พลังงานชี้ไทยส่อวิกฤติก๊าซ อ่าวไทยหมดในอีก 6 ปี เร่งลดใช้ด่วน
กระทรวงพลังงาน เตือนไทยส่อวิกฤติก๊าซในอนาคตอันใกล้ หลังพบก๊าซหมดอ่าวไทยในอีก 6-7 ปี เคราะห์ซ้ำ ปตท.หืดจับแย่งซื้อแอลเอ็นจีต่างประเทศยากขึ้นทุกที คาดปี 2562 ความต้องการใช้สูงกว่า 10 ล้านตัน เกินกำลังคลังที่มีในประเทศจะรองรับได้ เร่งปรับแผนพีดีพีเน้นลดใช้ก๊าซด่วนโดยเฉพาะภาคขนส่ง พร้อมสั่ง ปตท.สร้างคลังเฟส 3 ต้องย้ายออกจาก จ.ระยอง เพื่อความกระจายความเสี่ยงด้านพลังงานไทย
วันนี้ (19 ธันวาคม 2556) นายสุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ ปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยในงานสัมมนา "10 ปี พลังงานทดแทนทางรอดก่อนก๊าซหมดอ่าวไทย" ว่า ประเทศไทยอาจประสบปัญหาวิกฤติก๊าซธรรมชาติในอีก 6-7 ปีข้างหน้า เนื่องจากก๊าซจะหมดจากอ่าวไทยหากไม่มีการสำรวจแหล่งใหม่เพื่อผลิตเพิ่มเติม นอกจากนี้ความต้องการใช้แอลเอ็นจีของไทยเริ่มปรับเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่าปี 2562 ไทยจะเกิดวิกฤติขาดแคลนแอลเอ็นจีได้ เพราะตามแผนพัฒนาไฟฟ้าระยะยาวของประเทศ หรือ พีดีพี 2010 ฉบับปัจจุบันพบว่า ความต้องการใช้แอลเอ็นจีจะพุ่งขึ้นเกิน 10 ล้านตันต่อปี ขณะที่คลังเก็บแอลเอ็นจีของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) จะมีรองรับได้เพียง 10 ล้านตันเท่านั้น
ทั้งนี้ ปัจจุบัน ปตท. มีคลังเก็บแอลเอ็นจีอยู่ที่จังหวัดระยอง 1 คลัง รองรับแอลเอ็นจีได้ 5 ล้านตัน โดยขณะนี้ความต้องการใช้ยังอยู่ที่ 2 ล้านตันต่อปี แต่คาดว่าในปี 2558 ความต้องการใช้เพิ่มถึง 5 ล้านตันต่อปี และ ปตท.เตรียมสร้างคลังเฟส 2 เสร็จในปี 2561 รองรับแอลเอ็นจีได้อีก 5 ล้านตัน รวมเป็นปริมาณที่จะรองรับแอลเอ็นจีได้ 10 ล้านตัน แต่ในปี 2562 เป็นต้นไปความต้องการใช้จะเกิน 10 ล้านตัน ซึ่งหากไม่เร่งลงทุนสร้างคลังเก็บแอลเอ็นจีเพิ่ม จะทำให้แอลเอ็นจีไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้
นอกจากนี้ การแสวงหาแหล่งลงทุนผลิตแอลเอ็นจีในอนาคตของไทยเป็นไปได้ยาก เนื่องจากประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น ญี่ปุ่น จีน ยุโรป เกิดความต้องการใช้แอลเอ็นจีสูงและเข้าไปลงทุนจองซื้อแอลเอ็นจีกันเกือบหมดในแหล่งก๊าซสำคัญของโลก และไม่สนใจจะร่วมลงทุนกับ ปตท. เนื่องจากเป็นผู้ใช้รายเล็กและไม่มีความชำนาญในธุรกิจแอลเอ็นจี รวมทั้งปัจจุบัน ปตท. มีสัญญาซื้อแอลเอ็นจีระยะยาว 20 ปี จากประเทศกาตาร์เพียงแห่งเดียวเท่านั้น ในปริมาณ 2 ล้านตันต่อปี โดยเริ่มนำเข้ามาแล้วตั้งแต่ปี 2555 และยังอยู่ระหว่างการแสวงหาซื้อแอลเอ็นจีเพิ่มเติมซึ่งยังอยู่ในขั้นเจรจาเท่านั้น ดังนั้น ปัญหาทั้งหมดจะกลายเป็นอุปสรรคสำคัญต่อความมั่นคงด้านก๊าซของประเทศไทย
นายสุเทพ กล่าวว่า จากอุปสรรคดังกล่าว ทำให้กระทรวงพลังงานต้องเร่งปรับแผนพีดีพีฉบับใหม่โดยเร็ว เพื่อลดการใช้ก๊าซลง โดยเฉพาะในภาคขนส่งที่มีการใช้ก๊าซอย่างสิ้นเปลือง ซึ่งต้องพยายามผลักดันให้ภาคขนส่งหันไปใช้พลังงานทดแทนให้เพิ่มมากขึ้น พร้อมทั้งเตรียมสนับสนุนพลังงานทดแทนใน 4 ด้านสำคัญ ได้แก่
1. การผลิตไฟฟ้าบนหลังคา (โซลาร์รูฟท็อป)
2. การส่งเสริมการใช้พืชพลังงาน เช่น เอทานอล
3. การส่งเสริมการใช้น้ำมันปาล์มผสมในน้ำมันดีเซลเพิ่ม จากปัจจุบันกำหนดให้ผสมในอัตรา 5% หรือ บี 5 ให้เพิ่มเป็นการผสม 7% หรือ บี 7 ในปี 2557
4. สนับสนุนการใช้หญ้าเนเปียร์ในการผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้น
แหล่งข่าวพลังงาน กล่าวว่า กระทรวงพลังงานได้มีแนวทางให้ ปตท. สร้างคลังเก็บแอลเอ็นจี เฟส 3 แต่ให้ย้ายจากจังหวัดระยองไปยังจังหวัดอื่นที่ติดกับทะเลอ่าวไทย ซึ่งอาจเป็นภาคใต้ เนื่องจากต้องการกระจายความเสี่ยงด้านความมั่นคงของพลังงานประเทศ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการหารือกับ ปตท.
ขอบคุณที่มาจาก :
http://money.kapook.com/view78631.html
จากข่าว "กระทรวงพลังงานชี้ไทยส่อวิกฤติก๊าซ อ่าวไทยหมดในอีก 6 ปี" ถ้าคุณเป็นผู้มีอำนาจ คุณคิดว่าจะแก้ปัญหานี้ได
กระทรวงพลังงาน เตือนไทยส่อวิกฤติก๊าซในอนาคตอันใกล้ หลังพบก๊าซหมดอ่าวไทยในอีก 6-7 ปี เคราะห์ซ้ำ ปตท.หืดจับแย่งซื้อแอลเอ็นจีต่างประเทศยากขึ้นทุกที คาดปี 2562 ความต้องการใช้สูงกว่า 10 ล้านตัน เกินกำลังคลังที่มีในประเทศจะรองรับได้ เร่งปรับแผนพีดีพีเน้นลดใช้ก๊าซด่วนโดยเฉพาะภาคขนส่ง พร้อมสั่ง ปตท.สร้างคลังเฟส 3 ต้องย้ายออกจาก จ.ระยอง เพื่อความกระจายความเสี่ยงด้านพลังงานไทย
วันนี้ (19 ธันวาคม 2556) นายสุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ ปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยในงานสัมมนา "10 ปี พลังงานทดแทนทางรอดก่อนก๊าซหมดอ่าวไทย" ว่า ประเทศไทยอาจประสบปัญหาวิกฤติก๊าซธรรมชาติในอีก 6-7 ปีข้างหน้า เนื่องจากก๊าซจะหมดจากอ่าวไทยหากไม่มีการสำรวจแหล่งใหม่เพื่อผลิตเพิ่มเติม นอกจากนี้ความต้องการใช้แอลเอ็นจีของไทยเริ่มปรับเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่าปี 2562 ไทยจะเกิดวิกฤติขาดแคลนแอลเอ็นจีได้ เพราะตามแผนพัฒนาไฟฟ้าระยะยาวของประเทศ หรือ พีดีพี 2010 ฉบับปัจจุบันพบว่า ความต้องการใช้แอลเอ็นจีจะพุ่งขึ้นเกิน 10 ล้านตันต่อปี ขณะที่คลังเก็บแอลเอ็นจีของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) จะมีรองรับได้เพียง 10 ล้านตันเท่านั้น
ทั้งนี้ ปัจจุบัน ปตท. มีคลังเก็บแอลเอ็นจีอยู่ที่จังหวัดระยอง 1 คลัง รองรับแอลเอ็นจีได้ 5 ล้านตัน โดยขณะนี้ความต้องการใช้ยังอยู่ที่ 2 ล้านตันต่อปี แต่คาดว่าในปี 2558 ความต้องการใช้เพิ่มถึง 5 ล้านตันต่อปี และ ปตท.เตรียมสร้างคลังเฟส 2 เสร็จในปี 2561 รองรับแอลเอ็นจีได้อีก 5 ล้านตัน รวมเป็นปริมาณที่จะรองรับแอลเอ็นจีได้ 10 ล้านตัน แต่ในปี 2562 เป็นต้นไปความต้องการใช้จะเกิน 10 ล้านตัน ซึ่งหากไม่เร่งลงทุนสร้างคลังเก็บแอลเอ็นจีเพิ่ม จะทำให้แอลเอ็นจีไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้
นอกจากนี้ การแสวงหาแหล่งลงทุนผลิตแอลเอ็นจีในอนาคตของไทยเป็นไปได้ยาก เนื่องจากประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น ญี่ปุ่น จีน ยุโรป เกิดความต้องการใช้แอลเอ็นจีสูงและเข้าไปลงทุนจองซื้อแอลเอ็นจีกันเกือบหมดในแหล่งก๊าซสำคัญของโลก และไม่สนใจจะร่วมลงทุนกับ ปตท. เนื่องจากเป็นผู้ใช้รายเล็กและไม่มีความชำนาญในธุรกิจแอลเอ็นจี รวมทั้งปัจจุบัน ปตท. มีสัญญาซื้อแอลเอ็นจีระยะยาว 20 ปี จากประเทศกาตาร์เพียงแห่งเดียวเท่านั้น ในปริมาณ 2 ล้านตันต่อปี โดยเริ่มนำเข้ามาแล้วตั้งแต่ปี 2555 และยังอยู่ระหว่างการแสวงหาซื้อแอลเอ็นจีเพิ่มเติมซึ่งยังอยู่ในขั้นเจรจาเท่านั้น ดังนั้น ปัญหาทั้งหมดจะกลายเป็นอุปสรรคสำคัญต่อความมั่นคงด้านก๊าซของประเทศไทย
นายสุเทพ กล่าวว่า จากอุปสรรคดังกล่าว ทำให้กระทรวงพลังงานต้องเร่งปรับแผนพีดีพีฉบับใหม่โดยเร็ว เพื่อลดการใช้ก๊าซลง โดยเฉพาะในภาคขนส่งที่มีการใช้ก๊าซอย่างสิ้นเปลือง ซึ่งต้องพยายามผลักดันให้ภาคขนส่งหันไปใช้พลังงานทดแทนให้เพิ่มมากขึ้น พร้อมทั้งเตรียมสนับสนุนพลังงานทดแทนใน 4 ด้านสำคัญ ได้แก่
1. การผลิตไฟฟ้าบนหลังคา (โซลาร์รูฟท็อป)
2. การส่งเสริมการใช้พืชพลังงาน เช่น เอทานอล
3. การส่งเสริมการใช้น้ำมันปาล์มผสมในน้ำมันดีเซลเพิ่ม จากปัจจุบันกำหนดให้ผสมในอัตรา 5% หรือ บี 5 ให้เพิ่มเป็นการผสม 7% หรือ บี 7 ในปี 2557
4. สนับสนุนการใช้หญ้าเนเปียร์ในการผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้น
แหล่งข่าวพลังงาน กล่าวว่า กระทรวงพลังงานได้มีแนวทางให้ ปตท. สร้างคลังเก็บแอลเอ็นจี เฟส 3 แต่ให้ย้ายจากจังหวัดระยองไปยังจังหวัดอื่นที่ติดกับทะเลอ่าวไทย ซึ่งอาจเป็นภาคใต้ เนื่องจากต้องการกระจายความเสี่ยงด้านความมั่นคงของพลังงานประเทศ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการหารือกับ ปตท.
ขอบคุณที่มาจาก : http://money.kapook.com/view78631.html