เบื้องหลังแนวคิดกปปส. - ไม่ใช่ประชาธิปไตย -

ม๊อบคนดีไม่ใช่คำล้อขำๆอีกต่อไป
แต่เป็ฯคำล้อที่รุนแรงในทางปรัชญาการเมือง และ การเผยวาระซ่อนเร้น

ผมหาข้อมูลฟังเสวนา หรือ วิวาทะหลายๆครั้ง
ในการเสวนาแต่ละเวที แต่ละ ที่นั่น แกนนำมักจะ"หลุด"
แนวคิดหนึ่งออกมาตรงกัน ผมฟังแนวคิดที่ เผลอหลุดออกมานี้ มากกว่าสามครั้งจากสามเวที ต่างกรรมต่างวาระ

จนผมลองไปหาหนังสือ เรื่อง Justice ของ michael j.sandel อ่าน
ถึงพอเข้าใจแนวคิด และมุมมองของ แกนนำ กปปส. หลายๆคน
มากขึ้น

ฐานของแกน กปปส. นั้น สอดคล้องไปกับความเชื่อที่ว่า เป้าหมายสูงสุดทางการเมืองนั้น คือการ ปลูกฝังคุณธรรมให้กับพลเมือง - คนที่อุทิศตัวให้กับการรวมกลุ่มทำนองนี้นั้น ถือว่าเป็นพลเมืองชั้นเลิศ - หรือในความหมายคือ ผู้ควรได้รับสิทธิทางการเมืองนั้นเอง, ไม่ใช่ทุกคนที่ควรได้สิทธิทางการเมือง

.."ปรัชญาการเมืองของอริสโตเติลนั่นเอง"

มันเหมือนจะดูดีมากๆ แต่มีข้อโต้แย้งหลายๆอย่าง
โดยเฉพาะ ปรัชญาการเมืองของอริสโตเติลนั้นกลับ ปกป้องการใช้แรงงานทาสด้วยให้เหตุผลว่า "คนแบบนี้ มีอยู่จริงๆ คนบางคนเป็นทาสโดยธรรมชาติ และ ดีกว่าสำหรับพวกเค้า ที่จะมีเจ้านายปกครอง"

ทำให้ผมเข้าใจฐานคิดของแกนนำกปปสมากขึ้น
แนวคิดการมองทาสของอริสโตเติ้ล ถูกนำมาใช้มองคนที่เลือกทักษิณ
ว่าสมควรถูกกดข่มทางการเมืองไว้ เพราะทักษิณคือตัวแทนของระบอบความชั่วสัมบูรณ์ การกดขี่คนที่เลือกทักษิณเป็นสิ่งที่ถูกต้อง ทั้งนี้
เพื่อให้เป็นไปเป้าประสงค์แห่งคุณธรรม(ตามแนวทางของแกนนำ)บรรลุผล

เพียงแต่มีความเข้มข้นน้อยกว่าหลักการของอริสโตเติ้ล

นั่นสามารถใช้อธิบายแนวทางการต่อสู้เพื่อจำกัด ลดทอน
สิทธิ หรือ โจมตีการเลือกตั้งต่างๆนาอย่างหนัก
การย้ำความเลวของระบอบทักษิณ
เพราะคนกลุ่มนี้มองว่า การให้ความเท่าเทียมกับคนชั่วนั้น ไม่ใช่สิ่งที่ยอมรับได้ และมองฝั่งตรงข้ามคือคนชั่ว
แนวคิดนี้ อยู่ฝั่งตรงข้ามกับประชาธิปไตยอย่างชัดเจน
เพราะเป็นการผูกขาดความดี ในทรรศนะของตนไปพร้อมๆกับการกำหนดความชั่วให้กับความแตกต่าง แกนนำรุ้ตัวดีถึงแนวคิดที่ย้อนแย้งกับประชาธิปไตยนี้ และอาจทำให้สูญเสียมวลชนที่ยังอิงอยู่กับประชาธิปไตย ดังนั้นจึงจำเป็นต้องซ่อนปิดซ่อนสิ่งเหล่านี้ไว้ผ่านวาทกรรมการเมือง แต่เมื่อถึงจุดหนึ่งแล้วเลี่ยงไม่ได้ที่จะ "หลุด"รากฐานแนวคิดที่แท้จริงเมื่อเสวนาหรือดีเบต

ผม่ไม่มีปัญหากับความดีนะ
ความดีนั้นเป็นสิ่งที่ควรส่งเสริมแต่ปัญหาคือ ใครเป็ฯผู้มีสิทธิเลือก ใครควรมีสถานะทาสหรือ ใครควรมีสถานะผู้นำ ผู้ประเสริฐ ใครเป็นผู้กำหนดความดีหรือชุดความดี ว่าชุดความดีดังกล่าวคือเป้าประสงค์ของคุณธรรม บความเริ่มต้นที่แตกต่างกัน และจุดเริ่มต้นที่เลื่อมล้ำกัน สุดท้ายกลุ่มคนทที่ยึดอำนจการปกครองได้ คือผู้กำหนดชุดความดีนั่นเอง

ปรัชญาการเมืองของอริสโตเติ้ลที่สนับสนุนทาสนั้นก็ล้าหลังพอๆกันกับ ทบทางด้านอื่นๆของเค้าที่ตอนนี้ ตกหมดยุคลงไปตามยุคสมัย
การเป็นคนดี ไม่ใช่สิ่งที่มนุษย์ตัดสินได้ แม้แต่อะไรคือความดีก็ตาม
ในความขัดแย้งเรื่องความดีแม้แต่ในประเด็นทางศาสนา
ก็จะโยนกลับให้ พระเจ้าเป็นผู้ตัดสินตามเจตนาที่เรากระทำไม่ใช่มนุษย์
แล้วความดีทางการเมือง ใครจะมีสิทธิตัดสิน

สุดท้ายนี่ความเห็นส่วนตัว ความดีในทางการเมืองนั้นมันเป็ฯความดีได้ต้องเริ่มต้นจากการเลือกที่จะทำมันบนความเคารพตัวเองและเคารพมนุษย์ด้วยกันเท่านั้น ถ้ายังรักษาฐานรากนี้ไม่ได้ คุณธรรมที่พูดถึงก็เป็นเพียงข้ออ้างที่จะจัดสรรถพลเมืองที่เห็นตรงข้ามกับคุณชบางส่วนเป็นทาสรับใช้เท่านั้น

ไม่ใช่ประชาธิปไตย และ ผมยังอยากอยู่ในโลกที่ทุกคนเสมอภาคและเท่าเทียมทางการเมือง
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่