จากมติชนออนไลน์
เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม หนังสือพิมพ์ลอสแองเจลิสไทม์ส ในสหรัฐอเมริกา รายงานว่า บรรดากลุ่มอนุรักษ์สัตว์ทั้งในสหรัฐอเมริกาและยุโรป พากันประท้วงทางการโรมาเนีย ที่บังคับใช้กฎหมายเปิดทางให้ฆ่าสุนัขจรจัดทุกตัว ที่ถูกจับได้และไม่มีผู้ติดตามอ้างความเป็นเจ้าของในระยะเวลา 2 สัปดาห์ขึ้นไป หลังจากกฎหมายดังกล่าวได้รับความเห็นชอบจากศาลรัฐธรรมนูญโรมาเนียให้นำมาบังคับใช้ได้เมื่อปลายเดือนกันยายนที่ผ่านมา
บรรดากลุ่มอนุรักษ์สัตว์พากันประณามมาตรการดังกล่าวนี้ว่า"ไม่มีมนุษยธรรม" และ "ไม่มีประสิทธิภาพ" ในการแก้ปัญหาบรรดาสุนัขจรจัดอย่างน้อย 64,000 ตัวที่ถูกทอดทิ้งเพ่นพ่านทั่วกรุงบูคาเรสต์ เมืองหลวงของประเทศ โดยเสนอให้ทางการหันมาเลือกใช้วิธีการทำหมัน ฉีดยาป้องกันโรคและจัดทำระบบรับสุนัขไปเลี้ยงที่มีประสิทธิภาพแทน
รายงานข่าวระบุว่าความพยายามที่จะออกกฎหมายกำจัดสุนัขจรจัดรอบใหม่นี้เกิดขึ้นเมื่อเกิดกรณี
เด็กชาย ยอ-นุต แองเฮล วัย 4 ขวบถูกกลุ่มสุนัขถูกกลุ่มสุนัขจรจัดจู่โจมรุมทำร้ายระหว่างเล่นอยู่กับพี่ชายในสวนสาธารณะ และเสียชีวิตในที่สุดเมื่อวันที่ 2 กันยายนที่ผ่านมา นอกเหนือจากที่ในช่วง 8 เดือนที่ผ่านมาของปีนี้ มีผู้ต้องเข้ารับการรักษาอาการถูกสุนัขกัดมากถึง 10,000 คนแล้ว ก่อนหน้านี้ เมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา ผู้ป่วยสตรีรายหนึ่งเสียชีวิตเพราะสุนัขจรจัดที่เพ่นพ่านเข้าไปทำร้ายถึงในสนามภายในโรงพยาบาลเมื่อ 2 ปีก่อน และยังเคยมีนักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่นรายหนึ่งถูกกลุ่มสุนัขรุมทำร้ายถึงตายเมื่อปี 2549 ที่ผ่านมา
ทั้งนี้ จำนวนสุนัขจรจัดในบูคาเรสต์ เป็นผลพวงมาจากการพัฒนาสังคมเมืองที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในยุคคอมมิวนิสต์ปกครองประเทศ เมื่อบ้านเรือนที่มีบริเวณและรั้วรอบขอบชิด ถูกเปลี่ยนแปลงให้เป็นอพาร์ตเมนท์ หลายชั้น เพื่อเปิดโอกาสให้ทุกคนมีที่พักอาศัยอย่างเท่าเทียมกัน ส่งผลให้จำนวนสุนัขที่ถูกทอดทิ้ง ไม่มีที่อยู่ถาวรเพิ่มขึ้นอย่างพรวดพราด ในขณะเดียวกันก็ไม่ได้รับเหลียวและจัดการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างถูกต้องตั้งแต่แรกเริ่ม
ฮือประท้วงโรมาเนียผ่านกฎหมายฆ่า "หมาจรจัด"
เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม หนังสือพิมพ์ลอสแองเจลิสไทม์ส ในสหรัฐอเมริกา รายงานว่า บรรดากลุ่มอนุรักษ์สัตว์ทั้งในสหรัฐอเมริกาและยุโรป พากันประท้วงทางการโรมาเนีย ที่บังคับใช้กฎหมายเปิดทางให้ฆ่าสุนัขจรจัดทุกตัว ที่ถูกจับได้และไม่มีผู้ติดตามอ้างความเป็นเจ้าของในระยะเวลา 2 สัปดาห์ขึ้นไป หลังจากกฎหมายดังกล่าวได้รับความเห็นชอบจากศาลรัฐธรรมนูญโรมาเนียให้นำมาบังคับใช้ได้เมื่อปลายเดือนกันยายนที่ผ่านมา
บรรดากลุ่มอนุรักษ์สัตว์พากันประณามมาตรการดังกล่าวนี้ว่า"ไม่มีมนุษยธรรม" และ "ไม่มีประสิทธิภาพ" ในการแก้ปัญหาบรรดาสุนัขจรจัดอย่างน้อย 64,000 ตัวที่ถูกทอดทิ้งเพ่นพ่านทั่วกรุงบูคาเรสต์ เมืองหลวงของประเทศ โดยเสนอให้ทางการหันมาเลือกใช้วิธีการทำหมัน ฉีดยาป้องกันโรคและจัดทำระบบรับสุนัขไปเลี้ยงที่มีประสิทธิภาพแทน
รายงานข่าวระบุว่าความพยายามที่จะออกกฎหมายกำจัดสุนัขจรจัดรอบใหม่นี้เกิดขึ้นเมื่อเกิดกรณี เด็กชาย ยอ-นุต แองเฮล วัย 4 ขวบถูกกลุ่มสุนัขถูกกลุ่มสุนัขจรจัดจู่โจมรุมทำร้ายระหว่างเล่นอยู่กับพี่ชายในสวนสาธารณะ และเสียชีวิตในที่สุดเมื่อวันที่ 2 กันยายนที่ผ่านมา นอกเหนือจากที่ในช่วง 8 เดือนที่ผ่านมาของปีนี้ มีผู้ต้องเข้ารับการรักษาอาการถูกสุนัขกัดมากถึง 10,000 คนแล้ว ก่อนหน้านี้ เมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา ผู้ป่วยสตรีรายหนึ่งเสียชีวิตเพราะสุนัขจรจัดที่เพ่นพ่านเข้าไปทำร้ายถึงในสนามภายในโรงพยาบาลเมื่อ 2 ปีก่อน และยังเคยมีนักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่นรายหนึ่งถูกกลุ่มสุนัขรุมทำร้ายถึงตายเมื่อปี 2549 ที่ผ่านมา
ทั้งนี้ จำนวนสุนัขจรจัดในบูคาเรสต์ เป็นผลพวงมาจากการพัฒนาสังคมเมืองที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในยุคคอมมิวนิสต์ปกครองประเทศ เมื่อบ้านเรือนที่มีบริเวณและรั้วรอบขอบชิด ถูกเปลี่ยนแปลงให้เป็นอพาร์ตเมนท์ หลายชั้น เพื่อเปิดโอกาสให้ทุกคนมีที่พักอาศัยอย่างเท่าเทียมกัน ส่งผลให้จำนวนสุนัขที่ถูกทอดทิ้ง ไม่มีที่อยู่ถาวรเพิ่มขึ้นอย่างพรวดพราด ในขณะเดียวกันก็ไม่ได้รับเหลียวและจัดการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างถูกต้องตั้งแต่แรกเริ่ม