5 มหาวิทยาลัยไทยนำทัพ ติดอันดับใน "กลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่" ประจำปี 2014



อันดับมหาวิทยาลัยจากกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ของ  Times Higher Education ในครั้งนี้นั้น นับเป็นการจัดอันดับมหาวิทยาลัยเฉพาะกลุ่มประเทศเขตเศรษฐกิจเกิดใหม่เป็นครั้งแรก โดยกลุ่มประเทศ "BRICS" ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วอันประกอบด้วย บราซิล (Brazil) รัสเซีย (Russia) อินเดีย (India) จีน (China) และแอฟริกาใต้ (South Africa) โดยชื่อ BRICS ถูกใช้เป็นสัญลักษณ์แสดงถึงการย้ายอำนาจเศรษฐกิจโลก จากกลุ่มพัฒนาแล้วอย่าง G7 มาสู่กลุ่มประเทศกำลังพัฒนาทั้ง 5 ประเทศ ประกอบรวมกับกลุ่มประเทศ "Emerging Economies" ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ ซึ่งเป็นตัวขับเคลื่อนหลักในการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก โดยกลุ่มประเทศเหล่านี้ มีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูง และจากการจัดอันดับในครั้งนี้มีประเทศไทย และมหาวิทยาลัยติดอันดับจำนวน 5 มหาวิทยาลัยอีกด้วย
"ปักกิ่ง-ชิงหวา" สุดยอดมหาวิทยาลัยจากประเทศจีน คว้าแชมป์มหาวิทยาลัยคุณภาพในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่


มหาวิทยาลัยชื่อดังจากประเทศจีนอย่าง Peking University และ Tsinghua University เรือธงผู้นำทัพการจัดอันดับมหาวิทยาลัย ติดอันดับที่ 1 และ อันดับที่ 2 ของการจัดอันดับสุดยอดมหาวิทยาลัยจากกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ 2014 โดยมีคะแนนรวมที่ 65.0 และ 63.5 ตามลำดับ การจัดอันดับครั้งนี้ทาง Times Higher Education ยังคงยืดระเบียบวิธีวิจัยและตัวชี้วัดปกติของการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกเหมือนเดิม ได้แก่ 13 ตัวชี้วัด จาก 5 กลุ่มใหญ่ในด้าน การสอน งานวิจัย การอ้างถึงผลงานทางวิชาการ รายได้จากภาคอุตสาหกรรม และสายตาจากนานาชาติที่มองมหาวิทยาลัย นอกจากนี้การจัดอันดับ 100 อันดับ ยังมีมหาวิทยาลัยจากประเทศจีน ติดอันดับถึง 23 แห่ง ตามมาด้วย มหาวิทยาลัยจากไต้หวัน 21 แห่ง ทั้งนี้ตามมาด้วย มหาวิทยาลัยจาก ประเทศอินเดีย 10 แห่ง มหาวิทยาลัยจากประเทศตุรกี 7 แห่ง แอฟริกาใต้ และ ประเทศไทย 5 แห่ง มหาวิทยาลัยจากประเทศบราซิลและโปแลนด์ ประเทศละ 4 แห่งครับ



มหาวิทยาลัยด้านบนที่ติด สุดยอด 50 มหาวิทยาลัยแรกของการจัดอันดับ ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยจากประเทศอื่นๆที่น่าสนใจ ได้แก่ โคลอมเบีย โปแลนด์ ประเทศไทย และเช็ก ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาที่มีอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาจากแอฟริกา ยุโรป ตะวันออกกลาง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และอเมริกาใต้อย่าง ชลี แม็กซิโก อียิปต์ โมรอคโค สหรัฐอาหรับเอมิเร็ตส์ มาเลเซีย และฮังการี ยังมีมหาวิทยาลัยบางแห่งที่ติดอันดับเข้ามาอยู่ใน 100 มหาวิทยาลัย ในขณะที่ อินโดนีเซีย ปากีสถาน เปรู และฟิลิปปินส์ ยังคงไร้แววของชื่อมหาวิทยาลัยในประเทศที่ติดอันดับ



Phil Baty บรรณาธิการการศึกษาของ Times Higher Education ให้ความเห็นว่า ผลการจัดอันดับในครั้งนี้ดูจะไม่น่าประหลาดใจเท่าใดนักสำหรับมหาวิทยาลัยชื่อดังของจีน แต่มันเป็นเรื่องที่ท้ายทายของกลุ่มประเทศจากโลกใหม่ที่เป็นขุมพลังของความรู้ การจัดอันดับมหาวิทยาลัยในครั้งนี้ ยังเป็นการเตือนซึ่งความเสี่ยงของประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลายในอัตราการแข่งขันระดับโลก ถ้าพวกเขาไม่นำทรัพยากรและพลังงานที่มีค่ามาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนาประเทศ



แต่ก็เป็นที่น่าแปลกใจสำหรับประสิทธิภาพในการแข่งขันของมหาวิทยาลัยจากประเทศรัสเซีย ที่ถูกขนานนามว่าเป็นผู้นำด้านวิทยาศาสตร์ แต่กลับมีมหาวิทยาลัยเพียง 2 แห่งที่เข้ามาติดอันดับโลก อันได้แก่ Lomonosov Moscow State University (อันดับที่ 10) และ St. Petersburg State University (อันดับที่ 67) จาก 100 มหาวิทยาลัย



ผลรวมอันดับมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ถึง 70 แห่ง มาจากกลุ่มประเทศในเอเชีย อันได้แก่ จีน ไต้หวัน อินเดีย ตุรกี ไทย มาเลเซีย และ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ในขณะที่ยุโรปส่งตัวแทนมหาวิทยาลัย 12 แห่ง จาก 4 ประเทศ ได้แก่ โปแลนด์ เช็ก ฮังการี และรัสเซีย



5 มหาวิทยาลัยไทย นำทัพสู่อันดับโลกของ Times Higher Education



เป็นเรื่องที่น่ายินดีที่มีมหาวิทยาลัยจากประเทศไทย เข้ามาติดโผการจัดอันดับสุดยอดมหาวิทยาลัยจากกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ ประจำปี 2014 ของ Times Higher Education ถึง 5 แห่ง ด้วยกัน อันได้แก่



อันดับที่ 29 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี

อันดับที่ 52 มหาวิทยาลัยมหิดล

อันดับที่ 82 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

อันดับที่ 85 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อันดับที่ 89 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์



โดยมหาวิทยาลัยผู้นำทัพอย่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี มีเรื่องที่น่ายินดีจากคะแนนด้านการอ้างถึงของผลงานวิชาการ (Citation) ที่ทำคะแนนได้สูงกว่ามหาวิทยาลัยอันดับหนึ่งและสองจากประเทศจีน มหาวิทยาลัยมหิดล ยังอยู่ในกลุ่มอันดับใกล้เคียงกับมหาวิทยาลัยเหอหนานของจีน และ มหาวิทยาลัยเอเชียจากไต้หวัน เชียงใหม่และจุฬาฯ อยู่ในอันดับและมีคะแนนที่ใกล้เคียงกัน ตามมาด้วย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ที่อยู่อันดับรองจากมหาวิทยาลัยเซี่ยงไฮ้ของจีน



ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ส่งผลต่ออัตราเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและจำนวนมหาวิทยาลัย ?



Times Higher Education มีการวิเคราะห์เปรียบเทียบอัตราการเจริญเติบโตของประเทศต่อจำนวนประชากรและศักยภาพของการจัดการ ซึ่งพบว่าประเทศที่มีทรัพยากรมหาศาลอย่างประเทศจีนและอินเดียมีจำนวนมหาวิทยาลัยที่ติดอันดับ

10-20 แห่ง ในขณะที่อัตราการเจริญเติบโตของประเทศรัสเซีย บราซิล และแม็กซิโก กลับมีมหาวิทยาลัยที่ติดอันดับไม่ถึง 5 แห่ง



ตารางเปรียบเทียบรายได้มวลรวมในประเทศ ต่อจำนวนประชากรในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ และจำนวนมหาวิทยาลัยที่ติดอันดับ



http://blog.eduzones.com/tonsungsook/120472
แก้ไขข้อความเมื่อ

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่