จากเนื้อข่าวย่อหน้าสุดท้าย จะมีความเป็นไปได้ไหมว่า EU อาจจะยกเลิก VISA ให้กับนักท่องเที่ยวไทย

เมื่อวันที่ 13 พ.ย. ที่ทำเนียบรัฐบาล บารอนเนสแคทเธอรีน แอชตัน (Baroness Catherine Ashton) ผู้แทนระดับสูงของสหภาพยุโรปด้านการต่างประเทศและนโยบายความมั่นคงและรองประธานคณะกรรมาธิการยุโรป เข้าเยี่ยมคารวะ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม   ซึ่งนายกรัฐมนตรีและบารอนเนสแคทเธอรีน แอชตัน ได้หารือถึงสถานการณ์ทางการเมืองของไทย โดยนายกรัฐมนตรีย้ำถึงนโยบายของรัฐบาลในการสร้างความปรองดองในสังคม ซึ่งร่าง พรบ. นิรโทษกรรมเป็นความพยายามหนึ่งที่จะสร้างความปรองดองแต่เมื่อประชาชนและวุฒิสภาไม่เห็นด้วย รัฐบาลก็ยินดีรับฟังและจะไม่นำขึ้นมาพิจารณาอีก สำหรับการประท้วงที่เกิดขึ้น รัฐบาลจะคอยดูแลไม่ให้เกิดเหตุการณ์รุนแรงและหาทางออกด้วยสันติวิธี

ขณะที่บารอนเนสแคทเธอรีน แอชตัน  กล่าวชื่นชมนายกรัฐมนตรีที่มีภาวะผู้นำและสามารถจัดการกับปัญหาต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมให้การสนับสนุนนายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย ซึ่งที่ผ่านมาเห็นบทบาทของนายกรัฐมนตรีในการส่งเสริมประชาธิปไตยแบบสันติ นอกจากนี้ยังได้ชื่นชมไทยที่มีบทบาทไทยในภูมิภาคอาเซียนและสามารถการจัดการกับปัญหาเรื่องพรมแดนกับกัมพูชา โดยคำนึงถึงประโยชน์และความสงบสุขในภูมิภาค บารอนเนสแคทเธอรีน แอชตัน กล่าวว่า สหภาพยุโรปยินดีขยายความร่วมมือกับอาเซียนเพิ่มขึ้นและอยากเห็นภูมิภาคทั้งสองร่วมมือกันใกล้ชิดเช่นนี้ต่อไป

นอกจากนี้ โดยนายกรัฐมนตรีและบารอนเนสแคทเธอรีน แอชตัน ต่างยินดีที่ความสัมพันธ์ระหว่างสหภาพยุโรปและไทยมีความใกล้ชิดและมีพัฒนาการอย่างมาก โดยเฉพาะความคืบหน้าในเรื่องความตกลงการค้าเสรีไทย-สหภาพยุโรปและการเจรจากรอบความตกลงว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนและความร่วมมือรอบด้านไทย- สผหภาพยุโรป(PCA) จะเป็นอีกมิติหนึ่งของความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจระหว่างไทยและสหภาพยุโรป นายกรัฐมนตรีขอบคุณสำหรับการต้อนรับของสหภาพยุโรปเมื่อครั้งนายกรัฐมนตรีเยือนกรุงบรัสเซลส์เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา และยินดีที่นายอันโทนิโอ ทาญานี (Antonio Tajani)รองประธานคณะกรรมาธิการยุโรป พร้อมนักธุรกิจสำคัญของสหภาพยุโรปจะมาเยือนไทยในสัปดาห์หน้าจะเป็นโอกาสอันดีระหว่างไทยและสหภาพยุโรปในการแสวงหาความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจให้เพิ่มพูนยิ่งขึ้น  

ทั้งสองยังได้หารือถึงความสนใจของไทยในการได้รับการยกเว้นการตรวจลงตราเชงเก็น โดยนายกรัฐมนตรีเชื่อว่าหากสหภาพยุโรปยกเว้นการตรวจลงตราเชงเก็นให้ไทยจะช่วยกระตุ้นการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว ประชาชนของไทยและยุโรปสามารถติดต่อกันได้อย่างใกล้ชิดและสะดวกมากยิ่งขึ้น เห็นได้จากการที่ญี่ปุ่นยกเว้นวีซ่าให้หนังสือเดินทางไทย ส่งผลให้ตัวเลขนักท่องเที่ยวไทยกระโดดสูงขึ้นถึงร้อยละ 85

http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNNE5ETXpOalV4TWc9PQ%3D%3D&sectionid

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่