โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
โลกเราทุกวันนี้ มีแต่การแข่งขัน แก่งแย่งกันตลอดเวลา จนทำให้คนเราเกิดความเครียดได้ง่าย และนำมาซึ่งโรคต่างๆ ทางจิตเวช อย่างเช่น โรควิตกกังวล ซึมเศร้า ซึ่งพวกเราอาจพอคุ้นหูกันมาบ้างแล้ว ไม่เหมือนอย่างโรคไบโพลาร์ ซึ่งแม้จะไม่ได้เกิดจากความเครียดโดยตรง แต่ความเครียดก็เป็นปัจจัยกระตุ้น เหมือนการกินน้ำตาลมากในผู้ป่วยที่มีพันธุกรรมเบาหวาน
ไบโพลาร์ คือ โรคที่มีความผิดปกติของอารมณ์เป็น 2 ขั้ว มีทั้งช่วงที่อารมณ์ดีหรือก้าวร้าวผิดปกติ (mania) และบางช่วงที่อารมณ์ซึมเศร้าผิดปกติ (depressed) ฉะนั้นเดิมจึงเรียกโรคนี้ว่า manic-depressive disorder แต่บางคนมีอารมณ์ดีหรือก้าวร้าวผิดปกติอย่างเดียว โดยไม่มีอารมณ์ซึมเศร้าก็ได้
โรคนี้พบได้ในประชากรทั่วไปประมาณร้อยละ 3 ซึ่งนับว่าบ่อยทีเดียว พบได้อัตราเท่ากันทั้งหญิงและชาย โดยมักเริ่มมีอาการในช่วงวัยผู้ใหญ่วัยต้น
ไบโพลาร์เกิดได้อย่างไร
โรคนี้เกิดจากการทำงานที่ผิดปกติของสมอง โดยมีสารสื่อประสาทที่ไม่สมดุล และมีปัจจัยทางพันธุกรรมเกี่ยวข้องค่อนข้างมาก หากมีคนในครอบครัวเป็นโรคนี้หรือโรคทางจิตเวชอื่น จะมีโอกาสเป็นโรคมากกว่าคนทั่วไป ส่วนสิ่งแวดล้อม เช่น การเลี้ยงดูในวัยเด็ก หรือความเครียดมักเป็นเพียงปัจจัยเสริม
และถ้าปล่อยทิ้งไว้ไม่รักษา อาการต่างๆ อาจจะดีขึ้นเองได้ในบางคน แต่ต้องใช้เวลานาน และกว่าอาการจะดีขึ้น ก็ส่งผลกระทบมากมายทั้งต่อตัวผู้ป่วยและคนรอบข้าง บางคนก่อหนี้สินมากมาย บางคนใช้สารเสพติด บางคนต้องออกจากงานหรือโรงเรียน บางคนทำผิดกฎหมาย และที่รุนแรงที่สุด คือฆ่าตัวตายหรือทำร้ายผู้อื่น และถ้าเป็นหลายๆ ครั้ง อาการครั้งหลังจะเป็นนานและถี่ขึ้น
อาการของโรค
มี 2 ช่วง คือ
1.ช่วงที่อารมณ์ซึมเศร้า
- มีอาการเบื่อหน่ายท้อแท้ ไม่อยากทำอะไร
- มองทุกอย่างในแง่ลบ
- เรี่ยวแรงลดลง
- มีความคิดอยากตาย ซึ่งมีไม่น้อยที่นำไปสู่การฆ่าตัวตาย
2.ช่วงที่อารมณ์ดีหรือก้าวร้าว
- เชื่อมั่นในตนเองมาก รู้สึกว่าตนมีความสำคัญหรือมีความสามารถมาก
- เรี่ยวแรงเพิ่ม นอนน้อยกว่าปกติ โดยไม่มีอาการเพลีย
- พูดเร็ว พูดมาก หรือพูดไม่ยอมหยุด
- ความคิดแล่นเร็ว มีหลายความคิดเข้ามาในสมอง
- สมาธิลดลง เปลี่ยนเรื่องพูดหรือทำอย่างรวดเร็ว ตอบสนองต่อสิ่งเร้าง่าย ทำให้ไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- มีกิจกรรมมากผิดปกติ อาจเป็นแผนการหรือลงมือกระทำลงจริงๆ แต่มักทำได้ไม่ดี
- การตัดสินใจไม่เหมาะสม เช่น ใช้จ่ายเงินฟุ่มเฟือย ทำเรื่องที่เสี่ยงอันตรายหรือผิดกฎหมาย
ทางเพศ บางคนจะหงุดหงิดก้าวร้าวจนถึงทะเลาะหรือทำร้ายร่างกายผู้อื่น ในรายที่เป็นมากอาจมีอาการของโรคจิตร่วมด้วย
หลายคนอาจสงสัยว่า ในคนปกติก็ต้องมีการขึ้นลงของอารมณ์มากบ้างน้อยบ้างตามนิสัย แล้วเมื่อไหร่จึงเรียกว่าผิดปกติหรือเป็นโรค
การจะบอกว่าป่วยแน่นอนต้องใช้เกณฑ์การวินิจฉัยจากแพทย์ แต่ทั่วไปเราควรนึกถึงโรคนี้และไปปรึกษาแพทย์เมื่อ
- การขึ้นลงของอารมณ์มากกว่าคนทั่วไป หรือมากกว่าปกติของคนนั้น เป็นเวลาติดต่อกันนาน 4-7 วัน
- มีความผิดปกติของการกินการนอนร่วมด้วย
- กระทบต่อการทำงานหรือความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง
การรักษา
โดยทั่วไป แพทย์จะให้ยาและคำแนะนำเกี่ยวกับโรคและยา รวมถึงการดูแลตนเองในด้านต่างๆ ควบคู่ไปด้วย ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่จะหายจากอาการใน 2-8 สัปดาห์ และกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้เหมือนก่อนป่วย แต่ในบางรายอาจต้องให้ทำจิตบำบัดร่วมด้วยเพื่อขจัดความเครียด และลดความขัดแย้งกับคนรอบข้างที่เป็นสาเหตุของความเครียด
เนื่องจากโรคนี้เกิดจากสารสื่อประสาทที่ไม่สมดุล จึงต้องใช้ยาที่จะปรับสารสื่อประสาท ปัจจุบันมียาควบคุมอารมณ์หลายชนิดที่มีประสิทธิภาพ ยาในกลุ่มนี้ไม่ใช่ยากล่อมประสาทหรือยานอนหลับ ไม่ทำให้ติดยาเมื่อใช้ในระยะยาว แต่มักต้องใช้เวลา 2-4 สัปดาห์จึงจะเห็นผล
นอกจากยาควบคุมอารมณ์ แพทย์อาจใช้ยากลุ่มอื่นร่วมด้วยเพื่อประสิทธิภาพในการรักษาที่ดีขึ้น ยาทางจิตเวชก็เหมือนกับยาอื่นที่ทุกตัวจะมีผลข้างเคียง แต่อาการและความรุนแรงจะต่างกัน ผลข้างเคียงส่วนใหญ่จะไม่เป็นอันตรายมาก ผู้ป่วยควรได้พูดคุยกับแพทย์เพื่อเลือกยาที่เหมาะสม และปรึกษาแพทย์ถ้ามีอาการข้างเคียง สำหรับสตรีมีครรภ์และให้นมบุตรควรคุยกับแพทย์ถึงประเด็นเหล่านี้ด้วย
โรคนี้มีอัตราการเป็นซ้ำสูงมากถึง 90% ฉะนั้นโดยทั่วไปหลังจากหายแล้ว แพทย์มักแนะนำให้กินยาต่ออย่างน้อย 1 ปี เพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำ หรืออาจนานกว่านี้ ทั้งนี้ขึ้นกับจำนวนครั้งที่เคยเป็นและความรุนแรงในครั้งก่อนๆ ยาไม่ได้ทำให้สมองเสื่อมลงแต่การป่วยซ้ำหลายๆครั้งทำให้สมองแย่ลงได้
การปฏิบัติตัว
1. นอนพักผ่อนให้เพียงพอ
2. ดูแลสุขภาพทั่วไป เช่น ออกกำลังกาย มีกิจกรรมที่ช่วยคลายเครียด หลีกเลี่ยงสุรา สารเสพติด
3. กินยาตามแพทย์สั่ง ถ้ามีปัญหาผลข้างเคียงจากยา ควรปรึกษาแพทย์ก่อน ไม่ควรหยุดยาเอง
4. หมั่นสังเกตอารมณ์ของตน เรียนรู้อาการแรกเริ่มของโรค และรีบไปพบแพทย์ก่อนจะมีอาการมาก
5. บอกคนใกล้ชิดถึงอาการเริ่มแรกของโรค ให้ช่วยสังเกตและพาไปพบแพทย์
การช่วยเหลือผู้ป่วย
1. เข้าใจว่าอารมณ์และพฤติกรรมที่ผิดปกติเป็นการเจ็บป่วย ไม่ใช่นิสัยของผู้ป่วย
2. ช่วยดูแลให้ผู้ป่วยกินยา และปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์
3. สังเกตอารมณ์ของผู้ป่วย เรียนรู้อาการเริ่มแรกของโรค และรีบพาไปพบแพทย์ก่อนที่จะมีอาการมาก
4. ช่วยควบคุมการใช้จ่ายและพฤติกรรมที่เสี่ยงต่ออันตราย ถ้าเห็นว่าผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการอีก
5. เมื่อผู้ป่วยหายจากอาการ ให้กำลังใจในการกลับไปเรียนหรือทำงาน และไม่หยุดยาก่อนปรึกษาแพทย์
ส รุปว่าโรคนี้รักษาหายได้ และสามารถกลับไปเรียนหรือทำงานได้ตามเดิม เมื่อมีปัญหาด้านสุขภาพจิต อย่ากลัวหรืออาย หมอทุกคนยินดีให้คำแนะนำและรักษาค่ะ สะดวกที่ไหน ติดต่อได้ตามสถานพยาบาลทั่วประเทศ หรือที่หน่วยตรวจโรคจิตเวชศาสตร์ ตึกผู้ป่วยนอก ชั้น 7 รพ.ศิริราช เวลา 08.30-16.00 น. โทร. 0-2411-3405, 0-2419-7373
http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9510000153278
ขอเสริมนะค่ะ ถ้าเป็นยาที่รักษาฟรี ตามโครงการรัฐบาล
ก็สามารถระงับอาการได้ แต่อาการไม่นิ่งจะแปรปรวน
น่าสงสารสำหรับผู้ป่วยที่ไม่มีเงินรักษาค่ะ
เพราะยาแพงที่รักษาได้ผลดี จะไม่อยู่ในรายการ
รักษาฟรีค่ะ ยาแพงจะอยู่ราคาเม็ดละ สองร้อยกว่าบาท
รักษาอย่างต่ำ 1 ปี เงินไม่ใช่น้อยเลยนะ ที่บอกว่านี่
เพราะคนที่เรารักเป็นโรคนี้อยู่ และก็ใช้ยาดีรักษาด้วย
ถึงคุมอาการได้ แต่ทั้งนี้ถ้าโชคดีเป็นของผู้ป่วย ยาที่
ถูกก็อาจจะใช้รักษาโรคให้หายก็ ได้ แต่ถ้าโชคร้าย
อาการโรคก็จะเดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย ต้องบอกได้ว่า
ยาจำเป็นที่สุด และห้ามหยุดยาเองด้วย ที่มาขอขอบคุณhttp://onknow.blogspot.com/2009/01/2_22.html
ในปัจจุบันเชื่อว่าโรคไบโพล่าร์เกิดจากการทำงานที่ผิดปกติของสมองโดยมีสารสื่อนำประสาทที่ไม่สมดุลย์คือมีสารซีโรโทนิน (serotonin) น้อยเกิดไปและสารนอร์เอปิเนฟริน (epinephrine) มากเกินไปดังนั้นเราจึงสามารถรักษาโรคนี้ได้ด้วยยา ยาที่ใช้รักษาโรคไบโพล่าร์ได้แก่ยาในกลุ่มยาควบคุมอารมณ์ (mood stabilizers), ยาแก้โรคจิต (antipsychotics), และยาแก้โรคซึมเศร้า (antidepressants)
ยาควบคุมอารมณ์ (mood stabilizers)
ยากลุ่มนี้เป็นยาหลักที่ใช้ทั้งรักษาทั้งในขณะที่ผู้ป่วยมีอาการซึมเศร้าและอาการตรงข้ามกับซึมเศร้า และยังใช้ป้องกันการกลับเป็นใหม่ได้ด้วย ในประเทศไทยปัจจุบันมียากลุ่มนี้ใช้แพร่หลายอยู่ 3 ชนิดคือ ลิเที่ยม (lithium carbonate), วาลโปรเอท (valproate), และคาร์บามาซีปีน (carbamazepine) ซึ่งยาทั้ง 3 ชนิดนึ้ใช้ได้ผลดีใกล้เคียงกันแต่มีข้อควรระวังและข้อดีข้อเสียปลีกย่อยต่างกัน นอกจากนี้ยังมียาชนิดใหม่ที่เริ่มมีการใช้กันคือ โทพิราเมท (topiramate) ซึ่งยังค่อนข้างใหม่และประสบการณ์การใช้ยาในประเทศไทยยังน้อยอยู่ ยาในกลุ่มยาควบคุมอารมณ์นี้จะออกฤทธิ์ช้า เมื่อปรับยาครั้งหนึ่งต้องรออย่างน้อย 2-3 สัปดาห์ยาจึงเริ่มออกฤทธิ์ ผู้ป่วยที่ใช้ยาในกลุ่มนี้มักต้องถูกเจาะเลือดดูระดับยาในร่างกายเพื่อช่วยในการปรับยาด้วย และยาในกลุ่มนี้มักเป็นยาต้องห้ามในผู้ที่กำลังตั้งครรภ์โดยเฉพาะใน 3 เดือนแรก
ยาแก้โรคจิต (antipsychotics)
ในผู้ป่วยโรคไบโพล่าร์ที่กำลังมีอาการตรงข้ามกับซึมเศร้านั้นการรอให้ยาควบคุมอารมณ์ออกฤทธิ์นั้นมักจะไม่ทันการเพราะผู้ป่วยมักจะวุ่นวายและมีพฤติกรรมที่สร้างปัญหามากแพทย์จึงมักให้การรักษาด้วยยาแก้โรคจิตถึงแม้ว่าผู้ป่วยจะยังไม่ถึงกับมีอาการของโรคจิตก็ตาม ยาในกลุ่มนี้จะออกฤทธิ์ไวและช่วยให้ผู้ป่วยสงบสติอารมณ์ควบคุมตนเองได้ดีขึ้น ยาในกลุ่มนี้มีให้เลือกใช้หลายชนิดแต่แพทย์มักเลือกใช้ชนิดที่มีฤทธิ์ทำให้ง่วงมากๆเช่น คลอโปรมาซีน (chlorpromazine), ไธโอริดาซีน (thioridazine), เพอร์เฟนาซีน (perphenazine) เมื่อยาควบคุมอารมณ์ออกฤทธิ์เต็มที่และอาการของผู้ป่วยดีชึ้นแพทย์ก็จะค่อยๆลดและหยุดยาในกลุ่มนี้ไป
ยาแก้โรคซึมเศร้า (antidepressants)
ในผู้ป่วยโรคไบโพล่าร์ที่กำลังมีอาการซึมเศร้านั้นแพทย์สามารถให้การรักษาด้วยยาควบคุมอารมณ์โดยไม่ต้องให้ยาแก้โรคซึมเศร้าก็ได้แต่บางครั้งแพทย์อาจเลือกที่จะให้ยาแก้ซึมเศร้าด้วยเพื่อให้ได้ผลแน่นอนขึ้นแล้วค่อยลดและหยุดยาแก้โรคซึมเศร้าเมื่อผู้ป่วยสบายดีเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ป่วย “ดีเกิน” กลายเป็นอาการตรงข้ามกับซึมเศร้าไป ยาแก้โรคซึมเศร้ามีให้เลือกใช้หลายชนิด แต่ละชนิดมีประสิทธิภาพใกล้เคียงกันแต่ผลข้างเคียงต่างกันเช่นบางชนิดทำให้ง่วงบางชนิดไม่ทำให้ง่วง ยาแก้ซึมเศร้าเป็นยาที่ออกฤทธิ์ช้าเช่นเดียวกับยาควบคุมอารมณ์
โดยทั่วไปเมื่อเริ่มการรักษาแพทย์มักสามารถควบคุมอาการของผู้ป่วยได้ในเวลาประมาณ 1 เดือนและผู้ป่วยมักหายเป็นปกติในเวลาประมาณ 2 เดือน หลังจากนั้นแพทย์จะให้ยาควบคุมอารมณ์ต่อไปอีก 6-12 เดือนแล้วค่อยพิจารณาหยุดยา โรคไบโพล่าร์เป็นโรคที่สามารถรักษาให้หายสนิทได้ คือหายกลับเป็นคนเดิมได้ แต่ไม่หายขาด วันดีคืนดีผู้ป่วยจะกลับมามีอาการอีก ในผู้ป่วยบางรายที่เป็นมาหลายครั้ง เป็นค่อนข้างถี่ หรือเป็นแต่ละครั้งรุนแรงมาก แพทย์อาจพิจารณาให้ยาต่อไปเรื่อยๆเพื่อป้องกันไม่ให้อาการกลับมาใหม่
ปัจจัยที่ทำให้ผู้ป่วยมีอาการกลับมาใหม่ที่พบบ่อยมี 3 ข้อคือ
เครียดมาก
อดนอน
ขาดยา
ปัจจัยข้อที่ 1 เป็นสิ่งที่คนเราหลีกเลี่ยงได้ยากโดยเฉพาะคนที่มีหน้าที่การงานต้องรับผิดชอบมากๆแต่เราก็คงจะสามารถปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตของเราได้บ้างให้เครียดเฉพาะที่จำเป็นต้องเครียด
ส่วนปัจจัยอีก 2 ข้อนั้นเป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงได้ ไม่ว่า(การ)งานจะยุ่งเพียงใด ไม่ว่างาน(เลี้ยง)จะสนุกแค่ไหน ให้ให้ความสำคัญกับการนอนก่อน จัดเวลาให้นอนให้พอเสมอแล้วท่านจะไม่ต้องมานอนที่โรงพยาบาลบ่อยนัก นอกจากนั้นก็กินยาให้ครบถึงแม้ว่าจะน่าเบื่อเพียงใดก็ตาม แพทย์ทุกท่านเห็นใจผู้ป่วยที่ต้องกินยานานๆแต่บางครั้งมันก็จำเป็น เพราะเมื่ออาการกำเริบแต่ละครั้งมักเกิดความเสียหายแก่ทั้งตัวผู้ป่วยเองและญาติๆและยาสามารถช่วยป้องกันการกำเริบได้จริงๆ
ปัจจัยสิ่งแวดล้อม หากเลี่ยงไม่ได้ อ่านหนังสืออะไรก็ได้ ดูหนังตลก
หากมีคนมาทำอะไรให้คุณเสียทั้งที่คุณกินยาก้ไม่ต้องไปทำอะไรเขาคะเพราะเขารุ้ว่าคุณเป้นโรคซึมเศร้าเพราะนั้นการที่เค้าจะมาแกล้งเหมือนคุยให้คุณหุแว่วประสาทหลอน มันเป็นเพราะพวกเขาเป็นมากกว่าคุณพวกเขาไม่ได้กินยา เขาไม่ใช่มิตรที่ดีอย่าไปแนะเขาอะไรเลยให้เขาเป้นบ้าไปเองนะคะ ตัวเราเป็นเรากินยาเรามั่นใจอย่าไปกังวลว่ามีใครกลั้นแกล้งเป็นกำลังใจให้คนที่เป้นโรคซึมเศร้าปกติถ้าไปรับยาแนะให้รับยาหกเดือนไปเลยถ้าอาการคงที่ รึกินนานแล้ว ถ้าเพิ่งกินแนะแค่สองเดือน หายแล้วหยุด อาการมาใหม่ให้กินยาที่เหลือพอหมดค่อยไปเอาใหม่ ส่วนคนไม่ดีปล่อยนให้เป็นมากกว่าเดิม ออกกำลังกาย โยคะ ช่วยได้คะ โภชนาการการกินสมดุลกับอารมณ์ ควบคุมนํ้าหนักและระดับนํ้าตาลในเลือด เกี่ยวมากนะคะ เบาหวานนี่ด้วย ใครเป็น กินยาและรักษาซึมเศร้าร่วม อย่าเพิ่งนั่งสมาธิแต่ สวดมนต์ได้
เพิ่มเติม สำหรับครอบครัวคะ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้http://www.thaifamilylink.net/
รับมือกับโรคไบโพลาร์ อารมณ์สองขั้ว ที่เป็นมากในไทย
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
โลกเราทุกวันนี้ มีแต่การแข่งขัน แก่งแย่งกันตลอดเวลา จนทำให้คนเราเกิดความเครียดได้ง่าย และนำมาซึ่งโรคต่างๆ ทางจิตเวช อย่างเช่น โรควิตกกังวล ซึมเศร้า ซึ่งพวกเราอาจพอคุ้นหูกันมาบ้างแล้ว ไม่เหมือนอย่างโรคไบโพลาร์ ซึ่งแม้จะไม่ได้เกิดจากความเครียดโดยตรง แต่ความเครียดก็เป็นปัจจัยกระตุ้น เหมือนการกินน้ำตาลมากในผู้ป่วยที่มีพันธุกรรมเบาหวาน
ไบโพลาร์ คือ โรคที่มีความผิดปกติของอารมณ์เป็น 2 ขั้ว มีทั้งช่วงที่อารมณ์ดีหรือก้าวร้าวผิดปกติ (mania) และบางช่วงที่อารมณ์ซึมเศร้าผิดปกติ (depressed) ฉะนั้นเดิมจึงเรียกโรคนี้ว่า manic-depressive disorder แต่บางคนมีอารมณ์ดีหรือก้าวร้าวผิดปกติอย่างเดียว โดยไม่มีอารมณ์ซึมเศร้าก็ได้
โรคนี้พบได้ในประชากรทั่วไปประมาณร้อยละ 3 ซึ่งนับว่าบ่อยทีเดียว พบได้อัตราเท่ากันทั้งหญิงและชาย โดยมักเริ่มมีอาการในช่วงวัยผู้ใหญ่วัยต้น
ไบโพลาร์เกิดได้อย่างไร
โรคนี้เกิดจากการทำงานที่ผิดปกติของสมอง โดยมีสารสื่อประสาทที่ไม่สมดุล และมีปัจจัยทางพันธุกรรมเกี่ยวข้องค่อนข้างมาก หากมีคนในครอบครัวเป็นโรคนี้หรือโรคทางจิตเวชอื่น จะมีโอกาสเป็นโรคมากกว่าคนทั่วไป ส่วนสิ่งแวดล้อม เช่น การเลี้ยงดูในวัยเด็ก หรือความเครียดมักเป็นเพียงปัจจัยเสริม
และถ้าปล่อยทิ้งไว้ไม่รักษา อาการต่างๆ อาจจะดีขึ้นเองได้ในบางคน แต่ต้องใช้เวลานาน และกว่าอาการจะดีขึ้น ก็ส่งผลกระทบมากมายทั้งต่อตัวผู้ป่วยและคนรอบข้าง บางคนก่อหนี้สินมากมาย บางคนใช้สารเสพติด บางคนต้องออกจากงานหรือโรงเรียน บางคนทำผิดกฎหมาย และที่รุนแรงที่สุด คือฆ่าตัวตายหรือทำร้ายผู้อื่น และถ้าเป็นหลายๆ ครั้ง อาการครั้งหลังจะเป็นนานและถี่ขึ้น
อาการของโรค
มี 2 ช่วง คือ
1.ช่วงที่อารมณ์ซึมเศร้า
- มีอาการเบื่อหน่ายท้อแท้ ไม่อยากทำอะไร
- มองทุกอย่างในแง่ลบ
- เรี่ยวแรงลดลง
- มีความคิดอยากตาย ซึ่งมีไม่น้อยที่นำไปสู่การฆ่าตัวตาย
2.ช่วงที่อารมณ์ดีหรือก้าวร้าว
- เชื่อมั่นในตนเองมาก รู้สึกว่าตนมีความสำคัญหรือมีความสามารถมาก
- เรี่ยวแรงเพิ่ม นอนน้อยกว่าปกติ โดยไม่มีอาการเพลีย
- พูดเร็ว พูดมาก หรือพูดไม่ยอมหยุด
- ความคิดแล่นเร็ว มีหลายความคิดเข้ามาในสมอง
- สมาธิลดลง เปลี่ยนเรื่องพูดหรือทำอย่างรวดเร็ว ตอบสนองต่อสิ่งเร้าง่าย ทำให้ไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- มีกิจกรรมมากผิดปกติ อาจเป็นแผนการหรือลงมือกระทำลงจริงๆ แต่มักทำได้ไม่ดี
- การตัดสินใจไม่เหมาะสม เช่น ใช้จ่ายเงินฟุ่มเฟือย ทำเรื่องที่เสี่ยงอันตรายหรือผิดกฎหมาย
ทางเพศ บางคนจะหงุดหงิดก้าวร้าวจนถึงทะเลาะหรือทำร้ายร่างกายผู้อื่น ในรายที่เป็นมากอาจมีอาการของโรคจิตร่วมด้วย
หลายคนอาจสงสัยว่า ในคนปกติก็ต้องมีการขึ้นลงของอารมณ์มากบ้างน้อยบ้างตามนิสัย แล้วเมื่อไหร่จึงเรียกว่าผิดปกติหรือเป็นโรค
การจะบอกว่าป่วยแน่นอนต้องใช้เกณฑ์การวินิจฉัยจากแพทย์ แต่ทั่วไปเราควรนึกถึงโรคนี้และไปปรึกษาแพทย์เมื่อ
- การขึ้นลงของอารมณ์มากกว่าคนทั่วไป หรือมากกว่าปกติของคนนั้น เป็นเวลาติดต่อกันนาน 4-7 วัน
- มีความผิดปกติของการกินการนอนร่วมด้วย
- กระทบต่อการทำงานหรือความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง
การรักษา
โดยทั่วไป แพทย์จะให้ยาและคำแนะนำเกี่ยวกับโรคและยา รวมถึงการดูแลตนเองในด้านต่างๆ ควบคู่ไปด้วย ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่จะหายจากอาการใน 2-8 สัปดาห์ และกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้เหมือนก่อนป่วย แต่ในบางรายอาจต้องให้ทำจิตบำบัดร่วมด้วยเพื่อขจัดความเครียด และลดความขัดแย้งกับคนรอบข้างที่เป็นสาเหตุของความเครียด
เนื่องจากโรคนี้เกิดจากสารสื่อประสาทที่ไม่สมดุล จึงต้องใช้ยาที่จะปรับสารสื่อประสาท ปัจจุบันมียาควบคุมอารมณ์หลายชนิดที่มีประสิทธิภาพ ยาในกลุ่มนี้ไม่ใช่ยากล่อมประสาทหรือยานอนหลับ ไม่ทำให้ติดยาเมื่อใช้ในระยะยาว แต่มักต้องใช้เวลา 2-4 สัปดาห์จึงจะเห็นผล
นอกจากยาควบคุมอารมณ์ แพทย์อาจใช้ยากลุ่มอื่นร่วมด้วยเพื่อประสิทธิภาพในการรักษาที่ดีขึ้น ยาทางจิตเวชก็เหมือนกับยาอื่นที่ทุกตัวจะมีผลข้างเคียง แต่อาการและความรุนแรงจะต่างกัน ผลข้างเคียงส่วนใหญ่จะไม่เป็นอันตรายมาก ผู้ป่วยควรได้พูดคุยกับแพทย์เพื่อเลือกยาที่เหมาะสม และปรึกษาแพทย์ถ้ามีอาการข้างเคียง สำหรับสตรีมีครรภ์และให้นมบุตรควรคุยกับแพทย์ถึงประเด็นเหล่านี้ด้วย
โรคนี้มีอัตราการเป็นซ้ำสูงมากถึง 90% ฉะนั้นโดยทั่วไปหลังจากหายแล้ว แพทย์มักแนะนำให้กินยาต่ออย่างน้อย 1 ปี เพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำ หรืออาจนานกว่านี้ ทั้งนี้ขึ้นกับจำนวนครั้งที่เคยเป็นและความรุนแรงในครั้งก่อนๆ ยาไม่ได้ทำให้สมองเสื่อมลงแต่การป่วยซ้ำหลายๆครั้งทำให้สมองแย่ลงได้
การปฏิบัติตัว
1. นอนพักผ่อนให้เพียงพอ
2. ดูแลสุขภาพทั่วไป เช่น ออกกำลังกาย มีกิจกรรมที่ช่วยคลายเครียด หลีกเลี่ยงสุรา สารเสพติด
3. กินยาตามแพทย์สั่ง ถ้ามีปัญหาผลข้างเคียงจากยา ควรปรึกษาแพทย์ก่อน ไม่ควรหยุดยาเอง
4. หมั่นสังเกตอารมณ์ของตน เรียนรู้อาการแรกเริ่มของโรค และรีบไปพบแพทย์ก่อนจะมีอาการมาก
5. บอกคนใกล้ชิดถึงอาการเริ่มแรกของโรค ให้ช่วยสังเกตและพาไปพบแพทย์
การช่วยเหลือผู้ป่วย
1. เข้าใจว่าอารมณ์และพฤติกรรมที่ผิดปกติเป็นการเจ็บป่วย ไม่ใช่นิสัยของผู้ป่วย
2. ช่วยดูแลให้ผู้ป่วยกินยา และปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์
3. สังเกตอารมณ์ของผู้ป่วย เรียนรู้อาการเริ่มแรกของโรค และรีบพาไปพบแพทย์ก่อนที่จะมีอาการมาก
4. ช่วยควบคุมการใช้จ่ายและพฤติกรรมที่เสี่ยงต่ออันตราย ถ้าเห็นว่าผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการอีก
5. เมื่อผู้ป่วยหายจากอาการ ให้กำลังใจในการกลับไปเรียนหรือทำงาน และไม่หยุดยาก่อนปรึกษาแพทย์
ส รุปว่าโรคนี้รักษาหายได้ และสามารถกลับไปเรียนหรือทำงานได้ตามเดิม เมื่อมีปัญหาด้านสุขภาพจิต อย่ากลัวหรืออาย หมอทุกคนยินดีให้คำแนะนำและรักษาค่ะ สะดวกที่ไหน ติดต่อได้ตามสถานพยาบาลทั่วประเทศ หรือที่หน่วยตรวจโรคจิตเวชศาสตร์ ตึกผู้ป่วยนอก ชั้น 7 รพ.ศิริราช เวลา 08.30-16.00 น. โทร. 0-2411-3405, 0-2419-7373
http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9510000153278
ขอเสริมนะค่ะ ถ้าเป็นยาที่รักษาฟรี ตามโครงการรัฐบาล
ก็สามารถระงับอาการได้ แต่อาการไม่นิ่งจะแปรปรวน
น่าสงสารสำหรับผู้ป่วยที่ไม่มีเงินรักษาค่ะ
เพราะยาแพงที่รักษาได้ผลดี จะไม่อยู่ในรายการ
รักษาฟรีค่ะ ยาแพงจะอยู่ราคาเม็ดละ สองร้อยกว่าบาท
รักษาอย่างต่ำ 1 ปี เงินไม่ใช่น้อยเลยนะ ที่บอกว่านี่
เพราะคนที่เรารักเป็นโรคนี้อยู่ และก็ใช้ยาดีรักษาด้วย
ถึงคุมอาการได้ แต่ทั้งนี้ถ้าโชคดีเป็นของผู้ป่วย ยาที่
ถูกก็อาจจะใช้รักษาโรคให้หายก็ ได้ แต่ถ้าโชคร้าย
อาการโรคก็จะเดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย ต้องบอกได้ว่า
ยาจำเป็นที่สุด และห้ามหยุดยาเองด้วย ที่มาขอขอบคุณhttp://onknow.blogspot.com/2009/01/2_22.html
ในปัจจุบันเชื่อว่าโรคไบโพล่าร์เกิดจากการทำงานที่ผิดปกติของสมองโดยมีสารสื่อนำประสาทที่ไม่สมดุลย์คือมีสารซีโรโทนิน (serotonin) น้อยเกิดไปและสารนอร์เอปิเนฟริน (epinephrine) มากเกินไปดังนั้นเราจึงสามารถรักษาโรคนี้ได้ด้วยยา ยาที่ใช้รักษาโรคไบโพล่าร์ได้แก่ยาในกลุ่มยาควบคุมอารมณ์ (mood stabilizers), ยาแก้โรคจิต (antipsychotics), และยาแก้โรคซึมเศร้า (antidepressants)
ยาควบคุมอารมณ์ (mood stabilizers)
ยากลุ่มนี้เป็นยาหลักที่ใช้ทั้งรักษาทั้งในขณะที่ผู้ป่วยมีอาการซึมเศร้าและอาการตรงข้ามกับซึมเศร้า และยังใช้ป้องกันการกลับเป็นใหม่ได้ด้วย ในประเทศไทยปัจจุบันมียากลุ่มนี้ใช้แพร่หลายอยู่ 3 ชนิดคือ ลิเที่ยม (lithium carbonate), วาลโปรเอท (valproate), และคาร์บามาซีปีน (carbamazepine) ซึ่งยาทั้ง 3 ชนิดนึ้ใช้ได้ผลดีใกล้เคียงกันแต่มีข้อควรระวังและข้อดีข้อเสียปลีกย่อยต่างกัน นอกจากนี้ยังมียาชนิดใหม่ที่เริ่มมีการใช้กันคือ โทพิราเมท (topiramate) ซึ่งยังค่อนข้างใหม่และประสบการณ์การใช้ยาในประเทศไทยยังน้อยอยู่ ยาในกลุ่มยาควบคุมอารมณ์นี้จะออกฤทธิ์ช้า เมื่อปรับยาครั้งหนึ่งต้องรออย่างน้อย 2-3 สัปดาห์ยาจึงเริ่มออกฤทธิ์ ผู้ป่วยที่ใช้ยาในกลุ่มนี้มักต้องถูกเจาะเลือดดูระดับยาในร่างกายเพื่อช่วยในการปรับยาด้วย และยาในกลุ่มนี้มักเป็นยาต้องห้ามในผู้ที่กำลังตั้งครรภ์โดยเฉพาะใน 3 เดือนแรก
ยาแก้โรคจิต (antipsychotics)
ในผู้ป่วยโรคไบโพล่าร์ที่กำลังมีอาการตรงข้ามกับซึมเศร้านั้นการรอให้ยาควบคุมอารมณ์ออกฤทธิ์นั้นมักจะไม่ทันการเพราะผู้ป่วยมักจะวุ่นวายและมีพฤติกรรมที่สร้างปัญหามากแพทย์จึงมักให้การรักษาด้วยยาแก้โรคจิตถึงแม้ว่าผู้ป่วยจะยังไม่ถึงกับมีอาการของโรคจิตก็ตาม ยาในกลุ่มนี้จะออกฤทธิ์ไวและช่วยให้ผู้ป่วยสงบสติอารมณ์ควบคุมตนเองได้ดีขึ้น ยาในกลุ่มนี้มีให้เลือกใช้หลายชนิดแต่แพทย์มักเลือกใช้ชนิดที่มีฤทธิ์ทำให้ง่วงมากๆเช่น คลอโปรมาซีน (chlorpromazine), ไธโอริดาซีน (thioridazine), เพอร์เฟนาซีน (perphenazine) เมื่อยาควบคุมอารมณ์ออกฤทธิ์เต็มที่และอาการของผู้ป่วยดีชึ้นแพทย์ก็จะค่อยๆลดและหยุดยาในกลุ่มนี้ไป
ยาแก้โรคซึมเศร้า (antidepressants)
ในผู้ป่วยโรคไบโพล่าร์ที่กำลังมีอาการซึมเศร้านั้นแพทย์สามารถให้การรักษาด้วยยาควบคุมอารมณ์โดยไม่ต้องให้ยาแก้โรคซึมเศร้าก็ได้แต่บางครั้งแพทย์อาจเลือกที่จะให้ยาแก้ซึมเศร้าด้วยเพื่อให้ได้ผลแน่นอนขึ้นแล้วค่อยลดและหยุดยาแก้โรคซึมเศร้าเมื่อผู้ป่วยสบายดีเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ป่วย “ดีเกิน” กลายเป็นอาการตรงข้ามกับซึมเศร้าไป ยาแก้โรคซึมเศร้ามีให้เลือกใช้หลายชนิด แต่ละชนิดมีประสิทธิภาพใกล้เคียงกันแต่ผลข้างเคียงต่างกันเช่นบางชนิดทำให้ง่วงบางชนิดไม่ทำให้ง่วง ยาแก้ซึมเศร้าเป็นยาที่ออกฤทธิ์ช้าเช่นเดียวกับยาควบคุมอารมณ์
โดยทั่วไปเมื่อเริ่มการรักษาแพทย์มักสามารถควบคุมอาการของผู้ป่วยได้ในเวลาประมาณ 1 เดือนและผู้ป่วยมักหายเป็นปกติในเวลาประมาณ 2 เดือน หลังจากนั้นแพทย์จะให้ยาควบคุมอารมณ์ต่อไปอีก 6-12 เดือนแล้วค่อยพิจารณาหยุดยา โรคไบโพล่าร์เป็นโรคที่สามารถรักษาให้หายสนิทได้ คือหายกลับเป็นคนเดิมได้ แต่ไม่หายขาด วันดีคืนดีผู้ป่วยจะกลับมามีอาการอีก ในผู้ป่วยบางรายที่เป็นมาหลายครั้ง เป็นค่อนข้างถี่ หรือเป็นแต่ละครั้งรุนแรงมาก แพทย์อาจพิจารณาให้ยาต่อไปเรื่อยๆเพื่อป้องกันไม่ให้อาการกลับมาใหม่
ปัจจัยที่ทำให้ผู้ป่วยมีอาการกลับมาใหม่ที่พบบ่อยมี 3 ข้อคือ
เครียดมาก
อดนอน
ขาดยา
ปัจจัยข้อที่ 1 เป็นสิ่งที่คนเราหลีกเลี่ยงได้ยากโดยเฉพาะคนที่มีหน้าที่การงานต้องรับผิดชอบมากๆแต่เราก็คงจะสามารถปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตของเราได้บ้างให้เครียดเฉพาะที่จำเป็นต้องเครียด
ส่วนปัจจัยอีก 2 ข้อนั้นเป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงได้ ไม่ว่า(การ)งานจะยุ่งเพียงใด ไม่ว่างาน(เลี้ยง)จะสนุกแค่ไหน ให้ให้ความสำคัญกับการนอนก่อน จัดเวลาให้นอนให้พอเสมอแล้วท่านจะไม่ต้องมานอนที่โรงพยาบาลบ่อยนัก นอกจากนั้นก็กินยาให้ครบถึงแม้ว่าจะน่าเบื่อเพียงใดก็ตาม แพทย์ทุกท่านเห็นใจผู้ป่วยที่ต้องกินยานานๆแต่บางครั้งมันก็จำเป็น เพราะเมื่ออาการกำเริบแต่ละครั้งมักเกิดความเสียหายแก่ทั้งตัวผู้ป่วยเองและญาติๆและยาสามารถช่วยป้องกันการกำเริบได้จริงๆ
ปัจจัยสิ่งแวดล้อม หากเลี่ยงไม่ได้ อ่านหนังสืออะไรก็ได้ ดูหนังตลก
หากมีคนมาทำอะไรให้คุณเสียทั้งที่คุณกินยาก้ไม่ต้องไปทำอะไรเขาคะเพราะเขารุ้ว่าคุณเป้นโรคซึมเศร้าเพราะนั้นการที่เค้าจะมาแกล้งเหมือนคุยให้คุณหุแว่วประสาทหลอน มันเป็นเพราะพวกเขาเป็นมากกว่าคุณพวกเขาไม่ได้กินยา เขาไม่ใช่มิตรที่ดีอย่าไปแนะเขาอะไรเลยให้เขาเป้นบ้าไปเองนะคะ ตัวเราเป็นเรากินยาเรามั่นใจอย่าไปกังวลว่ามีใครกลั้นแกล้งเป็นกำลังใจให้คนที่เป้นโรคซึมเศร้าปกติถ้าไปรับยาแนะให้รับยาหกเดือนไปเลยถ้าอาการคงที่ รึกินนานแล้ว ถ้าเพิ่งกินแนะแค่สองเดือน หายแล้วหยุด อาการมาใหม่ให้กินยาที่เหลือพอหมดค่อยไปเอาใหม่ ส่วนคนไม่ดีปล่อยนให้เป็นมากกว่าเดิม ออกกำลังกาย โยคะ ช่วยได้คะ โภชนาการการกินสมดุลกับอารมณ์ ควบคุมนํ้าหนักและระดับนํ้าตาลในเลือด เกี่ยวมากนะคะ เบาหวานนี่ด้วย ใครเป็น กินยาและรักษาซึมเศร้าร่วม อย่าเพิ่งนั่งสมาธิแต่ สวดมนต์ได้
เพิ่มเติม สำหรับครอบครัวคะ [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้