เอียน วิลเลียม นักข่าวเอ็นบีซี มองว่าสิ่งที่ผลักดันสถานการณ์การประท้วงในช่วงที่ผ่านมามีอิทธิพลจากการตกลงกันเบื้องหลังกับทหารหรือกลุ่มชนชั้นนำเก่าของไทย ซึ่งพยายามรักษาอำนาจด้วยวิธีการที่อันตรายในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของประเทศไทย
4 ธ.ค. 2556 เอียน วิลเลียม นักข่าวเอ็นบีซีนิวส์ของสหรัฐฯ เขียนบทวิเคราะห์ข่าวพูดถึงการเปลี่ยนแปลงบรรยากาศการชุมนุมในช่วง 2-3 วันที่ผ่านมา โดยบอกว่าการประท้วงในวันอังคาร (3 ธ.ค.) ที่ผ่านมามีความรู้สึก 'เซอร์เรียล' เล็กน้อย (เซอร์เรียล คือ น่าแปลกประหลาดราวอยู่ในภาวะเหนือจริง)
วิลเลียมเล่าว่า เหตุที่ทำให้รู้สึกเหนือจริงเพราะหลังจากมีการต่อสู้ปะทะกันระหว่างฝ่ายผู้ชุมนุมที่ขว้างปาก้อนหินกับฝ่ายตำรวจที่ยิงแก๊สน้ำตา ปืนฉีดน้ำ กระสุนยาง ตำรวจก็เปลี่ยนยุทธวิธีกระทันหัน โดยการนำแผงกั้นออกและให้ผู้ประท้วงเข้าไปในทำเนียบรัฐบาลและกองบัญชาการตำรวจนครบาล ทำให้ผู้ประท้วงประกาศชัยชนะทันที โดยที่รัฐบาลบอกว่า พวกเขาต้องการหลีกเลี่ยงความรุนแรงและลดความตึงเครียดของสถานการณ์
วิลเลียมแสดงความคิดเห็นว่า สิ่งที่พวกเขาเห็นในกรุงเทพฯ ไม่ใช่ "การปฏิวัติของมวลมหาประชาชน" แบบที่แกนนำสุเทพ เทือกสุบรรณ กล่าวอ้าง โดยสุเทพได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มชนชั้นกลางในกรุงเทพฯ และกลุ่มชนชั้นนำรอยัลลิสต์เก่า ขณะที่ในความเป็นจริงแล้วรัฐบาลยังคงได้รับการสนับสนุนจากคนที่อยู่นอกกรุงเทพฯ และยังคงชนะการเลือกตั้งได้ง่ายๆ
"คนที่มาเยือนเมืองหลวงกรุงเทพฯ ของไทยคงเห็นว่า มันดูเหมือนประดับประดาไปด้วยความทันสมัย แต่ในแง่การเมืองตอนนี้มันดูเหมือนอยู่ในยุคกลาง (medieval) และเรื่องนี้ก็ไม่ได้เห็นกันแบบชัดๆ แต่เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเบื้องหลังซึ่งคอยชักนำเหตุการณ์" เอียน วิลเลียมกล่าว
บทความในเอ็นบีซีมีความเชื่อว่า คนอยู่เบื้องหลังการสร้างข้อตกลงในเหตุการณ์อาจเป็นราชสำนักและกองทัพ โดยมีสุเทพเป็นเพียงหุ่นเชิดเท่านั้น
ผู้สื่อข่าวเอ็นบีซีประเมินว่ากลุ่มคนในท้องถนนในช่วง 2-3 วันที่ผ่านมามีอยู่ราว 30,000 คน ซึ่งน้อยลงกว่าช่วงประท้วงเริ่มแรก
เอียน วิลเลียม ยังได้กล่าวถึงต้นตอของความขัดแย้งจากการที่อดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร สามารถชนะการเลือกตั้งได้ในปี 2544 ซึ่งถูกมองว่าเป็นตัวแทนของชนชั้นนำที่มีความร่ำรวยผู้ใช้นโยบายประชานิยมในการสร้างฐานเสียงในภาคเหนือและอีสาน จนได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งมาจนถึงสมัยของยิ่งลักษณ์ ชินวัตร แต่พรรคการเมืองของเขาก็ถูกขัดขวางหลายครั้งทั้งจากการรัฐประหารและจากกระบวนการศาล โดยที่ฝ่ายต่อต้านกล่าวหาทักษิณในเรื่องการคอร์รัปชั่นและนโยบายเกื้อหนุนคนจนอย่างไร้ประสิทธิผล แต่ในสายตาของกลุ่มชนชั้นนำเก่าแล้วพวกเขามองว่านโยบายประชานิยมของทักษิณเป็นการท้าทายอำนาจประมุขของประเทศ
เอียน วิลเลียม กล่าวถึงประเด็นอ่อนไหวในเรื่องการสืบสันตติวงศ์ โดยบอกว่าประเด็นนี้ในประเทศไทยยังคงพูดถึงอย่างเปิดเผยไม่ได้เพราะมีกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพอยู่ และหลังจากมีการสืบสันตติวงศ์กลุ่มชนชั้นนำเก่าจะได้รับผลกระทบอย่างมาก
อย่างไรก็ตาม วิลเลียมระบุว่า ผู้ที่ต้องการให้ประเทศพัฒนาสู่ความเป็นสมัยใหม่ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผู้ที่วิจารณ์ทักษิณคิดว่าจะไม่มีเรื่องร้ายๆ เกิดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าหากมีการพัฒนาสถาบันประชาธิปไตยในประเทศให้ดีขึ้นแทนการเรียกร้องให้ทหารหรือพระราชวังเข้าแทรกแซงทุกครั้งที่มีวิกฤติ
แม้ว่าเหตุการณ์ในปัจจุบันกองทัพจะไม่ได้เข้าแทรกแซงอย่างเปิดเผย มีการยอมรับว่าการรัฐประหารในปี 2549 ล้มเหลว และบอกว่าจะไม่เลือกข้างในคราวนี้ แต่วิลเลียมบอกว่าทหารมีบทบาทอย่างมากในเบื้องหลังสถานการณ์ โดยฝ่ายแกนนำการประท้วงมีข้อเรียกร้องที่คลุมเครืออย่างการแต่งตั้งคณะกรรมการที่เป็น "คนดี" ฟังดูคล้ายกับสิ่งที่กองทัพเคยพยายามทำเมื่อปี 2549 ที่ดูจะไม่ได้ผล
เอียน วิลเลียมบอกว่าชนชั้นนำเก่าของไทยดูจะโหยหาอดีตที่ชาวนาในภาคเหนือและภาคอีสานของไทยดูว่านอนสอนง่าย อยู่เป็นชนชั้นล่างสุดภายใต้ระบอบอุปถัมภ์พ่อปกครองลูก ชนชั้นนำเก่าคิดว่าปัญหาในปัจจุบันจะสามารถแก้ไขได้จากการลิดรอนสิทธิในการเลือกตั้งและอ้างว่าประชาชนลงคะแนนเสียงอย่างผิดๆ
"ซึ่งแนวคิดความต้องการแบบนี้เอง เป็นสิ่งที่อันตรายที่สุด" วิลเลียมกล่าว
Credit:
http://prachatai.com/journal/2013/12/50225
.... นักข่าวเอ็นบีซีวิเคราะห์ประท้วง'เซอร์เรียล'ที่ไม่ใช่ 'ปฏิวัติมวลมหาประชาชน' ....
4 ธ.ค. 2556 เอียน วิลเลียม นักข่าวเอ็นบีซีนิวส์ของสหรัฐฯ เขียนบทวิเคราะห์ข่าวพูดถึงการเปลี่ยนแปลงบรรยากาศการชุมนุมในช่วง 2-3 วันที่ผ่านมา โดยบอกว่าการประท้วงในวันอังคาร (3 ธ.ค.) ที่ผ่านมามีความรู้สึก 'เซอร์เรียล' เล็กน้อย (เซอร์เรียล คือ น่าแปลกประหลาดราวอยู่ในภาวะเหนือจริง)
วิลเลียมเล่าว่า เหตุที่ทำให้รู้สึกเหนือจริงเพราะหลังจากมีการต่อสู้ปะทะกันระหว่างฝ่ายผู้ชุมนุมที่ขว้างปาก้อนหินกับฝ่ายตำรวจที่ยิงแก๊สน้ำตา ปืนฉีดน้ำ กระสุนยาง ตำรวจก็เปลี่ยนยุทธวิธีกระทันหัน โดยการนำแผงกั้นออกและให้ผู้ประท้วงเข้าไปในทำเนียบรัฐบาลและกองบัญชาการตำรวจนครบาล ทำให้ผู้ประท้วงประกาศชัยชนะทันที โดยที่รัฐบาลบอกว่า พวกเขาต้องการหลีกเลี่ยงความรุนแรงและลดความตึงเครียดของสถานการณ์
วิลเลียมแสดงความคิดเห็นว่า สิ่งที่พวกเขาเห็นในกรุงเทพฯ ไม่ใช่ "การปฏิวัติของมวลมหาประชาชน" แบบที่แกนนำสุเทพ เทือกสุบรรณ กล่าวอ้าง โดยสุเทพได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มชนชั้นกลางในกรุงเทพฯ และกลุ่มชนชั้นนำรอยัลลิสต์เก่า ขณะที่ในความเป็นจริงแล้วรัฐบาลยังคงได้รับการสนับสนุนจากคนที่อยู่นอกกรุงเทพฯ และยังคงชนะการเลือกตั้งได้ง่ายๆ
"คนที่มาเยือนเมืองหลวงกรุงเทพฯ ของไทยคงเห็นว่า มันดูเหมือนประดับประดาไปด้วยความทันสมัย แต่ในแง่การเมืองตอนนี้มันดูเหมือนอยู่ในยุคกลาง (medieval) และเรื่องนี้ก็ไม่ได้เห็นกันแบบชัดๆ แต่เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเบื้องหลังซึ่งคอยชักนำเหตุการณ์" เอียน วิลเลียมกล่าว
บทความในเอ็นบีซีมีความเชื่อว่า คนอยู่เบื้องหลังการสร้างข้อตกลงในเหตุการณ์อาจเป็นราชสำนักและกองทัพ โดยมีสุเทพเป็นเพียงหุ่นเชิดเท่านั้น
ผู้สื่อข่าวเอ็นบีซีประเมินว่ากลุ่มคนในท้องถนนในช่วง 2-3 วันที่ผ่านมามีอยู่ราว 30,000 คน ซึ่งน้อยลงกว่าช่วงประท้วงเริ่มแรก
เอียน วิลเลียม ยังได้กล่าวถึงต้นตอของความขัดแย้งจากการที่อดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร สามารถชนะการเลือกตั้งได้ในปี 2544 ซึ่งถูกมองว่าเป็นตัวแทนของชนชั้นนำที่มีความร่ำรวยผู้ใช้นโยบายประชานิยมในการสร้างฐานเสียงในภาคเหนือและอีสาน จนได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งมาจนถึงสมัยของยิ่งลักษณ์ ชินวัตร แต่พรรคการเมืองของเขาก็ถูกขัดขวางหลายครั้งทั้งจากการรัฐประหารและจากกระบวนการศาล โดยที่ฝ่ายต่อต้านกล่าวหาทักษิณในเรื่องการคอร์รัปชั่นและนโยบายเกื้อหนุนคนจนอย่างไร้ประสิทธิผล แต่ในสายตาของกลุ่มชนชั้นนำเก่าแล้วพวกเขามองว่านโยบายประชานิยมของทักษิณเป็นการท้าทายอำนาจประมุขของประเทศ
เอียน วิลเลียม กล่าวถึงประเด็นอ่อนไหวในเรื่องการสืบสันตติวงศ์ โดยบอกว่าประเด็นนี้ในประเทศไทยยังคงพูดถึงอย่างเปิดเผยไม่ได้เพราะมีกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพอยู่ และหลังจากมีการสืบสันตติวงศ์กลุ่มชนชั้นนำเก่าจะได้รับผลกระทบอย่างมาก
อย่างไรก็ตาม วิลเลียมระบุว่า ผู้ที่ต้องการให้ประเทศพัฒนาสู่ความเป็นสมัยใหม่ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผู้ที่วิจารณ์ทักษิณคิดว่าจะไม่มีเรื่องร้ายๆ เกิดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าหากมีการพัฒนาสถาบันประชาธิปไตยในประเทศให้ดีขึ้นแทนการเรียกร้องให้ทหารหรือพระราชวังเข้าแทรกแซงทุกครั้งที่มีวิกฤติ
แม้ว่าเหตุการณ์ในปัจจุบันกองทัพจะไม่ได้เข้าแทรกแซงอย่างเปิดเผย มีการยอมรับว่าการรัฐประหารในปี 2549 ล้มเหลว และบอกว่าจะไม่เลือกข้างในคราวนี้ แต่วิลเลียมบอกว่าทหารมีบทบาทอย่างมากในเบื้องหลังสถานการณ์ โดยฝ่ายแกนนำการประท้วงมีข้อเรียกร้องที่คลุมเครืออย่างการแต่งตั้งคณะกรรมการที่เป็น "คนดี" ฟังดูคล้ายกับสิ่งที่กองทัพเคยพยายามทำเมื่อปี 2549 ที่ดูจะไม่ได้ผล
เอียน วิลเลียมบอกว่าชนชั้นนำเก่าของไทยดูจะโหยหาอดีตที่ชาวนาในภาคเหนือและภาคอีสานของไทยดูว่านอนสอนง่าย อยู่เป็นชนชั้นล่างสุดภายใต้ระบอบอุปถัมภ์พ่อปกครองลูก ชนชั้นนำเก่าคิดว่าปัญหาในปัจจุบันจะสามารถแก้ไขได้จากการลิดรอนสิทธิในการเลือกตั้งและอ้างว่าประชาชนลงคะแนนเสียงอย่างผิดๆ
"ซึ่งแนวคิดความต้องการแบบนี้เอง เป็นสิ่งที่อันตรายที่สุด" วิลเลียมกล่าว
Credit: http://prachatai.com/journal/2013/12/50225