สังคมจีนเป็นประชาธิปไตยแค่ไหน?
โดย : อาร์ม ตั้งนิรันดร
คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เรามักสอนกันตามตำราและตามมาตรฐานฝรั่งว่าจีนปกครองด้วยระบบเผด็จการพรรคคอมมิวนิสต์ จึงไม่ใช่สังคมประชาธิปไตย หากความเป็นจริงซับซ้อนกว่านี้มาก จีนอาจไม่ใช่สังคมประชาธิปไตยตามรูปแบบที่มักเข้าใจกัน แต่โดยเนื้อแท้แล้ว สังคมจีนมีสาระที่เป็นประชาธิปไตยไม่น้อยเลยทีเดียว
ในบทความนี้ เราจะลองพยายามวัดระดับความเป็นประชาธิปไตยของสังคมจีนด้วยการเปรียบเทียบกับสังคมประเทศ A แต่เพื่อความสนุกสนานและท้าทายท่านผู้อ่าน เราจะค่อยเฉลยว่าประเทศ A ที่ยกขึ้นมาเปรียบเทียบคือประเทศใดในตอนท้ายของบทความ พยายามทายให้ถูกนะครับ
ปัจจัยที่เราจะใช้วัดระดับความเป็นประชาธิปไตยของสังคมมี 5 ข้อ ดังนี้
ข้อแรก สังคมประชาธิปไตยต้องมีการหมุนเวียนผู้นำประเทศในแง่นี้ ในรอบสิบห้าปีที่ผ่านมาประเทศ A มีการเลือกตั้งก็จริง แต่ผู้นำคนเดียวหรือเครือญาติของผู้นำคนเดียวชนะการเลือกตั้งทุกครั้ง จุดมุ่งหมายของการเลือกตั้งจึงไม่ใช่การหมุนเวียนผู้นำประเทศ แต่กลายเป็นการสร้างความชอบธรรมที่จะหลีกเลี่ยงการเปลี่ยนผู้นำต่างหาก สำหรับสังคมจีน แน่นอนครับไม่มีพรรคการเมืองใดกล้ามาแข่งบารมีกับพรรคคอมมิวนิสต์หรอก แต่กลุ่มผู้นำสูงสุดของจีนได้รักษาคำมั่นที่จะอยู่ในอำนาจไม่เกิน 10 ปี ก่อนที่จะถ่ายโอนอำนาจไปสู่กลุ่มผู้นำใหม่อย่างสันติดังที่เกิดขึ้นเมื่อปลายปีที่แล้ว คนจีนเข้าใจดีว่าถ้าอำนาจไม่เปลี่ยนมือเลย จะกลายเป็นปัญหาใหญ่ จึงพยายามพัฒนาระบบการปกครองแบบคณะบุคคลที่พร้อมจะถ่ายโอนอำนาจทุกสิบปี และหลีกเลี่ยงการให้ผู้นำคนเดียวหรือตระกูลเดียวมีอำนาจเบ็ดเสร็จ
ข้อสอง สังคมประชาธิปไตยต้องรับฟังเสียงจากประชาชนแม้ประเทศ Aจะเปิดให้มีการเลือกตั้ง แต่ภายหลังจากที่เข้าบริหารประเทศแล้ว กลับขาดระบบการรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนของสังคมอย่างเพียงพอ ในขณะที่ในประเทศจีน แม้จะไม่มีการเลือกตั้ง แต่มีการวางระบบการรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับเมนูนโยบายและร่างกฎหมายต่างๆ จากภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง นอกจากนั้น ยังมีความพยายามให้รัฐบาลท้องถิ่นจัดทำระบบรับฟังความคิดเห็นออนไลน์จากประชาชนในท้องถิ่น ทั้งยังให้ความสำคัญกับผลการสำรวจความคิดเห็นทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการในประเด็นนโยบายสาธารณะ
ข้อสาม สังคมประชาธิปไตยต้องอดทนและเปิดรับความเห็นต่างในประเทศ A คุณสามารถตั้งพรรคการเมืองขึ้นมาแข่งขันกับพรรครัฐบาลระดมมวลชนออกมาประท้วงรัฐบาล และเขียนบทความโจมตีให้รัฐบาลลาออก เพียงแต่ผลลัพธ์คือรัฐบาลกลับไม่เคยทบทวนนโยบายตามความเห็นหรือข้อแนะนำของฝ่ายค้าน ในขณะที่ในจีน แม้คุณจะไม่สามารถตั้งพรรคการเมืองมาค้านได้ ไม่อาจระดมมวลชนออกมาประท้วงรัฐบาลกลางได้ ไม่อาจเขียนโจมตีไล่พรรคคอมมิวนิสต์ออกนอกประเทศได้ แต่กระบวนการตัดสินใจทางนโยบายของรัฐบาลกลับให้ความสำคัญกับความเห็นต่างและข้อวิจารณ์นโยบายสาธารณะจากทีมงานข้าราชการ นักวิชาการและภาคส่วนต่างๆ ค่อนข้างมาก มีตัวอย่างที่รัฐบาลทบทวนหรือปรับปรุงนโยบายหลังจากมีการวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง การมีความเห็นต่างในเรื่องนโยบายสาธารณะจึงเป็นสิ่งที่รัฐบาลจีนพร้อมเปิดรับ ตราบเท่าที่คุณไม่ได้มีความเห็นว่าควรจะยุบพรรคคอมมิวนิสต์ทิ้งไป
ข้อสี่ สังคมประชาธิปไตยต้องช่วยผลักดันให้คนดีมีความสามารถได้ขึ้นมาบริหารบ้านเมือง ในเรื่องนี้ หากเราเปรียบเทียบรายชื่อรัฐมนตรีจากประเทศ A กับรัฐมนตรีจากประเทศจีน เราก็จะเห็นความแตกต่างอย่างชัดเจน มีผลการวิจัยว่ารัฐมนตรีจากประเทศ Aรวมไปถึงบอร์ดบริหารรัฐวิสาหกิจทั้งหลายส่วนใหญ่จบการศึกษาจากสองมหาวิทยาลัยสำคัญเท่านั้น (จึงเป็นรุ่นพี่รุ่นน้องกันหมด) นอกจากนั้น ส่วนใหญ่ยังเป็นคนในเมืองหลวงหรือภาคกลาง และรู้จักหรือมีสายสัมพันธ์กับท่านผู้นำในช่วงที่ท่านทำธุรกิจอยู่ก่อนที่ท่านจะเข้ามาเล่นการเมือง ขณะที่ในประเทศจีน คุณจะต้องเป็นนักศึกษาดีเด่น หรือเป็นนักกิจกรรมที่โดดเด่นจึงจะได้รับคัดเลือกเข้าเป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ (ไม่ใช่ใครๆ ก็สมัครเข้าพรรคได้) และการแต่งตั้งสมาชิกพรรคเข้าดำรงตำแหน่งต่างๆ ก็ดูกันที่ผลงานที่ผ่านมาเป็นหลัก โดยให้ความสำคัญกับการกระจายตำแหน่งต่างๆ ในส่วนกลางไปยังสมาชิกพรรคที่มาจากภูมิภาคและพื้นฐานสังคมที่หลากหลาย
ข้อห้า สังคมประชาธิปไตยต้องเป็นสังคมที่เปิดพื้นที่ให้มีการทดลองทางนโยบาย ในประเทศจีน การปฏิรูปการเมืองและเศรษฐกิจไม่ใช่เพียงข้อเสนอด้วยน้ำลายหรือบนกระดาษเท่านั้น แต่ต้องมาจากผลการทดลองจริงว่าใช้ได้ผลหรือไม่กับบริบทของประเทศจีน โดยอาจเป็นการทดลองในเขตพื้นที่เล็กๆ พื้นที่หนึ่งก่อน หากใช้ได้ผล จึงจะนำไปขยายผลปรับใช้ทั่วประเทศ สังคมจีนจึงเป็นสังคมที่มีการกระจายอำนาจและเปิดโอกาสให้ท้องถิ่นทำการทดลองและแข่งขันกันในเรื่องนโยบาย ขณะที่สังคมของประเทศ A กลับเป็นสังคมรวมศูนย์จากส่วนกลาง มักถกเถียงเรื่องนโยบายกันบนกระดาษหรือผ่านเวทีปราศรัย แต่ไม่เปิดโอกาสให้มีการทดลองปฏิรูปอะไรใหม่ๆ เลย
มีหลายคนกล่าวว่าสังคมจีนยุคใหม่เป็น “คอมมิวนิสต์แต่เปลือก” เราก็สามารถกล่าวว่าสังคมประเทศ A ก็เป็น “ประชาธิปไตยแต่เปลือก” เช่นเดียวกัน ถึงตรงนี้ เชื่อว่าท่านผู้อ่านคงเดาออกแล้วว่าผมกำลังเปรียบเทียบประเทศจีนกับประเทศใดถูกต้องครับ ประเทศ A ก็คือประเทศรัสเซียไงครับ (อย่าคิด “ใกล้” เกินไปครับ !!) โดยที่ประธานาธิบดีปูติน ก็คือผู้นำเผด็จการในคราบประชาธิปไตย และจริงๆ การเปรียบเทียบดังกล่าว ก็เป็นผลการศึกษาของนักวิชาการชื่อดังด้านรัสเซียศึกษาชื่อ Ivan Krastev
Krastev อธิบายว่า ในช่วงปี ค.ศ. 1989 - 1991 ผู้นำของทั้งรัสเซียและจีนต่างเห็นตรงกันว่าการปกครองแบบคอมมิวนิสต์เป็นการปกครองที่ล้มเหลว เพียงแต่ทั้งสองมองเห็นสาเหตุแตกต่างกัน ประธานาธิบดีกอร์บาชอฟของรัสเซียเห็นว่าสิ่งที่ล้มเหลวคือ พรรคคอมมิวนิสต์ และต้องเร่งปฏิรูปการเมืองไปสู่ประชาธิปไตยแบบเลือกตั้งตามตะวันตก ขณะที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนกลับเห็นว่าสิ่งที่ล้มเหลวไม่ใช่การปกครองเผด็จการของพรรคคอมมิวนิสต์จีน แต่เป็นรูปแบบเศรษฐกิจแบบวางแผนจากส่วนกลาง จึงต้องเร่งเปิดและปฏิรูปเศรษฐกิจ โดยยังคงรูปแบบการปกครองแบบเดิม แต่พยายามปฏิรูปสาระให้เป็นไปในแนวทางประชาธิปไตยมากขึ้น ผลก็คือความสำเร็จในการพัฒนาทางเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง
การดูว่าประเทศใดเป็นประชาธิปไตยแค่ไหน ต้องไม่ใช่เพียงพิจารณาจาก “รูปแบบ” ของสถาบันทางการเมืองในประเทศนั้น แต่ต้องดูถึง “สาระ” นั่นคือสถาบันทางการเมืองเหล่านั้นเนื้อในเป็นอย่างไรด้วย รัสเซียเป็นประเทศที่มีรูปแบบการปกครองเป็นประชาธิปไตย แต่ภายใต้รูปแบบดังกล่าว กลับเปี่ยมด้วยกลเกมกลโกงสารพัด ขณะที่จีนนั้นโดยรูปแบบเป็นเผด็จการพรรคคอมมิวนิสต์ แต่โดยสาระอาจมีความเป็นประชาธิปไตยยิ่งกว่าประเทศที่เรียกตนว่าเป็นประชาธิปไตยอีกหลายๆ ประเทศ
http://www.thaisocialist.com/thaisocialist1/cin_suksa/Entries/2013/5/5_sangkhm_cin_pen_prachathiptiy_kh_hin.html
สังคมจีนเป็นประชาธิปไตยแค่ไหน? [เห็นว่าน่าสนใจดีเลยเอามาฝากครับ]
โดย : อาร์ม ตั้งนิรันดร
คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เรามักสอนกันตามตำราและตามมาตรฐานฝรั่งว่าจีนปกครองด้วยระบบเผด็จการพรรคคอมมิวนิสต์ จึงไม่ใช่สังคมประชาธิปไตย หากความเป็นจริงซับซ้อนกว่านี้มาก จีนอาจไม่ใช่สังคมประชาธิปไตยตามรูปแบบที่มักเข้าใจกัน แต่โดยเนื้อแท้แล้ว สังคมจีนมีสาระที่เป็นประชาธิปไตยไม่น้อยเลยทีเดียว
ในบทความนี้ เราจะลองพยายามวัดระดับความเป็นประชาธิปไตยของสังคมจีนด้วยการเปรียบเทียบกับสังคมประเทศ A แต่เพื่อความสนุกสนานและท้าทายท่านผู้อ่าน เราจะค่อยเฉลยว่าประเทศ A ที่ยกขึ้นมาเปรียบเทียบคือประเทศใดในตอนท้ายของบทความ พยายามทายให้ถูกนะครับ
ปัจจัยที่เราจะใช้วัดระดับความเป็นประชาธิปไตยของสังคมมี 5 ข้อ ดังนี้
ข้อแรก สังคมประชาธิปไตยต้องมีการหมุนเวียนผู้นำประเทศในแง่นี้ ในรอบสิบห้าปีที่ผ่านมาประเทศ A มีการเลือกตั้งก็จริง แต่ผู้นำคนเดียวหรือเครือญาติของผู้นำคนเดียวชนะการเลือกตั้งทุกครั้ง จุดมุ่งหมายของการเลือกตั้งจึงไม่ใช่การหมุนเวียนผู้นำประเทศ แต่กลายเป็นการสร้างความชอบธรรมที่จะหลีกเลี่ยงการเปลี่ยนผู้นำต่างหาก สำหรับสังคมจีน แน่นอนครับไม่มีพรรคการเมืองใดกล้ามาแข่งบารมีกับพรรคคอมมิวนิสต์หรอก แต่กลุ่มผู้นำสูงสุดของจีนได้รักษาคำมั่นที่จะอยู่ในอำนาจไม่เกิน 10 ปี ก่อนที่จะถ่ายโอนอำนาจไปสู่กลุ่มผู้นำใหม่อย่างสันติดังที่เกิดขึ้นเมื่อปลายปีที่แล้ว คนจีนเข้าใจดีว่าถ้าอำนาจไม่เปลี่ยนมือเลย จะกลายเป็นปัญหาใหญ่ จึงพยายามพัฒนาระบบการปกครองแบบคณะบุคคลที่พร้อมจะถ่ายโอนอำนาจทุกสิบปี และหลีกเลี่ยงการให้ผู้นำคนเดียวหรือตระกูลเดียวมีอำนาจเบ็ดเสร็จ
ข้อสอง สังคมประชาธิปไตยต้องรับฟังเสียงจากประชาชนแม้ประเทศ Aจะเปิดให้มีการเลือกตั้ง แต่ภายหลังจากที่เข้าบริหารประเทศแล้ว กลับขาดระบบการรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนของสังคมอย่างเพียงพอ ในขณะที่ในประเทศจีน แม้จะไม่มีการเลือกตั้ง แต่มีการวางระบบการรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับเมนูนโยบายและร่างกฎหมายต่างๆ จากภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง นอกจากนั้น ยังมีความพยายามให้รัฐบาลท้องถิ่นจัดทำระบบรับฟังความคิดเห็นออนไลน์จากประชาชนในท้องถิ่น ทั้งยังให้ความสำคัญกับผลการสำรวจความคิดเห็นทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการในประเด็นนโยบายสาธารณะ
ข้อสาม สังคมประชาธิปไตยต้องอดทนและเปิดรับความเห็นต่างในประเทศ A คุณสามารถตั้งพรรคการเมืองขึ้นมาแข่งขันกับพรรครัฐบาลระดมมวลชนออกมาประท้วงรัฐบาล และเขียนบทความโจมตีให้รัฐบาลลาออก เพียงแต่ผลลัพธ์คือรัฐบาลกลับไม่เคยทบทวนนโยบายตามความเห็นหรือข้อแนะนำของฝ่ายค้าน ในขณะที่ในจีน แม้คุณจะไม่สามารถตั้งพรรคการเมืองมาค้านได้ ไม่อาจระดมมวลชนออกมาประท้วงรัฐบาลกลางได้ ไม่อาจเขียนโจมตีไล่พรรคคอมมิวนิสต์ออกนอกประเทศได้ แต่กระบวนการตัดสินใจทางนโยบายของรัฐบาลกลับให้ความสำคัญกับความเห็นต่างและข้อวิจารณ์นโยบายสาธารณะจากทีมงานข้าราชการ นักวิชาการและภาคส่วนต่างๆ ค่อนข้างมาก มีตัวอย่างที่รัฐบาลทบทวนหรือปรับปรุงนโยบายหลังจากมีการวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง การมีความเห็นต่างในเรื่องนโยบายสาธารณะจึงเป็นสิ่งที่รัฐบาลจีนพร้อมเปิดรับ ตราบเท่าที่คุณไม่ได้มีความเห็นว่าควรจะยุบพรรคคอมมิวนิสต์ทิ้งไป
ข้อสี่ สังคมประชาธิปไตยต้องช่วยผลักดันให้คนดีมีความสามารถได้ขึ้นมาบริหารบ้านเมือง ในเรื่องนี้ หากเราเปรียบเทียบรายชื่อรัฐมนตรีจากประเทศ A กับรัฐมนตรีจากประเทศจีน เราก็จะเห็นความแตกต่างอย่างชัดเจน มีผลการวิจัยว่ารัฐมนตรีจากประเทศ Aรวมไปถึงบอร์ดบริหารรัฐวิสาหกิจทั้งหลายส่วนใหญ่จบการศึกษาจากสองมหาวิทยาลัยสำคัญเท่านั้น (จึงเป็นรุ่นพี่รุ่นน้องกันหมด) นอกจากนั้น ส่วนใหญ่ยังเป็นคนในเมืองหลวงหรือภาคกลาง และรู้จักหรือมีสายสัมพันธ์กับท่านผู้นำในช่วงที่ท่านทำธุรกิจอยู่ก่อนที่ท่านจะเข้ามาเล่นการเมือง ขณะที่ในประเทศจีน คุณจะต้องเป็นนักศึกษาดีเด่น หรือเป็นนักกิจกรรมที่โดดเด่นจึงจะได้รับคัดเลือกเข้าเป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ (ไม่ใช่ใครๆ ก็สมัครเข้าพรรคได้) และการแต่งตั้งสมาชิกพรรคเข้าดำรงตำแหน่งต่างๆ ก็ดูกันที่ผลงานที่ผ่านมาเป็นหลัก โดยให้ความสำคัญกับการกระจายตำแหน่งต่างๆ ในส่วนกลางไปยังสมาชิกพรรคที่มาจากภูมิภาคและพื้นฐานสังคมที่หลากหลาย
ข้อห้า สังคมประชาธิปไตยต้องเป็นสังคมที่เปิดพื้นที่ให้มีการทดลองทางนโยบาย ในประเทศจีน การปฏิรูปการเมืองและเศรษฐกิจไม่ใช่เพียงข้อเสนอด้วยน้ำลายหรือบนกระดาษเท่านั้น แต่ต้องมาจากผลการทดลองจริงว่าใช้ได้ผลหรือไม่กับบริบทของประเทศจีน โดยอาจเป็นการทดลองในเขตพื้นที่เล็กๆ พื้นที่หนึ่งก่อน หากใช้ได้ผล จึงจะนำไปขยายผลปรับใช้ทั่วประเทศ สังคมจีนจึงเป็นสังคมที่มีการกระจายอำนาจและเปิดโอกาสให้ท้องถิ่นทำการทดลองและแข่งขันกันในเรื่องนโยบาย ขณะที่สังคมของประเทศ A กลับเป็นสังคมรวมศูนย์จากส่วนกลาง มักถกเถียงเรื่องนโยบายกันบนกระดาษหรือผ่านเวทีปราศรัย แต่ไม่เปิดโอกาสให้มีการทดลองปฏิรูปอะไรใหม่ๆ เลย
มีหลายคนกล่าวว่าสังคมจีนยุคใหม่เป็น “คอมมิวนิสต์แต่เปลือก” เราก็สามารถกล่าวว่าสังคมประเทศ A ก็เป็น “ประชาธิปไตยแต่เปลือก” เช่นเดียวกัน ถึงตรงนี้ เชื่อว่าท่านผู้อ่านคงเดาออกแล้วว่าผมกำลังเปรียบเทียบประเทศจีนกับประเทศใดถูกต้องครับ ประเทศ A ก็คือประเทศรัสเซียไงครับ (อย่าคิด “ใกล้” เกินไปครับ !!) โดยที่ประธานาธิบดีปูติน ก็คือผู้นำเผด็จการในคราบประชาธิปไตย และจริงๆ การเปรียบเทียบดังกล่าว ก็เป็นผลการศึกษาของนักวิชาการชื่อดังด้านรัสเซียศึกษาชื่อ Ivan Krastev
Krastev อธิบายว่า ในช่วงปี ค.ศ. 1989 - 1991 ผู้นำของทั้งรัสเซียและจีนต่างเห็นตรงกันว่าการปกครองแบบคอมมิวนิสต์เป็นการปกครองที่ล้มเหลว เพียงแต่ทั้งสองมองเห็นสาเหตุแตกต่างกัน ประธานาธิบดีกอร์บาชอฟของรัสเซียเห็นว่าสิ่งที่ล้มเหลวคือ พรรคคอมมิวนิสต์ และต้องเร่งปฏิรูปการเมืองไปสู่ประชาธิปไตยแบบเลือกตั้งตามตะวันตก ขณะที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนกลับเห็นว่าสิ่งที่ล้มเหลวไม่ใช่การปกครองเผด็จการของพรรคคอมมิวนิสต์จีน แต่เป็นรูปแบบเศรษฐกิจแบบวางแผนจากส่วนกลาง จึงต้องเร่งเปิดและปฏิรูปเศรษฐกิจ โดยยังคงรูปแบบการปกครองแบบเดิม แต่พยายามปฏิรูปสาระให้เป็นไปในแนวทางประชาธิปไตยมากขึ้น ผลก็คือความสำเร็จในการพัฒนาทางเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง
การดูว่าประเทศใดเป็นประชาธิปไตยแค่ไหน ต้องไม่ใช่เพียงพิจารณาจาก “รูปแบบ” ของสถาบันทางการเมืองในประเทศนั้น แต่ต้องดูถึง “สาระ” นั่นคือสถาบันทางการเมืองเหล่านั้นเนื้อในเป็นอย่างไรด้วย รัสเซียเป็นประเทศที่มีรูปแบบการปกครองเป็นประชาธิปไตย แต่ภายใต้รูปแบบดังกล่าว กลับเปี่ยมด้วยกลเกมกลโกงสารพัด ขณะที่จีนนั้นโดยรูปแบบเป็นเผด็จการพรรคคอมมิวนิสต์ แต่โดยสาระอาจมีความเป็นประชาธิปไตยยิ่งกว่าประเทศที่เรียกตนว่าเป็นประชาธิปไตยอีกหลายๆ ประเทศ
http://www.thaisocialist.com/thaisocialist1/cin_suksa/Entries/2013/5/5_sangkhm_cin_pen_prachathiptiy_kh_hin.html