สรุป ผู้มีสิทธ์ชนะการประมูลทีวีดิจิตอล ตลอด 2 วันที่ผ่านมา
การประมูลทีวีดิจิตอลครั้งประวัติศาสตร์ที่อาจเป็นการพลิกโฉมอุตสาหกรรมทีวีไทยไปตลอดกาลทั้ง 2 วันที่ผ่านมา สร้างความฮือฮาให้กับคนในวงการสื่อมากมาย โดยเฉพาะเรื่องของเม็ดเงินที่ใช้ในการประมูล ทั้ง 4 ประเภทรายการมีมูลค่ามหาศาลมาก รวมทั้งสิ้น 50,862 ล้านบาท ซึ่งยักษ์ใหญ่อย่างช่อง 3 ที่ยื่นซองทั้ง 3 ช่อง สามารถกวาดมาได้ทั้งหมด ขณะที่กลุ่มเนชั่น สามารถประมูลได้ทั้งช่อง SD และช่องข่าว ทั้งที่คาดการณ์กันว่า เนชั่นจะเน้นช่องข่าวเป็นหลัก
และถึงแม้ว่าหากทำการแยกกลุ่มทุนจริงๆ จะพบว่ามีเพียง 22 กลุ่มที่เข้าร่วมสังเวียนการประมูลในครั้งนี้ แต่กลายเป็นว่ามีบางกลุ่มที่ต้องพลาดหวัง ไม่ได้อะไรกลับบ้านจากการประมูลทีวีดิจิตอลเลย นั่นจึงเป็นการแสดงให้เห็นชัดเจนว่าการแข่งขันครั้งนี้มีความดุเดือดมาก เจ้าของธุรกิจได้เห็นพ้องต้องกันว่า อุตสาหกรรมทีวีคืออนาคตที่จะสามารถสร้างรายได้เข้ากระเป๋าอย่างมหาศาลมาก
ผู้มีสิทธ์ชนะการประมูลทีวีดิติจอล ช่อง HD ตั้งต้น 1510 ล้าน
3530 ล้าน = บริษัท บีอีซี-มัลติมีเดีย จำกัด (ช่อง 3)
3460 ล้าน = บริษัท บางกอก มีเดีย แอนด์ บรอดคาสติ้ง จำกัด (หมอเสริฐ)
3370 ล้าน = บริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด (ช่อง 7)
3360 ล้าน = บริษัท ทริปเปิล วี บรอดคาสท์ จำกัด (ไทยรัฐ)
3340 ล้าน = บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) (ช่อง 9)
3320 ล้าน = บริษัท อมรินทร์ เทเลวิชั่น จำกัด
3320 ล้าน = บริษัท จีเอ็มเอ็ม เอชดี ดิจิทัล ทีวี จำกัด (แกรมมี่)
ผู้มีสิทธ์ชนะการประมูลทีวีดิจิตอลช่อง SD ตั้งต้น 380 ล้าน
2355 ล้าน - บริษัท ไทย บรอดคาสติ้ง จำกัด (เวิร์คพ็อยน์)
2315 ล้าน - บริษัท ทรู ดีทีที จำกัด (ทรู)
2290 ล้าน - บริษัท จีเอ็มเอ็ม เอสดี ดิจิทัล ทีวี จำกัด (แกรมมี่)
2275 ล้าน - บริษัท บีอีซี-มัลติมีเดีย จำกัด (ช่อง 3)
2265 ล้าน - บริษัท อาร์.เอส.เทเลวิชั่น จำกัด (RS)
2250 ล้าน - บริษัท โมโน บรอดคาซท์ จำกัด (โพธารามิก)
2200 ล้าน - บริษัท แบงคอก บิสสิเนส บรอดแคสติ้ง จำกัด (เนชั่น)
ผู้มีสิทธิ์ชนะการประมูลทีวีดิจิตอลช่องข่าว ตั้งต้น 220 ล้าน
1338 ล้าน - บริษัท เอ็นบีซี เนกซ์ วิชั่น จำกัด (เนชั่น)
1330 ล้าน - บริษัท วอยซ์ทีวี จำกัด (Voice TV)
1328 ล้าน - บริษัท ไทยทีวี จำกัด (ทีวีพูล)
1318 ล้าน - บริษัท สปริงนิวส์ เทเลวิชั่นส์ จำกัด (Spring News)
1316 ล้าน - บริษัท ไทยนิวส์เน็ตเวิร์ค จำกัด (TNN24)
1310 ล้าน - บริษัท ดีเอ็น บรอดคาสท์ จำกัด (เดลินิวส์)
1298 ล้าน - บริษัท 3เอ มาร์เก็ตติ้ง จำกัด (ข่าว 5 หน้า 1)
ผู้มีสิทธิ์ชนะการประมูลทีวีดิจิตอลช่องเด็ก ตั้งต้น 140 ล้าน
666 ล้าน - บริษัท บีอีซี-มัลติมีเดีย จำกัด (ช่อง 3)
660 ล้าน - บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) (ช่อง 9)
648 ล้าน - บริษัท ไทยทีวี จำกัด (ทีวีพูล)
บริษัทตัวแทนในเครือที่ได้ช่องอื่นๆ แต่ไม่ได้ในช่องที่บริษัทตัวเองประมูล
บริษัท บีบีทีวี แซทเทลวิชั่น จำกัด (ช่อง 7) (ในเครือได้ช่อง HD)
บริษัท โมโน เจนเนอร์เรชั่น จำกัด (โพธารามิก) (ในเครือได้ช่อง SD)
บริษัท เนชั่น คิดส์ จำกัด (เนชั่น) (ในเครือได้ช่อง SD-ข่าว)
เครือบริษัทที่พ่ายแพ้ในการประมูล ไม่ได้อะไรกลับบ้านเลย
บริษัท พี เอ็ม กรุ๊ป จำกัด (มหากิจศิริ)
บริษัท โฟร์ วัน วัน เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด (มหากิจศิริ)
บริษัท ทัช ทีวี จำกัด (อินทัช)
บริษัท โพสต์ ทีวี จำกัด (เครือโพสต์)
บริษัท ไอ-สปอร์ มีเดีย จำกัด (สามารถ-สยามกีฬา)
บริษัท โรสมีเดีย แอนด์ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด (โรสมีเดีย)
ปีหน้าประชาชนแดนสยาม ก็จะได้มีโอกาสรับชมหน้าตาทีวีดิจิตอลของประเทศไทยทั้ง 48 ช่องแล้ว ว่าหน้าจะเป็นอย่างไร ไม่ว่าจะเป็นช่องธุรกิจ 24 ช่องที่จัดการประมูล รวมไปถึงอีก 24 ช่องสาธารณะที่จัดสรรให้ภาครัฐและชุมชนต่างๆ แต่สิ่งที่สำคัญคือการประมูลทีวีดิจิตอลครั้งนี้ ถือเป็นประตูบานใหม่ เพื่อเดินทางไปสู่การเปลี่ยนแปลง และพลิกโฉมโครงสร้างอุตสาหกรรมทีวีของประเทศไทยไปตลอดกาล นับตั้งแต่ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ให้กำเนิดช่อง 4 บางขุนพรมเมื่อ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2495
จากเรื่อยเปื่อยไปเรื่อย โดย Guntinan Chotpasit
สรุป ผู้มีสิทธ์ชนะการประมูลทีวีดิจิตอล ตลอด 2 วันที่ผ่านมา
การประมูลทีวีดิจิตอลครั้งประวัติศาสตร์ที่อาจเป็นการพลิกโฉมอุตสาหกรรมทีวีไทยไปตลอดกาลทั้ง 2 วันที่ผ่านมา สร้างความฮือฮาให้กับคนในวงการสื่อมากมาย โดยเฉพาะเรื่องของเม็ดเงินที่ใช้ในการประมูล ทั้ง 4 ประเภทรายการมีมูลค่ามหาศาลมาก รวมทั้งสิ้น 50,862 ล้านบาท ซึ่งยักษ์ใหญ่อย่างช่อง 3 ที่ยื่นซองทั้ง 3 ช่อง สามารถกวาดมาได้ทั้งหมด ขณะที่กลุ่มเนชั่น สามารถประมูลได้ทั้งช่อง SD และช่องข่าว ทั้งที่คาดการณ์กันว่า เนชั่นจะเน้นช่องข่าวเป็นหลัก
และถึงแม้ว่าหากทำการแยกกลุ่มทุนจริงๆ จะพบว่ามีเพียง 22 กลุ่มที่เข้าร่วมสังเวียนการประมูลในครั้งนี้ แต่กลายเป็นว่ามีบางกลุ่มที่ต้องพลาดหวัง ไม่ได้อะไรกลับบ้านจากการประมูลทีวีดิจิตอลเลย นั่นจึงเป็นการแสดงให้เห็นชัดเจนว่าการแข่งขันครั้งนี้มีความดุเดือดมาก เจ้าของธุรกิจได้เห็นพ้องต้องกันว่า อุตสาหกรรมทีวีคืออนาคตที่จะสามารถสร้างรายได้เข้ากระเป๋าอย่างมหาศาลมาก
ผู้มีสิทธ์ชนะการประมูลทีวีดิติจอล ช่อง HD ตั้งต้น 1510 ล้าน
3530 ล้าน = บริษัท บีอีซี-มัลติมีเดีย จำกัด (ช่อง 3)
3460 ล้าน = บริษัท บางกอก มีเดีย แอนด์ บรอดคาสติ้ง จำกัด (หมอเสริฐ)
3370 ล้าน = บริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด (ช่อง 7)
3360 ล้าน = บริษัท ทริปเปิล วี บรอดคาสท์ จำกัด (ไทยรัฐ)
3340 ล้าน = บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) (ช่อง 9)
3320 ล้าน = บริษัท อมรินทร์ เทเลวิชั่น จำกัด
3320 ล้าน = บริษัท จีเอ็มเอ็ม เอชดี ดิจิทัล ทีวี จำกัด (แกรมมี่)
ผู้มีสิทธ์ชนะการประมูลทีวีดิจิตอลช่อง SD ตั้งต้น 380 ล้าน
2355 ล้าน - บริษัท ไทย บรอดคาสติ้ง จำกัด (เวิร์คพ็อยน์)
2315 ล้าน - บริษัท ทรู ดีทีที จำกัด (ทรู)
2290 ล้าน - บริษัท จีเอ็มเอ็ม เอสดี ดิจิทัล ทีวี จำกัด (แกรมมี่)
2275 ล้าน - บริษัท บีอีซี-มัลติมีเดีย จำกัด (ช่อง 3)
2265 ล้าน - บริษัท อาร์.เอส.เทเลวิชั่น จำกัด (RS)
2250 ล้าน - บริษัท โมโน บรอดคาซท์ จำกัด (โพธารามิก)
2200 ล้าน - บริษัท แบงคอก บิสสิเนส บรอดแคสติ้ง จำกัด (เนชั่น)
ผู้มีสิทธิ์ชนะการประมูลทีวีดิจิตอลช่องข่าว ตั้งต้น 220 ล้าน
1338 ล้าน - บริษัท เอ็นบีซี เนกซ์ วิชั่น จำกัด (เนชั่น)
1330 ล้าน - บริษัท วอยซ์ทีวี จำกัด (Voice TV)
1328 ล้าน - บริษัท ไทยทีวี จำกัด (ทีวีพูล)
1318 ล้าน - บริษัท สปริงนิวส์ เทเลวิชั่นส์ จำกัด (Spring News)
1316 ล้าน - บริษัท ไทยนิวส์เน็ตเวิร์ค จำกัด (TNN24)
1310 ล้าน - บริษัท ดีเอ็น บรอดคาสท์ จำกัด (เดลินิวส์)
1298 ล้าน - บริษัท 3เอ มาร์เก็ตติ้ง จำกัด (ข่าว 5 หน้า 1)
ผู้มีสิทธิ์ชนะการประมูลทีวีดิจิตอลช่องเด็ก ตั้งต้น 140 ล้าน
666 ล้าน - บริษัท บีอีซี-มัลติมีเดีย จำกัด (ช่อง 3)
660 ล้าน - บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) (ช่อง 9)
648 ล้าน - บริษัท ไทยทีวี จำกัด (ทีวีพูล)
บริษัทตัวแทนในเครือที่ได้ช่องอื่นๆ แต่ไม่ได้ในช่องที่บริษัทตัวเองประมูล
บริษัท บีบีทีวี แซทเทลวิชั่น จำกัด (ช่อง 7) (ในเครือได้ช่อง HD)
บริษัท โมโน เจนเนอร์เรชั่น จำกัด (โพธารามิก) (ในเครือได้ช่อง SD)
บริษัท เนชั่น คิดส์ จำกัด (เนชั่น) (ในเครือได้ช่อง SD-ข่าว)
เครือบริษัทที่พ่ายแพ้ในการประมูล ไม่ได้อะไรกลับบ้านเลย
บริษัท พี เอ็ม กรุ๊ป จำกัด (มหากิจศิริ)
บริษัท โฟร์ วัน วัน เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด (มหากิจศิริ)
บริษัท ทัช ทีวี จำกัด (อินทัช)
บริษัท โพสต์ ทีวี จำกัด (เครือโพสต์)
บริษัท ไอ-สปอร์ มีเดีย จำกัด (สามารถ-สยามกีฬา)
บริษัท โรสมีเดีย แอนด์ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด (โรสมีเดีย)
ปีหน้าประชาชนแดนสยาม ก็จะได้มีโอกาสรับชมหน้าตาทีวีดิจิตอลของประเทศไทยทั้ง 48 ช่องแล้ว ว่าหน้าจะเป็นอย่างไร ไม่ว่าจะเป็นช่องธุรกิจ 24 ช่องที่จัดการประมูล รวมไปถึงอีก 24 ช่องสาธารณะที่จัดสรรให้ภาครัฐและชุมชนต่างๆ แต่สิ่งที่สำคัญคือการประมูลทีวีดิจิตอลครั้งนี้ ถือเป็นประตูบานใหม่ เพื่อเดินทางไปสู่การเปลี่ยนแปลง และพลิกโฉมโครงสร้างอุตสาหกรรมทีวีของประเทศไทยไปตลอดกาล นับตั้งแต่ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ให้กำเนิดช่อง 4 บางขุนพรมเมื่อ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2495
จากเรื่อยเปื่อยไปเรื่อย โดย Guntinan Chotpasit