สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 4
นิติกรรม หลักคือ กู้ยืมเงิน
การนำหลักทรัพย์มาค้ำประกัน ในกรณีนี้คือ ที่ดิน ซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์
ดังนั้นจึงต้องทำการค้ำประกันด้วยการจดจำนองเท่านั้น
หากกู้ยืมเงิน โดยเอาที่ดินมาค้ำประกัน
แทนที่จะจดจำนอง แต่ดันไปทำเป็นนิติกรรมขายฝาก
กรณีเช่นนี้ กฎหมายถือว่า การขายฝากเป็นนิติกรรมอำพรางการจดจำนอง
ดังนั้นจึงต้องบังคับตามสัญญาจำนอง ไม่ใช่ขายฝาก
เมื่อการจดจำนองไม่ได้ทำตามกฎหมาย และไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
จึงไม่อาจจะบังคับจำนองได้ และ ไม่ถือว่าที่ดินดังกล่าวเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันในกรณีดังกล่าวนี้
และนิติกรรมการขายฝากนั้น แม้ว่าจะทำถูกต้องตามกฎหมาย
แต่เมื่อเป็นการทำนิติกรรมอำพรางการกู้ยืมเงิน
การขายฝากดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะ ตาม ปพพ ม.155
ส่งผลให้การกู้ยืมเงินนั้น ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันในกรณีนี้แต่อย่างใด
ปล.ฎีกามีเยอะแยะเต็มไปหมดในกรณีนี้
เพราะเจ้าหนี้หลบเลี่ยงกฎหมาย หาทางเอาเปรียบลูกหนี้
กฎหมายจึงกำหนดในกรณีดังกล่าวนี้ไม่อาจบังคับได้
และหากเป็นการเรียกดอกเบี้ยเกินกว่า กม.ด้วยล่ะก็
เจ้าหนี้มีสิทธิถูกดำเนินคดีอาญา ฐานเรียกดอกเบี้ยเกินกว่า กม.อีกด้วย
ถ้าเอาแต่ฟังคนรอบข้างที่ไม่รู้กฎหมาย
แล้วนะนำให้เราเสียหาย
ผลสุดท้ายคนซวยคือเรา เงินต้นไม่ได้คืน ที่ดินก็บังคับไม่ได้
ถ้าเราทำอะไรตรงไปตรงมา อย่างน้อยเราก็สามารถยึดที่ดินบังคับจำนองก็ยังได้
การนำหลักทรัพย์มาค้ำประกัน ในกรณีนี้คือ ที่ดิน ซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์
ดังนั้นจึงต้องทำการค้ำประกันด้วยการจดจำนองเท่านั้น
หากกู้ยืมเงิน โดยเอาที่ดินมาค้ำประกัน
แทนที่จะจดจำนอง แต่ดันไปทำเป็นนิติกรรมขายฝาก
กรณีเช่นนี้ กฎหมายถือว่า การขายฝากเป็นนิติกรรมอำพรางการจดจำนอง
ดังนั้นจึงต้องบังคับตามสัญญาจำนอง ไม่ใช่ขายฝาก
เมื่อการจดจำนองไม่ได้ทำตามกฎหมาย และไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
จึงไม่อาจจะบังคับจำนองได้ และ ไม่ถือว่าที่ดินดังกล่าวเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันในกรณีดังกล่าวนี้
และนิติกรรมการขายฝากนั้น แม้ว่าจะทำถูกต้องตามกฎหมาย
แต่เมื่อเป็นการทำนิติกรรมอำพรางการกู้ยืมเงิน
การขายฝากดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะ ตาม ปพพ ม.155
ส่งผลให้การกู้ยืมเงินนั้น ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันในกรณีนี้แต่อย่างใด
ปล.ฎีกามีเยอะแยะเต็มไปหมดในกรณีนี้
เพราะเจ้าหนี้หลบเลี่ยงกฎหมาย หาทางเอาเปรียบลูกหนี้
กฎหมายจึงกำหนดในกรณีดังกล่าวนี้ไม่อาจบังคับได้
และหากเป็นการเรียกดอกเบี้ยเกินกว่า กม.ด้วยล่ะก็
เจ้าหนี้มีสิทธิถูกดำเนินคดีอาญา ฐานเรียกดอกเบี้ยเกินกว่า กม.อีกด้วย
ถ้าเอาแต่ฟังคนรอบข้างที่ไม่รู้กฎหมาย
แล้วนะนำให้เราเสียหาย
ผลสุดท้ายคนซวยคือเรา เงินต้นไม่ได้คืน ที่ดินก็บังคับไม่ได้
ถ้าเราทำอะไรตรงไปตรงมา อย่างน้อยเราก็สามารถยึดที่ดินบังคับจำนองก็ยังได้
แสดงความคิดเห็น
ญาติมายืมเงินพ่อ และจะเอาที่ดินเป็นหลักประกัน ควรจะต้องทำสัญญาขายฝาก หรือ จำนอง ดีคะ
มีกำหนดคืนภายในสามเดือน โดยมีพ่อเราเป็นคนค้ำประกัน
แต่ทีนี้พอเค้าได้เงินไปเค้ากลับเอาไปไถ่ที่ดินอีกแปลง สหกรณ์ก็เลยไม่ได้ปิด
ความวุ่นวายก็บังเกิดเพราะใกล้จะถึงกำหนดคืนแล้ว
คราวนี้พ่อเราเลยจะให้ยืมเงินเพื่อไปคืนเจ้าของที่ โดยเอาที่ที่เค้าไถ่มาเป็นหลักประกันกับพ่อเราไว้ และคิดดอกร้อยละ 2
บังเอิญพ่อเราไม่เหมือนชาวบ้าน เรื่องสำคัญขนาดนี้แต่คิดจะทำสัญญาแบบลวกๆ
และพูดอีกว่าถ้าเค้าไม่คืนก็รอให้ดอกท่วมต้นแล้วค่อยยึดละกัน.....T^T
เรากับแม่มองแล้วมันไม่ใช่อ่ะค่ะ เราเชื่อว่าต่อไปมีปัญหาแน่ถ้าเกิดไม่ทำสัญญาให้รัดกุม
แต่ทีนี้เราไม่ค่อยเข้าใจระหว่างการจำนองกับขายฝาก มันต่างกันยังไง
ในสัญญาควรจะเขียน และระบุรายละเอียดอะไรบ้าง เราอยากให้เค้าทยอยผ่อนคืน ไม่อยากให้จ่ายแต่ดอกเบี้ยไปเรื่อยๆ
บอกตรงๆ ค่ะ เรากลัวบ้านนี้โกง เพราะประวัติไม่ดีเท่าไหร่ ไม่อยากเจอคำว่า "ไม่มี ไม่หนี ไม่จ่าย"