บริษัทที่มีชื่อเสียงมักจะประสบปัญหาเมื่อบุคคลที่สามพยายามที่จะแสวงหาประโยชน์จากเครื่องหมายการค้าที่มีชื่อเสียง โดยการนำชื่อเครื่องหมายการค้า หรือ ส่วนหนึ่งของชื่อเครื่องหมายการค้าของบริษัทเหล่านั้นไปจดทะเบียนเป็นชื่อทางการค้า
การรับจดทะเบียนชื่อทางการค้าโดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้าที่กระทรวงพาณิชย์นั้นจะตรวจสอบตาม ระเบียบสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลางว่าด้วยการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนและบริษัท พ.ศ. 2549 ซึ่งมีหลัก คือ จะต้องไม่พ้อง หรือมีชื่อเรียกขานตรงกันหรือคล้ายคลึงกับชื่อนิติบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว และ ต้องไม่มีคำหรือข้อความใดที่ต้องห้าม เช่น พระนามของพระเจ้าแผ่นดิน ชื่อกระทรวง ทบวง กรม ชื่อที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน เป็นต้น โดยการพิจารณาจะไม่ตรวจสอบว่าชื่อทางการค้าดังกล่าวจะไปเหมือนหรือคล้ายกับชื่อเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้ยื่นจดทะเบียนไว้แล้วหรือไม่
ในกรณีดังกล่าวจะเกิดพบอยู่บ่อยครั้งซึ่งไม่มีกฎหมายใช้บังคับกับกรณีนี้ไว้โดยเฉพาะหากปรากฏว่ามีการกระทำจนถึงขนาดว่าเป็นการละเมิดจนถึงขั้นฟ้องร้องศาลจะใช้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่เกี่ยวกับชื่อทางการค้า มาตรา 18 มาใช้บังคับ มาตรา 18 มีสาระสำคัญว่า “สิทธิของบุคคลในการที่จะใช้นามอันชอบที่จะใช้ได้นั้น ถ้ามีบุคคลอื่นโต้แย้งก็ดี หรือ บุคคลผู้เป็นเจ้าของนามนั้นต้องเสื่อมเสียประโยชน์เพราะการที่มีผู้อื่นมาใช้นามเดียวกันโดยมิได้รับอำนาจให้ใช้ก็ดี บุคคลผู้เป็นเจ้าของนามจะเรียกให้บุคคลนั้นระงับความเสียหายก็ได้ ถ้าและเป็นที่พึงวิตกว่าจะต้องเสียหายอยู่สืบไป จะร้องขอต่อศาลให้สั่งห้ามก็ได้
มาตรา 18 นั้นกล่าวถึงนามโดยทั่ว ๆ ไปซึ่ง หมายความรวมถึง นามบุคคล นามนิติบุคคล ชื่อทางการค้า ชื่อเครื่องหมายการค้า ชื่อเครื่องหมายบริการ ชื่อเครื่องหมายรับรอง ชื่อเครื่องหมายร่วม เป็นต้น
ดังปรากฏตัวอย่างในคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9277/2547 จำเลยที่ 1 จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าอันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ในขณะที่ พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 ใช้บังคับอยู่ ดังนี้ โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าคำว่า "โต๊ะกัง" และ "ตั้งโต๊ะกัง" ที่เป็นภาษาไทย จีน และอังกฤษ ซึ่งเขียนว่า "TOH KANG" และ "TANG TOH KANG" มาตั้งแต่ครั้งบรรพบุรุษของโจทก์ที่ 2 โดยใช้กับสินค้าจำพวกทองคำ คำดังกล่าวเป็นคำที่มีลักษณะบ่งเฉพาะ ไม่ได้มีความหมายว่าทองคำหรือเกี่ยวข้องกับทองคำแต่อย่างใด หากแต่เป็นชื่อสกุลของบรรพบุรุษของฝ่ายโจทก์ที่ประกอบกิจการค้าทองคำติดต่อกันมาตั้งแต่ก่อนปี 2464 เป็นเวลากว่า 80 ปีแล้ว และยังใช้คำว่า "ตั้งโต๊ะกัง" เป็นชื่อห้างหุ้นส่วนจำกัดโจทก์ที่ 1 ตลอดมาด้วย
ส่วนจำเลยที่ 1 เพิ่งมาประกอบกิจการร้านทองในลักษณะเดียวกับโจทก์ทั้งสองเมื่อปี 2515 และต่อมาในปี 2531 ถึงปี 2532 จำเลยทั้งสองนำชื่อเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทั้งสองใช้เป็นชื่อห้างย่อมทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดว่าสถานประกอบการค้าทองของจำเลยทั้งสองเป็นสถานประกอบการค้าทองของโจทก์ทั้งสองหรือเป็นสถานประกอบการค้าทองที่โจทก์ทั้งสองมีส่วนรวมอยู่ด้วย เป็นเหตุให้โจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหายจากการสับสนหรือหลงผิดดังกล่าวได้เช่นกัน เมื่อจำเลยทั้งสองไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ทั้งสองให้ใช้ชื่อทางการค้าคำว่า "โต๊ะกัง" เป็นเหตุให้โจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหาย จึงเป็นการกระทำละเมิดต่อสิทธิในชื่อทางการค้าของโจทก์ทั้งสอง แม้โจทก์จะไม่ได้ต่ออายุชื่อเครื่องหมายการค้าของตนจนแต่ก็ไม่ทำให้สิทธิในชื่อเครื่องหมายการค้าของโจทก์เสียไป โจทก์ทั้งสองย่อมมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสองเนื่องจากการใช้ชื่อทางการค้าของโจทก์ทั้งสองโดยไม่ชอบนั้นได้ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 18 และ มาตรา 420
ข้อมูล : www.tgcthailand.com
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและชื่อทางการค้าที่ซ้ำซ้อนกัน
การรับจดทะเบียนชื่อทางการค้าโดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้าที่กระทรวงพาณิชย์นั้นจะตรวจสอบตาม ระเบียบสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลางว่าด้วยการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนและบริษัท พ.ศ. 2549 ซึ่งมีหลัก คือ จะต้องไม่พ้อง หรือมีชื่อเรียกขานตรงกันหรือคล้ายคลึงกับชื่อนิติบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว และ ต้องไม่มีคำหรือข้อความใดที่ต้องห้าม เช่น พระนามของพระเจ้าแผ่นดิน ชื่อกระทรวง ทบวง กรม ชื่อที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน เป็นต้น โดยการพิจารณาจะไม่ตรวจสอบว่าชื่อทางการค้าดังกล่าวจะไปเหมือนหรือคล้ายกับชื่อเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้ยื่นจดทะเบียนไว้แล้วหรือไม่
ในกรณีดังกล่าวจะเกิดพบอยู่บ่อยครั้งซึ่งไม่มีกฎหมายใช้บังคับกับกรณีนี้ไว้โดยเฉพาะหากปรากฏว่ามีการกระทำจนถึงขนาดว่าเป็นการละเมิดจนถึงขั้นฟ้องร้องศาลจะใช้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่เกี่ยวกับชื่อทางการค้า มาตรา 18 มาใช้บังคับ มาตรา 18 มีสาระสำคัญว่า “สิทธิของบุคคลในการที่จะใช้นามอันชอบที่จะใช้ได้นั้น ถ้ามีบุคคลอื่นโต้แย้งก็ดี หรือ บุคคลผู้เป็นเจ้าของนามนั้นต้องเสื่อมเสียประโยชน์เพราะการที่มีผู้อื่นมาใช้นามเดียวกันโดยมิได้รับอำนาจให้ใช้ก็ดี บุคคลผู้เป็นเจ้าของนามจะเรียกให้บุคคลนั้นระงับความเสียหายก็ได้ ถ้าและเป็นที่พึงวิตกว่าจะต้องเสียหายอยู่สืบไป จะร้องขอต่อศาลให้สั่งห้ามก็ได้
มาตรา 18 นั้นกล่าวถึงนามโดยทั่ว ๆ ไปซึ่ง หมายความรวมถึง นามบุคคล นามนิติบุคคล ชื่อทางการค้า ชื่อเครื่องหมายการค้า ชื่อเครื่องหมายบริการ ชื่อเครื่องหมายรับรอง ชื่อเครื่องหมายร่วม เป็นต้น
ดังปรากฏตัวอย่างในคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9277/2547 จำเลยที่ 1 จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าอันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ในขณะที่ พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 ใช้บังคับอยู่ ดังนี้ โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าคำว่า "โต๊ะกัง" และ "ตั้งโต๊ะกัง" ที่เป็นภาษาไทย จีน และอังกฤษ ซึ่งเขียนว่า "TOH KANG" และ "TANG TOH KANG" มาตั้งแต่ครั้งบรรพบุรุษของโจทก์ที่ 2 โดยใช้กับสินค้าจำพวกทองคำ คำดังกล่าวเป็นคำที่มีลักษณะบ่งเฉพาะ ไม่ได้มีความหมายว่าทองคำหรือเกี่ยวข้องกับทองคำแต่อย่างใด หากแต่เป็นชื่อสกุลของบรรพบุรุษของฝ่ายโจทก์ที่ประกอบกิจการค้าทองคำติดต่อกันมาตั้งแต่ก่อนปี 2464 เป็นเวลากว่า 80 ปีแล้ว และยังใช้คำว่า "ตั้งโต๊ะกัง" เป็นชื่อห้างหุ้นส่วนจำกัดโจทก์ที่ 1 ตลอดมาด้วย
ส่วนจำเลยที่ 1 เพิ่งมาประกอบกิจการร้านทองในลักษณะเดียวกับโจทก์ทั้งสองเมื่อปี 2515 และต่อมาในปี 2531 ถึงปี 2532 จำเลยทั้งสองนำชื่อเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทั้งสองใช้เป็นชื่อห้างย่อมทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดว่าสถานประกอบการค้าทองของจำเลยทั้งสองเป็นสถานประกอบการค้าทองของโจทก์ทั้งสองหรือเป็นสถานประกอบการค้าทองที่โจทก์ทั้งสองมีส่วนรวมอยู่ด้วย เป็นเหตุให้โจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหายจากการสับสนหรือหลงผิดดังกล่าวได้เช่นกัน เมื่อจำเลยทั้งสองไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ทั้งสองให้ใช้ชื่อทางการค้าคำว่า "โต๊ะกัง" เป็นเหตุให้โจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหาย จึงเป็นการกระทำละเมิดต่อสิทธิในชื่อทางการค้าของโจทก์ทั้งสอง แม้โจทก์จะไม่ได้ต่ออายุชื่อเครื่องหมายการค้าของตนจนแต่ก็ไม่ทำให้สิทธิในชื่อเครื่องหมายการค้าของโจทก์เสียไป โจทก์ทั้งสองย่อมมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสองเนื่องจากการใช้ชื่อทางการค้าของโจทก์ทั้งสองโดยไม่ชอบนั้นได้ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 18 และ มาตรา 420
ข้อมูล : www.tgcthailand.com