เอพี – ซากลูกสุนัขในผ้าห่มที่ถูกเผาไฟ สุนัขที่เดินเตร็ดเตร่ไปตามท้องถนนขณะขากรรไกรแหว่งวิ่น แมวกระดูกสันหลังแตกละเอียดนอนพะงาบๆ อยู่ด้านล่างของอพาร์ตเมนต์ สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงเศษเสี้ยวหนึ่งของความโหดร้ายทารุณที่เกิดขึ้นที่โรมาเนีย ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ที่ไม่ค่อยมีใครสังเกตเห็น
ชาติสหภาพยุโรปที่อยู่ในสภาพย่ำแย่ทางเศรษฐกิจ และการบริหารปกครองแห่งนี้ กำลังเผชิญปัญหาการทารุณสัตว์ หลังเกิดเหตุเด็กชายวัย 4 ขวบ ถูกหนึ่งในสุนัขจรจัดหลายหมื่นตัวในกรุงบูคาเรสต์ขย้ำตายเมื่อเดือนสิงหาคม บรรดาตำรวจ และองค์กรพิทักษ์สัตว์ต่างตั้งข้อสังเกตว่า การใช้ความรุนแรงกับสัตว์ที่เกิดขึ้นในช่วงนี้ มีชนวนเหตุมาจากความแค้น และการนำเสนอข่าวการตายของเด็กน้อยที่เสียชีวิตอย่างปลุกเร้าอารมณ์ความรู้สึกอันสุดขีด
ในช่วง 6 สัปดาห์ หลังข่าวการตายของเด็กชายคนี้ องค์กรพิทักษ์สัตว์ “โฟร์พาวส์” (สัตว์สี่อุ้งเท้า) ก็ได้รับแจ้งเหตุว่ามีการทำร้ายสัตว์อย่างโหดร้ายป่าเถื่อนทั้งหมด 15 กรณี เมื่อเทียบกับก่อนหน้านี้ ที่เกิดเหตุคล้ายๆ กันเพียง 6 ครั้งใน 9 เดือน
อย่างไรก็ตาม การทำร้ายสัตว์เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นมานานในโรมาเนีย ประเทศที่มีกฎหมายคุ้มครองสัตว์ไม่เข้มงวด และผู้คนยังต้องต่อสู้ดิ้นรนกับความบอบช้ำจากระบอบปกครองคอมมิวนิสต์อันโหดร้าย ตลอดจนความอันเกิดจากโกรธเคืองพิษเศรษฐกิจ และความไร้ประสิทธิภาพของรัฐบาล
ฟรอลิน ทิวโดส นักจิตวิทยากล่าวว่า “เนื่องจากคนต้องเผชิญความเครียดในสังคมมากขึ้น จึงเกิดการใช้ความรุนแรงกับสัตว์ โดยเฉพาะเมื่อผู้คนไม่กลัวเกรงกฎหมาย” เธอเสริมว่า “เมื่อหมาตัวหนึ่งกัดเด็กตาย คนก็คิดว่าควรจะลงโทษสัตว์ตัวอื่นๆ ด้วย”
ทางด้าน วลาดิมีร์ มานาสตีร์เรนู หัวหน้าฝ่ายปกครองของรัฐ ที่มีหน้าที่คุ้มครองความปลอดภัยของสัตว์ สนับสนุนกฎหมายใหม่ที่กำหนดให้จับสุนัขข้างถนนไปขัง และหากไม่มีผู้ไปขอมาเลี้ยงก็จะถูกนำไปฆ่า
“เราจำเป็นต้องเอาสุนัขพวกนี้ออกไปจากท้องถนน เพื่อยุติการระบายความโกรธแค้นกับสัตว์” เขาให้สัมภาษณ์เอพี
ทั้งนี้ ประชาชนทั่วภูมิภาคยุโรปตะวันออก ที่ยังคงยึดมั่นในประเพณีชนบทนั้น ไม่ค่อยจะตระหนักถึงสิทธิของสัตว์นัก
คุณยาย ออริกา อังเกล ถือรูปภาพของหลานชายวัย 4 ขวบ ไอโอนัต อังเกล ที่ถูกสุนัขจรจัดในสวนสาธารณะกัดจนตาย
ในปี 2007 บัลแกเรีย และโรมาเนียได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป และให้คำมั่นว่าจะใช้วิธีการฆ่าปศุสัตว์อย่างมีมนุษยธรรม ตามบรรทัดฐานของสหภาพยุโรป แต่ทุกวันนี้ เกษตรกรก็ยังคงใช้วิธีเชือดคอหมูโดยไม่ทำให้มันสลบเสียก่อน ในการเตรียมงานฉลองช่วงเทศกาลคริสต์มาสตามประเพณีที่เคยทำกัน บรรดาองค์กรพิทักษ์สัตว์ชี้
ทิวโดสบอกว่า “พวกเขาคิดว่า จะปล่อยให้หมูหลับก่อนแล้วค่อยฆ่าไม่ได้”... “มันควรรู้ตัวว่ามันกำลังถูกเชือด”
แม้จะมีทัศนคติที่ก้าวร้าว แต่การใช้ความรุนแรงกับสัตว์ก็ไม่ใช่สิ่งที่ปฏิบัติกันทั่วไป โดยเฉพาะในเมืองหลวงของประเทศแถบคาบสมุทรบอลข่านเหล่านี้
ที่กรุงเบลเกรด ของเซอร์เบีย กรุงบูคาเรสต์ ของโรมาเนีย และกรุงโซเฟียของบัลแกเรีย ประชาชนจะประคบประหงมสุนัขของพวกเขา และดูแลแมวของตัวเองอย่างดี อีกทั้งคนในเมืองเหล่านี้จำนวนมากที่นำสุนัขจรจัดไปเลี้ยง และดูแล
นอกจากนี้ ที่กรุงบูคาเรสต์ ก็มีเหล่าผู้รักสัตว์ออกมาประท้วงกันอย่างเอะอะโวยวาย ภายหลังที่รัฐสภาโรมาเนียลงมติเห็นชอบกฎหมายการุณยฆาตกับสุนัข
“ไม่ใช่ว่าทุกคนเป็นคนชั่วหรอก” กูกี บาร์บิวเซนู ผู้บริหารโครงการโฟร์พาวส์กล่าว อีกทั้งเสริมว่า “ปัญหาคืออิทธิพลของสื่อปลุกให้คนที่เกลียดชังสัตว์กล้าลงมือทำเรื่องโหดร้ายมากกว่า"
ที่มา
http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9560000149739
กระแสเกลียดชัง- ทารุณสัตว์ ปะทุในโรมาเนีย หลังเด็กถูกหมาจรจัดกัดตาย
เอพี – ซากลูกสุนัขในผ้าห่มที่ถูกเผาไฟ สุนัขที่เดินเตร็ดเตร่ไปตามท้องถนนขณะขากรรไกรแหว่งวิ่น แมวกระดูกสันหลังแตกละเอียดนอนพะงาบๆ อยู่ด้านล่างของอพาร์ตเมนต์ สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงเศษเสี้ยวหนึ่งของความโหดร้ายทารุณที่เกิดขึ้นที่โรมาเนีย ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ที่ไม่ค่อยมีใครสังเกตเห็น
ชาติสหภาพยุโรปที่อยู่ในสภาพย่ำแย่ทางเศรษฐกิจ และการบริหารปกครองแห่งนี้ กำลังเผชิญปัญหาการทารุณสัตว์ หลังเกิดเหตุเด็กชายวัย 4 ขวบ ถูกหนึ่งในสุนัขจรจัดหลายหมื่นตัวในกรุงบูคาเรสต์ขย้ำตายเมื่อเดือนสิงหาคม บรรดาตำรวจ และองค์กรพิทักษ์สัตว์ต่างตั้งข้อสังเกตว่า การใช้ความรุนแรงกับสัตว์ที่เกิดขึ้นในช่วงนี้ มีชนวนเหตุมาจากความแค้น และการนำเสนอข่าวการตายของเด็กน้อยที่เสียชีวิตอย่างปลุกเร้าอารมณ์ความรู้สึกอันสุดขีด
ในช่วง 6 สัปดาห์ หลังข่าวการตายของเด็กชายคนี้ องค์กรพิทักษ์สัตว์ “โฟร์พาวส์” (สัตว์สี่อุ้งเท้า) ก็ได้รับแจ้งเหตุว่ามีการทำร้ายสัตว์อย่างโหดร้ายป่าเถื่อนทั้งหมด 15 กรณี เมื่อเทียบกับก่อนหน้านี้ ที่เกิดเหตุคล้ายๆ กันเพียง 6 ครั้งใน 9 เดือน
อย่างไรก็ตาม การทำร้ายสัตว์เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นมานานในโรมาเนีย ประเทศที่มีกฎหมายคุ้มครองสัตว์ไม่เข้มงวด และผู้คนยังต้องต่อสู้ดิ้นรนกับความบอบช้ำจากระบอบปกครองคอมมิวนิสต์อันโหดร้าย ตลอดจนความอันเกิดจากโกรธเคืองพิษเศรษฐกิจ และความไร้ประสิทธิภาพของรัฐบาล
ฟรอลิน ทิวโดส นักจิตวิทยากล่าวว่า “เนื่องจากคนต้องเผชิญความเครียดในสังคมมากขึ้น จึงเกิดการใช้ความรุนแรงกับสัตว์ โดยเฉพาะเมื่อผู้คนไม่กลัวเกรงกฎหมาย” เธอเสริมว่า “เมื่อหมาตัวหนึ่งกัดเด็กตาย คนก็คิดว่าควรจะลงโทษสัตว์ตัวอื่นๆ ด้วย”
ทางด้าน วลาดิมีร์ มานาสตีร์เรนู หัวหน้าฝ่ายปกครองของรัฐ ที่มีหน้าที่คุ้มครองความปลอดภัยของสัตว์ สนับสนุนกฎหมายใหม่ที่กำหนดให้จับสุนัขข้างถนนไปขัง และหากไม่มีผู้ไปขอมาเลี้ยงก็จะถูกนำไปฆ่า
“เราจำเป็นต้องเอาสุนัขพวกนี้ออกไปจากท้องถนน เพื่อยุติการระบายความโกรธแค้นกับสัตว์” เขาให้สัมภาษณ์เอพี
ทั้งนี้ ประชาชนทั่วภูมิภาคยุโรปตะวันออก ที่ยังคงยึดมั่นในประเพณีชนบทนั้น ไม่ค่อยจะตระหนักถึงสิทธิของสัตว์นัก
ในปี 2007 บัลแกเรีย และโรมาเนียได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป และให้คำมั่นว่าจะใช้วิธีการฆ่าปศุสัตว์อย่างมีมนุษยธรรม ตามบรรทัดฐานของสหภาพยุโรป แต่ทุกวันนี้ เกษตรกรก็ยังคงใช้วิธีเชือดคอหมูโดยไม่ทำให้มันสลบเสียก่อน ในการเตรียมงานฉลองช่วงเทศกาลคริสต์มาสตามประเพณีที่เคยทำกัน บรรดาองค์กรพิทักษ์สัตว์ชี้
ทิวโดสบอกว่า “พวกเขาคิดว่า จะปล่อยให้หมูหลับก่อนแล้วค่อยฆ่าไม่ได้”... “มันควรรู้ตัวว่ามันกำลังถูกเชือด”
แม้จะมีทัศนคติที่ก้าวร้าว แต่การใช้ความรุนแรงกับสัตว์ก็ไม่ใช่สิ่งที่ปฏิบัติกันทั่วไป โดยเฉพาะในเมืองหลวงของประเทศแถบคาบสมุทรบอลข่านเหล่านี้
ที่กรุงเบลเกรด ของเซอร์เบีย กรุงบูคาเรสต์ ของโรมาเนีย และกรุงโซเฟียของบัลแกเรีย ประชาชนจะประคบประหงมสุนัขของพวกเขา และดูแลแมวของตัวเองอย่างดี อีกทั้งคนในเมืองเหล่านี้จำนวนมากที่นำสุนัขจรจัดไปเลี้ยง และดูแล
นอกจากนี้ ที่กรุงบูคาเรสต์ ก็มีเหล่าผู้รักสัตว์ออกมาประท้วงกันอย่างเอะอะโวยวาย ภายหลังที่รัฐสภาโรมาเนียลงมติเห็นชอบกฎหมายการุณยฆาตกับสุนัข
“ไม่ใช่ว่าทุกคนเป็นคนชั่วหรอก” กูกี บาร์บิวเซนู ผู้บริหารโครงการโฟร์พาวส์กล่าว อีกทั้งเสริมว่า “ปัญหาคืออิทธิพลของสื่อปลุกให้คนที่เกลียดชังสัตว์กล้าลงมือทำเรื่องโหดร้ายมากกว่า"
ที่มา http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9560000149739