The Times Higher Education BRICS & Emerging Economies Rankings 2014 ได้ประกาศผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุด 100 อันดับมหาวิทยาลัยในกลุ่มมหาวิทยาลัยในประเทศที่มีการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เป็นอันดับ 1 ในไทย และเป็นอันดับที่ 29 ของการจัดอันดับ 100 มหาวิทยาลัยในกลุ่มเศรษฐกิจใหม่รวม 22 ประเทศ
การจัดอันดับดังกล่าวเป็นครั้งแรกที่จัดอันดับเฉพาะมหาวิทยาลัยที่อยู่ในประเทศที่ถูกจับตามองถึงการเจริญเติบโต และการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว ในกลุ่มเศรษฐกิจ บริคส์ (BRICS) 5 ประเทศ และประเทศอื่นๆ อีก 17 ประเทศ รวม 22 ประเทศ ซึ่งมหาวิทยาลัยในประเทศกลุ่มเศรษฐกิจ บริคส์ (BRICS) ประกอบด้วยประเทศบราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน และแอฟริกาใต้ ส่วนมหาวิทยาลัยในประเทศต่างๆ ที่มีความเติบโตทางเศรษฐกิจเกิดใหม่ อีก 17 ประเทศ ได้แก่ สาธารณรัฐเช็ก ฮังการี มาเลเซีย เม็กซิโก โปแลนด์ ไต้หวัน ไทย ตุรกี ชิลี โคลัมเบีย อียิปต์ อินโดนีเซีย โมร็อกโก ปากีสถาน เปรู ฟิลิปปินส์ และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
ทั้งนี้ ในการจัดอันดับดังกล่าว มีตัวชี้วัดหลัก 5 ด้าน โดยอ้างอิงจากการจัดอันดับโดยเกณฑ์มาตรฐานจาก Times Higher Education (THE) World University Rankings เช่นเดียวกันกับที่ มจธ. เป็นมหาวิทยาลัยแห่งเดียวในประเทศไทยที่อยู่ใน 400 อันดับแรกของโลก ได้แก่ 1) ด้าน Teaching 2) ด้าน Research 3) ด้าน Citations 4) ด้าน Industry Income และ 5) ด้าน International Outlook โดยในด้านที่ 1-3 มีคะแนนด้านละ 30 เปอร์เซ็นต์ ส่วนด้านที่ 4-5 มีคะแนน 2.5 และ 7.5 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ โดยจากตัวชี้วัดหลัก 5 ด้านดังกล่าว จะประกอบด้วยตัวชี้วัดย่อย จำนวน 13 ตัวชี้วัด
มจธ. มีคะแนนตามตัวชี้วัดหลัก 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้าน Teaching คะแนน 13.0 2) ด้าน International Outlook คะแนน 24.4 3) ด้าน Industry Income คะแนน 62.2 4) ด้าน Research คะแนน 10.5 5) ด้าน Citations คะแนน 75.4 โดยมีคะแนนรวม 33.0 เป็นอันดับหนึ่งในมหาวิทยาลัยไทย และเป็นอันดับที่ 29 จากทั้งหมด, มหาวิทยาลัยมหิดล คะแนน 26.7 อยู่ในอันดับที่ 52, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คะแนน 21.0 อยู่ในอันดับที่ 82, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คะแนน 20.3 อยู่ในอันดับที่ 85 และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คะแนน 19.7 อยู่ในอันดับที่ 89 ส่วน 3 อันดับมหาวิทยาลัยแรกของการจัดอันดับ ได้แก่ อันดับ 1 Peking University ประเทศจีน คะแนน 65.0 อันดับ 2 Tsinghua University ประเทศจีน คะแนน 63.5 และอันดับ 3 University of Cape Town จากแอฟริกาใต้ คะแนน 50.5
รศ.ดร.เชาวลิต ลิ้มมณีวิจิตร รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษา ได้ให้ข้อมูลการเปรียบเทียบ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือ GDP ในกลุ่มมหาวิทยาลัยที่ได้การจัดอันดับดังกล่าวว่า การจัดอันดับ Times Higher Education ได้มี วิเคราะห์เปรียบเทียบ GDP ที่สะท้อนถึงขนาดของเศรษฐกิจ และจำนวนมหาวิทยาลัยที่ติดอันดับ 100 แห่ง ตัวอย่างเช่น ประเทศจีน มีมหาวิทยาลัยติดในอันดับ 23 แห่ง เนื่องจากประชากรในประเทศที่มีจำนวนมาก ส่งผลให้ GDP มีขนาดใหญ่ด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตามประเทศบางประเทศ เช่น รัสเซีย ซึ่งเป็นประเทศที่มี GDP ขนาดใหญ่ และเป็นที่ยอมรับว่ามีความรู้ ความสามารถทางวิชาการมาก แต่มีมหาวิทยาลัยที่ได้รับการจัดอันดับเพียงแค่ 2 แห่ง นั่นอาจเป็นเพราะประเทศรัสเซียมีบทความที่ตีพิมพ์เป็นวารสารที่มีคุณภาพ แต่ส่วนใหญ่จะเป็นการตีพิมพ์ในภาษาของประเทศรัสเซียเอง เป็นลักษณะเช่นเดียวกับ ประเทศญี่ปุ่น และเยอรมัน
นอกจากนั้นยังมีการถ่วงน้ำหนักโดยใช้ Purchasing power parity หรือ PPP ซึ่งเป็นค่าประมาณสำหรับอัตราแลกเปลี่ยนที่จำเป็นสำหรับอำนาจซื้อของสกุลเงินที่แตกต่างกัน ความเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อในบางครั้งจะใช้เป็นดัชนีเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของประชาชนในประเทศ ในลักษณะเดียวกับมูลค่าของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) คะแนน Industry Income ของ มจธ. โดยพบว่ามีคะแนนที่ดีกว่าของหลายมหาวิทยาลัยในประเทศสหรัฐอเมริกา เพราะอิงจากการปรับ Purchasing power parity แต่ถ้าเทียบปริมาณเงินที่ได้รับ ก็จะพบว่ามียอดเงินที่อาจน้อยกว่ามหาวิทยาลัยในอเมริกา
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เป็นอันดับ 1 ในไทย นำทัพ 1 ใน 100 ม ชั้นนำของกลุ่มเศรษฐกิจเกิดใหม่
การจัดอันดับดังกล่าวเป็นครั้งแรกที่จัดอันดับเฉพาะมหาวิทยาลัยที่อยู่ในประเทศที่ถูกจับตามองถึงการเจริญเติบโต และการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว ในกลุ่มเศรษฐกิจ บริคส์ (BRICS) 5 ประเทศ และประเทศอื่นๆ อีก 17 ประเทศ รวม 22 ประเทศ ซึ่งมหาวิทยาลัยในประเทศกลุ่มเศรษฐกิจ บริคส์ (BRICS) ประกอบด้วยประเทศบราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน และแอฟริกาใต้ ส่วนมหาวิทยาลัยในประเทศต่างๆ ที่มีความเติบโตทางเศรษฐกิจเกิดใหม่ อีก 17 ประเทศ ได้แก่ สาธารณรัฐเช็ก ฮังการี มาเลเซีย เม็กซิโก โปแลนด์ ไต้หวัน ไทย ตุรกี ชิลี โคลัมเบีย อียิปต์ อินโดนีเซีย โมร็อกโก ปากีสถาน เปรู ฟิลิปปินส์ และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
ทั้งนี้ ในการจัดอันดับดังกล่าว มีตัวชี้วัดหลัก 5 ด้าน โดยอ้างอิงจากการจัดอันดับโดยเกณฑ์มาตรฐานจาก Times Higher Education (THE) World University Rankings เช่นเดียวกันกับที่ มจธ. เป็นมหาวิทยาลัยแห่งเดียวในประเทศไทยที่อยู่ใน 400 อันดับแรกของโลก ได้แก่ 1) ด้าน Teaching 2) ด้าน Research 3) ด้าน Citations 4) ด้าน Industry Income และ 5) ด้าน International Outlook โดยในด้านที่ 1-3 มีคะแนนด้านละ 30 เปอร์เซ็นต์ ส่วนด้านที่ 4-5 มีคะแนน 2.5 และ 7.5 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ โดยจากตัวชี้วัดหลัก 5 ด้านดังกล่าว จะประกอบด้วยตัวชี้วัดย่อย จำนวน 13 ตัวชี้วัด
มจธ. มีคะแนนตามตัวชี้วัดหลัก 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้าน Teaching คะแนน 13.0 2) ด้าน International Outlook คะแนน 24.4 3) ด้าน Industry Income คะแนน 62.2 4) ด้าน Research คะแนน 10.5 5) ด้าน Citations คะแนน 75.4 โดยมีคะแนนรวม 33.0 เป็นอันดับหนึ่งในมหาวิทยาลัยไทย และเป็นอันดับที่ 29 จากทั้งหมด, มหาวิทยาลัยมหิดล คะแนน 26.7 อยู่ในอันดับที่ 52, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คะแนน 21.0 อยู่ในอันดับที่ 82, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คะแนน 20.3 อยู่ในอันดับที่ 85 และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คะแนน 19.7 อยู่ในอันดับที่ 89 ส่วน 3 อันดับมหาวิทยาลัยแรกของการจัดอันดับ ได้แก่ อันดับ 1 Peking University ประเทศจีน คะแนน 65.0 อันดับ 2 Tsinghua University ประเทศจีน คะแนน 63.5 และอันดับ 3 University of Cape Town จากแอฟริกาใต้ คะแนน 50.5
รศ.ดร.เชาวลิต ลิ้มมณีวิจิตร รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษา ได้ให้ข้อมูลการเปรียบเทียบ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือ GDP ในกลุ่มมหาวิทยาลัยที่ได้การจัดอันดับดังกล่าวว่า การจัดอันดับ Times Higher Education ได้มี วิเคราะห์เปรียบเทียบ GDP ที่สะท้อนถึงขนาดของเศรษฐกิจ และจำนวนมหาวิทยาลัยที่ติดอันดับ 100 แห่ง ตัวอย่างเช่น ประเทศจีน มีมหาวิทยาลัยติดในอันดับ 23 แห่ง เนื่องจากประชากรในประเทศที่มีจำนวนมาก ส่งผลให้ GDP มีขนาดใหญ่ด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตามประเทศบางประเทศ เช่น รัสเซีย ซึ่งเป็นประเทศที่มี GDP ขนาดใหญ่ และเป็นที่ยอมรับว่ามีความรู้ ความสามารถทางวิชาการมาก แต่มีมหาวิทยาลัยที่ได้รับการจัดอันดับเพียงแค่ 2 แห่ง นั่นอาจเป็นเพราะประเทศรัสเซียมีบทความที่ตีพิมพ์เป็นวารสารที่มีคุณภาพ แต่ส่วนใหญ่จะเป็นการตีพิมพ์ในภาษาของประเทศรัสเซียเอง เป็นลักษณะเช่นเดียวกับ ประเทศญี่ปุ่น และเยอรมัน
นอกจากนั้นยังมีการถ่วงน้ำหนักโดยใช้ Purchasing power parity หรือ PPP ซึ่งเป็นค่าประมาณสำหรับอัตราแลกเปลี่ยนที่จำเป็นสำหรับอำนาจซื้อของสกุลเงินที่แตกต่างกัน ความเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อในบางครั้งจะใช้เป็นดัชนีเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของประชาชนในประเทศ ในลักษณะเดียวกับมูลค่าของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) คะแนน Industry Income ของ มจธ. โดยพบว่ามีคะแนนที่ดีกว่าของหลายมหาวิทยาลัยในประเทศสหรัฐอเมริกา เพราะอิงจากการปรับ Purchasing power parity แต่ถ้าเทียบปริมาณเงินที่ได้รับ ก็จะพบว่ามียอดเงินที่อาจน้อยกว่ามหาวิทยาลัยในอเมริกา