1. ต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจนก่อนว่า เราต้องการนำเงินที่ได้จากการลงทุนนั้นไปทำอะไร เช่น เอาไปเป็นทุนในการเรียนต่อ เอาไปซื้อบ้าน ซื้อรถ ฯลฯ เหมือนกับการที่เรามีเป้าหมายว่าเราจะไปที่ไหน เราจึงเริ่มออกเดินทางและตรงไปที่นั่น ซึ่งเมื่อเรามีเป้าหมายแล้ว เราก็จะไปได้เร็วกว่าคนที่ยังไม่รู้เลยว่าตัวเองจะไปที่ไหน
2. ต้องประเมินตัวเองด้วยว่า เรารับความเสี่ยงได้มากแค่ไหน เสี่ยงมาก เสี่ยงน้อย หรือไม่อยากเสี่ยงเลย สมมติว่าคุณมีบ้านมีรถแล้ว และมีเงินอยู่ 1 ก้อนที่สามารถเอาไปลงทุนได้ (เป็นเงินเย็น) และคิดแล้วว่าหากสูญเสียเงินก้อนนี้ไปแล้วก็จะไม่กระทบกระเทือนกับชีวิตมากนัก และสามารถหามาใหม่ได้ในอีกระยะหนึ่ง แบบนี้คุณจึงสามารถเลือกการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูงได้ แต่สำหรับคนที่รับความเสี่ยงได้น้อย ก็อาจเอาเงินไปซื้อสลากออมสิน ที่ยังไงเงินต้นก็ยังอยู่ครบถ้วน แถมยังมีโอกาสถูกรางวัลอีกด้วย แบบนี้แปลว่าเลือกการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำ แต่ความเสี่ยงที่ต่ำนั้นก็จะได้ผลตอบแทนที่ต่ำตามไปด้วย (ตามหลัก High Risk High Return) นั่นเอง
3. ต้องกำหนดระดับความเสี่ยง ผลตอบแทนที่ได้รับและการรู้จักการตัดขาดทุน เช่น เราซื้อหุ้นราคา 10 บาท แล้วตั้งไว้ว่า เมื่อหุ้นขึ้นไป 20% จะพิจารณาการขาย แต่หากหุ้นเกิดลงล่ะ ? เพื่อป้องกันการหมดตัว เราจึงต้องตั้งจุดตัดขาดทุนไว้ด้วย และข้อนี้มักเป็นสาเหตุให้การลงทุนไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากผู้ลงทุนมักใช้อารมณ์ตัดสินใจและบางครั้งก็ไม่มีการตั้งจุดตัดขาดทุน ซึ่งอาจทำให้หมดตัวได้เลยทีเดียว
4. ต้องมีการกระจายการลงทุนที่เหมาะสม ไม่ควรลงทุนอย่างเดียวประเภทเดียว ดังคำกล่าวที่ว่า “อย่าเอาไข่ทุกใบใส่ไว้ในตะกร้าใบเดียว” เพราะหากตะกร้าเกิดตก ไข่ก็จะแตกทุกใบ นั่นเท่ากับว่า เราไม่เหลืออะไรเลย แต่ถ้าเราเอาไข่ไว้หลายที่ แม้ว่าตะกร้าจะตกลงมา แต่ไข่อาจแตกไปแค่ ใบสองใบ ไม่ใช่ทุกใบ อย่างน้อยเราก็ยังมีไข่เหลืออยู่บ้าง หรือเหมือนกับว่า เราซื้อหุ้น ซื้อพันธบัตร และลงทุนกับกองทุนรวม หากเราเทรดหุ้นแล้วเกิดขาดทุนขึ้นมา เราก็ยังมีอีก 2 อย่าง ที่มีโอกาสสร้างกำไรให้เราได้ แต่ถ้าเราเทรดเอง 100% เราก็อาจหมดตัวได้หากเราไม่ได้ศึกษามาดีพอ
5. ต้องประเมินและวัดผลว่าการลงทุนนั้นเป็นไปตามที่วางแผนไว้หรือไม่ และหากไม่เป็นไปตามที่คาดไว้ควรปรับเปลี่ยนกลยุทธ์เพื่อให้ได้ตามเป้าหมายที่วางเอาไว้ ทั้งนี้ก็ต้องประเมินสถานการณ์ภายนอกที่จะมากระทบด้วยนะคะ ^^
ปล.วันนี้เรามาเอาใจนักลงทุนกันบ้าง และขอให้ทุกท่านโชคดีในการลงทุนนะค๊าาา ^__^
มาร่วมพูดคุยและแชร์หนังสือน่าอ่านกันได้ที่ :
https://www.facebook.com/lifetitudebook
5 เรื่องสำคัญก่อนการลงทุน
2. ต้องประเมินตัวเองด้วยว่า เรารับความเสี่ยงได้มากแค่ไหน เสี่ยงมาก เสี่ยงน้อย หรือไม่อยากเสี่ยงเลย สมมติว่าคุณมีบ้านมีรถแล้ว และมีเงินอยู่ 1 ก้อนที่สามารถเอาไปลงทุนได้ (เป็นเงินเย็น) และคิดแล้วว่าหากสูญเสียเงินก้อนนี้ไปแล้วก็จะไม่กระทบกระเทือนกับชีวิตมากนัก และสามารถหามาใหม่ได้ในอีกระยะหนึ่ง แบบนี้คุณจึงสามารถเลือกการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูงได้ แต่สำหรับคนที่รับความเสี่ยงได้น้อย ก็อาจเอาเงินไปซื้อสลากออมสิน ที่ยังไงเงินต้นก็ยังอยู่ครบถ้วน แถมยังมีโอกาสถูกรางวัลอีกด้วย แบบนี้แปลว่าเลือกการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำ แต่ความเสี่ยงที่ต่ำนั้นก็จะได้ผลตอบแทนที่ต่ำตามไปด้วย (ตามหลัก High Risk High Return) นั่นเอง
3. ต้องกำหนดระดับความเสี่ยง ผลตอบแทนที่ได้รับและการรู้จักการตัดขาดทุน เช่น เราซื้อหุ้นราคา 10 บาท แล้วตั้งไว้ว่า เมื่อหุ้นขึ้นไป 20% จะพิจารณาการขาย แต่หากหุ้นเกิดลงล่ะ ? เพื่อป้องกันการหมดตัว เราจึงต้องตั้งจุดตัดขาดทุนไว้ด้วย และข้อนี้มักเป็นสาเหตุให้การลงทุนไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากผู้ลงทุนมักใช้อารมณ์ตัดสินใจและบางครั้งก็ไม่มีการตั้งจุดตัดขาดทุน ซึ่งอาจทำให้หมดตัวได้เลยทีเดียว
4. ต้องมีการกระจายการลงทุนที่เหมาะสม ไม่ควรลงทุนอย่างเดียวประเภทเดียว ดังคำกล่าวที่ว่า “อย่าเอาไข่ทุกใบใส่ไว้ในตะกร้าใบเดียว” เพราะหากตะกร้าเกิดตก ไข่ก็จะแตกทุกใบ นั่นเท่ากับว่า เราไม่เหลืออะไรเลย แต่ถ้าเราเอาไข่ไว้หลายที่ แม้ว่าตะกร้าจะตกลงมา แต่ไข่อาจแตกไปแค่ ใบสองใบ ไม่ใช่ทุกใบ อย่างน้อยเราก็ยังมีไข่เหลืออยู่บ้าง หรือเหมือนกับว่า เราซื้อหุ้น ซื้อพันธบัตร และลงทุนกับกองทุนรวม หากเราเทรดหุ้นแล้วเกิดขาดทุนขึ้นมา เราก็ยังมีอีก 2 อย่าง ที่มีโอกาสสร้างกำไรให้เราได้ แต่ถ้าเราเทรดเอง 100% เราก็อาจหมดตัวได้หากเราไม่ได้ศึกษามาดีพอ
5. ต้องประเมินและวัดผลว่าการลงทุนนั้นเป็นไปตามที่วางแผนไว้หรือไม่ และหากไม่เป็นไปตามที่คาดไว้ควรปรับเปลี่ยนกลยุทธ์เพื่อให้ได้ตามเป้าหมายที่วางเอาไว้ ทั้งนี้ก็ต้องประเมินสถานการณ์ภายนอกที่จะมากระทบด้วยนะคะ ^^
ปล.วันนี้เรามาเอาใจนักลงทุนกันบ้าง และขอให้ทุกท่านโชคดีในการลงทุนนะค๊าาา ^__^
มาร่วมพูดคุยและแชร์หนังสือน่าอ่านกันได้ที่ : https://www.facebook.com/lifetitudebook