พระเดชพระคุณหลวงปู่ฝั้น อาจาโร พระอริยสงฆ์ผู้ทรงคุณธรรมชั้นสูงสุด อุปนิสัยท่านเป็นคนเรียบร้อย อ่อนโยน นิสัยสุขุมเยือกเย็นและกว้างขวาง ปรารภความเพียรแรงกล้าเด็ดเดี่ยว ไปตามภูผาป่าเขาเพียงลำพัง แสวงหาความสงบวิเวก ยินดีต่อความสงบ เป็นผู้มักน้อยสันโดษ พอใจในปัจจัยสี่ที่ตนมีอยู่แล้วได้มาโดยชอบธรรม เป็นนักต่อสู้เพื่อเอาชนะกิเลส มีสหธรรมิกคือพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตฺยาคโม พระอาจารย์มหาปิ่น ปัญญาพโล พระอาจารย์กู่ ธมฺมทินฺโน พระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ และพระอาจารย์กว่า สุมโน
ท่านมีความเคารพเลื่อมใส ตั้งอยู่ในโอวาทของพระอาจารย์มั่นอย่างถึงใจ ทำความเพียรทั้งกลางวันกลางคืน จนจิตสว่างจ้า ที่จังหวัดเชียงใหม่ พอรุ่งเช้าท่านพระอาจารย์มั่นได้พูดกับท่านว่า “ผมก็ไม่ได้หลับได้นอนเหมือนกัน ส่งจิตดูท่านตลอดทั้งคืน เห็นหรือยังละว่า ศาสนาเจริญที่ไหน ธรรมเจริญที่ใจ ไม่ใช่อยู่ที่ประเทศอินเดียตามที่คิดตื่นบ้าอะไรกัน”
ท่านมีพลังจิตสูง หาผู้เสมอเหมือนได้ยากดังเช่น
๑. สามารถเรียกฟ้าฝนได้เป็นที่อัศจรรย์ ในปีพุทธศักราช ๒๔๘๙ ชาวจังหวัดสกลนคร เกิดทุพภิกขภัยอย่างหนักฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาลจึงเ ข้าไปขอฝนกับท่าน ท่านนั่งสมาธิบนลานกลางแจ้งประมาณครึ่งชั่วโมง ท้องฟ้าที่มีแดดจ้าพลันมีเสียงฟ้าร้องคำราม บังเกิดมีก้อนเมฆบดบังแสงอาทิตย์ มีฝนตกเทลงมาอย่างหนักนานถึง ๓ ชั่วโมง ในปีนั้นฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาล ฃาวบ้านได้ทำนาตามปกติโดยทั่วถึง
๒. ท่านสร้างวัดต้องมีการระเบิดหิน ท่านไม่ต้องการให้หินช่วงไหนแตกร้าว ท่านจะเอาปากกาไปเขียนยันต์ไว้ ตรงจุดนั้นระเบิดจะแรงขนาดไหนหินนั้นก็ไม่แตกร้าว
๓. ท่านนั่งสมาธิใต้ต้นกระบก ลูกกระบกตกลงกับพื้นเสียงดังน่ารำคาญ ท่านกำหนดจิตไม่ให้ลูกกระบกตก ตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา ลูกกระบกต้นนั้นไม่หลุดหล่นลงพื้นอีกเลย
พระอาจารย์กงมา จิรปุญโญ ได้เล่าเรื่องพลังจิตของหลวงปู่ฝั้นไว้ว่า “สมัยหนึ่งหลวงปู่ฝั้นได้ธุดงค์ไปยังจังหวัดจันทบุรี ท่านได้รับนิมนต์ไปแสดงธรรมในงานศพ มีผู้มาฟังธรรมเป็นจำนวนมาก ขณะที่ท่านแสดงธรรมอยู่นั้น มีคนกลุ่มหนึ่ง ไม่สนใจในธรรมที่ท่านแสดง เล่นหมากรุก เมาสุรา ส่งเสียงเอะอะโวยวายรบกวน ท่านส่งกระแสจิตไปปราบพวกขี้เหล้าเหล่านั้น เป็นที่น่าอัศจรรย์เป็นอย่างยิ่ง ขี้เหล้าเหล่านั้นได้หยุดนิ่งไร้การเคลื่อนไหว บางคนยืนอ้าปาก บางคนถือหมากรุกในมือ บางคนคอพับ ไม่สามารถไหวติงได้ จนกระทั่งท่านแสดงธรรมให้พรจบลงเดินทางกลับ ขี้เหล้าเหล่านั้น จึงกลับมาสู่ภาวะความเป็นปกติได้”
เกี่ยวกับพลังจิตของหลวงปู่ฝั้น หลวงตามหาบัวเล่าว่า “ท่านพระอาจารย์ฝั้นสามารถกำหนดจิตให้รถหยุด เครื่องยนต์ไม่ติดอย่างง่ายดาย” ฉะนั้นเวลานั่งรถท่านต้องพยายามทำจิตไม่ให้เพ่งไปที่ เครื่องยนต์ ไม่งั้นเครื่องจะดับทันที และกับเครื่องบินก็เหมือนกัน ตอนสงครามโลกเครื่องบินญี่ปุ่นจะมาทิ้งระเบิด คนมาขอให้ท่านอย่าให้ญี่ปุ่นทำได้ ตอนแรกท่านคิดว่าจะเพ่งให้เครื่องยนต์ดับ แต่คิดได้ว่าหากทำแบบนั้นเครื่องบินต้องตกทหารญี่ปุ่ นต้องตาย ท่านจึงทำวิธีอื่นแทน
อีกครั้งหนึ่งในงานศพท่านพระอาจารย์มั่น พระทั้งหลายกำลังจัดเตรียมงานกันอยู่ มีเด็กน้อยถีบจักรยานไปมาเป็นการรบกวน หลวงปู่ฝั้นท่านจึงพูดขึ้นว่า “เดี๋ยวเราจะดัดนิสัยไอ้เด็กพวกนี้ จะทำให้รถมันล้มแต่ไม่ให้มันเจ็บ” พอท่านพูดจบรถจักรยานที่เด็กถีบก็ล้มลงทันที นี่คือพลังจิตของท่าน แสดงได้หลายอย่างเป็นที่น่าอัศจรรย์เป็นอย่างยิ่ง
ด้วยวัตรปฏิบัติและพลังจิตอันเลิศล้ำ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ จึงทรงให้ความเคารพศรัทธาเป็นอย่างยิ่ง
ท่านเกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๔๒ ตรงกับวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๙ ปีกุน ณ บ้านม่วงไข่ ตำบลพรรณา อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร เป็นบุตรของเจ้าไชยกุมาร (เม้า) และนางนุ้ย (เป็นบุตรีของหลวงประชานุรักษ์)
ปีพุทธศักราช ๒๔๖๑ อายุได้ ๑๙ ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดโพธิ์ทอง บ้านบ่อทอง อำเภอพรรณานิคม ท่านได้เอาใจใส่ศึกษาและเคร่งครัดในพรธะรรมวินัยอย่า งยิ่งตั้งแต่ยังเป็นสามเณรน้อย ถึงขนาดคุณยายของท่านได้พยากรณ์ไว้ว่า “ในภายภาคหน้า ท่านจะเข้าไปอาศัยอยู่ในป่าดงขมิ้นตลอดชีวิต”
ปีพุทธศักราช ๒๔๖๒ ท่านได้อุปสมบทเป็นภิกษุฝ่ายมหานิกาย ที่วัดสิทธิบังคม ตำบลบ้านไร่ อำเภอพรรณานิคม โดยมีพระครูป้อง นนตะเสน เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์นวล เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์สังข์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์
หลังจากออกพรรษาปีนั้นท่านได้ไปอยู่ที่วัดโพธิ์ทอง บ้านบะทอง ได้ปฏิบัติธรรมอบรมกัมมัฏฐาน ตลอดจนการออกธุดงค์อยู่รุกขมูลกับท่านอาจารย์อาญาคูธ รรม
ปีพุทธศักราช ๒๔๖๓ ท่านได้พบท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตฺโต ที่ป่าช้าบ้านม่วงไข่ เมื่อได้ฟังธรรมจากท่านพระอาจารย์มั่น เกิดความเลื่อมใสในสติปัญญาความสามารถของท่านพระอาจา รย์มั่นเป็นอย่างยิ่ง จึงมอบตัวเป็นศิษย์พร้อมกับท่านอาญาคูดี และพระอาจารย์กู่ ธมฺมทินฺโน
ท่านได้ญัตติเป็นพระฝ่ายธรรมยุต เมื่อวันที่ ๒๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๘ เวลา ๑๕.๒๒ น. ณ วัดโพธิ์สมภรณ์ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี โดยมี พระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระรถ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระมุก เป็นพระอนุสาวนาจารย์
หลังจากญัตติแล้วได้ไปจำพรรษาอยู่กับท่านพระอาจารย์ม ั่น ภูริทัตฺโต ที่วักป่าอรัญญวาสี อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย
ปีพุทธศักราช ๒๕๐๗ - ๒๕๑๙ จำพรรษาที่วัดป่าอุดมสมพร อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร
เข้าสู่อมตมหานฤพาน ณ วัดป่าอุดมสมพร อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร เมื่อวันที่ ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๐ สิริอายุรวมได้ ๗๗ ปี ๔ เดือน ๑๕ วัน ๕๒ พรรษา
อัศจรรย์......พลังจิตหลวงปู่ฝั้น.....เรียกฝนตกได้
ท่านมีความเคารพเลื่อมใส ตั้งอยู่ในโอวาทของพระอาจารย์มั่นอย่างถึงใจ ทำความเพียรทั้งกลางวันกลางคืน จนจิตสว่างจ้า ที่จังหวัดเชียงใหม่ พอรุ่งเช้าท่านพระอาจารย์มั่นได้พูดกับท่านว่า “ผมก็ไม่ได้หลับได้นอนเหมือนกัน ส่งจิตดูท่านตลอดทั้งคืน เห็นหรือยังละว่า ศาสนาเจริญที่ไหน ธรรมเจริญที่ใจ ไม่ใช่อยู่ที่ประเทศอินเดียตามที่คิดตื่นบ้าอะไรกัน”
ท่านมีพลังจิตสูง หาผู้เสมอเหมือนได้ยากดังเช่น
๑. สามารถเรียกฟ้าฝนได้เป็นที่อัศจรรย์ ในปีพุทธศักราช ๒๔๘๙ ชาวจังหวัดสกลนคร เกิดทุพภิกขภัยอย่างหนักฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาลจึงเ ข้าไปขอฝนกับท่าน ท่านนั่งสมาธิบนลานกลางแจ้งประมาณครึ่งชั่วโมง ท้องฟ้าที่มีแดดจ้าพลันมีเสียงฟ้าร้องคำราม บังเกิดมีก้อนเมฆบดบังแสงอาทิตย์ มีฝนตกเทลงมาอย่างหนักนานถึง ๓ ชั่วโมง ในปีนั้นฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาล ฃาวบ้านได้ทำนาตามปกติโดยทั่วถึง
๒. ท่านสร้างวัดต้องมีการระเบิดหิน ท่านไม่ต้องการให้หินช่วงไหนแตกร้าว ท่านจะเอาปากกาไปเขียนยันต์ไว้ ตรงจุดนั้นระเบิดจะแรงขนาดไหนหินนั้นก็ไม่แตกร้าว
๓. ท่านนั่งสมาธิใต้ต้นกระบก ลูกกระบกตกลงกับพื้นเสียงดังน่ารำคาญ ท่านกำหนดจิตไม่ให้ลูกกระบกตก ตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา ลูกกระบกต้นนั้นไม่หลุดหล่นลงพื้นอีกเลย
พระอาจารย์กงมา จิรปุญโญ ได้เล่าเรื่องพลังจิตของหลวงปู่ฝั้นไว้ว่า “สมัยหนึ่งหลวงปู่ฝั้นได้ธุดงค์ไปยังจังหวัดจันทบุรี ท่านได้รับนิมนต์ไปแสดงธรรมในงานศพ มีผู้มาฟังธรรมเป็นจำนวนมาก ขณะที่ท่านแสดงธรรมอยู่นั้น มีคนกลุ่มหนึ่ง ไม่สนใจในธรรมที่ท่านแสดง เล่นหมากรุก เมาสุรา ส่งเสียงเอะอะโวยวายรบกวน ท่านส่งกระแสจิตไปปราบพวกขี้เหล้าเหล่านั้น เป็นที่น่าอัศจรรย์เป็นอย่างยิ่ง ขี้เหล้าเหล่านั้นได้หยุดนิ่งไร้การเคลื่อนไหว บางคนยืนอ้าปาก บางคนถือหมากรุกในมือ บางคนคอพับ ไม่สามารถไหวติงได้ จนกระทั่งท่านแสดงธรรมให้พรจบลงเดินทางกลับ ขี้เหล้าเหล่านั้น จึงกลับมาสู่ภาวะความเป็นปกติได้”
เกี่ยวกับพลังจิตของหลวงปู่ฝั้น หลวงตามหาบัวเล่าว่า “ท่านพระอาจารย์ฝั้นสามารถกำหนดจิตให้รถหยุด เครื่องยนต์ไม่ติดอย่างง่ายดาย” ฉะนั้นเวลานั่งรถท่านต้องพยายามทำจิตไม่ให้เพ่งไปที่ เครื่องยนต์ ไม่งั้นเครื่องจะดับทันที และกับเครื่องบินก็เหมือนกัน ตอนสงครามโลกเครื่องบินญี่ปุ่นจะมาทิ้งระเบิด คนมาขอให้ท่านอย่าให้ญี่ปุ่นทำได้ ตอนแรกท่านคิดว่าจะเพ่งให้เครื่องยนต์ดับ แต่คิดได้ว่าหากทำแบบนั้นเครื่องบินต้องตกทหารญี่ปุ่ นต้องตาย ท่านจึงทำวิธีอื่นแทน
อีกครั้งหนึ่งในงานศพท่านพระอาจารย์มั่น พระทั้งหลายกำลังจัดเตรียมงานกันอยู่ มีเด็กน้อยถีบจักรยานไปมาเป็นการรบกวน หลวงปู่ฝั้นท่านจึงพูดขึ้นว่า “เดี๋ยวเราจะดัดนิสัยไอ้เด็กพวกนี้ จะทำให้รถมันล้มแต่ไม่ให้มันเจ็บ” พอท่านพูดจบรถจักรยานที่เด็กถีบก็ล้มลงทันที นี่คือพลังจิตของท่าน แสดงได้หลายอย่างเป็นที่น่าอัศจรรย์เป็นอย่างยิ่ง
ด้วยวัตรปฏิบัติและพลังจิตอันเลิศล้ำ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ จึงทรงให้ความเคารพศรัทธาเป็นอย่างยิ่ง
ท่านเกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๔๒ ตรงกับวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๙ ปีกุน ณ บ้านม่วงไข่ ตำบลพรรณา อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร เป็นบุตรของเจ้าไชยกุมาร (เม้า) และนางนุ้ย (เป็นบุตรีของหลวงประชานุรักษ์)
ปีพุทธศักราช ๒๔๖๑ อายุได้ ๑๙ ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดโพธิ์ทอง บ้านบ่อทอง อำเภอพรรณานิคม ท่านได้เอาใจใส่ศึกษาและเคร่งครัดในพรธะรรมวินัยอย่า งยิ่งตั้งแต่ยังเป็นสามเณรน้อย ถึงขนาดคุณยายของท่านได้พยากรณ์ไว้ว่า “ในภายภาคหน้า ท่านจะเข้าไปอาศัยอยู่ในป่าดงขมิ้นตลอดชีวิต”
ปีพุทธศักราช ๒๔๖๒ ท่านได้อุปสมบทเป็นภิกษุฝ่ายมหานิกาย ที่วัดสิทธิบังคม ตำบลบ้านไร่ อำเภอพรรณานิคม โดยมีพระครูป้อง นนตะเสน เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์นวล เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์สังข์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์
หลังจากออกพรรษาปีนั้นท่านได้ไปอยู่ที่วัดโพธิ์ทอง บ้านบะทอง ได้ปฏิบัติธรรมอบรมกัมมัฏฐาน ตลอดจนการออกธุดงค์อยู่รุกขมูลกับท่านอาจารย์อาญาคูธ รรม
ปีพุทธศักราช ๒๔๖๓ ท่านได้พบท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตฺโต ที่ป่าช้าบ้านม่วงไข่ เมื่อได้ฟังธรรมจากท่านพระอาจารย์มั่น เกิดความเลื่อมใสในสติปัญญาความสามารถของท่านพระอาจา รย์มั่นเป็นอย่างยิ่ง จึงมอบตัวเป็นศิษย์พร้อมกับท่านอาญาคูดี และพระอาจารย์กู่ ธมฺมทินฺโน
ท่านได้ญัตติเป็นพระฝ่ายธรรมยุต เมื่อวันที่ ๒๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๘ เวลา ๑๕.๒๒ น. ณ วัดโพธิ์สมภรณ์ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี โดยมี พระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระรถ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระมุก เป็นพระอนุสาวนาจารย์
หลังจากญัตติแล้วได้ไปจำพรรษาอยู่กับท่านพระอาจารย์ม ั่น ภูริทัตฺโต ที่วักป่าอรัญญวาสี อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย
ปีพุทธศักราช ๒๕๐๗ - ๒๕๑๙ จำพรรษาที่วัดป่าอุดมสมพร อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร
เข้าสู่อมตมหานฤพาน ณ วัดป่าอุดมสมพร อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร เมื่อวันที่ ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๐ สิริอายุรวมได้ ๗๗ ปี ๔ เดือน ๑๕ วัน ๕๒ พรรษา