โลกในมุมมองของ Value Investor 30 พ.ย. 56
ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
หุ้นผู้บริโภค
ช่วงประมาณสิบปีที่ผ่านมานั้น หุ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงไปมากในด้านของ “คุณภาพ” ของกิจการ ก่อนหน้านั้นดูเหมือนว่าบริษัทขนาดใหญ่ที่มีมูลค่าตลาดขนาดใหญ่ของไทยส่วนใหญ่จะเป็นบริษัทที่ผลิตและขายสินค้าที่เป็นโภคภัณฑ์เป็นหลัก บริษัทที่ขายสินค้ามี “ยี่ห้อ” หรือบริษัทที่ขายสินค้าที่เป็นที่ต้องการของผู้บริโภค ที่มีกำไรต่อยอดขายหรือมีมาร์จินสูง ซึ่งถือว่าเป็นกิจการที่มี “คุณภาพสูง” นั้น มักจะเป็นบริษัทขนาดเล็ก สัดส่วน Market Cap. หรือมูลค่าตลาดของบริษัทที่มี “คุณภาพดี” เหล่านั้นมีน้อยมาก แต่เดี๋ยวนี้ “หุ้นผู้บริโภค” มีมูลค่าตลาดของหุ้นใหญ่ขึ้นมาก ส่วนหนึ่งเป็นเพราะบริษัทเหล่านั้นมีการขยายตัวของยอดขายและกำไรสูงกว่าหุ้นโภคภัณฑ์ แต่ที่อาจจะสำคัญยิ่งกว่าก็คือ การที่ราคาหุ้นของบริษัทเหล่านั้น “แพง” ขึ้นมาก นั่นก็คือ ค่า PE ของหุ้นผู้บริโภคสูงขึ้นมากเมื่อเทียบกับหุ้นโภคภัณฑ์ที่ยังมีค่า PE ในระดับ 10 เท่าบวก-ลบ ในขณะที่หุ้นผู้บริโภคจำนวนมากมีค่า PE ในระดับอาจจะ 20 เท่าบวก-ลบ และมีจำนวนหุ้นเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
หุ้น “ผู้บริโภค” ที่ผมกำลังพูดถึงนั้น ไม่ใช่หุ้นตามกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีการจัดโดยตลาดหลักทรัพย์ แต่เป็นหุ้นของบริษัทที่ขายสินค้าให้แก่ผู้บริโภคที่เป็นบุคคลธรรมดาที่ซื้อสินค้าหรือบริการด้วยตนเอง บริษัทนั้นเป็นคนทำการตลาดเพื่อเชิญชวนให้คนมาซื้อสินค้า บริษัทเป็นคนตั้งราคาขายสินค้าเอง ยอดขายและกำไรของบริษัทขึ้นอยู่กับนโยบายและกลยุทธ์ต่าง ๆ ที่บริษัทใช้แข่งขันกับคู่แข่งหรือต่อรองกับหน่วยงานควบคุมของรัฐในกรณีที่เป็นบริษัทที่อิงอยู่กับสัมปทานหรือกฎระเบียบต่าง ๆ ดังนั้น หุ้นผู้บริโภคจึงมีกระจายกันไปในหลาย ๆ กลุ่มอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจอะไร ถ้าเขาขายให้คนซื้อที่มีเป็นพัน หมื่น แสน หรือเป็นล้าน ๆ คน สินค้าของเขามียี่ห้อที่คนรับรู้ และเขาเป็นคนทำการตลาดและกำหนดราคาเองได้ แบบนี้ก็เข้าข่ายที่เขาจะเป็น “หุ้นผู้บริโภค”
หุ้นผู้บริโภคที่มีขนาดใหญ่ที่เริ่มปรากฏมากขึ้นในระยะหลังประมาณ 10 ปีมานี้ มักจะเป็นบริษัทที่เป็น “ผู้ชนะ” ในธุรกิจหรืออุตสาหกรรมของตนเอง พวกเขามักเป็นคนที่ขายสินค้าโดยตรงต่อผู้บริโภค นั่นคือ ไม่ได้ขายผ่านผู้อื่นมากนัก ความหมายก็คือ พวกเขามักมี “หน้าร้าน” ที่ได้สัมผัสกับลูกค้าอย่างใกล้ชิด ที่สำคัญมากอีกข้อหนึ่งก็คือ สินค้าหรือบริการของพวกเขานั้น มักเป็นสินค้า “สมัยใหม่” หรือเป็นสินค้าที่คนรุ่นใหม่ใช้กันมากขึ้น พูดง่าย ๆ เป็นสินค้าที่อยู่ใน “เมกาเทรนด์” ลองมาดูกันว่ามีบริษัทไหนบ้าง ไล่กันไปทีละกลุ่มอุตสาหกรรม
กลุ่มแรกคือหุ้นในกลุ่มอาหารก็จะพบว่า หุ้นผู้บริโภคขนาดใหญ่ตาม Market Cap. ก็คือ หุ้น CPF ที่มีขนาดใหญ่ขึ้นมากเมื่อเทียบกับ 10 ปีก่อนคิดเป็นมูลค่าตลาด 2 แสนล้านบาท อย่างไรก็ตาม สินค้าส่วนใหญ่ของ CPF นั้น จริง ๆ แล้วน่าจะเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ แต่ที่มีขนาดใหญ่ขึ้นมากนั้น น่าจะเกี่ยวข้องกับการที่บริษัทถือหุ้นจำนวนมากใน CPALL ซึ่งเป็นหุ้นผู้บริโภคที่เติบโตขึ้นมาก หุ้นตัวที่สองคือหุ้น M เครือข่ายร้านภัตตาคารซึ่งเพิ่งเข้าจดทะเบียนในตลาดที่มีมูลค่าตลาดกว่า 4 หมื่นล้านบาทกลายเป็นหุ้นใหญ่อันดับ 4 ในกลุ่ม หุ้นตัวที่สามคือหุ้น MINT ซึ่งทำโรงแรมและร้านอาหาร ที่มีมูลค่าตลาดเกือบหนึ่งแสนล้านบาท เช่นเดียวกับ CENTEL ที่มีมูลค่าตลาดประมาณ 5 หมื่นล้านบาท และนี่คือหุ้นที่ทำให้มูลค่าหุ้นในกลุ่มอาหารโตขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
หุ้นกลุ่มที่สองก็คือ หุ้นในกลุ่มธนาคารพาณิชย์ที่อาจจะถือว่าอยู่ในหุ้นกลุ่มผู้บริโภคเช่นกันเนื่องจากมีการรับเงินฝากและให้สินเชื่อแก่บุคคลธรรมดาเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ อย่างไรก็ตาม การหาผู้ชนะในกลุ่มแบงค์เป็นเรื่องยาก และธุรกิจนี้ยังมีปัจจัยหลายอย่างในการที่จะประสบความสำเร็จเช่นเรื่องของภาวะหนี้เสียและอื่น ๆ ทำให้มูลค่าตลาดของแบงค์เองนั้นโตขึ้นไม่ได้มากเมื่อเทียบกับตลาดโดยรวม พูดง่าย ๆ เดิมเมื่อ 10 ปีก่อนแบงค์เองก็ใหญ่มากอยู่แล้ว สำหรับผมแล้ว กลุ่มแบงค์ยังไม่อาจจะพูดได้เต็มที่ว่าเป็นหุ้นผู้บริโภค
หุ้นสถาบันการเงินที่เป็นหุ้นผู้บริโภคที่น่าสนใจมากเนื่องจากเพิ่งจะเติบโตขึ้นมาไม่นานก็คือ หุ้นในกลุ่มประกันชีวิตที่มีหุ้น BLA และ SCBLIF ที่มีมูลค่าตลาด ประมาณ 7 หมื่นล้านบาททั้งคู่ จากที่ในอดีตนั้น หุ้นในกลุ่มนี้แทบไม่มีใครสนใจและ Market Cap. น้อยมาก ข้อสังเกตเพิ่มเติมก็คือ ทั้งสองบริษัทนั้น มีลูกค้าที่อิงอยู่กับธนาคารขนาดใหญ่ซึ่งน่าจะเป็นส่วนสำคัญในการแข่งขันและทำให้ประสบความสำเร็จ เป็น “ผู้ชนะ”
กลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่ผมคิดว่าเป็นหุ้นผู้บริโภคที่มีการเติบโตขึ้นมากในช่วง 10 ปีนี้มีหลาย บริษัทซึ่งน่าจะรวมถึงบริษัทที่พัฒนาห้างอย่าง CPN ซึ่งเติบโตขึ้นมากลายเป็นบริษัทขนาด 2 แสนล้านบาท และบริษัทสร้างบ้านขายที่เติบโตขึ้นมากซึ่งรวมถึง LH ที่มีขนาด 1 แสนล้านบาท PS ประมาณ 5 หมื่นล้านบาท และบริษัทที่มีขนาดประมาณ 2-3 หมื่นล้านบาทซึ่งรวมถึงหุ้น BLAND LPN MBK QH SIRI SPALI
หุ้นกลุ่มพาณิชย์น่าจะถือเป็นหุ้นกลุ่มผู้บริโภคที่ตรงมากที่สุดกลุ่มหนึ่ง และน่าจะเป็นกลุ่มที่มีมูลค่าตลาดเพิ่มมากที่สุดเมื่อเทียบกับกลุ่มอื่น ๆ ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ในช่วงก่อนนั้น กลุ่มพาณิชย์แทบจะไม่มีหุ้นที่มี Market Cap. ขนาดใหญ่เลย แต่ปัจจุบันนั้น หุ้นหลาย ๆ ตัวกลายเป็นหุ้นขนาดใหญ่ บางตัวติดอันดับหนึ่งในสิบของหุ้นที่ใหญ่ที่สุดในตลาด ประกอบไปด้วย หุ้น CPALL ซึ่งมีมูลค่าถึงประมาณ 3 แสน 5หมื่นล้านบาท หุ้น BIGC และหุ้น MAKRO ที่ต่างก็มีมูลค่าตลาดประมาณ 1 แสน 5 หมื่นล้านบาท หุ้น HMPRO ที่มีมูลค่าประมาณ 1 แสนล้านบาท และหุ้น ROBINS ซึ่งมีมูลค่าประมาณ 6 หมื่นล้านบาท
ในกลุ่มของหุ้นบันเทิงซึ่งเป็นหุ้นผู้บริโภคที่เป็นผู้ชนะและมีมูลค่าเพิ่มขึ้นมากก็คือ หุ้น BEC ซึ่งก็คือทีวีช่อง 3 มีมูลค่าตลาดสูงขึ้นมากถึงประมาณ แสนล้านบาท นอกจากนั้นก็ยังมีหุ้น VGI ที่ขายโฆษณาที่เพิ่งเข้าตลาดไม่นานก็มีมูลค่าสูงขึ้นถึงเกือบ 4 หมื่นล้านบาท
หุ้นกลุ่มโรงพยาบาลที่ในอดีตไม่ใคร่จะมีค่ามากนักในตลาดหุ้น แต่ด้วยการเติบโตของหุ้นผู้บริโภคก็ทำให้หุ้นของเครือโรงพยาบาลกรุงเทพ BGH เติบโตขึ้นมหาศาลมีมูลค่าตลาดถึง 2 แสนล้านบาท เช่นเดียวกัน โรงพยาบาลบำรุงราษฏร์ BH ก็เติบโตมีมูลค่าประมาณ 6.5 หมื่นล้านบาท
หุ้นกลุ่มขนส่งซึ่งในอดีตมีเพียง THAI เท่านั้นที่มีมูลค่าตลาดสูง ในปัจจุบันกลับกลายเป็นหุ้น AOT และหุ้นของ BTS ที่เป็นหุ้นผู้บริโภคที่มีมูลค่าสูงมากคือประมาณ 2 แสน 6 หมื่นล้านบาทและ 1 แสนล้านบาทตามลำดับ
หุ้นกลุ่มสื่อสารที่เป็นหุ้นผู้บริโภคและมีขนาดเพิ่มขึ้นโดยเปรียบเทียบนั้นรวมถึงหุ้นที่มีขนาดใหญ่มากอยู่แล้วอย่าง ADVANC ที่มีขนาดประมาณ 6 แสน 7 หมื่นล้านบาท หุ้น DTAC และ INTUCH หุ้นละ 2 แสน 5 หมื่นล้านบาท TRUE แสนสองหมื่นล้านบาท และ JAS 5.6 หมื่นล้านบาท
หุ้นผู้บริโภคที่รวมเฉพาะในรายการที่กล่าวมาทั้งหมดนั้น มี Market Cap. ถึงประมาณ 4 ล้านล้านบาทซึ่งคิดเป็นประมาณ 1 ใน 3 ของตลาดหุ้นทั้งหมด และนั่นก็คือตัวเลขที่แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า ตลาดหุ้นไทยกำลังเคลื่อนไปสู่การเป็นตลาดหุ้นที่มีหุ้นที่มีคุณภาพมากขึ้นเรื่อย ๆ และดังนั้น ค่า PE ของตลาดหุ้นไทยก็ควรต้องสูงขึ้นกว่าอดีตที่ผ่านมาที่อยู่ระดับ PE 10 เท่า
โลกในมุมมองของ Value Investor
ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
หุ้นผู้บริโภค
ช่วงประมาณสิบปีที่ผ่านมานั้น หุ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงไปมากในด้านของ “คุณภาพ” ของกิจการ ก่อนหน้านั้นดูเหมือนว่าบริษัทขนาดใหญ่ที่มีมูลค่าตลาดขนาดใหญ่ของไทยส่วนใหญ่จะเป็นบริษัทที่ผลิตและขายสินค้าที่เป็นโภคภัณฑ์เป็นหลัก บริษัทที่ขายสินค้ามี “ยี่ห้อ” หรือบริษัทที่ขายสินค้าที่เป็นที่ต้องการของผู้บริโภค ที่มีกำไรต่อยอดขายหรือมีมาร์จินสูง ซึ่งถือว่าเป็นกิจการที่มี “คุณภาพสูง” นั้น มักจะเป็นบริษัทขนาดเล็ก สัดส่วน Market Cap. หรือมูลค่าตลาดของบริษัทที่มี “คุณภาพดี” เหล่านั้นมีน้อยมาก แต่เดี๋ยวนี้ “หุ้นผู้บริโภค” มีมูลค่าตลาดของหุ้นใหญ่ขึ้นมาก ส่วนหนึ่งเป็นเพราะบริษัทเหล่านั้นมีการขยายตัวของยอดขายและกำไรสูงกว่าหุ้นโภคภัณฑ์ แต่ที่อาจจะสำคัญยิ่งกว่าก็คือ การที่ราคาหุ้นของบริษัทเหล่านั้น “แพง” ขึ้นมาก นั่นก็คือ ค่า PE ของหุ้นผู้บริโภคสูงขึ้นมากเมื่อเทียบกับหุ้นโภคภัณฑ์ที่ยังมีค่า PE ในระดับ 10 เท่าบวก-ลบ ในขณะที่หุ้นผู้บริโภคจำนวนมากมีค่า PE ในระดับอาจจะ 20 เท่าบวก-ลบ และมีจำนวนหุ้นเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
หุ้น “ผู้บริโภค” ที่ผมกำลังพูดถึงนั้น ไม่ใช่หุ้นตามกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีการจัดโดยตลาดหลักทรัพย์ แต่เป็นหุ้นของบริษัทที่ขายสินค้าให้แก่ผู้บริโภคที่เป็นบุคคลธรรมดาที่ซื้อสินค้าหรือบริการด้วยตนเอง บริษัทนั้นเป็นคนทำการตลาดเพื่อเชิญชวนให้คนมาซื้อสินค้า บริษัทเป็นคนตั้งราคาขายสินค้าเอง ยอดขายและกำไรของบริษัทขึ้นอยู่กับนโยบายและกลยุทธ์ต่าง ๆ ที่บริษัทใช้แข่งขันกับคู่แข่งหรือต่อรองกับหน่วยงานควบคุมของรัฐในกรณีที่เป็นบริษัทที่อิงอยู่กับสัมปทานหรือกฎระเบียบต่าง ๆ ดังนั้น หุ้นผู้บริโภคจึงมีกระจายกันไปในหลาย ๆ กลุ่มอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจอะไร ถ้าเขาขายให้คนซื้อที่มีเป็นพัน หมื่น แสน หรือเป็นล้าน ๆ คน สินค้าของเขามียี่ห้อที่คนรับรู้ และเขาเป็นคนทำการตลาดและกำหนดราคาเองได้ แบบนี้ก็เข้าข่ายที่เขาจะเป็น “หุ้นผู้บริโภค”
หุ้นผู้บริโภคที่มีขนาดใหญ่ที่เริ่มปรากฏมากขึ้นในระยะหลังประมาณ 10 ปีมานี้ มักจะเป็นบริษัทที่เป็น “ผู้ชนะ” ในธุรกิจหรืออุตสาหกรรมของตนเอง พวกเขามักเป็นคนที่ขายสินค้าโดยตรงต่อผู้บริโภค นั่นคือ ไม่ได้ขายผ่านผู้อื่นมากนัก ความหมายก็คือ พวกเขามักมี “หน้าร้าน” ที่ได้สัมผัสกับลูกค้าอย่างใกล้ชิด ที่สำคัญมากอีกข้อหนึ่งก็คือ สินค้าหรือบริการของพวกเขานั้น มักเป็นสินค้า “สมัยใหม่” หรือเป็นสินค้าที่คนรุ่นใหม่ใช้กันมากขึ้น พูดง่าย ๆ เป็นสินค้าที่อยู่ใน “เมกาเทรนด์” ลองมาดูกันว่ามีบริษัทไหนบ้าง ไล่กันไปทีละกลุ่มอุตสาหกรรม
กลุ่มแรกคือหุ้นในกลุ่มอาหารก็จะพบว่า หุ้นผู้บริโภคขนาดใหญ่ตาม Market Cap. ก็คือ หุ้น CPF ที่มีขนาดใหญ่ขึ้นมากเมื่อเทียบกับ 10 ปีก่อนคิดเป็นมูลค่าตลาด 2 แสนล้านบาท อย่างไรก็ตาม สินค้าส่วนใหญ่ของ CPF นั้น จริง ๆ แล้วน่าจะเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ แต่ที่มีขนาดใหญ่ขึ้นมากนั้น น่าจะเกี่ยวข้องกับการที่บริษัทถือหุ้นจำนวนมากใน CPALL ซึ่งเป็นหุ้นผู้บริโภคที่เติบโตขึ้นมาก หุ้นตัวที่สองคือหุ้น M เครือข่ายร้านภัตตาคารซึ่งเพิ่งเข้าจดทะเบียนในตลาดที่มีมูลค่าตลาดกว่า 4 หมื่นล้านบาทกลายเป็นหุ้นใหญ่อันดับ 4 ในกลุ่ม หุ้นตัวที่สามคือหุ้น MINT ซึ่งทำโรงแรมและร้านอาหาร ที่มีมูลค่าตลาดเกือบหนึ่งแสนล้านบาท เช่นเดียวกับ CENTEL ที่มีมูลค่าตลาดประมาณ 5 หมื่นล้านบาท และนี่คือหุ้นที่ทำให้มูลค่าหุ้นในกลุ่มอาหารโตขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
หุ้นกลุ่มที่สองก็คือ หุ้นในกลุ่มธนาคารพาณิชย์ที่อาจจะถือว่าอยู่ในหุ้นกลุ่มผู้บริโภคเช่นกันเนื่องจากมีการรับเงินฝากและให้สินเชื่อแก่บุคคลธรรมดาเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ อย่างไรก็ตาม การหาผู้ชนะในกลุ่มแบงค์เป็นเรื่องยาก และธุรกิจนี้ยังมีปัจจัยหลายอย่างในการที่จะประสบความสำเร็จเช่นเรื่องของภาวะหนี้เสียและอื่น ๆ ทำให้มูลค่าตลาดของแบงค์เองนั้นโตขึ้นไม่ได้มากเมื่อเทียบกับตลาดโดยรวม พูดง่าย ๆ เดิมเมื่อ 10 ปีก่อนแบงค์เองก็ใหญ่มากอยู่แล้ว สำหรับผมแล้ว กลุ่มแบงค์ยังไม่อาจจะพูดได้เต็มที่ว่าเป็นหุ้นผู้บริโภค
หุ้นสถาบันการเงินที่เป็นหุ้นผู้บริโภคที่น่าสนใจมากเนื่องจากเพิ่งจะเติบโตขึ้นมาไม่นานก็คือ หุ้นในกลุ่มประกันชีวิตที่มีหุ้น BLA และ SCBLIF ที่มีมูลค่าตลาด ประมาณ 7 หมื่นล้านบาททั้งคู่ จากที่ในอดีตนั้น หุ้นในกลุ่มนี้แทบไม่มีใครสนใจและ Market Cap. น้อยมาก ข้อสังเกตเพิ่มเติมก็คือ ทั้งสองบริษัทนั้น มีลูกค้าที่อิงอยู่กับธนาคารขนาดใหญ่ซึ่งน่าจะเป็นส่วนสำคัญในการแข่งขันและทำให้ประสบความสำเร็จ เป็น “ผู้ชนะ”
กลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่ผมคิดว่าเป็นหุ้นผู้บริโภคที่มีการเติบโตขึ้นมากในช่วง 10 ปีนี้มีหลาย บริษัทซึ่งน่าจะรวมถึงบริษัทที่พัฒนาห้างอย่าง CPN ซึ่งเติบโตขึ้นมากลายเป็นบริษัทขนาด 2 แสนล้านบาท และบริษัทสร้างบ้านขายที่เติบโตขึ้นมากซึ่งรวมถึง LH ที่มีขนาด 1 แสนล้านบาท PS ประมาณ 5 หมื่นล้านบาท และบริษัทที่มีขนาดประมาณ 2-3 หมื่นล้านบาทซึ่งรวมถึงหุ้น BLAND LPN MBK QH SIRI SPALI
หุ้นกลุ่มพาณิชย์น่าจะถือเป็นหุ้นกลุ่มผู้บริโภคที่ตรงมากที่สุดกลุ่มหนึ่ง และน่าจะเป็นกลุ่มที่มีมูลค่าตลาดเพิ่มมากที่สุดเมื่อเทียบกับกลุ่มอื่น ๆ ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ในช่วงก่อนนั้น กลุ่มพาณิชย์แทบจะไม่มีหุ้นที่มี Market Cap. ขนาดใหญ่เลย แต่ปัจจุบันนั้น หุ้นหลาย ๆ ตัวกลายเป็นหุ้นขนาดใหญ่ บางตัวติดอันดับหนึ่งในสิบของหุ้นที่ใหญ่ที่สุดในตลาด ประกอบไปด้วย หุ้น CPALL ซึ่งมีมูลค่าถึงประมาณ 3 แสน 5หมื่นล้านบาท หุ้น BIGC และหุ้น MAKRO ที่ต่างก็มีมูลค่าตลาดประมาณ 1 แสน 5 หมื่นล้านบาท หุ้น HMPRO ที่มีมูลค่าประมาณ 1 แสนล้านบาท และหุ้น ROBINS ซึ่งมีมูลค่าประมาณ 6 หมื่นล้านบาท
ในกลุ่มของหุ้นบันเทิงซึ่งเป็นหุ้นผู้บริโภคที่เป็นผู้ชนะและมีมูลค่าเพิ่มขึ้นมากก็คือ หุ้น BEC ซึ่งก็คือทีวีช่อง 3 มีมูลค่าตลาดสูงขึ้นมากถึงประมาณ แสนล้านบาท นอกจากนั้นก็ยังมีหุ้น VGI ที่ขายโฆษณาที่เพิ่งเข้าตลาดไม่นานก็มีมูลค่าสูงขึ้นถึงเกือบ 4 หมื่นล้านบาท
หุ้นกลุ่มโรงพยาบาลที่ในอดีตไม่ใคร่จะมีค่ามากนักในตลาดหุ้น แต่ด้วยการเติบโตของหุ้นผู้บริโภคก็ทำให้หุ้นของเครือโรงพยาบาลกรุงเทพ BGH เติบโตขึ้นมหาศาลมีมูลค่าตลาดถึง 2 แสนล้านบาท เช่นเดียวกัน โรงพยาบาลบำรุงราษฏร์ BH ก็เติบโตมีมูลค่าประมาณ 6.5 หมื่นล้านบาท
หุ้นกลุ่มขนส่งซึ่งในอดีตมีเพียง THAI เท่านั้นที่มีมูลค่าตลาดสูง ในปัจจุบันกลับกลายเป็นหุ้น AOT และหุ้นของ BTS ที่เป็นหุ้นผู้บริโภคที่มีมูลค่าสูงมากคือประมาณ 2 แสน 6 หมื่นล้านบาทและ 1 แสนล้านบาทตามลำดับ
หุ้นกลุ่มสื่อสารที่เป็นหุ้นผู้บริโภคและมีขนาดเพิ่มขึ้นโดยเปรียบเทียบนั้นรวมถึงหุ้นที่มีขนาดใหญ่มากอยู่แล้วอย่าง ADVANC ที่มีขนาดประมาณ 6 แสน 7 หมื่นล้านบาท หุ้น DTAC และ INTUCH หุ้นละ 2 แสน 5 หมื่นล้านบาท TRUE แสนสองหมื่นล้านบาท และ JAS 5.6 หมื่นล้านบาท
หุ้นผู้บริโภคที่รวมเฉพาะในรายการที่กล่าวมาทั้งหมดนั้น มี Market Cap. ถึงประมาณ 4 ล้านล้านบาทซึ่งคิดเป็นประมาณ 1 ใน 3 ของตลาดหุ้นทั้งหมด และนั่นก็คือตัวเลขที่แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า ตลาดหุ้นไทยกำลังเคลื่อนไปสู่การเป็นตลาดหุ้นที่มีหุ้นที่มีคุณภาพมากขึ้นเรื่อย ๆ และดังนั้น ค่า PE ของตลาดหุ้นไทยก็ควรต้องสูงขึ้นกว่าอดีตที่ผ่านมาที่อยู่ระดับ PE 10 เท่า