เพราะเราต้องการสังคมที่ดีงาม ระบบการปกครองที่เป็นธรรมต่อทุกฝ่าย ทุกคน จึงมีความพยายามคิดสร้างระบบการปกครองขึ้นมาเพื่อจัดการให้เกิดสิ่งที่ปรารถนานั้น
พลโลกส่วนใหญ่ ณ วันนี้ มีความเชื่อว่าระบอบประชาธิปไตยคือระบบการปกครองที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการสร้างสังคมที่คนจะอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขดีงาม
เพราะประชาธิปไตยเริ่มต้นจากการที่ทุกคนจะต้องยอมรับในความเสมอภาค เท่าเทียมกันของคนทุกหมู่เหล่า ทุกคน เคารพในสิทธิส่วนบุคคล และออกแบบบริหารให้ไม่ไปละเมิดสิทธิของคนอื่น
เพื่อให้เป็นสังคมที่คนอยู่ร่วมกันอย่างเสมอภาค เท่าเทียม และมีภราดรภาพ
ประชาธิปไตยพิสูจน์ให้โลกได้เห็นแล้วว่าเป็นระบบการปกครองที่ทำให้เข้าใกล้เป้าหมายการอยู่ร่วมกันเป็นสังคมที่ดีมากที่สุด
แต่การสถาปนาประชาธิปไตยให้เกิดขึ้นในประเทศใดได้สมบูรณ์นั้นเป็นเรื่องที่ยากยิ่ง
เพราะพื้นฐานของสัญชาตญาณมนุษย์คือการมุ่งครอบครอง
ชมชอบที่จะเห็นตัวเองมีสถานะเหนือกว่าคนอื่น
มนุษย์เรียนรู้ว่าหากเหนือกว่าคนอื่นได้จะมีความสุข สบาย และเกียรติยศอีกมากมายตามมา
สังคมมนุษย์เสพติดค่านิยมนั้นมายาวนาน
เมื่อวันหนึ่งมีการบอกว่านับจากนี้เราจะเป็นประชาธิปไตย จะอยู่กันอย่างเท่าเทียมในทุกด้าน
ค่านิยมที่จะอยู่แบบเหนือกว่าซึ่งสะสมมายาวนาน ย่อมเป็นอุปสรรคใหญ่นำพาให้เกิดการต่อต้าน
ไม่ใช่แค่ผู้เหนือกว่าเท่านั้นที่ประกาศสู้ แต่ผู้ที่ด้อยกว่าก็ไม่ยินยอมพร้อมใจ เพราะยังนึกไม่ออกว่าจะมีชีวิตต่อไปอย่างไร หากไม่ได้รับการดูแลเกื้อหนุน เลี้ยงดู จากผู้เหนือกว่า
นี่เป็นโจทย์ใหญ่ของนักประชาธิปไตยที่จะนำพาความคิดของผู้คนให้เรียกหาความเท่าเทียม
การต่อสู้เกิดขึ้นทั้งรุนแรงและยาวนานเพื่อรักษาระบบเดิมไว้
มันไม่ใช่เรื่องความรวย ความจน ชนชั้น แต่เป็นเรื่องของจิตใจที่เคยชินกับระบบอุปถัมภ์
ทั้งนาย ทั้งบ่าว
ทั้งนายทุน ทั้งลูกจ้าง
ทั้งเจ้าพ่อ และผู้อยู่ภายใต้อิทธิพล
แต่ไม่ว่าจะต่อสู้อย่างรุนแรงและยาวนานเท่าไร นานาประเทศสามารถเดินสู่ประชาธิปไตยได้ มีน้อยมากที่เดินถอยหลังกลับ
เพราะประชาธิปไตยจะค่อยๆ ทำให้ผู้คนได้เรียนรู้ถึงความสำคัญของสิทธิและเสรีภาพที่เท่าเทียม เมื่อคนส่วนใหญ่ตระหนักถึงคุณค่าของสิทธิ สัมผัสความงดงามของเสรีภาพว่ามีคุณค่ามากกว่าสิ่งอื่นใด
ทุกคนจะหวงแหนสิทธิของตัวเอง จะรักษาเสรีภาพของตัวเองไว้ ไม่ยอมแลกความดีงามนี้กับอย่างอื่น
เนื่องจากความเท่าเทียม และเสรีภาพย่อมเป็นความดีงามสูงสุด
ในวันที่ทุกคนคำถึงถึงสิทธิความเท่าเทียมของตัวเอง จะไม่ยอมให้ใครมาเอารัดเอาเปรียบ และรู้ว่าการเอารัดเอาเปรียบคนอื่นคือความเลว ความชั่ว
ในวันนั้น ประชาธิปไตยจะสถาปนาเป็นระบบการปกครองที่มีประสิทธิภาพในการรักษาความดีงามสูงสุดนั้นไว้
นานาประเทศส่วนใหญ่ที่เดินมาในเส้นทางนี้ล้วนไม่ถอยหลังกลับไปสู่ระบบอื่นที่ไม่ให้คุณค่าของความเท่าเทียมและเสรีภาพ
เพราะประชาชนตระหนักในสิทธิของตัวเองและชื่นชมในการเคารพเสรีภาพของกันและกัน เป็นสังคมที่จะอยู่ร่วมกันได้อย่างสุข สงบ
แน่นอน ไม่มีอะไรที่สมบูรณ์แบบ ตราบใดที่สัญชาตญาณที่มุ่งสู่ความเหนือกว่ายังทำงาน ยังเป็นพื้นฐานของจิตใจมนุษย์
แต่ประชาธิปไตยจะสร้างกลไกขึ้นมาควบคุมสัญชาตญาณนั้น เพราะสร้างสัญชาตญาณใหม่ขึ้นมา เป็นสัญชาตญาณที่เรียกหาความเท่าเทียม และดูแลสิทธิที่จะอยู่อย่างเท่าเทียมให้กันและกัน
นานาประเทศมุ่งสร้างสัญชาตญาณนี้ให้เกิดขึ้น และให้เชื่อมั่นศรัทธาอย่างแพร่หลาย ด้วยความหวังว่าที่สุดสัญชาตญาณประชาธิปไตยจะเกิดขึ้นในจิตใจของทุกคน
หันกลับมาดูประเทศไทยเรายามนี้
ทั้งที่เริ่มต้นประชาธิปไตยมากว่า80 ปี
แต่ในวันนี้สิ่งที่กำลังต่อสู้กันอยู่ช่างเหมือนกับเพิ่งถือกำเนิดประชาธิปไตย
นาทีนี้เรากำลังจะตัดสินกันว่าระหว่าง"การเลือกตั้งทั่วไป" ที่ให้ "สิทธิความเท่าเทียมกันกับคนทั้งประเทศ"
ให้ "สิทธิที่จะเลือกอย่างเท่าเทียมกัน"
กับ "การจัดตั้งสิ่งที่พยายามเรียกว่าสภาประชาชน" ที่ชัดเจน
ขึ้นเรื่อยๆ ว่าเกิดจากพื้นฐานที่เห็นว่าประชาชนไทยไม่พร้อมที่จะอยู่อย่างเท่าเทียมกัน
"สิทธิของกลุ่มคนที่ถูกตีค่าว่าโง่"ควรจะมีน้อยกว่า "กลุ่มคนที่ถูกประเมินว่าฉลาด"
ที่ไปไกลกว่านั้น ยังมีความพยายามจะให้ "คนบางกลุ่มบางพวก ผูกขาดสิทธิในการเลือก"
ลิดรอนสิทธิของคนทั้งประเทศ
ด้วยเหตุผลว่าหากปล่อยให้การเลือกเป็นสิทธิของคนทั้งประเทศ จะเกิดการเลือกคนเลวเข้ามาควบคุมประเทศไม่รู้จบรู้สิ้น
สิทธิของคนทั้งประเทศจะต้องรอจนกว่า พวกเขาเหล่านี้ต้องรู้จักเลือกคนดีเสียก่อน
เป็นคนดีในความหมายที่กลุ่มคนที่คิดจะผูกขาดอำนาจในการเลือกวางคุณสมบัติไว้
คงอีกไม่กี่วันน่าจะมีคำตอบว่า ระหว่าง "สิ่งที่เรียกว่าสภาประชาชน" ที่ให้สิทธิในการเลือกจากคนบางกลุ่มที่ส่งเสียงได้ดังกว่า ลิดรอนสิทธิ
ของคนอื่น ไม่เห็นคุณค่าของความเท่าเทียม
กับ "สภาผู้แทนราษฎร" ที่ให้สิทธิในการเลือกกับคนทั้งประเทศ เข้าใกล้การสร้างความเท่าเทียมซึ่งเป็นความดีงามขั้นพื้นฐานสุดมากกว่า
ประเทศไทยเราจะไปทางไหน
จะเดินหน้าสู่ประเทศประชาธิปไตยพัฒนาแล้ว
หรือถอยหลังกลับมายินดีปรีดากับสังคมชนชั้น
อีกไม่กี่วันเราคงจะได้รู้กันว่าความรู้ความเข้าใจเรื่องประชาธิปไตยที่เราได้เรียนและสัมผัสกว่า 80 ปี จะหยั่งลึกในสัญชาตญาณให้หวงแหนสิทธิความเท่าเทียมของเราแค่ไหน
คนไทยทั้งประเทศ หรือที่เป็นส่วนใหญ่อย่างแท้จริง จะยอมให้คนกลุ่มหนึ่งที่แค่สามารถส่งเสียงได้ดังกว่ามาลิดรอนสิทธิความเท่าเทียม ซึ่งจะส่งผลต่อเสรีภาพของเราหรือไม่
(ที่มา:มติชนรายวัน 15 ธ.ค.2556)
แล้วจะรู้สึก จาก มติชน ออนไลน์
พลโลกส่วนใหญ่ ณ วันนี้ มีความเชื่อว่าระบอบประชาธิปไตยคือระบบการปกครองที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการสร้างสังคมที่คนจะอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขดีงาม
เพราะประชาธิปไตยเริ่มต้นจากการที่ทุกคนจะต้องยอมรับในความเสมอภาค เท่าเทียมกันของคนทุกหมู่เหล่า ทุกคน เคารพในสิทธิส่วนบุคคล และออกแบบบริหารให้ไม่ไปละเมิดสิทธิของคนอื่น
เพื่อให้เป็นสังคมที่คนอยู่ร่วมกันอย่างเสมอภาค เท่าเทียม และมีภราดรภาพ
ประชาธิปไตยพิสูจน์ให้โลกได้เห็นแล้วว่าเป็นระบบการปกครองที่ทำให้เข้าใกล้เป้าหมายการอยู่ร่วมกันเป็นสังคมที่ดีมากที่สุด
แต่การสถาปนาประชาธิปไตยให้เกิดขึ้นในประเทศใดได้สมบูรณ์นั้นเป็นเรื่องที่ยากยิ่ง
เพราะพื้นฐานของสัญชาตญาณมนุษย์คือการมุ่งครอบครอง
ชมชอบที่จะเห็นตัวเองมีสถานะเหนือกว่าคนอื่น
มนุษย์เรียนรู้ว่าหากเหนือกว่าคนอื่นได้จะมีความสุข สบาย และเกียรติยศอีกมากมายตามมา
สังคมมนุษย์เสพติดค่านิยมนั้นมายาวนาน
เมื่อวันหนึ่งมีการบอกว่านับจากนี้เราจะเป็นประชาธิปไตย จะอยู่กันอย่างเท่าเทียมในทุกด้าน
ค่านิยมที่จะอยู่แบบเหนือกว่าซึ่งสะสมมายาวนาน ย่อมเป็นอุปสรรคใหญ่นำพาให้เกิดการต่อต้าน
ไม่ใช่แค่ผู้เหนือกว่าเท่านั้นที่ประกาศสู้ แต่ผู้ที่ด้อยกว่าก็ไม่ยินยอมพร้อมใจ เพราะยังนึกไม่ออกว่าจะมีชีวิตต่อไปอย่างไร หากไม่ได้รับการดูแลเกื้อหนุน เลี้ยงดู จากผู้เหนือกว่า
นี่เป็นโจทย์ใหญ่ของนักประชาธิปไตยที่จะนำพาความคิดของผู้คนให้เรียกหาความเท่าเทียม
การต่อสู้เกิดขึ้นทั้งรุนแรงและยาวนานเพื่อรักษาระบบเดิมไว้
มันไม่ใช่เรื่องความรวย ความจน ชนชั้น แต่เป็นเรื่องของจิตใจที่เคยชินกับระบบอุปถัมภ์
ทั้งนาย ทั้งบ่าว
ทั้งนายทุน ทั้งลูกจ้าง
ทั้งเจ้าพ่อ และผู้อยู่ภายใต้อิทธิพล
แต่ไม่ว่าจะต่อสู้อย่างรุนแรงและยาวนานเท่าไร นานาประเทศสามารถเดินสู่ประชาธิปไตยได้ มีน้อยมากที่เดินถอยหลังกลับ
เพราะประชาธิปไตยจะค่อยๆ ทำให้ผู้คนได้เรียนรู้ถึงความสำคัญของสิทธิและเสรีภาพที่เท่าเทียม เมื่อคนส่วนใหญ่ตระหนักถึงคุณค่าของสิทธิ สัมผัสความงดงามของเสรีภาพว่ามีคุณค่ามากกว่าสิ่งอื่นใด
ทุกคนจะหวงแหนสิทธิของตัวเอง จะรักษาเสรีภาพของตัวเองไว้ ไม่ยอมแลกความดีงามนี้กับอย่างอื่น
เนื่องจากความเท่าเทียม และเสรีภาพย่อมเป็นความดีงามสูงสุด
ในวันที่ทุกคนคำถึงถึงสิทธิความเท่าเทียมของตัวเอง จะไม่ยอมให้ใครมาเอารัดเอาเปรียบ และรู้ว่าการเอารัดเอาเปรียบคนอื่นคือความเลว ความชั่ว
ในวันนั้น ประชาธิปไตยจะสถาปนาเป็นระบบการปกครองที่มีประสิทธิภาพในการรักษาความดีงามสูงสุดนั้นไว้
นานาประเทศส่วนใหญ่ที่เดินมาในเส้นทางนี้ล้วนไม่ถอยหลังกลับไปสู่ระบบอื่นที่ไม่ให้คุณค่าของความเท่าเทียมและเสรีภาพ
เพราะประชาชนตระหนักในสิทธิของตัวเองและชื่นชมในการเคารพเสรีภาพของกันและกัน เป็นสังคมที่จะอยู่ร่วมกันได้อย่างสุข สงบ
แน่นอน ไม่มีอะไรที่สมบูรณ์แบบ ตราบใดที่สัญชาตญาณที่มุ่งสู่ความเหนือกว่ายังทำงาน ยังเป็นพื้นฐานของจิตใจมนุษย์
แต่ประชาธิปไตยจะสร้างกลไกขึ้นมาควบคุมสัญชาตญาณนั้น เพราะสร้างสัญชาตญาณใหม่ขึ้นมา เป็นสัญชาตญาณที่เรียกหาความเท่าเทียม และดูแลสิทธิที่จะอยู่อย่างเท่าเทียมให้กันและกัน
นานาประเทศมุ่งสร้างสัญชาตญาณนี้ให้เกิดขึ้น และให้เชื่อมั่นศรัทธาอย่างแพร่หลาย ด้วยความหวังว่าที่สุดสัญชาตญาณประชาธิปไตยจะเกิดขึ้นในจิตใจของทุกคน
หันกลับมาดูประเทศไทยเรายามนี้
ทั้งที่เริ่มต้นประชาธิปไตยมากว่า80 ปี
แต่ในวันนี้สิ่งที่กำลังต่อสู้กันอยู่ช่างเหมือนกับเพิ่งถือกำเนิดประชาธิปไตย
นาทีนี้เรากำลังจะตัดสินกันว่าระหว่าง"การเลือกตั้งทั่วไป" ที่ให้ "สิทธิความเท่าเทียมกันกับคนทั้งประเทศ"
ให้ "สิทธิที่จะเลือกอย่างเท่าเทียมกัน"
กับ "การจัดตั้งสิ่งที่พยายามเรียกว่าสภาประชาชน" ที่ชัดเจน
ขึ้นเรื่อยๆ ว่าเกิดจากพื้นฐานที่เห็นว่าประชาชนไทยไม่พร้อมที่จะอยู่อย่างเท่าเทียมกัน
"สิทธิของกลุ่มคนที่ถูกตีค่าว่าโง่"ควรจะมีน้อยกว่า "กลุ่มคนที่ถูกประเมินว่าฉลาด"
ที่ไปไกลกว่านั้น ยังมีความพยายามจะให้ "คนบางกลุ่มบางพวก ผูกขาดสิทธิในการเลือก"
ลิดรอนสิทธิของคนทั้งประเทศ
ด้วยเหตุผลว่าหากปล่อยให้การเลือกเป็นสิทธิของคนทั้งประเทศ จะเกิดการเลือกคนเลวเข้ามาควบคุมประเทศไม่รู้จบรู้สิ้น
สิทธิของคนทั้งประเทศจะต้องรอจนกว่า พวกเขาเหล่านี้ต้องรู้จักเลือกคนดีเสียก่อน
เป็นคนดีในความหมายที่กลุ่มคนที่คิดจะผูกขาดอำนาจในการเลือกวางคุณสมบัติไว้
คงอีกไม่กี่วันน่าจะมีคำตอบว่า ระหว่าง "สิ่งที่เรียกว่าสภาประชาชน" ที่ให้สิทธิในการเลือกจากคนบางกลุ่มที่ส่งเสียงได้ดังกว่า ลิดรอนสิทธิ
ของคนอื่น ไม่เห็นคุณค่าของความเท่าเทียม
กับ "สภาผู้แทนราษฎร" ที่ให้สิทธิในการเลือกกับคนทั้งประเทศ เข้าใกล้การสร้างความเท่าเทียมซึ่งเป็นความดีงามขั้นพื้นฐานสุดมากกว่า
ประเทศไทยเราจะไปทางไหน
จะเดินหน้าสู่ประเทศประชาธิปไตยพัฒนาแล้ว
หรือถอยหลังกลับมายินดีปรีดากับสังคมชนชั้น
อีกไม่กี่วันเราคงจะได้รู้กันว่าความรู้ความเข้าใจเรื่องประชาธิปไตยที่เราได้เรียนและสัมผัสกว่า 80 ปี จะหยั่งลึกในสัญชาตญาณให้หวงแหนสิทธิความเท่าเทียมของเราแค่ไหน
คนไทยทั้งประเทศ หรือที่เป็นส่วนใหญ่อย่างแท้จริง จะยอมให้คนกลุ่มหนึ่งที่แค่สามารถส่งเสียงได้ดังกว่ามาลิดรอนสิทธิความเท่าเทียม ซึ่งจะส่งผลต่อเสรีภาพของเราหรือไม่
(ที่มา:มติชนรายวัน 15 ธ.ค.2556)