อกชัย สปป โต้แย้ง กกต สมชัย ใครกันแน่ที่ไม่รู้กฎหมาย? กรณี กกต รับสมัคร สสบัญชีรายชื่อ ๒๓-๒๗ ธค ๕๖ 28 ธันวาคม 2013

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
เอกชัย สปป โต้แย้ง กกต สมชัย ใครกันแน่ที่ไม่รู้กฎหมาย? กรณี กกต รับสมัคร สสบัญชีรายชื่อ ๒๓-๒๗ ธค ๕๖
28 ธันวาคม 2013 เวลา 16:05 น.
http://youtu.be/w0tydWFFayk
รายการ ฟันธง “เลือกตั้ง เลื่อน หรือไม่เลื่อน” ช่อง ๑๑วันที่ ๒๗ ธันวาคม พศ ๒๕๕๖ กกต สมชัย ได้ โต้แย้งการแสดงความคิดเห็นของผม ในฐานะโฆษก สปป โดย ได้กล่าวในนาที ๑๖.๔๖ ว่า
“ การเปลี่ยนสถานที่มีการพูดคุยกันมีการจัดเตรียมจริง ...การเปลี่ยนสถานที่นั้นจะต้องประกาศในราชกิจจานเบกษาก่อนประมาณ ๑วัน ... การเปลี่ยนสถานที่ไม่ใช่ประเด็นที่จะทำให้เหตุการณ์สงบหรือไม่สงบขึ้นอยู่กับฝ่ายที่คัดค้านว่ามีความมุ่งมั่นแค่ไหนอย่างไร
ผมอ่านแถลงการณ์ของทางกลุ่มอาจารย์ ผมก็ไม่สบายใจ
เพราะบางเรื่องอาจารย์ ไม่รู้จริง(นาที ที่ ๑๗.๑๗)และก็เขียนไปในแถลงการณ์ เช่นบอกว่าทำไมไม่รับสมัครทาง อินเตอรเนท ทำไมไม่จับฉลากทาง vdo conference   ผมถามว่า อาจารย์อ่านกฎหมายหรือเปล่า?

กฎหมายบอกว่ายังไงครับ?

การยื่นใบสมัครนั้นจะต้องยื่นต่อ คณะกรรมการ การเลือกตั้ง

ในวัน เวลาและ สถานที่ ที่ประกาศในราชิจจานุเบกษา

ถ้าไปยื่นข้างนอก

ขนาดไปลงบันทึกเวลาที่โรงพักก็ยังบอกเลยว่าไปแอบรับสมัครกันข้างนอกได้อย่างไร

เพราะฉนั้นการจับสลาก ก็ต้องทำต่อหน้า กรรมการ การเลือกตั้ง

เพราะฉนั้นสิ่งต่างๆเหล่านี้ผมคิดว่าบางครั้งสังคมไทย ศึกษาน้อยเกินไป อาจเป็นเรื่องของการที่ว่า คิด จินตนาการว่า  กกต ทำได้ทุกอย่างทุกเรื่อง และพยายามบอกว่ากกตมีสิ่งทำได้ดีกว่านั้น กลับไม่ทำ .....

ผมก็เป็นห่วงว่าบางครั้งถ้าเราอยู่ในสภาพสังคม ซึ่งไม่รู้จริงและทำตัวเป็นผู้รู้
สังคมเสียหายเหมือนกันก็ทำให้คนสับสน ว่าทำได้หรือทำไม่ได้”

(จบ การอ้างอิง)


เนื่องจากผมไม่มีโอกาสโต้แย้งประเด็นกฎหมายในรายการเพราะหมดเวลา  ถ้าอย่างนั้น เรามาดูกฎหมายกันครับ ว่าใครกันแน่ที่ไม่รู้จริง ใครกันแน่ที่ทำให้สังคมเสียหาย????

พรบประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง สส และ สว พศ ๒๕๕๐ (แก้ไข ๒๕๕๔)
มาตรา ๗ บัญญัติว่า

“ เมื่อมีพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการเลือกตั้งทั่วไปแล้วให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศในราชกิจจานุเบกษาเกี่ยวกับการเลือกตั้งดังต่อไปนี้

(๑) กำหนดวันรับสมัครเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งซึ่งต้องกำหนดให้มีการเริ่มรับสมัครไม่เกินยี่สิบวันนับจากวันที่
พระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใช้บังคับและต้องกำหนดวันรับสมัครไม่น้อยกว่าห้าวัน
(๒)กำหนดวันที่พรรคการเมืองจะยื่นบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อซึ่งต้องกำหนดให้เป็นวันก่อนวันรับสมัครเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งตาม (๑) และกำหนดวันรับสมัครไม่น้อยกว่าห้าวัน
(๓) ….”

(จบการอ้างอิง)

จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่ามาตรา ๗(๒) แห่ง พรบ ประกอบนี้ บังคับไว้แต่เพียงว่า

๑ กกต ต้องกำหนดวันที่จะยื่นรับสมัครแบบบัญชีรายชื่อ
๒ วันที่รับสมัครแบบบัญชีรายชื่อต้องทำก่อนวันรับสมัครแบบเขต
๓ต้องเปิดรับสมัครไม่น้อยกว่า ๕วัน

และ มาตรา ๔๒ วรรคท้าย ให้ กกต ประกาศ รายละเอียดเกี่ยวกับหลักฐานการสมัครและวิธีการยื่นบัญชีรายชื่อในราชกิจานุเบกษาเพื่อให้สังคมรับทราบ

เท่านั้น(!!!!) รายละเอียดที่เหลือ เช่นสถานที่รับสมัคร  กฎหมาย ไม่ได้บังคับเพราะ เจตนา เปิดช่องให้ กกต ใช้ อำนาจ ในการตัดสินใจว่าจะทำอย่างไรจึงจัดให้มีการเลือกตั้งตามที่รัฐธรรมนูญบังคับไว้ใน มาตรา ๑๐๘ ก็อย่างที่ กกต สมชัย ยอมรับในรายการว่าเปลี่ยนสถานที่รับสมัครได้ ก็แค่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ๑วันก็มีผลใช้ได้ ซึ่ง

ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้งเรื่องการสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐ ตอนที่๑๑๙ ก หน้า ๒๒ ลงวันที่ ๑๗ ธันวาคม พศ ๒๕๕๖ ลงนาม โดย นาย อภิชาติ ประธาน กกต  ณขณะนั้น วันที่ ๑๒ ธันวาคม พศ ๒๕๕๖ นั้นกำหนดว่า

ให้หัวหน้าพรรคการเมืองหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายยื่นบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ พร้อมด้วยหลักฐานต่างๆต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งตั้งแต่วันที่ ๒๓ ถึง ๒๗ ธันวาคม พศ ๒๕๕๖ ระหว่าง ๘.๓๐ น ถึง ๑๖.๓๐น ณศูนย์เยาวชนไทย ญี่ปุ่นดินแดง

ซึ่งประกาศคณะกรรมการ การเลือกตั้งนี้ สามารถ(ย้ำว่า)แก้ไขได้ ด้วยการออกประกาศใหม่ ให้มีวิธีการ ที่หลากหลายมากขึ้น เพราะ พรบประกอบ รธน ว่าด้วยการเลือกตั้ง สส สว ๒๕๕๐ บังคับแค่ ๓ ประการ เท่านั้น ที่เหลือให้อำนาจ ดุลยพินิจ แก่ กกต เพื่อ ให้ กกต สามารถ ทำหน้าที่จัดการรับสมัครเลือกตั้งได้

อีกทั้งกรณี การรับสมัครแบบ สส แบบ สัดส่วน ผมย้ำว่า กฎหมายไม่ได้บังคับว่าจะต้องกระทำณ สถานที่ใด และกฎหมาย ไม่ได้ห้ามเปลี่ยนแปลงแก้ไข สถานที่ หรือ วิธีการรับสมัครเพียงแต่บังคับตาม ม ๔๒ พรบ ประกอบ การเลือกตั้ง สส และ สว ที่ให้ ยื่นต่อ กกตตามวันเวลาที่กำหนด พร้อมค่าธรรมเนียม และหลักฐนอื่นๆเท่านั้น
ซึ่งไม่เหมือนกับกรณีการรับสมัคร สส แบบแบ่งเขต ที่กำหนดสถานที่ที่ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตกำหนด และ ทั้ง ๒ กรณี (แบบบัญชีรายชื่อ และแบ่งเขต) จะนำมาปนเปกันไม่ได้


บทสรุป
แถลงการณ์ฉบับที่๓ ของ สปป นั้น เจาะจงเฉพาะ ท่าทีในการทำงาน ของ กกต บางท่าน ที่มีต่อปัญหาการรับสมัคร สส แบบบัญชีรายชื่อเท่านั้น โดย กกต ไม่เลือกหรือหาแนวทางอื่นที่กฎหมายเปิดช่องให้กกตกระทำได้ โดยการ ออก หรือ แก้ไข ประกาศ กกต เรื่อง การรับสมัครเลือกตั้ง ได้โดยการประกาศในราชกิจานุเบกษา เพื่อลดความรุนแรงและสูญเสียต่อมนุษย์และทรัพย์สิน

ดังนั้นผมจึงเรียกร้อง  เรียกร้อง กกตต้องทำตามหน้าที่ ที่ รัฐธรรมนูญ พศ ๒๕๕๐ มาตรา ๒๓๕ ที่บัญญัติให้คณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นผู้ควบคุมและดำเนินการจัดการเลือกตั้งให้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม
เพราะ กกต ต้องทำหน้าที่จัดให้มีการเลือกตั้ง ในวันที่ ๒ กพพศ ๒๕๕๗ ให้ได้ ไม่ใช่เพื่อประโยชน์ของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งแต่เป็นหน้าที่ของ กกต ต่อคนไทยผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้ง ๔๘ ล้านคน


https://www.facebook.com/notes/ekachai-chainuvati/%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B8%A2-%E0%B8%AA%E0%B8%9B%E0%B8%9B-%E0%B9%82%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B9%81%E0%B8%A2%E0%B9%89%E0%B8%87-%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%95-%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B8%A2-%E0%B9%83%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%99%E0%B9%88%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%81%E0%B8%8E%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2-%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%B5-%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%95-%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%84%E0%B8%A3-%E0%B8%AA%E0%B8%AA%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A3/687802957927232?ref=notif¬if_t=notify_me
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่