.....จากกะทู้
http://ppantip.com/topic/31407153 ที่ผมเชิญชวนให้เพื่อสมาชิกพันทิพย์ในห้องราชดำเนินแห่งนี้ ให้มาร่วมแสดงออกด้วยวิถีทางที่ถูกต้องตามระบอบประชาธิปไตย ซึ่งว่าด้วยสิทธิเสรีภาพที่ประชาชนพึ่งมี
กะทู้นี้ผมขอตั้งเพื่ออธิบายขั้นตอนการดำเนินการในครั้งนี้ ซึ่งขออธิบายแบบจริงจังสักนิด ข้อความอาจจะอ่านแล้วเป็นทางการไปสักหน่อย ก็อย่าได้ถือโทษโกรธกันเลยนะครับ
ขั้นตอนการเสนอถอดถอนบุคคลออกจากตำแหน่ง ซึ่งเป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
๑. ผู้มีสิทธิเข้าชื่อ(ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ไม่ร้อยกว่า 20000 รายชื่อ) ยื่นคำร้องขอถอดถอนต่อประธานวุฒิสภา
๒. ประธานวุฒิสภา ส่งเรื่องให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ดำเนินการไต่สวนให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
๓. เมื่อไต่สวนเสร็จแล้ว ให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ทำรายงานเสนอต่อวุฒิสภา โดยในรายงานต้องระบุให้ชัดเจนว่า ข้อกล่าวหาตามคำร้องข้อใดมีมูลหรือไม่เพียงใดมีพยานหลักฐานที่ควรเชื่อได้อย่างไร พร้อมทั้งระบุข้อยุติว่าจะดำเนินการอย่างไร
แปลเป็นภาษาชาวบ้านว่า
ขั้นที่ 1 ผมจะออกเชิญชวนและชี้แจงเหตุผล ว่าทำไมถึงต้องดำเนินการถอดถอน ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ให้กับประชาชนทั่วไป ทั้งทางออนไลน์(ราชดำเนิน Facebook) และการออกไปตั้งโต๊ะประชาสัมพันธ์ด้วยตัวเองในเวลาที่ว่างจากภาระอื่นการงาน ในสถานที่ชุมขนละแวกที่ผมคุ้นเคย เช่น บริเวณหน้าห้างสรรพสินค้าใกล้บ้าน ตลาดนัด มหาวิทยาลัยที่ผมเป็นศิทย์เก่า หรือจังหวัดบ้านเกิดผม(สิงห์บุรี) ซึ่งผมไม่มีทุนรอนอะไรมาก ก็จะใช้สื่อที่ทำขึ้นเองอย่างใบปลิว ใบแบบฟอร์มการเข้าชื่อ ป้ายประชาสัมพันธ์ที่อาจจะดูกระจอกงอกง่อยถ้ามองกันที่ราคา แล้วก็เครื่องขยายเสียงเล็กๆสักชุด ออกไปตั้งโต๊ะประชาสัมพันธ์ในสถานที่ต่างๆที่ผมบอกไปขั้นต้น เชิญชวนและรวบรวมผู้ที่มีจิตจำนงเดียวกันมาร่วมลงชื่อถอดถอน ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญในครั้งนี้ ให้ได้เกินกว่า 20000 รายชื่อ
ขั้นที่ 2 ผมจะร่างคำร้องและรวบรวมหลักฐาน อันประกอบไปด้วย คลิปการให้สัมภาษณ์ ความเห็นจากนักวิชาการต่างๆ และหลักฐานเอกสารการชี้มูลความผิดของคณะ ตลก.ชุดนี้ ที่ไม่น่าจะถูกต้องตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ส่งทั้งหมดให้กับประธานวุฒิสภา
ขั้นที่ 3 เมื่อประธานวุฒิสภารับเรื่อง ก็เป็นไปตามกระบวนการขั้นตอนของวุฒิสภา ซึ่งประชาชนอย่างเราก็ปล่อยให้เป็นไปตามกระบวนการของมัน แต่ผมและทุกคนที่เข้าร่วมก็ยังไม่หมดหน้าที่ ที่จะต้องชี้แจงทำความเข้าใจให้กับผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับการกระทำในครั้งนี้ ซึ่งรูปแบบที่ตัวผมเองจะใช้ก็คือ ใช้หลักเหตุผลในการทำความเข้าใจ ไม่บังคับแข็งขืนให้ผู้อื่นต้องรับฟังหากเขาไม่เห็นด้วย
(ในขั้นที่ 3 เมื่อวุฒิสภารับเรื่อง ต้องส่งเรื่องต่อไปให้ ปปช.เป็นผู้ไต่สวน และหากมีการสอบหลักฐาน ผมก็อาจจะต้องไปชี้แจงกับคณะกรรมการ ปปช.)
แถมให้อีกนิด อันนี้เป็นความรู้เกี่ยวกับกฏหมายและบทบัญญัติขั้นตอนวิธีปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งผมขอใส่ สปอยไว้ เพราะรู้ว่าบางท่านไม่นิยมอ่านยาวๆ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้การถอดถอนบุคคลออกจากตำแหน่ง เป็นกลไกสำคัญอย่างหนึ่งที่ได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช ๒๕๕๐ เพื่อใช้เป็นมาตรการในการควบคุมการใช้อำนาจของนักการเมืองและผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูง เป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในทางการเมืองและตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐตำแหน่งที่จะถูกร้องขอให้ถอดถอน
โดยรัฐธรรมนูญมาตรา 270 ได้กำหนดให้ วุฒิสภามีอำนาจในการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทั้งในฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร ฝ่ายตุลาการ องค์กรอิสระและข้าราชระดับสูง ได้แก่
(1) นายกรัฐมนตรี (2) รัฐมนตรี (3) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (4) สมาชิกวุฒิสภา (5) ประธานศาลฎีกา
(6) ประธานศาลรัฐธรรมนูญ (7) ประธานศาลปกครองสูงสุด (8) อัยการสูงสุด (9) ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
(10) กรรมการการเลือกตั้ง (11) ผู้ตรวจการแผ่นดิน (12) กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
(13) ผู้พิพากษาหรือตุลาการ พนักงานอัยการ หรือผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูงตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ซึ่งตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญดังกล่าว ได้ให้นิยามคำว่าผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูงไว้ มีความหมายว่า ผู้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวง ทบวง หรือกรมสำหรับข้าราชการพลเรือน ปลัดกระทรวงกลาโหม ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการเหล่าทัพสำหรับข้าราชการทหาร ผู้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ปลัดกรุงเทพมหานคร กรรมการและผู้บริหารสูงสุดของรัฐวิสาหกิจ หัวหน้าหน่วยงานอิสระตามรัฐธรรมนูญที่มีฐานะเป็นนิติบุคคล กรรมการและผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงานอื่นของรัฐตามที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (คณะกรรมการ ป.ป.ช.) กำหนด และ ผู้ดำรงตำแหน่งอื่นตามที่มีกฎหมายบัญญัติ
วุฒิสภาจะมีอำนาจในการถอดถอนบุคคลที่ดำรงตำแหน่งดังกล่าวข้างต้น เมื่อปรากฏว่าผู้ดำรงตำแหน่งนั้นมีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ ส่อไปในทางทุจริตต่อหน้าที่ ส่อว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการหรือตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย หรือฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง โดยกระบวนการในการถอดถอนของวุฒิสภาจะเริ่มต้นเมื่อมีบุคคลตามที่กฎหมายกำหนดเข้าชื่อร้องขอต่อประธานวุฒิสภาเพื่อให้วุฒิสภามีมติถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่ง กฎหมายได้กำหนดผู้ที่จะเข้าชื่อร้องขอได้แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
(1) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 4 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่
(2) สมาชิกวุฒิสภาจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 4 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ แต่สมาชิกวุฒิสภาจะสามารถร้องขอได้เฉพาะแต่กรณีขอถอดถอนสมาชิกวุฒิสภาออกจากตำแหน่งเท่านั้น
(3) ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง กล่าวคือ เป็นประชาชนสัญชาติไทยที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ เช่น ไม่เป็นผู้อยู่ระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง เป็นต้น โดยจะต้องมีผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่า 20,000 คนจึงจะเข้าชื่อร้องขอให้ถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งได้
เมื่อประธานวุฒิสภาได้รับคำร้องขอดังกล่าวแล้ว ประธานวุฒิสภาจะต้องส่งเรื่องให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. เพื่อดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริงและทำรายงานเสนอต่อวุฒิสภา พร้อมทั้งทำความเห็นว่าคำร้องขอมีมูลหรือไม่ หากว่าคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีความเห็นว่าข้อกล่าวหาใดไม่มีมูล ให้ข้อกล่าวหานั้นเป็นอันตกไป แต่ถ้าปรากฏว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดว่าข้อกล่าวหาใดมีมูล จะเป็นผลให้ผู้ถูกกล่าวหาจะปฏิบัติหน้าที่ต่อไปมิได้จนกว่าวุฒิสภาจะมีมติ ทั้งนี้ หลังจากคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติว่าคดีมีมูล ประธาน ป.ป.ช. จะต้องส่งเรื่องไปยังอัยการสูงสุดและประธานวุฒิสภา เพื่อให้อัยการสูงสุดดำเนินการฟ้องคดีต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และเพื่อให้ประธานวุฒิสภาจัดให้มีการประชุมวุฒิสภาเพื่อพิจารณาเรื่องดังกล่าวโดยเร็ว โดยการประชุมของวุฒิสภาเพื่อพิจารณาถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งนั้น สามารถกระทำได้ทั้งในสมัยประชุมสามัญและสมัยประชุมสามัญนิติบัญญัติตามรัฐธรรมนูญมาตรา 127 อีกทั้งถ้าปรากฏว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช. ส่งรายงานให้กับประธานวุฒิสภานอกสมัยประชุม ประธานวุฒิสภาจะต้องดำเนินการเพื่อให้มีการประชุมรัฐสภาเป็นสมัยวิสามัญด้วย
สำหรับการดำเนินการในชั้นพิจารณาถอดถอนของวุฒิสภานั้น กระบวนการในการพิจารณาและลงมติจะต้องเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา พ.ศ.2551 ซึ่งได้แบ่งการพิจารณาของวุฒิสภาเป็น 4 วาระ ได้แก่ วาระแรก ให้ผู้ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการ ป.ป.ช. แถลงเปิดสำนวนและให้ผู้กล่าวหาหรือผู้แทนของผู้ถูกกล่าวหามีสิทธิคัดค้านโต้แย้งคำแถลงเปิดสำนวนโดยไม่มีการซักถาม หลังจากนั้นจึงจะพิจารณาว่าควรจะมีการซักถามผู้เกี่ยวข้องในประเด็นใดอีก วาระที่สอง จะเป็นช่วงการซักถามในประเด็นปัญหาที่ได้กำหนดไว้แล้วตั้งแต่วาระที่หนึ่ง วาระที่สาม คือ การแถลงปิดสำนวนโดยคณะกรรมการ ป.ป.ช.และผู้ถูกกล่าวหา และ วาระสุดท้าย คือ การลงคะแนนเสียงถอดถอนซึ่งจะกระทำโดยวิธีลงคะแนนลับในคูหา โดยมติเห็นชอบให้ถอดถอนของวุฒิสภาจะต้องถือเอาคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 5 ของจำนวนสมาชิกที่มีทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา
ถ้าวุฒิสภามีมติให้ถอดถอนผู้ถูกกล่าวหาให้พ้นจากตำแหน่ง จะมีผลให้ผู้ถูกถอดถอนพ้นจากตำแหน่งหรือให้ออกจากราชการนับแต่วันที่วุฒิสภามีมติให้ถอดถอน และให้ตัดสิทธิผู้นั้นในการดำรงตำแหน่งในทางการเมืองหรือในการรับราชการเป็นเวลา 5 ปี ในทางกลับกัน ถ้าหากวุฒิสภามีมติไม่ถอดถอนก็จะทำให้เรื่องดังกล่าวเป็นอันตกไป มติของวุฒิสภานี้ถือเป็นที่สิ้นสุด และจะมีการร้องขอให้ถอดถอนบุคคลดังกล่าวโดยอาศัยเหตุเดียวกันไม่ได้ แต่ไม่กระทบการเทือนต่อการพิจารณาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง กล่าวคือ ไม่ว่าวุฒิสภาจะมีความเห็นให้ถอดถอนหรือไม่ถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งหรือไม่ การดำเนินคดีอาญาต่อบุคคลดังกล่าวยังคงจะดำเนินการควบคู่กันไป มติของวุฒิสภาไม่มีผลกระทบต่อการดำเนินคดีอาญา
ขอบคุณครับ
การเข้าชื่อเสนอถอดถอนบุคคลออกจากตำแหน่ง (ตลก.ศาลรัฐธรรมนูญ)
กะทู้นี้ผมขอตั้งเพื่ออธิบายขั้นตอนการดำเนินการในครั้งนี้ ซึ่งขออธิบายแบบจริงจังสักนิด ข้อความอาจจะอ่านแล้วเป็นทางการไปสักหน่อย ก็อย่าได้ถือโทษโกรธกันเลยนะครับ
ขั้นตอนการเสนอถอดถอนบุคคลออกจากตำแหน่ง ซึ่งเป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
๑. ผู้มีสิทธิเข้าชื่อ(ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ไม่ร้อยกว่า 20000 รายชื่อ) ยื่นคำร้องขอถอดถอนต่อประธานวุฒิสภา
๒. ประธานวุฒิสภา ส่งเรื่องให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ดำเนินการไต่สวนให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
๓. เมื่อไต่สวนเสร็จแล้ว ให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ทำรายงานเสนอต่อวุฒิสภา โดยในรายงานต้องระบุให้ชัดเจนว่า ข้อกล่าวหาตามคำร้องข้อใดมีมูลหรือไม่เพียงใดมีพยานหลักฐานที่ควรเชื่อได้อย่างไร พร้อมทั้งระบุข้อยุติว่าจะดำเนินการอย่างไร
แปลเป็นภาษาชาวบ้านว่า
ขั้นที่ 1 ผมจะออกเชิญชวนและชี้แจงเหตุผล ว่าทำไมถึงต้องดำเนินการถอดถอน ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ให้กับประชาชนทั่วไป ทั้งทางออนไลน์(ราชดำเนิน Facebook) และการออกไปตั้งโต๊ะประชาสัมพันธ์ด้วยตัวเองในเวลาที่ว่างจากภาระอื่นการงาน ในสถานที่ชุมขนละแวกที่ผมคุ้นเคย เช่น บริเวณหน้าห้างสรรพสินค้าใกล้บ้าน ตลาดนัด มหาวิทยาลัยที่ผมเป็นศิทย์เก่า หรือจังหวัดบ้านเกิดผม(สิงห์บุรี) ซึ่งผมไม่มีทุนรอนอะไรมาก ก็จะใช้สื่อที่ทำขึ้นเองอย่างใบปลิว ใบแบบฟอร์มการเข้าชื่อ ป้ายประชาสัมพันธ์ที่อาจจะดูกระจอกงอกง่อยถ้ามองกันที่ราคา แล้วก็เครื่องขยายเสียงเล็กๆสักชุด ออกไปตั้งโต๊ะประชาสัมพันธ์ในสถานที่ต่างๆที่ผมบอกไปขั้นต้น เชิญชวนและรวบรวมผู้ที่มีจิตจำนงเดียวกันมาร่วมลงชื่อถอดถอน ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญในครั้งนี้ ให้ได้เกินกว่า 20000 รายชื่อ
ขั้นที่ 2 ผมจะร่างคำร้องและรวบรวมหลักฐาน อันประกอบไปด้วย คลิปการให้สัมภาษณ์ ความเห็นจากนักวิชาการต่างๆ และหลักฐานเอกสารการชี้มูลความผิดของคณะ ตลก.ชุดนี้ ที่ไม่น่าจะถูกต้องตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ส่งทั้งหมดให้กับประธานวุฒิสภา
ขั้นที่ 3 เมื่อประธานวุฒิสภารับเรื่อง ก็เป็นไปตามกระบวนการขั้นตอนของวุฒิสภา ซึ่งประชาชนอย่างเราก็ปล่อยให้เป็นไปตามกระบวนการของมัน แต่ผมและทุกคนที่เข้าร่วมก็ยังไม่หมดหน้าที่ ที่จะต้องชี้แจงทำความเข้าใจให้กับผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับการกระทำในครั้งนี้ ซึ่งรูปแบบที่ตัวผมเองจะใช้ก็คือ ใช้หลักเหตุผลในการทำความเข้าใจ ไม่บังคับแข็งขืนให้ผู้อื่นต้องรับฟังหากเขาไม่เห็นด้วย
(ในขั้นที่ 3 เมื่อวุฒิสภารับเรื่อง ต้องส่งเรื่องต่อไปให้ ปปช.เป็นผู้ไต่สวน และหากมีการสอบหลักฐาน ผมก็อาจจะต้องไปชี้แจงกับคณะกรรมการ ปปช.)
แถมให้อีกนิด อันนี้เป็นความรู้เกี่ยวกับกฏหมายและบทบัญญัติขั้นตอนวิธีปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งผมขอใส่ สปอยไว้ เพราะรู้ว่าบางท่านไม่นิยมอ่านยาวๆ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้