อ่านแล้วคิดว่าเป็นบทความที่ทันสมัยอยู่ในตอนนี้ เห็นว่ามีประโยชน์ ถึงแม้นว่าจะยาวไปสักหน่อยแต่ก็ตั้งใจอ่านกันเถอะครับ ปกติผมเข้าออกห้องสินธรบ่อย ขออนุญาต แท๊กห้องนี้ด้วยนะครับ
สิงคโปร์นั้นเดิมทีเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ ด้วยความที่เป็นเกาะเล็ก ตัวแทนของอังกฤษซึ่งทำหน้าที่บริหารของเกาะจึงไม่มีหน้ามีตาเหมือนกับผู้ดูแลเมืองขึ้นสำคัญแห่งอื่น เลยไม่ค่อย เข้มงวดกวดขันเรื่องระเบียบวินัยและความโปร่งใสในการทำงาน พอเจ้านายไม่เอาจริงเอาแถมหัวหน้าบางคนยังทำตัวเป็นตัวอย่างที่ไม่ดี เลยทำให้ลูกน้องแตกแถว เริ่มจากการรับสินน้ำใจเล็กๆ น้อยจนลุกลามกลายเป็นการคอร์รัปชันขนาดใหญ่ในทุกระดับชั้น
สิงคโปร์ได้จัดตั้งหน่วยงานชื่อว่า Anti-Corruption Branch (ABC) เป็นหน่วยงานหนึ่งของแผนกสืบสานคดีอาชญากรรม แต่ด้วยความที่หน่วยงานมีคนทำงานแค่สิบเจ็ดคน อำนาจในการทำงานไม่เบ็ดเสร็จเด็ดขาดเนื่องจากเป็นส่วนหนึ่งของกรมตำรวจ ประกอบกับเกิดความไม่โปร่งใสในการทำงานเมื่อต้องสืบสวนคดีคอร์รัปชันที่มีตำรวจเข้ามาเกี่ยวข้อง ABC จึงถูกยุบไปในปีต่อมา มีการตั้งหน่วยงานใหม่ขึ้นมาแทนชื่อว่า Corrupt Practices Investigation Bureau (CPIB) แต่จนแล้วจนรอดก็ยังแก้ปัญหาการคอร์รัปชันในวงการราชการไม่ได้สักที
จุดหักเหของสิงคโปร์เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1960 เมื่อพรรค Peoples Action Party (PAP) ได้รับเลือกเข้ามาบริหารประเทศ PAP เชื่อว่าวิธีการแก้ปัญหาคอร์รัปชันแบบทำไปทีละนิดไม่มีทางประสบผลสำเร็จได้เพราะถึงจะทำได้ส่วนหนึ่ง แต่ถ้าหน่วยงานอื่นยังโกงกินอยู่สุดท้ายหน่วยงานที่สะอาดแล้วไม่แคล้วติดเชื้อกลับไปเจ็บป่วยเหมือนเดิมอีก หากต้องการจะแก้ปัญหาคอร์รัปชันแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาดจะต้องล้างบางกันทั้งเกาะ
PAP เลือกจะแก้ปัญหาเรื่องการลดโอกาสโกงกินก่อน เพราะเชื่อว่าการเพิ่มเงินเดือนเพื่อให้ข้าราชการกินดีอยู่ดีในขณะที่การคอร์รัปชันยังแพร่ระบาดอยู่นั้นไม่มีประโยชน์ คนที่เคยโกงอยู่แล้วถึงจะให้เงินเพิ่มขึ้นก็ไม่เลิกโกง ทำไปก็เหมือนกับตำน้ำพริกละลายแม่น้ำเปล่าๆ
ประเด็นหลักในการปฏิรูปกฎหมายป้องกันและปราบปรามคอร์รัปชันมีอยู่สามด้านด้วยกัน คือ 1) เพิ่มความยืดหยุ่นของตัวบทกฎหมายเพื่อให้สามารถปรับแก้ได้สะดวกจะได้ทันสมัยอยู่เสมอ 2) การตัดสินลงโทษผู้ต้องหาไม่จำเป็นต้องมีหลักฐานชัดเจน แค่สามารถพิสูจน์ได้ว่าผู้ต้องหามีพฤติกรรมโน้มเอียงไปในทางไม่ซื่อก็มีสิทธิจะลงดาบได้เลย ไม่ต้องถามหาใบเสร็จรับเงิน และ 3) หากผู้ต้องหาถูกตัดสินว่าผิดจริงต้องรับโทษอย่างรุนแรง นอกจากจะต้องรับโทษตามกฎหมายและจ่ายค่าปรับแล้ว ยังต้องชดใช้ค่าเสียหายเท่ากับจำนวนเงินที่รับมาอีกด้วย
หลังจากตัวบทกฎหมายและกระบวนการต่างๆ เริ่มเข้าที่เข้าทางแล้ว ขั้นต่อมาคือการเพิ่มผลตอบแทนให้กับข้าราชการ เพื่อจูงใจให้คนเก่งเข้ามารับราชการ มีเงินพอใช้ไม่ต้องไปหารายได้ใต้โต๊ะเพิ่มอีก การเพิ่มเงินเดือนในปี ค.ศ. 1989 ทำให้ข้าราชการสิงคโปร์เป็นข้าราชการที่ได้รับเงินเดือนมากที่สุดเป็นอันดับต้นๆ ของโลก ข้าราชการระดับผู้บริหารของสิงคโปร์ได้เงินเดือนเดือนละ 26,103 ดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่ข้าราชการระดับเดียวกันของสหรัฐได้เงินเดือน 7,224 ดอลลาร์สหรัฐ และข้าราชการระดับเดียวกันของรัฐนิวเซาท์เวลส์ประเทศออสเตรเลียได้เงินเดือน 21,020 ดอลลาร์สหรัฐ
รัฐบาล PAP ใช้เวลาเกือบสามสิบปีในการต่อสู้กับคอร์รัปชันอย่างจริงจังเพื่อให้ประชาชนเชื่อมั่นว่ารัฐบาลเอาจริงเอาจังกับเรื่องนี้ และในการเลือกตั้งทุกครั้ง ประเด็นการต่อต้านคอร์รัปชันกลายเป็นประเด็นหลักอันหนึ่งที่ทำให้รัฐบาลได้ชัยชนะเหนือคู่แข่งมาตลอด จนทำให้สิงคโปร์สามารถควบคุมการคอร์รัปชันไว้ได้อยู่หมัดในที่สุด
ฮ่องกงการคอร์รัปชันเป็นปัญหาของเกาะฮ่องกงมานับร้อยปี ผลการสำรวจทัศนคติของคนวัยทำงานในปี ค.ศ.1977 พบว่า คนฮ่องกงกว่าครึ่งของกลุ่มตัวอย่างเห็นว่าคอร์รัปชันเป็นเรื่องปกติไม่ใช่ปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไข ประมาณหนึ่งในสามของกลุ่มตัวอย่างเห็นว่าการจ่ายเงินใต้โต๊ะให้ข้าราชการและนักการเมืองเพื่อให้งานของตนลุล่วงไปได้ไม่ใช่เรื่องผิด หากทำแล้วงานของเขาสามารถสำเร็จลุล่วงไปได้ก็จะทำอย่างแน่นอน
หน่วยงานภาครัฐได้พยายามแก้ปัญหานี้มาหลายครั้งแต่ก็ไม่เคยประสบผลสำเร็จอย่างเป็นชิ้นเป็นอันเสียที ในปี ค.ศ.1974 ฮ่องกงได้จัดตั้งคณะกรรมการอิสระเพื่อการต่อต้านคอร์รัปชัน (Independent Commission Against Corruption หรือ ICAC) ตอนนั้นไม่ค่อยมีใครตั้งความหวังกับ ICAC สักเท่าไหร่ แต่ ICAC ก็สร้างความประหลาดใจให้กับชาวฮ่องกงและชาวโลกที่สนใจติดตามการทำงานของพวกเขา การคอร์รัปชันของฮ่องกงค่อยๆ ลดลงอย่างต่อเนื่องอย่างเห็นได้ชัด
ความสำเร็จของ ICAC เกิดจากการใช้มาตรการทางกฎหมายควบคู่ไปกับการสร้างชุดคุณค่าใหม่ให้กับสังคม เพราะทีมงานเชื่อว่า ทัศนคติ ของประชาชนเกี่ยวกับการคอร์รัปชันมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าวิธีการแก้ปัญหา เพราะความล้มเหลวในอดีตเกิดจากการให้น้ำหนักกับการออกตัวบทกฎหมายซึ่งมีบทลงโทษรุนแรง แต่ไม่สามารถบังคับได้จริง เพราะขาดแรงหนุนจากสังคม
กลยุทธ์ของ ICAC แบ่งออกเป็นสองส่วน คือ ปราบปราม และ เปลี่ยนแปลง การปราบปรามเป็นกลยุทธ์ระยะสั้นเพื่อป้องกันไม่ให้ปัญหาคอร์รัปชันในช่วงนั้นลุกลามใหญ่โตไปกว่าเดิม การเปลี่ยนแปลงเป็นกลยุทธ์ระยะยาวเพื่อป้องกันไม่ให้การคอร์รัปชันกลับเป็นปัญหารุนแรงอีกในอนาคต
กลุ่มเป้าหมายของกลยุทธ์การเปลี่ยนแปลงคือเยาวชนรุ่นใหม่ เพราะการเปลี่ยนแปลงทัศนคติของคนรุ่นปัจจุบันซึ่งเติบโตมาในสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมให้มีการคอร์รัปชันนั้นแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย เป็นการให้การศึกษาและอบรมเยาวชนรุ่นใหม่ตั้งแต่พวกเขาเริ่มต้นเรียนหนังสือให้ถึงผลกระทบว่าปัญหาการคอร์รัปชันว่าจะมีผลต่อตัวเขา ครอบครัว คนรอบข้าง และสังคมโดยรวมอย่างไรกิจกรรมการศึกษาสารพัดรูปแบบทั้งในและนอกห้องเรียนได้ถูกซ้ำแล้วซ้ำเล่าเป็นเวลานานถึง 13 ปีใช้เพื่อเป้าหมายเพียงอย่างเดียวคือหล่อหลอมเยาวชนรุ่นใหม่เกิดความรู้สึกรังเกียจชิงชังต่อการคอร์รัปชัน
ในปี ค.ศ.1986 ได้มีการสำรวจทัศนคติของคนรุ่นต่างๆ พบว่า เด็กรุ่นใหม่อายุ 15-24 ปี กว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าเห็นว่าปัญหาการคอร์รัปชันคือปัญหารุนแรงของสังคม ในปี ค.ศ.1999 ร้อยละแปดสิบของเด็กในกลุ่มอายุเดียวกันนี้เห็นด้วยกับการกำจัดปัญหาคอร์รัปชันให้หมดไปจากเกาะฮ่องกง ความสำเร็จของ ICAC ได้กลายเป็นตัวอย่างให้กับหน่วยงานต่อต้านการคอร์รัปชันของหลายประเทศ และกลายเป็นกรณีศึกษาในชั้นเรียนวิชาการปราบปรามคอร์รัปชันทั่วโลก
เห็นแบบนี้ก็รู้สึกอิจฉาสิงคโปร์และฮ่องกงขึ้นมาตงิดๆ ไม่รู้ว่าเมื่อไหร่บ้านเราจะทำได้อย่างเขาบ้าง แต่จะมานั่งงอมืองอเท้าก็ใช่ที่ แทนที่จะเอาเวลามานั่งถอนหายใจกับปัญหาการเมืองบ้านเรา สู้มาช่วยกันคนละไม้ละมือ อบรมสั่งสอนลูกหลานของเราไม่ให้เดินตามรอยตัวอย่างคนไม่ดีเหล่านี้ สร้างพลังภาคประชาชนให้เข้มแข็ง คอยควบคุมคนโกง เปิดโปงคนชั่ว ค่อยๆ สร้างทัศนคติใหม่มาแทนที่ของเขา เพื่อสร้างคนรุ่นใหม่ไปทดแทนคนกลุ่มเดิม เข้าทำนองว่าค่อยๆ เอาน้ำดีไปไล่น้ำเสียไปทีละน้อย เพื่อเราและลูกหลานจะได้มีประเทศไทยใสสะอาดกันเสียที
cradit: เกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว
สิงคโปร์และฮ่องกงปราบคอร์รัปชันได้อย่างไร
สิงคโปร์นั้นเดิมทีเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ ด้วยความที่เป็นเกาะเล็ก ตัวแทนของอังกฤษซึ่งทำหน้าที่บริหารของเกาะจึงไม่มีหน้ามีตาเหมือนกับผู้ดูแลเมืองขึ้นสำคัญแห่งอื่น เลยไม่ค่อย เข้มงวดกวดขันเรื่องระเบียบวินัยและความโปร่งใสในการทำงาน พอเจ้านายไม่เอาจริงเอาแถมหัวหน้าบางคนยังทำตัวเป็นตัวอย่างที่ไม่ดี เลยทำให้ลูกน้องแตกแถว เริ่มจากการรับสินน้ำใจเล็กๆ น้อยจนลุกลามกลายเป็นการคอร์รัปชันขนาดใหญ่ในทุกระดับชั้น
สิงคโปร์ได้จัดตั้งหน่วยงานชื่อว่า Anti-Corruption Branch (ABC) เป็นหน่วยงานหนึ่งของแผนกสืบสานคดีอาชญากรรม แต่ด้วยความที่หน่วยงานมีคนทำงานแค่สิบเจ็ดคน อำนาจในการทำงานไม่เบ็ดเสร็จเด็ดขาดเนื่องจากเป็นส่วนหนึ่งของกรมตำรวจ ประกอบกับเกิดความไม่โปร่งใสในการทำงานเมื่อต้องสืบสวนคดีคอร์รัปชันที่มีตำรวจเข้ามาเกี่ยวข้อง ABC จึงถูกยุบไปในปีต่อมา มีการตั้งหน่วยงานใหม่ขึ้นมาแทนชื่อว่า Corrupt Practices Investigation Bureau (CPIB) แต่จนแล้วจนรอดก็ยังแก้ปัญหาการคอร์รัปชันในวงการราชการไม่ได้สักที
จุดหักเหของสิงคโปร์เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1960 เมื่อพรรค Peoples Action Party (PAP) ได้รับเลือกเข้ามาบริหารประเทศ PAP เชื่อว่าวิธีการแก้ปัญหาคอร์รัปชันแบบทำไปทีละนิดไม่มีทางประสบผลสำเร็จได้เพราะถึงจะทำได้ส่วนหนึ่ง แต่ถ้าหน่วยงานอื่นยังโกงกินอยู่สุดท้ายหน่วยงานที่สะอาดแล้วไม่แคล้วติดเชื้อกลับไปเจ็บป่วยเหมือนเดิมอีก หากต้องการจะแก้ปัญหาคอร์รัปชันแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาดจะต้องล้างบางกันทั้งเกาะ
PAP เลือกจะแก้ปัญหาเรื่องการลดโอกาสโกงกินก่อน เพราะเชื่อว่าการเพิ่มเงินเดือนเพื่อให้ข้าราชการกินดีอยู่ดีในขณะที่การคอร์รัปชันยังแพร่ระบาดอยู่นั้นไม่มีประโยชน์ คนที่เคยโกงอยู่แล้วถึงจะให้เงินเพิ่มขึ้นก็ไม่เลิกโกง ทำไปก็เหมือนกับตำน้ำพริกละลายแม่น้ำเปล่าๆ
ประเด็นหลักในการปฏิรูปกฎหมายป้องกันและปราบปรามคอร์รัปชันมีอยู่สามด้านด้วยกัน คือ 1) เพิ่มความยืดหยุ่นของตัวบทกฎหมายเพื่อให้สามารถปรับแก้ได้สะดวกจะได้ทันสมัยอยู่เสมอ 2) การตัดสินลงโทษผู้ต้องหาไม่จำเป็นต้องมีหลักฐานชัดเจน แค่สามารถพิสูจน์ได้ว่าผู้ต้องหามีพฤติกรรมโน้มเอียงไปในทางไม่ซื่อก็มีสิทธิจะลงดาบได้เลย ไม่ต้องถามหาใบเสร็จรับเงิน และ 3) หากผู้ต้องหาถูกตัดสินว่าผิดจริงต้องรับโทษอย่างรุนแรง นอกจากจะต้องรับโทษตามกฎหมายและจ่ายค่าปรับแล้ว ยังต้องชดใช้ค่าเสียหายเท่ากับจำนวนเงินที่รับมาอีกด้วย
หลังจากตัวบทกฎหมายและกระบวนการต่างๆ เริ่มเข้าที่เข้าทางแล้ว ขั้นต่อมาคือการเพิ่มผลตอบแทนให้กับข้าราชการ เพื่อจูงใจให้คนเก่งเข้ามารับราชการ มีเงินพอใช้ไม่ต้องไปหารายได้ใต้โต๊ะเพิ่มอีก การเพิ่มเงินเดือนในปี ค.ศ. 1989 ทำให้ข้าราชการสิงคโปร์เป็นข้าราชการที่ได้รับเงินเดือนมากที่สุดเป็นอันดับต้นๆ ของโลก ข้าราชการระดับผู้บริหารของสิงคโปร์ได้เงินเดือนเดือนละ 26,103 ดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่ข้าราชการระดับเดียวกันของสหรัฐได้เงินเดือน 7,224 ดอลลาร์สหรัฐ และข้าราชการระดับเดียวกันของรัฐนิวเซาท์เวลส์ประเทศออสเตรเลียได้เงินเดือน 21,020 ดอลลาร์สหรัฐ
รัฐบาล PAP ใช้เวลาเกือบสามสิบปีในการต่อสู้กับคอร์รัปชันอย่างจริงจังเพื่อให้ประชาชนเชื่อมั่นว่ารัฐบาลเอาจริงเอาจังกับเรื่องนี้ และในการเลือกตั้งทุกครั้ง ประเด็นการต่อต้านคอร์รัปชันกลายเป็นประเด็นหลักอันหนึ่งที่ทำให้รัฐบาลได้ชัยชนะเหนือคู่แข่งมาตลอด จนทำให้สิงคโปร์สามารถควบคุมการคอร์รัปชันไว้ได้อยู่หมัดในที่สุด
ฮ่องกงการคอร์รัปชันเป็นปัญหาของเกาะฮ่องกงมานับร้อยปี ผลการสำรวจทัศนคติของคนวัยทำงานในปี ค.ศ.1977 พบว่า คนฮ่องกงกว่าครึ่งของกลุ่มตัวอย่างเห็นว่าคอร์รัปชันเป็นเรื่องปกติไม่ใช่ปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไข ประมาณหนึ่งในสามของกลุ่มตัวอย่างเห็นว่าการจ่ายเงินใต้โต๊ะให้ข้าราชการและนักการเมืองเพื่อให้งานของตนลุล่วงไปได้ไม่ใช่เรื่องผิด หากทำแล้วงานของเขาสามารถสำเร็จลุล่วงไปได้ก็จะทำอย่างแน่นอน
หน่วยงานภาครัฐได้พยายามแก้ปัญหานี้มาหลายครั้งแต่ก็ไม่เคยประสบผลสำเร็จอย่างเป็นชิ้นเป็นอันเสียที ในปี ค.ศ.1974 ฮ่องกงได้จัดตั้งคณะกรรมการอิสระเพื่อการต่อต้านคอร์รัปชัน (Independent Commission Against Corruption หรือ ICAC) ตอนนั้นไม่ค่อยมีใครตั้งความหวังกับ ICAC สักเท่าไหร่ แต่ ICAC ก็สร้างความประหลาดใจให้กับชาวฮ่องกงและชาวโลกที่สนใจติดตามการทำงานของพวกเขา การคอร์รัปชันของฮ่องกงค่อยๆ ลดลงอย่างต่อเนื่องอย่างเห็นได้ชัด
ความสำเร็จของ ICAC เกิดจากการใช้มาตรการทางกฎหมายควบคู่ไปกับการสร้างชุดคุณค่าใหม่ให้กับสังคม เพราะทีมงานเชื่อว่า ทัศนคติ ของประชาชนเกี่ยวกับการคอร์รัปชันมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าวิธีการแก้ปัญหา เพราะความล้มเหลวในอดีตเกิดจากการให้น้ำหนักกับการออกตัวบทกฎหมายซึ่งมีบทลงโทษรุนแรง แต่ไม่สามารถบังคับได้จริง เพราะขาดแรงหนุนจากสังคม
กลยุทธ์ของ ICAC แบ่งออกเป็นสองส่วน คือ ปราบปราม และ เปลี่ยนแปลง การปราบปรามเป็นกลยุทธ์ระยะสั้นเพื่อป้องกันไม่ให้ปัญหาคอร์รัปชันในช่วงนั้นลุกลามใหญ่โตไปกว่าเดิม การเปลี่ยนแปลงเป็นกลยุทธ์ระยะยาวเพื่อป้องกันไม่ให้การคอร์รัปชันกลับเป็นปัญหารุนแรงอีกในอนาคต
กลุ่มเป้าหมายของกลยุทธ์การเปลี่ยนแปลงคือเยาวชนรุ่นใหม่ เพราะการเปลี่ยนแปลงทัศนคติของคนรุ่นปัจจุบันซึ่งเติบโตมาในสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมให้มีการคอร์รัปชันนั้นแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย เป็นการให้การศึกษาและอบรมเยาวชนรุ่นใหม่ตั้งแต่พวกเขาเริ่มต้นเรียนหนังสือให้ถึงผลกระทบว่าปัญหาการคอร์รัปชันว่าจะมีผลต่อตัวเขา ครอบครัว คนรอบข้าง และสังคมโดยรวมอย่างไรกิจกรรมการศึกษาสารพัดรูปแบบทั้งในและนอกห้องเรียนได้ถูกซ้ำแล้วซ้ำเล่าเป็นเวลานานถึง 13 ปีใช้เพื่อเป้าหมายเพียงอย่างเดียวคือหล่อหลอมเยาวชนรุ่นใหม่เกิดความรู้สึกรังเกียจชิงชังต่อการคอร์รัปชัน
ในปี ค.ศ.1986 ได้มีการสำรวจทัศนคติของคนรุ่นต่างๆ พบว่า เด็กรุ่นใหม่อายุ 15-24 ปี กว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าเห็นว่าปัญหาการคอร์รัปชันคือปัญหารุนแรงของสังคม ในปี ค.ศ.1999 ร้อยละแปดสิบของเด็กในกลุ่มอายุเดียวกันนี้เห็นด้วยกับการกำจัดปัญหาคอร์รัปชันให้หมดไปจากเกาะฮ่องกง ความสำเร็จของ ICAC ได้กลายเป็นตัวอย่างให้กับหน่วยงานต่อต้านการคอร์รัปชันของหลายประเทศ และกลายเป็นกรณีศึกษาในชั้นเรียนวิชาการปราบปรามคอร์รัปชันทั่วโลก
เห็นแบบนี้ก็รู้สึกอิจฉาสิงคโปร์และฮ่องกงขึ้นมาตงิดๆ ไม่รู้ว่าเมื่อไหร่บ้านเราจะทำได้อย่างเขาบ้าง แต่จะมานั่งงอมืองอเท้าก็ใช่ที่ แทนที่จะเอาเวลามานั่งถอนหายใจกับปัญหาการเมืองบ้านเรา สู้มาช่วยกันคนละไม้ละมือ อบรมสั่งสอนลูกหลานของเราไม่ให้เดินตามรอยตัวอย่างคนไม่ดีเหล่านี้ สร้างพลังภาคประชาชนให้เข้มแข็ง คอยควบคุมคนโกง เปิดโปงคนชั่ว ค่อยๆ สร้างทัศนคติใหม่มาแทนที่ของเขา เพื่อสร้างคนรุ่นใหม่ไปทดแทนคนกลุ่มเดิม เข้าทำนองว่าค่อยๆ เอาน้ำดีไปไล่น้ำเสียไปทีละน้อย เพื่อเราและลูกหลานจะได้มีประเทศไทยใสสะอาดกันเสียที
cradit: เกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว