ดีเอสไอ ส่งหนังสือไปยังธนาคาร 30 แห่ง สั่งให้อายัดบัญชีของแกนนำ กปปส. ทั้งหมด 18 คน พร้อมลงนามออกหมายเรียกมารับทราบข้อกล่าวหาในวันที่ 26-27 ธ.ค.นี้
มติชนออนไลน์ รายงานว่า เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม ที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีดีเอสไอ ในฐานะหัวหน้าคณะพนักงานสอบสวนในคดีพิเศษ กรณีนายสุเทพ เทือกสุบรรณ และพวก ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดอันเกี่ยวเนื่องจากการชุมนุม เปิดเผยว่า ในวันที่ 19 ธันวาคม ได้ทำหนังสือแจ้งธนาคารพาณิชย์ให้ตรวจสอบบัญชีของแกนนำทั้ง 18 คน ว่ามีบัญชีประเภทใดบ้าง อยู่ที่สาขาใดบ้าง จำนวนเท่าใด แล้วจัดส่งสำเนาการเดินบัญชี หรือ Statement ย้อนหลังเป็นเวลา 6 เดือน ส่งให้ดีเอสไอโดยด่วน พร้อมกันนี้ให้อายัดบัญชีเหล่านั้นทุกบัญชี ซึ่งรวมถึงบัญชีครัวราชดำเนิน จำนวน 2 บัญชี ของธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาราชดำเนินด้วย และธนาคารทั้ง 30 แห่ง
นายธาริตกล่าวอีกว่า ได้ลงนามออกหมายเรียกไปยังแกนนำทั้ง 17 คน ให้มารับทราบข้อกล่าวหาในวันที่ 26-27 ธันวาคม โดยเจ้าหน้าที่ของดีเอสไอได้ดำเนินการส่งหมายให้มีผลตามกฎหมายแบบคู่ขนานทั้ง 2 วิธี คือ ให้ตำรวจที่ประจำโรงพักอันเป็นภูมิลำเนาของแกนนำไปส่งหมายเรียก และส่งหมายเรียกทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับอีกทางหนึ่งด้วย
นายธาริตกล่าวอีกว่า ในวันที่ 23 ธันวาคม ตนได้เรียกประชุมคณะพนักงานสอบสวน ประกอบด้วยตำรวจจากกองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) อัยการและดีเอสไอ เพื่อร่วมกันพิจารณาพยานหลักฐานแล้วมีมติให้ดำเนินคดีกับแกนนำเพิ่มเติม (แกนนำแถวที่สอง) อีกประมาณ 20-30 คนด้วย โดยเฉพาะแกนนำที่ขึ้นอภิปรายในลักษณะผิดกฎหมาย แกนนำ ที่นำกลุ่มคนไปบุกยึดสถานที่ราชการต่างๆ ซึ่งมีทั้งนักวิชาการ นักเคลื่อนไหว อดีต ส.ส. เป็นต้น
นายธาริตกล่าวว่า การสั่งอายัดบัญชีของแกนนำนั้น เป็นมาตรการหนึ่งในการดำเนินตามขั้นตอนของกฎหมาย แต่ไม่มั่นใจว่า การอายัดบัญชีเงินฝากของแกนนำม็อบจะสามารถหยุดการกระทำความผิดได้หรือไม่ แต่ถือว่าได้พยายามปฏิบัติตามกฎหมายโดยไม่มากหรือน้อยเกินไป โดยเชื่อว่าจะเป็นการกระตุกความคิดของประชาชนส่วนหนึ่งไม่ให้ออกมากระทำผิดกฎหมาย
รายงานข่าวแจ้งว่า สำหรับแกนนำที่คาดว่าจะถูกออกหมายเรียกข้อหาร่วมสนับสนุนกบฏเป็นล็อตที่ 2 ได้แก่ นายสมบัติ ธำรงธัญญวงศ์ อดีตคณบดี ม.นิด้า น.ส.จิตภัสร์ ภิรมย์ภักดี นายเสรี วงศ์มณฑา ฯลฯ ซึ่งเป็นผู้ขึ้นปราศรัยบนเวทีในลักษณะปลุกเร้าให้ประชาชนกระทำความผิด และมีบทบาทเป็นแกนนำมวลชนไปปิดล้อมในสถานที่ต่างๆ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับธนาคาร 30 แห่ง ที่ได้รับคำสั่งให้อายัดบัญชีและตรวจสอบธุรกรรมการเงินของแกนนำการชุมนุม 18 ราย ประกอบด้วย 1.ธนาคาร กรุงเทพ จำกัด (มหาชน) 2.ธนาคาร กรุงไทย จำกัด (มหาชน) 3.ธนาคาร กรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) 4.ธนาคาร กสิกรไทย จำกัด (มหาชน) 5.ธนาคาร เกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน) 6.ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) 7.ธนาคาร ทหารไทย จำกัด (มหาชน) 8.ธนาคาร ทิสโก้ จำกัด (มหาชน) 9.ธนาคาร ไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) 10.ธนาคาร ธนชาต จำกัด (มหาชน) 11.ธนาคาร ยูโอบี จำกัด (มหาชน) 12.ธนาคาร แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) 13.ธนาคาร สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ (ไทย) จำกัด (มหาชน) 14.ธนาคาร ไอซีบีซี (ไทย) จำกัด (มหาชน) 15.ธนาคาร ไทยเครดิต เพื่อรายย่อย จำกัด (มหาชน) 16.ธนาคาร เมกะ สากลพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) 17.ธนาคาร เจพีมอร์แกน เชส 18.ธนาคาร ซิตี้แบงก์ 19.ธนาคาร ซูมิโตโม มิตซุย แบงกิ้ง คอร์ปอเรชั่น 20.ธนาคาร ดอยซ์แบงก์ 21.ธนาคาร เดอะรอยัลแบงก์ออฟสกอตแลนด์ เอ็น.วี. 22.ธนาคาร บีเอ็นพี พารีบาส์ 23.ธนาคาร มิซูโฮ จำกัด 24.ธนาคาร แห่งโตเกียว-มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ จำกัด 25.ธนาคาร แห่งประเทศจีน จำกัด 26.ธนาคาร แห่งอเมริกาเนชั่นแนลแอสโซซิเอชั่น 27.ธนาคาร อาร์ เอช บี จำกัด 28.ธนาคาร อินเดียนโอเวอร์ซีส์ 29.ธนาคาร โอเวอร์ซี-ไชนีสแบงกิ้งคอร์ปอเรชั่น จำกัด 30.ธนาคาร ฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้แบงกิ้งคอร์ปอเรชั่น จำกัด
ที่มา : ข้อมูลจากมติชนออนไลน์ และ
http://news.voicetv.co.th/thailand/91608.html
19 ธันวาคม 2556 เวลา 16:46 น.
DSI ร่อนหนังสือถึง 30 แบงก์ อายัดบัญชีแกนนำ กปปส.
ดีเอสไอ ส่งหนังสือไปยังธนาคาร 30 แห่ง สั่งให้อายัดบัญชีของแกนนำ กปปส. ทั้งหมด 18 คน พร้อมลงนามออกหมายเรียกมารับทราบข้อกล่าวหาในวันที่ 26-27 ธ.ค.นี้
มติชนออนไลน์ รายงานว่า เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม ที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีดีเอสไอ ในฐานะหัวหน้าคณะพนักงานสอบสวนในคดีพิเศษ กรณีนายสุเทพ เทือกสุบรรณ และพวก ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดอันเกี่ยวเนื่องจากการชุมนุม เปิดเผยว่า ในวันที่ 19 ธันวาคม ได้ทำหนังสือแจ้งธนาคารพาณิชย์ให้ตรวจสอบบัญชีของแกนนำทั้ง 18 คน ว่ามีบัญชีประเภทใดบ้าง อยู่ที่สาขาใดบ้าง จำนวนเท่าใด แล้วจัดส่งสำเนาการเดินบัญชี หรือ Statement ย้อนหลังเป็นเวลา 6 เดือน ส่งให้ดีเอสไอโดยด่วน พร้อมกันนี้ให้อายัดบัญชีเหล่านั้นทุกบัญชี ซึ่งรวมถึงบัญชีครัวราชดำเนิน จำนวน 2 บัญชี ของธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาราชดำเนินด้วย และธนาคารทั้ง 30 แห่ง
นายธาริตกล่าวอีกว่า ได้ลงนามออกหมายเรียกไปยังแกนนำทั้ง 17 คน ให้มารับทราบข้อกล่าวหาในวันที่ 26-27 ธันวาคม โดยเจ้าหน้าที่ของดีเอสไอได้ดำเนินการส่งหมายให้มีผลตามกฎหมายแบบคู่ขนานทั้ง 2 วิธี คือ ให้ตำรวจที่ประจำโรงพักอันเป็นภูมิลำเนาของแกนนำไปส่งหมายเรียก และส่งหมายเรียกทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับอีกทางหนึ่งด้วย
นายธาริตกล่าวอีกว่า ในวันที่ 23 ธันวาคม ตนได้เรียกประชุมคณะพนักงานสอบสวน ประกอบด้วยตำรวจจากกองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) อัยการและดีเอสไอ เพื่อร่วมกันพิจารณาพยานหลักฐานแล้วมีมติให้ดำเนินคดีกับแกนนำเพิ่มเติม (แกนนำแถวที่สอง) อีกประมาณ 20-30 คนด้วย โดยเฉพาะแกนนำที่ขึ้นอภิปรายในลักษณะผิดกฎหมาย แกนนำ ที่นำกลุ่มคนไปบุกยึดสถานที่ราชการต่างๆ ซึ่งมีทั้งนักวิชาการ นักเคลื่อนไหว อดีต ส.ส. เป็นต้น
นายธาริตกล่าวว่า การสั่งอายัดบัญชีของแกนนำนั้น เป็นมาตรการหนึ่งในการดำเนินตามขั้นตอนของกฎหมาย แต่ไม่มั่นใจว่า การอายัดบัญชีเงินฝากของแกนนำม็อบจะสามารถหยุดการกระทำความผิดได้หรือไม่ แต่ถือว่าได้พยายามปฏิบัติตามกฎหมายโดยไม่มากหรือน้อยเกินไป โดยเชื่อว่าจะเป็นการกระตุกความคิดของประชาชนส่วนหนึ่งไม่ให้ออกมากระทำผิดกฎหมาย
รายงานข่าวแจ้งว่า สำหรับแกนนำที่คาดว่าจะถูกออกหมายเรียกข้อหาร่วมสนับสนุนกบฏเป็นล็อตที่ 2 ได้แก่ นายสมบัติ ธำรงธัญญวงศ์ อดีตคณบดี ม.นิด้า น.ส.จิตภัสร์ ภิรมย์ภักดี นายเสรี วงศ์มณฑา ฯลฯ ซึ่งเป็นผู้ขึ้นปราศรัยบนเวทีในลักษณะปลุกเร้าให้ประชาชนกระทำความผิด และมีบทบาทเป็นแกนนำมวลชนไปปิดล้อมในสถานที่ต่างๆ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับธนาคาร 30 แห่ง ที่ได้รับคำสั่งให้อายัดบัญชีและตรวจสอบธุรกรรมการเงินของแกนนำการชุมนุม 18 ราย ประกอบด้วย 1.ธนาคาร กรุงเทพ จำกัด (มหาชน) 2.ธนาคาร กรุงไทย จำกัด (มหาชน) 3.ธนาคาร กรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) 4.ธนาคาร กสิกรไทย จำกัด (มหาชน) 5.ธนาคาร เกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน) 6.ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) 7.ธนาคาร ทหารไทย จำกัด (มหาชน) 8.ธนาคาร ทิสโก้ จำกัด (มหาชน) 9.ธนาคาร ไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) 10.ธนาคาร ธนชาต จำกัด (มหาชน) 11.ธนาคาร ยูโอบี จำกัด (มหาชน) 12.ธนาคาร แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) 13.ธนาคาร สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ (ไทย) จำกัด (มหาชน) 14.ธนาคาร ไอซีบีซี (ไทย) จำกัด (มหาชน) 15.ธนาคาร ไทยเครดิต เพื่อรายย่อย จำกัด (มหาชน) 16.ธนาคาร เมกะ สากลพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) 17.ธนาคาร เจพีมอร์แกน เชส 18.ธนาคาร ซิตี้แบงก์ 19.ธนาคาร ซูมิโตโม มิตซุย แบงกิ้ง คอร์ปอเรชั่น 20.ธนาคาร ดอยซ์แบงก์ 21.ธนาคาร เดอะรอยัลแบงก์ออฟสกอตแลนด์ เอ็น.วี. 22.ธนาคาร บีเอ็นพี พารีบาส์ 23.ธนาคาร มิซูโฮ จำกัด 24.ธนาคาร แห่งโตเกียว-มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ จำกัด 25.ธนาคาร แห่งประเทศจีน จำกัด 26.ธนาคาร แห่งอเมริกาเนชั่นแนลแอสโซซิเอชั่น 27.ธนาคาร อาร์ เอช บี จำกัด 28.ธนาคาร อินเดียนโอเวอร์ซีส์ 29.ธนาคาร โอเวอร์ซี-ไชนีสแบงกิ้งคอร์ปอเรชั่น จำกัด 30.ธนาคาร ฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้แบงกิ้งคอร์ปอเรชั่น จำกัด
ที่มา : ข้อมูลจากมติชนออนไลน์ และ http://news.voicetv.co.th/thailand/91608.html
19 ธันวาคม 2556 เวลา 16:46 น.