทไหนในโลกนี้ที่มีปัจจัยพื้นฐานทุกอย่างเหมือนกันเป๊ะ
อ่านมาถึงตรงนี้ บางท่านคงจะเริ่มงงกันแล้วว่าสรุปผมนำค่า P/E ไปใช้อะไรได้บ้าง ทำไมทำอะไรก็ผิดไปหมด
ค่า P/E จริงๆแล้วมันบ่งบอกว่า “ตลาด” ให้ความคาดหวังในบริษัทนั้นมากน้อยแค่ไหน เราสามารถนำค่า P/E ของบริษัทนั้นๆไปเทียบกับของคู่แข่งที่อยู่ในอุตสาหกรรมว่า ตลาดมองบริษัทไหนดูดีมีอนาคตมากกว่ากัน
ค่า P/E ที่สูง แสดงถึงความคาดหวังที่สูงว่าบริษัทนั้นๆ เป็นบริษัทที่ดี และจะมีการเติบโตอย่างมากในอนาคต
ค่า P/E ที่ต่ำ แสดงถึงความคาดหวังที่ต่ำ อาจจะเป็นเพราะความผันผวนของกำไร และอัตราการเติบโตที่ไม่หวือหวา
กับดัก “หุ้น BTS มีค่า P/E 7 เท่า แสดงว่าตลาดมองว่าหุ้น BTS แย่มากๆ”
ความจริง ไม่ถูกต้อง ก่อนจะคิดค่า P/E เราต้องตัดกำไรพิเศษออก ให้เหลือเพียงกำไรจากการดำเนินงานตามปกติ
ทั้งนี้เรายังสามารถเห็นค่า P/E ที่ต่ำหรือสูงผิดปกติในหุ้นของบริษัทที่ประกอบธุรกิจที่มีลักษณะ cyclical เช่นพวกสินค้าโภคภัณฑ์ที่มีกำไรไม่คงที่ ซึ่งเราควร adjust กำไรก่อนที่จะทำการคิดค่า P/E ของบริษัทเหล่านี้เช่นกัน
มีค่า Ratio อีกอย่างหนึ่งที่ผมคิดว่ามีประโยชน์คือค่า PEG ซึ่งเป็นการเปรียบเทียบค่า P/E ของบริษัท กับ expected growth ในอนาคตของบริษัท
ซึ่งสูตรการคำนวณคือ
P/E หารด้วย อัตราการเติบโตที่คาดการณ์ เฉลี่ยต่อปี ในอีก 5ปีข้างหน้า
ตัวอย่าง ค่า P/E ของหุ้น XYZ เท่ากับ 10 เท่า และเราคาดการณ์ว่าอีก 5 ปีข้างหน้า บริษัทจะมีกำไรเติบโตเฉลี่ยปีละ 15% เราจะคิดค่า PEG ออกมาได้ดังนี้ 10/15 = 0.67 เท่า
ค่า PEG มีหลักคิด ”พื้นฐาน” ดังนี้
1. ถ้าต่ำกว่า 1 เท่า แสดงว่าเรา “มอง” ว่าหุ้นราคาถูก
2. ถ้าสูงกว่า 1 เท่า แสดงว่าเรา “มอง” ว่าหุ้น ไม่ถูก
3. ยิ่งถูกเท่าไหร่ยิ่งมี Margin of safety สูง
คำถาม แล้วค่า PEG จะนำไปประยุกต์ใช้ยังไงดี?
ตอบ การจะทำกำไรจากตลาดหุ้น เราต้องมองต่างจาก “ตลาด” สมมุติว่าตลาดให้ความคาดหวังที่สูงกับ ABC เท่ากับ P/E แค่ 10 เท่า แต่เรามองว่า กำไรของบริษัทในอนาคต 5 ปี จะมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยถึงปีละ 15% แบบนี้หากคิดค่า PEG จะได้ 0.67 เท่า ถ้าเราคาดการณ์ได้ถูกต้องและซื้อหุ้นถือไป 5 ปี เราก็มีโอกาสทำกำไรได้ เพราะตลาดให้ความคาดหวังน้อยกว่าความจริงที่เป็น (ที่เราคาดการณ์)
ข้อควรจำ หุ้นที่มี P/E 20 เท่า และมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยปีละ 20% ดีกว่าหุ้นที่มี P/E 10 เท่า และมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยปีละ 10% ทั้งๆที่มีค่า PEG เท่ากับ 1 เท่ากัน
เหตุผลเป็นเพราะหลักของการทบต้น (ขอบคุณหนังสือ One up on Wall Street ของ Peter Lynch) ว่างๆลองไปหาอ่านกันดูครับ
เม่าตาสว่าง
สรุปแล้ว การที่เราจะได้กำไรจากการลงทุนไม่ได้มาจากสูตรคำนวณ หรือตัวเลขยุ่งยากอะไรหรอกครับ เราจะได้กำไรรึเปล่ามันขึ้นอยู่กับว่า เรามองอนาคตของธุรกิจออกรึเปล่าต่างหาก ถ้าเรามองเห็นโอกาส ในขณะที่ตลาดยังมองไม่เห็น เราก็สามารถสร้างกำไรมหาศาลได้ด้วยการซื้อและถือไปจนกว่าสิ่งที่เราคาดหวังไว้จะผลิดอกออกผล
การถือหุ้นจนถึงวันนั้นได้โดยไม่ชิงขายไปก่อนเป็นสิ่งที่ยากเย็นพอๆกับการเลือกซื้อหุ้นทีเดียว เพราะระหว่างทางเราจะต้องเจอกับบททดสอบมากมาย ความผันผวนของราคาหุ้นเป็นเสมือนเสียงกระซิบให้เราขายหุ้นอยู่ตลอดเวลา ทุกครั้งที่หุ้นตก เราจะเริ่มนึกถึงความเสี่ยงทางการเมือง เปิด internet หาข่าวอ่านก็จะพบกับข่าวร้ายที่คนพยายามจะนำมาอธิบายการปรับตัวลงของดัชนีหุ้น ตัวเลขเศรษฐกิจถ้าออกมาดีเค้าก็จะบอกว่า Fed จะถอน QE ถ้าออกมาร้ายก็ง่ายหน่อย บอกว่านักลงทุนผิดหวังหรืออะไรก็ว่ากันไป
ในวันที่เราตัดสินใจซื้อหุ้น เรามีความคิดอย่างไร ถ้าเราคิดจะซื้อลงทุน เพราะเห็นอนาคตของบริษัทดี สินค้าน่าสนใจ อุตสาหกรรมมีโอกาสเติบโตสูง แต่ในวันที่ขายหุ้น เรากลับมาขายเพราะตกใจกับราคาหุ้นที่ผันผวน หากเป็นแบบนั้นสุดท้ายเราก็ยังคงติดอยู่ในวังวนของการเก็งกำไร ไม่ใช่การลงทุนแต่อย่างใด สุดท้ายสิ่งที่เกิดขึ้นบ่อยๆก็คือเราขายหมู หรือขาย cut loss ไปก่อนที่บริษัทจะแสดงผลงานที่เราคาดหวังไว้ เราจะตกรถและมานั่งเสียดายว่า เราคาดการณ์ได้แม่นยำแล้วแต่ดันถือหุ้นไปไม่ถึงฝั่ง ส่วนเงินต้นหรือกำไรที่ได้มาจากการขายหุ้นตัวเดิม เราก็เอาไป “เก็งกำไร” กับหุ้นตัวอื่นต่อไป
ผมไม่ได้บอกว่าการเก็งกำไรจะไม่สามารถทำให้เรารวยได้ คนที่ประสบความสำเร็จจากการเก็งกำไรในหุ้นก็มีให้เห็นอยู่มาก สิ่งที่ผมอยากจะบอกก็คือ ก่อนที่เราจะตัดสินใจซื้อหุ้นทุกครั้ง เราควรจะรู้ก่อนว่าเราซื้อเพราะอะไร มีวัตถุประสงค์จะลงทุน หรือเก็งกำไร และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ห้ามเปลี่ยนม้ากลางศึก ผมเคยทำและเจ็บตัวมาก่อน
บทความโดย วีรวัฒน์ วงศ์เจริญใหญ่ (Jo-oF-GluE)
อ่านตอนที่ 1 http://ppantip.com/topic/31437511
ติดตาม Page ของผมได้ที่ https://www.facebook.com/JoOfGlueInvestmentTalk
ขอบคุณทุกท่านที่สละเวลาอ่านครับ