หมายเหตุ : บทความนี้ post ใน www.siamsport.co.th เมื่อวันที่ 9 ธันวา ดังนั้น อาจจะมีข้อมูลบางประการที่ไม่ up-to-date แต่ด้วยเนื้อหาใจความ บทความนี้ก็ยังน่าสนใจอยู่ไม่น้อย
20 ปีที่ผ่านมา แมนฯยูไนเต็ด ทำมาตรฐานเอาไว้สูงถึงแม้ว่าบางปีจะไม่สามารถคว้าแชมป์ได้แต่ผลงานก็ยังเกาะกลุ่มหัวตารางมาโดยตลอดและไม่เคยหลุดวงโคจรฟุตบอลถ้วยยุโรป
แต่มาปีนี้ภายใต้การคุมทีมของ เดวิด มอยส์ สถานการณ์ย่ำแย่เป็นอย่างมากรั้งอันดับที่ 9 ตามหลัง จ่าฝูง อาร์เซน่อล ถึง 13 คะแนนขณะที่ออกสตาร์ทไปได้ 15 นัด
ครั้งสุดท้ายที่ ปีศาจแดง ไม่สามารถทำอันดับไปเล่นฟุตบอลถ้วยยุโรปได้เกิดขึ้นในฤดูกาล 1990-91 ครั้งนั้นจบซีซั่นมีคะแนนตามหลังทีมแชมป์ อาร์เซน่อล ถึง 24 แต้ม
ผลงาน 22 คะแนนจาก 15 นัดเลวร้ายที่สุดนับตั้งแต่ฤดูกาล 2001-02 ช่วงเวลาเดียวกันนั้น แมนฯยูไนเต็ด ก็แพ้ถึง 5 เกมจากการออกสตาร์ท 15 นัดแรกเหมือนปีนี้
ฟอร์มอันย่ำแย่ในสนามก็สืบเนื่องมากจากเกมรุกที่อ่อนปวกเปียกค่าเฉลี่ยการทำประตูต่อเกมซีซั่นนี้อยู่ที่ 1.43 เทียบกับฤดูกาลที่แล้วทำไว้ 2.26 รวมไปถึงสถิติการครองบอล,เปิดบอลจากด้านข้างโอกาสในการทำประตูก็น้อยตามไปด้วย
จะว่ากลุ่มนักเตะ ปีศาจแดง ชุดนี้คุณภาพต่ำมันก็ไม่ใช่เพราะด้วยสภาพทีมชุดเดียวกันนี้ เซอร์ อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน ก็พาทีมคว้าแชมป์ พรีเมียร์ลีก มาได้ยังไงมันก็ยังมีทรงมีมาตรฐานของมันอยู่
ความล้มเหลวในการซื้อนักเตะมาเสริมทีมช่วงซัมเมอร์อาจจะมีส่วนอยู่แต่ก็ไม่ใช่ทั้งหมดสิ่งที่แตกต่างออกไปชัดเจนจากยุค เฟอร์กี้ คือกลยุทธ์วิธีการเล่นมากกว่า
ในยุคของ เฟอร์กูสัน ไม่ว่า แมนฯยูไนเต็ด จะแพ้หรือชนะแฟนบอลต้องได้ลุ้นได้เฮมีความหวังรอดูใจจนกระทั่งสิ้นเสียงนกหวีดหมดเวลาแต่ในยุคของ เดวิด มอยส์ แฟนบอลเดินคอตกออกจากสนามก่อนหมดเวลาหลายนาที
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงจังหวะที่ แมนฯยูไนเต็ด มีสกอร์ตามหลังคู่ต่อสู้ เฟอร์กี้ จะสั่งลูกทีมเปิดเกมรุกเต็มสูบบดขยี้เพื่อเอาประตูคืนให้ได้แต่มันไม่เกิดขึ้นในยุคของ มอยส์
เกมรุกของ ปีศาจแดง กลายเป็นดาดๆธรรมดาขาดจินตนาการและความดุดันเฉียบขาดหวังพึ่งนักเตะเพียงแค่ โรบิน ฟานเพอร์ซี่ กับ เวย์น รูนีย์ ในการทำประตู
มันเป็นความโชคร้ายของ มอยส์ อีกอย่างก็คือนักเตะที่โชว์ฟอร์มได้เยี่ยมที่สุดเมื่อฤดูกาลที่แล้วอย่าง ฟาน เพอร์ซี่ กับ ไมเคิ่ล คาร์ริค ดันมาเจ็บพักยาวซึ่งถือว่าคู่นี้มีความสำคัญต่อทีมสูงมาก
แน่นอนการขาดหายไปของ อาร์วีพี ส่งผลกระทบโดยตรงดูได้จากสถิติการทำประตูของเขาและถ้าหัวหอกดัตช์ทำประตูได้ แมนฯยูไนเต็ด ไม่เคยพบกับความพ่ายแพ้
ในขณะที่ คาร์ริค ที่มองผิวเผินเหมือนไม่มีความสำคัญแต่ "เฮียแปะ" คือคนคุมจังหวะของเกมกำหนดทิศทางของบอลมีการจ่ายบอลที่แน่นอนซึ่งบางจังหวะก็มีบอลยาวทะลุทะลวงด้วย
เมื่อไม่มี คาร์ริค เกมรุกของ แมนฯยูไนเต็ด ตื้อตันขยับกันไม่ออกคู่มิดฟิลด์ไม่ว่าจะเป็นใคร ทอม เคลฟเวอรี่, มารูยาน เฟลไลนี่, อันแดร์สัน หรือ ฟิล โจนส์ ต่างก็ไม่มีลูกจ่ายทีเด็ดหรือการวางบอลยาวที่แม่นยำ
ไรอัน กิ๊กส์ ในวัย 40 ปีไม่มีทีมใหญ่เค้าเอามาเป็นตัวหลักกันหรอกมันแก่เกินกว่าที่จะมาถลกแขนเสื้อพาทีมบู๊ตะลุยกับคู่แข่งและที่สำคัญดาวเตะเวลส์ก็ไม่ได้มีคาแรคเตอร์ที่ว่านี้ด้วย
ฤดูกาลนี้สิ่งที่เราเห็นบ่อยก็คือ รูนีย์ ลงต่ำมาล้วงบอลเองนั่นก็มาจากสาเหตุที่ว่ากองกลางขาดประสิทธิภาพในการจ่ายบอลขึ้นทำเกมรุกทำได้แค่วิ่งไล่ล่าเป็นผึ้งงานเท่านั้น
เฟลไลนี่ สมัยอยู่กับ เอฟเวอร์ตัน คือหัวใจสำคัญของทีมเล่นบอลมีคุณภาพดุดันแข็งแกร่งซึ่ง มอยส์ เองนี่แหละเป็นคนปั้นขึ้นมาโด่งดังแต่กลับทำเช่นนั้นไม่ได้กับ แมนฯยูไนเต็ด
แท็กติกของ มอยส์ เน้นหนักไปกับการป้องกันการเปิดเกมรุกไม่ใช่จุดเด่นของกุนซือเลือดสก็อตรายนี้เราคุ้นเคยกับเกมเหนียวแน่นระวังหลังตั้งสมัยคุมทีม เอฟเวอร์ตัน
ความมั่นใจและความกล้าได้กล้าเสียของ มอยส์ ยังไม่ได้แสดงออกมาให้เห็นแฟน ปีศาจแดง ยอมรับความพ่ายแพ้ได้มันธรรมชาติของเกมฟุตบอลแต่ต้องโชว์ให้เห็นว่ามุ่งมั่นบุกสู้ถวายหัวเหมือนเมื่อก่อน
นอกจากตัวของ มอยส์ จะไม่มีประสบการณ์คุมทีมใหญ่หรือคว้าแชมป์แล้วกลุ่มสต๊าฟก็ย่อมละอ่อนตามไปด้วย ฟิล เนวิลล์ กับ สตีฟ ราวด์ ต่างก็ไม่ได้มีไอเดียที่ดีพอในการให้คำปรึกษาเจ้านาย
เรเน่ มิวเลนสตีน โค้ชชาวดัตช์ที่ยืนเคียงข้างกับ เฟอร์กูสัน คนนี้มีฝีมือได้รับการยอมรับจากนักเตะในทีมโดยเฉพาะ ฟาน เพอร์ซี่ ถึงกับยกนิ้วให้ว่าเยี่ยมจริงๆมีแนวคิดใหม่ๆไอเดียบรรเจิดทำให้นักเตะสนุกไปกับการซ้อม
มิวเลนสตีน เริ่มต้นการเป็นโค้ชทีมเยาวชนของ ปีศาจแดง ตั้งแต่ปี 2001 ไปจนกระทั่งถึงปี 2006 โดยปีหลังสุดควบตำแหน่งคุมทีมสำรองด้วยก่อนจะไปอยู่กับ บรอนด์บี้ ช่วงสั้นๆไม่ถึงปี
ในปี 2007 มิวเลนสตีน กลับมา โอลด์ แทร็ฟฟอร์ด อีกครั้งขึ้นชั้นมาเป็นมือขวาของ เฟอร์กี้ แทนที่ คาร์ลอส เคยรอช โดยทำงานร่วมกับ ไมค์ ฟีแลน เน้นทีมชุดใหญ่เต็มตัว มิวเลนสตีน จะเน้นไปในเรื่องของการพัฒนาเทคนิคของนักเตะเป็นหลัก
แต่หลังการเข้ามาของ มอยส์ เขากลับมองข้าม มิวเลนสตีน ไปดึงเอาทีมสต๊าฟของตัวเองมาแบบยกกระบิทั้งที่น่าจะเก็บ "นิ้ว" ของ เฟอร์กี้คนนี้เอาไว้ยังไงก็ช่วยทีมได้เยอะแน่นอน
เมื่อผลงานของทีมออกมาย่ำแย่แบบนี้ทุกคนต้องมองไปที่ตัวของ มอยส์ เรียกว่าเจาะประเด็นปัญหาทุกอย่างเอามาวิจารณ์ซึ่งมันมองเห็นบาดแผลหลายรอยที่ต้องเยียวยา
การเสริมทีมในช่วงเปิดตลาดรอบสองเดือน มกราคม จึงถูกหยิบยกขึ้นมาพูดถึงโดยเฉพาะมิดฟิลด์เชิงรุกเป็นเป้าหมายใหญ่ที่ มอยส์ ต้องงการเป็นอย่างยิ่ง
คนแรกก็คือ อิลคาย กุนโดกัน ดาวเตะทีมชาติเยอรมันคนนี้ครบเครื่องทั้งรุกและรับมาฉายแววโดดเด่นเมื่อฤดูกาลที่แล้วกับ ดอร์ทมุนด์ นั่นเอง
กุนโดกัน สร้างชื่อกับ เนิร์นแบร์ก เล่นมิดฟิลด์ตัวกลางในระบบ 4-4-2 หรือ 4-3-2-1 จนกระทั่งย้ยมา ดอร์ทมุนด์ ช่วงปีแรกก็เล่นบทบาทนี้ก่อนที่ เจอร์เก้น คล็อปป์ จะมองเห็นความสามารถในตัวจึงจับดันขึ้นมาเล่นหน้าต่ำ
กุนโดกัน มีทักษะที่ดีเยี่ยมเอาตัวรอดได้และมีการจ่ายบอลเข้าทำที่ชาญฉลาด คล็อปป์ ปั้นขึ้นมาทดแทน มาริโดอ เกิร์ทเซ่ ที่ถูก บาเยิร์น มิวนิค หรอยไปร่วมทีมโดยมีค่าตัวประมาณ 24 ล้นปอนด์
คนต่อมาก็คือ โยฮัน กาบาย คนนี้ มอยส์ เห็นฟอร์มกับตาตัวเองที่ โอลด์ แทร็ฟฟอร์ด เมื่ออวันเสาร์ที่ผ่านมาดาวเตะฝรั่งเศสคือมิดฟิลด์ตัวกลางขนานแท้โดดเด่นที่เกมรุก
กาบาย มีวิสัยทัศน์กว้างไกลในการจ่ายบอลยาวและลูกยิงไกลซึ่ง แมนฯยูไนเต็ด ขาดมิดฟิลด์สไตล์นี้แถมยังมีทีเด็ดที่ลูกฟรีคิกอีกด้วยถือเป็นนักเตะที่น่าสนใจมากคนหนึ่งในช่วงเปิดตลาดรอบสอง
ก่อนปิดตลาดรอบแรกเมื่อเดือน สิงหาคม กาบาย เกือบจะย้ายทีมแล้วแต่การเจรจาล้มเหลวกับ ปารีส แซงต์แชร์กแมง เชื่อว่า มกราคม นี้ แมนฯยูไนเต็ด ต้องเจอับคู่แข่งอีกหลายทีม
รายต่อมาเป็นคนหน้าเดิมที่ แมนฯยูไนเต็ด ตามตื๊อมาตลอดช่วงซัมเมอร์แต่ก็แห้วรับประทานนั่นก็คือ เชส ฟาเบรกาส รายนี้ต้องบอกว่าโอกาสได้ตัวมีน้อยเพราะอยู่กับทีมใหญ่อย่าง บาร์เซโลน่า และยังอยู่ในแผนการทำทีมของ ตาต้า อีกด้วย
คนต่อมาก็คือ ลูก้า โมดริช คนนี้ก็พัวพันกับ เฟอร์กี้ มาตลอดความเป็นไปได้ขึ้นอยู่กับ แมนฯยูไนเต็ด ว่าจะกล้าทุ่มค่าตัวและค่าเหนื่อยขนาดไหนเพื่อแลกกับดาวเตะโครแอต
อันเดร์ เอร์เรร่า ดาวเตะ แอธ บิลเบา ที่เกือบจะได้ตัวมาแล้วก่อนปิดตลาดแต่ แมนฯยูไนเต็ด ถูกปฏิเสธกลับมาเพราะต้นสังกัดต้องการค่าฉีกสัญญา 30 ล้านปอนด์แต่ตอนนี้ถ้าจะเอาโอกาสเปิดกว้างเพราะฟอร์มตกและไม่ได้เป็นตัวหลักของทีม
เวสลีย์ สไนเดอร์ ที่เคยพัวพันเมื่อสองปีก่อนแต่ติดเรื่องค่าตัวและค่าเหนื่อยแพงตอนนี้ก็กลับมาอยู่ในลิสต์อีกครั้งในวัย 29 ปีและฟอร์มไม่โดดเด่นมากนักถ้า แมนฯยูไนเต็ด อยากได้จริงก็ไม่น่าจะยาก
ส่วนรายอื่นๆก็มี เรมี่ กาเบลล่า ดาวรุ่ง มงต์เปลลิเยร์ ที่ว่ากันว่ามีสไตล์การเล่นคล้ายกับ เมซุต โอซิล จอมทัพทีมชาติเยอรมันโดยมีค่าตัวอยู่ที่ 18 ล้านปอนด์
ตัวโนเนมอีกรายก็มี เอเวอร์ตอน ริเบโร่ ดาวเตะแซมบ้าของ ครูไซโร่ วัย 24 ปีมีความคล่องตัวสูงค่าตัวก็ไม่แพงอยู่ในระดับ 10 ล้านปอนด์
การซื้อนักเตะมาเสริมทีมในช่วง มกราคม คือภาระกิจเร่งด่วนชิ้นแรกก็จริงแต่มันก็ไม่ใช่การแก้ปัญหาทั้งหมด มอยส์ เองก็ต้องปรับแก้ไขในเรื่องของแท็กติกกลยุทธ์ในการเล่นด้วย
ยังเหลือเกมอีก 23 นัดตอนนี้ แมนฯยูไนเต็ด มี 22 คะแนนถ้าชนะรวดทุกนัดก็จะมี 91 คะแนนเพียงพอต่อการเป็นแชมป์แน่ซึ่งมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 85 คะแนนในแต่ละปีแต่มันก็เป็นไปไม่ได้ที่จะทำได้เช่นนั้น
มองในโลกของความเป็นจริง มอยส์ ต้องเก็บชัยชนะให้ได้ 16-18 นัดเป็นอย่างต่ำซึ่งดูจากมาตรฐานตอนนี้แล้วโอกาสที่จะเกิดขึ้นต้อง "ปาฏิหาริย์" เท่านั้นเหมือนอย่างที่ รอน แอตกินสัน ว่าเอาไว้...
credit : www.siamsport.com คอลัมน์ : WWW.SUMMERHILL โดย.. ซัมเมอร์ฮิลล์
หมายเหตุ (โดยจขกท) : ผมเคยบอก (เขียน) ไว้หลายหนว่า ชื่อของเดวิด มอยส์นั้นไม่ดึงดูดยอดนักเตะ (ถามง่ายๆ ว่า ซีซั่นก่อน ถ้าเป็นมอยส์คุมทีม RVP จะย้ายมาแมนฯยู หรือ ไปแมนฯซิ ?)
แถมช่วงนี้ ฟอร์มและสไตล์การเล่นยิ่งไม่เข้าแก๊ป (ถึง 2 แมทช์หลังสุดจะดีขึ้นมา แต่ก็ไม่ได้การันตีว่าจะดีอย่างนี้ได้อีกนานเท่าไหร่) ถ้าจะซื้อนักเตะ big name จะต้องจ่ายให้สโมสรต้นสังกัด ด้วยราคาสูงตามปกติแม้เฟอร์กี้คุมทีมอยู่ ซึ่งสโมสรเงินถังอย่างแมนฯยูก็โดนโขกสับอยู่แล้ว
แต่ผมเชื่อว่า สโมสร 'ต้อง' จ่ายค่าเหนื่อยให้นักเตะที่ไปจีบมาด้วยมูลค่าสูงลิบลิ่ว ... ซึ่งไม่รู้ว่า มอยส์ กับ เอ็ดด์ วู้ดเวิร์ดจะเข้าใจ 'ความเป็นจริง' ข้อนี้ด้วยหรือไม่ ?
[บทความผีแดง 2013-12-16] ซื้อนักเตะใหม่ไม่ใช่ทางแก้
20 ปีที่ผ่านมา แมนฯยูไนเต็ด ทำมาตรฐานเอาไว้สูงถึงแม้ว่าบางปีจะไม่สามารถคว้าแชมป์ได้แต่ผลงานก็ยังเกาะกลุ่มหัวตารางมาโดยตลอดและไม่เคยหลุดวงโคจรฟุตบอลถ้วยยุโรป
แต่มาปีนี้ภายใต้การคุมทีมของ เดวิด มอยส์ สถานการณ์ย่ำแย่เป็นอย่างมากรั้งอันดับที่ 9 ตามหลัง จ่าฝูง อาร์เซน่อล ถึง 13 คะแนนขณะที่ออกสตาร์ทไปได้ 15 นัด
ครั้งสุดท้ายที่ ปีศาจแดง ไม่สามารถทำอันดับไปเล่นฟุตบอลถ้วยยุโรปได้เกิดขึ้นในฤดูกาล 1990-91 ครั้งนั้นจบซีซั่นมีคะแนนตามหลังทีมแชมป์ อาร์เซน่อล ถึง 24 แต้ม
ผลงาน 22 คะแนนจาก 15 นัดเลวร้ายที่สุดนับตั้งแต่ฤดูกาล 2001-02 ช่วงเวลาเดียวกันนั้น แมนฯยูไนเต็ด ก็แพ้ถึง 5 เกมจากการออกสตาร์ท 15 นัดแรกเหมือนปีนี้
ฟอร์มอันย่ำแย่ในสนามก็สืบเนื่องมากจากเกมรุกที่อ่อนปวกเปียกค่าเฉลี่ยการทำประตูต่อเกมซีซั่นนี้อยู่ที่ 1.43 เทียบกับฤดูกาลที่แล้วทำไว้ 2.26 รวมไปถึงสถิติการครองบอล,เปิดบอลจากด้านข้างโอกาสในการทำประตูก็น้อยตามไปด้วย
จะว่ากลุ่มนักเตะ ปีศาจแดง ชุดนี้คุณภาพต่ำมันก็ไม่ใช่เพราะด้วยสภาพทีมชุดเดียวกันนี้ เซอร์ อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน ก็พาทีมคว้าแชมป์ พรีเมียร์ลีก มาได้ยังไงมันก็ยังมีทรงมีมาตรฐานของมันอยู่
ความล้มเหลวในการซื้อนักเตะมาเสริมทีมช่วงซัมเมอร์อาจจะมีส่วนอยู่แต่ก็ไม่ใช่ทั้งหมดสิ่งที่แตกต่างออกไปชัดเจนจากยุค เฟอร์กี้ คือกลยุทธ์วิธีการเล่นมากกว่า
ในยุคของ เฟอร์กูสัน ไม่ว่า แมนฯยูไนเต็ด จะแพ้หรือชนะแฟนบอลต้องได้ลุ้นได้เฮมีความหวังรอดูใจจนกระทั่งสิ้นเสียงนกหวีดหมดเวลาแต่ในยุคของ เดวิด มอยส์ แฟนบอลเดินคอตกออกจากสนามก่อนหมดเวลาหลายนาที
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงจังหวะที่ แมนฯยูไนเต็ด มีสกอร์ตามหลังคู่ต่อสู้ เฟอร์กี้ จะสั่งลูกทีมเปิดเกมรุกเต็มสูบบดขยี้เพื่อเอาประตูคืนให้ได้แต่มันไม่เกิดขึ้นในยุคของ มอยส์
เกมรุกของ ปีศาจแดง กลายเป็นดาดๆธรรมดาขาดจินตนาการและความดุดันเฉียบขาดหวังพึ่งนักเตะเพียงแค่ โรบิน ฟานเพอร์ซี่ กับ เวย์น รูนีย์ ในการทำประตู
มันเป็นความโชคร้ายของ มอยส์ อีกอย่างก็คือนักเตะที่โชว์ฟอร์มได้เยี่ยมที่สุดเมื่อฤดูกาลที่แล้วอย่าง ฟาน เพอร์ซี่ กับ ไมเคิ่ล คาร์ริค ดันมาเจ็บพักยาวซึ่งถือว่าคู่นี้มีความสำคัญต่อทีมสูงมาก
แน่นอนการขาดหายไปของ อาร์วีพี ส่งผลกระทบโดยตรงดูได้จากสถิติการทำประตูของเขาและถ้าหัวหอกดัตช์ทำประตูได้ แมนฯยูไนเต็ด ไม่เคยพบกับความพ่ายแพ้
ในขณะที่ คาร์ริค ที่มองผิวเผินเหมือนไม่มีความสำคัญแต่ "เฮียแปะ" คือคนคุมจังหวะของเกมกำหนดทิศทางของบอลมีการจ่ายบอลที่แน่นอนซึ่งบางจังหวะก็มีบอลยาวทะลุทะลวงด้วย
เมื่อไม่มี คาร์ริค เกมรุกของ แมนฯยูไนเต็ด ตื้อตันขยับกันไม่ออกคู่มิดฟิลด์ไม่ว่าจะเป็นใคร ทอม เคลฟเวอรี่, มารูยาน เฟลไลนี่, อันแดร์สัน หรือ ฟิล โจนส์ ต่างก็ไม่มีลูกจ่ายทีเด็ดหรือการวางบอลยาวที่แม่นยำ
ไรอัน กิ๊กส์ ในวัย 40 ปีไม่มีทีมใหญ่เค้าเอามาเป็นตัวหลักกันหรอกมันแก่เกินกว่าที่จะมาถลกแขนเสื้อพาทีมบู๊ตะลุยกับคู่แข่งและที่สำคัญดาวเตะเวลส์ก็ไม่ได้มีคาแรคเตอร์ที่ว่านี้ด้วย
ฤดูกาลนี้สิ่งที่เราเห็นบ่อยก็คือ รูนีย์ ลงต่ำมาล้วงบอลเองนั่นก็มาจากสาเหตุที่ว่ากองกลางขาดประสิทธิภาพในการจ่ายบอลขึ้นทำเกมรุกทำได้แค่วิ่งไล่ล่าเป็นผึ้งงานเท่านั้น
เฟลไลนี่ สมัยอยู่กับ เอฟเวอร์ตัน คือหัวใจสำคัญของทีมเล่นบอลมีคุณภาพดุดันแข็งแกร่งซึ่ง มอยส์ เองนี่แหละเป็นคนปั้นขึ้นมาโด่งดังแต่กลับทำเช่นนั้นไม่ได้กับ แมนฯยูไนเต็ด
แท็กติกของ มอยส์ เน้นหนักไปกับการป้องกันการเปิดเกมรุกไม่ใช่จุดเด่นของกุนซือเลือดสก็อตรายนี้เราคุ้นเคยกับเกมเหนียวแน่นระวังหลังตั้งสมัยคุมทีม เอฟเวอร์ตัน
ความมั่นใจและความกล้าได้กล้าเสียของ มอยส์ ยังไม่ได้แสดงออกมาให้เห็นแฟน ปีศาจแดง ยอมรับความพ่ายแพ้ได้มันธรรมชาติของเกมฟุตบอลแต่ต้องโชว์ให้เห็นว่ามุ่งมั่นบุกสู้ถวายหัวเหมือนเมื่อก่อน
นอกจากตัวของ มอยส์ จะไม่มีประสบการณ์คุมทีมใหญ่หรือคว้าแชมป์แล้วกลุ่มสต๊าฟก็ย่อมละอ่อนตามไปด้วย ฟิล เนวิลล์ กับ สตีฟ ราวด์ ต่างก็ไม่ได้มีไอเดียที่ดีพอในการให้คำปรึกษาเจ้านาย
เรเน่ มิวเลนสตีน โค้ชชาวดัตช์ที่ยืนเคียงข้างกับ เฟอร์กูสัน คนนี้มีฝีมือได้รับการยอมรับจากนักเตะในทีมโดยเฉพาะ ฟาน เพอร์ซี่ ถึงกับยกนิ้วให้ว่าเยี่ยมจริงๆมีแนวคิดใหม่ๆไอเดียบรรเจิดทำให้นักเตะสนุกไปกับการซ้อม
มิวเลนสตีน เริ่มต้นการเป็นโค้ชทีมเยาวชนของ ปีศาจแดง ตั้งแต่ปี 2001 ไปจนกระทั่งถึงปี 2006 โดยปีหลังสุดควบตำแหน่งคุมทีมสำรองด้วยก่อนจะไปอยู่กับ บรอนด์บี้ ช่วงสั้นๆไม่ถึงปี
ในปี 2007 มิวเลนสตีน กลับมา โอลด์ แทร็ฟฟอร์ด อีกครั้งขึ้นชั้นมาเป็นมือขวาของ เฟอร์กี้ แทนที่ คาร์ลอส เคยรอช โดยทำงานร่วมกับ ไมค์ ฟีแลน เน้นทีมชุดใหญ่เต็มตัว มิวเลนสตีน จะเน้นไปในเรื่องของการพัฒนาเทคนิคของนักเตะเป็นหลัก
แต่หลังการเข้ามาของ มอยส์ เขากลับมองข้าม มิวเลนสตีน ไปดึงเอาทีมสต๊าฟของตัวเองมาแบบยกกระบิทั้งที่น่าจะเก็บ "นิ้ว" ของ เฟอร์กี้คนนี้เอาไว้ยังไงก็ช่วยทีมได้เยอะแน่นอน
เมื่อผลงานของทีมออกมาย่ำแย่แบบนี้ทุกคนต้องมองไปที่ตัวของ มอยส์ เรียกว่าเจาะประเด็นปัญหาทุกอย่างเอามาวิจารณ์ซึ่งมันมองเห็นบาดแผลหลายรอยที่ต้องเยียวยา
การเสริมทีมในช่วงเปิดตลาดรอบสองเดือน มกราคม จึงถูกหยิบยกขึ้นมาพูดถึงโดยเฉพาะมิดฟิลด์เชิงรุกเป็นเป้าหมายใหญ่ที่ มอยส์ ต้องงการเป็นอย่างยิ่ง
คนแรกก็คือ อิลคาย กุนโดกัน ดาวเตะทีมชาติเยอรมันคนนี้ครบเครื่องทั้งรุกและรับมาฉายแววโดดเด่นเมื่อฤดูกาลที่แล้วกับ ดอร์ทมุนด์ นั่นเอง
กุนโดกัน สร้างชื่อกับ เนิร์นแบร์ก เล่นมิดฟิลด์ตัวกลางในระบบ 4-4-2 หรือ 4-3-2-1 จนกระทั่งย้ยมา ดอร์ทมุนด์ ช่วงปีแรกก็เล่นบทบาทนี้ก่อนที่ เจอร์เก้น คล็อปป์ จะมองเห็นความสามารถในตัวจึงจับดันขึ้นมาเล่นหน้าต่ำ
กุนโดกัน มีทักษะที่ดีเยี่ยมเอาตัวรอดได้และมีการจ่ายบอลเข้าทำที่ชาญฉลาด คล็อปป์ ปั้นขึ้นมาทดแทน มาริโดอ เกิร์ทเซ่ ที่ถูก บาเยิร์น มิวนิค หรอยไปร่วมทีมโดยมีค่าตัวประมาณ 24 ล้นปอนด์
คนต่อมาก็คือ โยฮัน กาบาย คนนี้ มอยส์ เห็นฟอร์มกับตาตัวเองที่ โอลด์ แทร็ฟฟอร์ด เมื่ออวันเสาร์ที่ผ่านมาดาวเตะฝรั่งเศสคือมิดฟิลด์ตัวกลางขนานแท้โดดเด่นที่เกมรุก
กาบาย มีวิสัยทัศน์กว้างไกลในการจ่ายบอลยาวและลูกยิงไกลซึ่ง แมนฯยูไนเต็ด ขาดมิดฟิลด์สไตล์นี้แถมยังมีทีเด็ดที่ลูกฟรีคิกอีกด้วยถือเป็นนักเตะที่น่าสนใจมากคนหนึ่งในช่วงเปิดตลาดรอบสอง
ก่อนปิดตลาดรอบแรกเมื่อเดือน สิงหาคม กาบาย เกือบจะย้ายทีมแล้วแต่การเจรจาล้มเหลวกับ ปารีส แซงต์แชร์กแมง เชื่อว่า มกราคม นี้ แมนฯยูไนเต็ด ต้องเจอับคู่แข่งอีกหลายทีม
รายต่อมาเป็นคนหน้าเดิมที่ แมนฯยูไนเต็ด ตามตื๊อมาตลอดช่วงซัมเมอร์แต่ก็แห้วรับประทานนั่นก็คือ เชส ฟาเบรกาส รายนี้ต้องบอกว่าโอกาสได้ตัวมีน้อยเพราะอยู่กับทีมใหญ่อย่าง บาร์เซโลน่า และยังอยู่ในแผนการทำทีมของ ตาต้า อีกด้วย
คนต่อมาก็คือ ลูก้า โมดริช คนนี้ก็พัวพันกับ เฟอร์กี้ มาตลอดความเป็นไปได้ขึ้นอยู่กับ แมนฯยูไนเต็ด ว่าจะกล้าทุ่มค่าตัวและค่าเหนื่อยขนาดไหนเพื่อแลกกับดาวเตะโครแอต
อันเดร์ เอร์เรร่า ดาวเตะ แอธ บิลเบา ที่เกือบจะได้ตัวมาแล้วก่อนปิดตลาดแต่ แมนฯยูไนเต็ด ถูกปฏิเสธกลับมาเพราะต้นสังกัดต้องการค่าฉีกสัญญา 30 ล้านปอนด์แต่ตอนนี้ถ้าจะเอาโอกาสเปิดกว้างเพราะฟอร์มตกและไม่ได้เป็นตัวหลักของทีม
เวสลีย์ สไนเดอร์ ที่เคยพัวพันเมื่อสองปีก่อนแต่ติดเรื่องค่าตัวและค่าเหนื่อยแพงตอนนี้ก็กลับมาอยู่ในลิสต์อีกครั้งในวัย 29 ปีและฟอร์มไม่โดดเด่นมากนักถ้า แมนฯยูไนเต็ด อยากได้จริงก็ไม่น่าจะยาก
ส่วนรายอื่นๆก็มี เรมี่ กาเบลล่า ดาวรุ่ง มงต์เปลลิเยร์ ที่ว่ากันว่ามีสไตล์การเล่นคล้ายกับ เมซุต โอซิล จอมทัพทีมชาติเยอรมันโดยมีค่าตัวอยู่ที่ 18 ล้านปอนด์
ตัวโนเนมอีกรายก็มี เอเวอร์ตอน ริเบโร่ ดาวเตะแซมบ้าของ ครูไซโร่ วัย 24 ปีมีความคล่องตัวสูงค่าตัวก็ไม่แพงอยู่ในระดับ 10 ล้านปอนด์
การซื้อนักเตะมาเสริมทีมในช่วง มกราคม คือภาระกิจเร่งด่วนชิ้นแรกก็จริงแต่มันก็ไม่ใช่การแก้ปัญหาทั้งหมด มอยส์ เองก็ต้องปรับแก้ไขในเรื่องของแท็กติกกลยุทธ์ในการเล่นด้วย
ยังเหลือเกมอีก 23 นัดตอนนี้ แมนฯยูไนเต็ด มี 22 คะแนนถ้าชนะรวดทุกนัดก็จะมี 91 คะแนนเพียงพอต่อการเป็นแชมป์แน่ซึ่งมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 85 คะแนนในแต่ละปีแต่มันก็เป็นไปไม่ได้ที่จะทำได้เช่นนั้น
มองในโลกของความเป็นจริง มอยส์ ต้องเก็บชัยชนะให้ได้ 16-18 นัดเป็นอย่างต่ำซึ่งดูจากมาตรฐานตอนนี้แล้วโอกาสที่จะเกิดขึ้นต้อง "ปาฏิหาริย์" เท่านั้นเหมือนอย่างที่ รอน แอตกินสัน ว่าเอาไว้...
credit : www.siamsport.com คอลัมน์ : WWW.SUMMERHILL โดย.. ซัมเมอร์ฮิลล์
หมายเหตุ (โดยจขกท) : ผมเคยบอก (เขียน) ไว้หลายหนว่า ชื่อของเดวิด มอยส์นั้นไม่ดึงดูดยอดนักเตะ (ถามง่ายๆ ว่า ซีซั่นก่อน ถ้าเป็นมอยส์คุมทีม RVP จะย้ายมาแมนฯยู หรือ ไปแมนฯซิ ?)
แถมช่วงนี้ ฟอร์มและสไตล์การเล่นยิ่งไม่เข้าแก๊ป (ถึง 2 แมทช์หลังสุดจะดีขึ้นมา แต่ก็ไม่ได้การันตีว่าจะดีอย่างนี้ได้อีกนานเท่าไหร่) ถ้าจะซื้อนักเตะ big name จะต้องจ่ายให้สโมสรต้นสังกัด ด้วยราคาสูงตามปกติแม้เฟอร์กี้คุมทีมอยู่ ซึ่งสโมสรเงินถังอย่างแมนฯยูก็โดนโขกสับอยู่แล้ว
แต่ผมเชื่อว่า สโมสร 'ต้อง' จ่ายค่าเหนื่อยให้นักเตะที่ไปจีบมาด้วยมูลค่าสูงลิบลิ่ว ... ซึ่งไม่รู้ว่า มอยส์ กับ เอ็ดด์ วู้ดเวิร์ดจะเข้าใจ 'ความเป็นจริง' ข้อนี้ด้วยหรือไม่ ?