โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
กลยุทธ์ COPY ความสำเร็จบริษัทในเครือปตท.จะนำพา “ไออาร์พีซี” หลุดพ้น “ความขี้เหร่” “ตั้ว-สุกฤตย์ สุรบถโสภณ” เอ็มดีคนใหม่ เชื่อเช่นนั้น
ผลการดำเนินงานที่ “ผันผวน” ตามทิศทางราคาน้ำมัน ยังคงคอยกดดันให้ บมจ.ไออาร์พีซี หรือ IRPC บริษัทในเครือของปตท.ที่ถือหุ้นในสัดส่วน 38.51 เปอร์เซ็นต์ (ตัวเลข ณ วันที่ 6 มี.ค.2556) ตกอยู่ในสภาพ “ขี้เหร่ที่สุด” ในครอบครัวปตท.
จากการตรวจสภาพการเงินย้อนหลัง ในช่วงปี 2553-2555 พบว่า บริษัทเคยโกย “กำไรสุทธิสูงสุด” ในปี 2553 จำนวน 6,182.69 ล้านบาท สมัย “ดร.ไพรินทร์ ชูโชติถาวร” เป็นผู้นำ ก่อนจะลดเหลือ 4,106.77 ล้านบาท ในปี 2554 และขาดทุน 958.88 ล้านบาท ในปี 2555 ช่วง “ต้น-อธิคม เติบศิริ” นั่งบริหารงาน ล่าสุด 9 เดือนของปี 2556 บริษัทสามารถพลิกเป็น “กำไรสุทธิ” 41 ล้านบาท เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีผลขาดทุน 746 ล้านบาท คิดเป็นขาดทุนต่อหุ้น 0.04 บาท
ทว่าการปรับตัวลดลงของผลประกอบการในปี 2554-2555 “อธิคม” ได้นำเสนอกลยุทธ์ นำที่ดินเปล่ากว่า 15,000 ไร่ มาสร้างประโยชน์สูงสุด ถือเป็นการ “กำจัดจุดอ่อน” ทางหนึ่ง อาทิเช่น ที่ดินแถวอำเภอ บ้านค่าย จังหวัดสงขลา 2,500 ไร่ และอำเภอวังจันทร์ 3,000 ไร่ เป็นต้น
“อดีตผู้บริหารหมายเลข 1” เคยเล่า “จุดเด่น” ของ ไออาร์พีซี ให้ “กรุงเทพธุรกิจ Biz Week” ฟังว่า บริษัทแห่งนี้มีสินทรัพย์ “มหาศาล” แต่ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้เต็มที เปรียบเสมือน “คนอ้วนที่มีไขมันเยอะ ทำให้ไม่สามารถทำงานได้เต็มกำลัง” เขายังเปรียบ “ไออาร์พีซี” เหมือน “ผู้หญิงตั้งครรรภ์” ที่มีลูกเล็กๆต้องคอยดูแล ทำให้ความสามารถในการทำงานลดลง
เกือบ 2 เดือนแล้วที่ “ไออาร์พีซี” ปรับเปลี่ยนตัว “ขุนพล” หลังหุ้นใหญ่ปฎิบัติการณ์สลับก้าอี้ ด้วยการยกตำแหน่ง “ผู้นำไออาร์พีซี” ให้ “บุรุษวัย 54 ปี” “ตั้ว-สุกฤตย์ สุรบถโสภณ” อดีตรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ หน่วยธุรกิจปิโตรเคมีและการกลั่น” บมจ.ปตท.หรือ PTT ดีกรีปริญญาตรี เกียรตินิยมอันดับ 2 คณะวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต สาขาวิศวกรรมเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมอบตำแหน่งของ “สุกฤตย์” ให้ “อธิคม” ลูกหม้อเครือปตท.กว่า 20 ปี
“ผมรับรู้มาตลอดว่า หลายคนเป็นห่วงไออาร์พีซี ด้ายความที่เราเป็นบริษัทเดียวในเครือปตท.ที่มีผลการดำเนินงานในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2556 “ขาดทุน” จำนวน 1,000 ล้านบาท แต่วันนี้ผมกำลังวางแผนเตรียมพลิกฟื้นกลับมามี
“กำไรสุทธิ” เหมือนเดิม อย่างน้อยสัญญาณดีเริ่มมาแล้ว หลังไตรมาส 3/2556 บริษัทมี “กำไรสุทธิ” 1,047 ล้านบาท ขณะที่ 9 เดือนที่ผ่านมา ยังพลิกเป็นกำไรสุทธิ 41 ล้านบาท” “สุกฤตย์ สุรบถโสภณ” กรรมการผู้จัดการใหญ่ “ไออาร์พีซี” พูดกลางงานเปิดวิสัยทัศน์ครั้งแรก
เขา เล่าว่า “หลายคนอาจไม่คุ้นหน้าผม แต่นั่งทำงานในเครือปตท.มานานกว่า 33 ปีแล้ว เริ่มงานครั้งแรกใน “บมจ.ไทยออยล์” หรือ TOP ทำนานถึง 20 กว่า ปี ก่อนจะย้ายมานั่งรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ หน่วยธุรกิจปิโตรเคมีและการกลั่นของปตท.ประมาณ 4 ปี
ถามว่า รู้สึกหนักใจหรือไม่ที่ต้องเข้ามาเป็นผู้นำองค์กรแห่งนี้? “เอ็มดีใหญ่” บอกกับ “กรุงเทพธุรกิจ Biz Week” ว่า ไม่หนักใจเลย (ยิ้ม) ตรงข้ามกลับรู้สึก “สนุก” ที่ผ่านมาเห็นการทำงานของบริษัทในเครือปตท.มาตลอด ทำให้มีประสบการณ์ในการทำงานค่อนข้างเยอะ “ผมเห็นโครงการดีๆของบริษัทในเครือมาเยอะ ฉะนั้นอะไรที่ดีเราจะนำมาปรับใช้กับธุรกิจของไออาร์พีซี”
การนำโครงการดีๆมาปรับใช้กับองค์กรแห่งนี้ เปรียบเสมือน “เดินทางลัด” เพื่อดึงเอาศักยภาพของสินทรัพย์ และบุคลากรให้เกิดผลประโยชน์เร็วที่สุด ถือเป็นการสร้าง “มูลค่าเพิ่ม” ให้เกิดขึ้นกับไออาร์พีซีเร็วที่สุด เขาย้ำ
“สุกฤตย์” เล่าถึงแผนงานระยะยาวในช่วง 7 ปีข้างหน้า (2557-2563) ว่า อยากนำพาองค์กรแห่งนี้ขึ้นยืนเคียงบริษัทอื่นๆในเครือปตท.ที่สำคัญจะต้องไม่น้อยหน้าใคร ทั้งในแง่ของ “รายได้และกำไร” เป้าหมายของเรา คือ ในปี 2563 ต้องมี “กำไรสทุธิ 10,000 ล้านบาท”
แม้เราจะเคลื่อนตัวช้ากว่าเพื่อนๆ แต่จะพยายามเร่งฝีเท้าให้ทันเพื่อน ที่ผ่านมาเรามีผู้บริหารหลายรุ่นเข้ามาสานต่องาน ผมเข้ามาเป็นรุ่นที่ 4 ภาระหน้าที่หลัก คือ สร้างความแข็งแกร่งจากสินทรัพย์ที่มีอยู่ให้ดีที่สุด และต้องก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดให้ได้
วางกลยุทธ์พลิกฟื้นไออาร์พีซีอย่างไร? เขาตอบคำถามนี้ว่า ปัจจุบันโครงการฟีนิกซ์มีความคืบหน้าไปแล้วกว่า 55 เปอร์เซ็นต์ โดยโครงการเพิ่มมูลค่าเพื่อผลิตภัณฑ์สะอาด หรือ UHV ที่ใช้เงินลงทุนสูงสุดประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ของโครงการฟีนิกซ์ทั้งหมด ล่าสุดมีความคืบหน้าในการก่อสร้างแล้ว 48 เปอร์เซ็นต์ คาดว่าจะแล้วเสร็จในไตรมาส 3 ปี 2558
เท่ากับว่า “ไออาร์พีซี” จะสามารถใช้กำลังการผลิตของหน่วยกลั่นได้เต็มประสิทธิภาพ โดยเราจะสามารถผลิต Propylene เพิ่มขึ้น 320,000 ตันต่อปี รวมถึงผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่สามารถต่อยอดธุรกิจปิโตรเคมีได้อีกจำนวนมาก นั่นแปลว่า บริษัทจะมี “กำไรขั้นต้น” หรือ GIM เพิ่มขึ้นประมาณ 2-4 เหรียญต่อบาร์เรล
เราคงไม่นั่งรอให้โครงการเพิ่มมูลค่าเพื่อผลิตภัณฑ์สะอาดแล้วเสร็จในปี 2 ปีข้างหน้า เพื่อเพิ่มกำไรขั้นต้นเพียงอย่างเดียว แต่บริษัทจะพัฒนาศักยภาพองค์กร เพื่อมุ่งหน้าสู่ความเป็นเลิศ ด้วย 3 กลยุทธ์ ข้อแรก คือ “การปฏิบัติการเป็นเลิศ” หรือ Operational Excellence เราจะปรับปรุงประสิทธิภาพ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ด้วยการปรับปรุงการดำเนินงาน ด้านการผลิตทั้งระบบ
ข้อสอง “การค้าเป็นเลิศ” หรือ Commercial Excellence บริษัทจะเพิ่มมูลค่าการผลิต และสร้างรายได้ใหม่เพิ่มขึ้นจากธุรกิจเดิม รวมทั้งขยายเข้าสู่ตลาดผลิตภัณฑ์เกรดพิเศษที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น ข้อสุดท้าย คือ “บุคลากรเป็นเลิศ” หรือ Human Resource Excellence เราจะพัฒนาระบบและประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรในองค์กร ซึ่งเป็นกลไกสำคัญที่สุดในการขับเคลื่อนการดำเนินงานต่างๆ ให้สอดคล้องกับกลยุทธ์และทิศทางการดำเนินงาน
กลยุทธ์เหล่านี้จะทำให้กำไรขั้นต้นของบริษัทเพิ่มขึ้นอีก 1-1.5 เหรียญต่อบาร์เรล ภายในระยะเวลา 18 เดือน เราเชื่อว่าว่า ภายในปี 2557 กำไรขั้นต้น (ไม่รวมสต็อก) อยู่ที่ 9.5 เหรียญต่อบาร์เรล เทียบกับกำไรขั้นต้นในปี 2556 ที่อาจอยู่ระดับ 8 เหรียญต่อบาร์เรล (ไม่รวมสต๊อก) “กำไรขั้นต้น” อยู่ภายใต้สมมุติฐานราคาน้ำมันดิบดูไบ 105 เหรียญต่อบาร์เรล และต้นทุนการผลิตที่ 8 เหรียญต่อบาร์เรล
“นายคนใหม่” เล่าต่อว่า เรายังมีโครงการที่จะร่วมทุนกับ “บมจ.พีทีที โกลบอล เคมิคอล” หรือ PTTGC เพื่อทำโครงการต่อยอดธุรกิจ (post phoenix) จำนวน 5 โครงการ มูลค่ารวมประมาณ 65,000ล้านบาท เราจะกู้เงินจากสถาบันการเงิน 50 เปอร์เซ็นต์ ที่เหลือจะมาจากการร่วมทุน โดยจะมาจากไออาร์พีซีประมาณ 15,000 ล้านบาท คาดว่า โครงการต่อยอดธุรกิจจะแล้วเสร็จในปี 2561 ซึ่งจะสามารถสร้างกำไรขั้นต้นเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 1.5 - 3 เหรียญต่อบาร์เรล
ในช่วงต้นปี 2557 บริษัทคงได้ข้อสรุป ในการร่วมทุน 4 โครงการ ประกอบด้วย โครงการผลิตพาราไซลีน (PX; Para-xylene) กำลังการผลิต 1.2 ล้านตันต่อปี โครงการโพลิโพรพิลีน คอมปาวด์ (PPC; Polypropylene Compound) กำลังการผลิต 1.5 แสนตันต่อปี โครงการโพลิออล (Polyol) กำลังการผลิต 1 แสนตันต่อปี และโครงการสไตรีน โมโนเมอร์ (Styrene Monomer) กำลังการผลิต 3.5 แสนตันต่อปี
ส่วนโครงการอะคริลิกแอซิค (AA; Acrylic Acids) กำลังการผลิต 1 แสนตันต่อปี และโครงการซุปเปอร์แอฟซอฟท์แบนท์ โพลิเมอร์ (SAP; Super Absorbent Polymer) กำลังการผลิต 80,000 ตันต่อปี เรากำลังจะหารือกับทาง PTTGC ถามว่า แต่ละโครงการควรมีอัตราผลตอบแทนจากการลงทุน (Return of Investment Capital :ROIC เท่าไร ตัวเลขที่ 14 เปอร์เซ็นต์ ดีที่สุด
ถามถึงแผนใช้เงินลงทุนในช่วง 5 ปีข้างหน้า (2557-2561) เราคงใช้เงินลงทุนประมาณ 110,000ล้านบาท โดยเงินลงทุนของบริษัทจะมาจากกำไรก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย หรือ EBITDA ที่มีอยู่ประมาณ 70,000 ล้านบาท ที่เหลืออีก 40,000 ล้านบาท เราจะกู้เงินแบงก์หรือออกหุ้นกู้ ส่วนเรื่องหนี้สินที่จะต้องคืนในช่วง 5 ปีข้างหน้า จำนวน 45,000 ล้านบาท ในปี 2557 เราจะมีหนี้ครบกำหนดชำระ 16,000 ล้านบาท ตอนนี้ได้เจรจากับธนาคารในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้แล้ว
“เอ็มดีใหญ่” โยนเรื่องการเงินให้ “ดวงกมล เศรษฐธนัง” รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายบัญชีและการเงิน “ไออาร์พีซี” พูดต่อว่า ในช่วงไตรมาส 4/2556 บริษัทอาจมีกำไรพิเศษประมาณ 600-700 ล้านบาท จากการขายที่ดินมากกว่า 150 ไร่ ให้กับโรงไฟฟ้าไออาร์พีซีกรีน ซึ่งเป็นบริษัทย่อย
สำหรับธุรกิจนิคมอุตสาหกรรมบ้านค่าย จังหวัดระยอง พื้นที่ 1,350 ไร่ คาดว่าจะเปิดขายได้ในช่วงต้นปี 2557 คาดว่าจะได้รับใบอนุญาตให้ดำเนินธุรกิจนิคมอุตสาหกรรมในช่วงปลายปี 2556 จากการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือกนอ.
“สุกฤตย์” พูดถึงราคาหุ้น IRPC ว่า วันนี้ยังต่ำกว่าพื้นฐาน คุณลองดูหุ้นตัวอื่นๆ ในกลุ่มปิโตรเคมีและ การกลั่นสิ ราคาหุ้นเขาสูงกว่ามูลค่าหุ้นทางบัญชีต่อหุ้นเกือบทุกตัว วันนี้นักลงทุนคงกำลังรอให้ “ไออาร์พีซี” พัฒนาศักยภาพ สร้างมูลค่าเพิ่มให้ได้เสียก่อนจึงค่อยเข้ามาลงทุน เมื่อถึงวันนั้น ราคาหุ้นคงดีดขึ้นเอง ตอนนี้ราคาหุ้นไม่ไปไหน เพราะเรามีกำไรน้อยมาก เมื่อเทียบกับสินทรัพย์ที่มีอยู่ เป็นแบบนี้ราคาหุ้นจะขึ้นได้อย่างไร เขา เผลอระบายความในใจ
Tags : สุกฤตย์ สุรบถโสภณ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
"7 ปี กำไรหมื่นล้าน" วิชั่น "ผู้นำคนใหม่ IRPC"
กลยุทธ์ COPY ความสำเร็จบริษัทในเครือปตท.จะนำพา “ไออาร์พีซี” หลุดพ้น “ความขี้เหร่” “ตั้ว-สุกฤตย์ สุรบถโสภณ” เอ็มดีคนใหม่ เชื่อเช่นนั้น
ผลการดำเนินงานที่ “ผันผวน” ตามทิศทางราคาน้ำมัน ยังคงคอยกดดันให้ บมจ.ไออาร์พีซี หรือ IRPC บริษัทในเครือของปตท.ที่ถือหุ้นในสัดส่วน 38.51 เปอร์เซ็นต์ (ตัวเลข ณ วันที่ 6 มี.ค.2556) ตกอยู่ในสภาพ “ขี้เหร่ที่สุด” ในครอบครัวปตท.
จากการตรวจสภาพการเงินย้อนหลัง ในช่วงปี 2553-2555 พบว่า บริษัทเคยโกย “กำไรสุทธิสูงสุด” ในปี 2553 จำนวน 6,182.69 ล้านบาท สมัย “ดร.ไพรินทร์ ชูโชติถาวร” เป็นผู้นำ ก่อนจะลดเหลือ 4,106.77 ล้านบาท ในปี 2554 และขาดทุน 958.88 ล้านบาท ในปี 2555 ช่วง “ต้น-อธิคม เติบศิริ” นั่งบริหารงาน ล่าสุด 9 เดือนของปี 2556 บริษัทสามารถพลิกเป็น “กำไรสุทธิ” 41 ล้านบาท เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีผลขาดทุน 746 ล้านบาท คิดเป็นขาดทุนต่อหุ้น 0.04 บาท
ทว่าการปรับตัวลดลงของผลประกอบการในปี 2554-2555 “อธิคม” ได้นำเสนอกลยุทธ์ นำที่ดินเปล่ากว่า 15,000 ไร่ มาสร้างประโยชน์สูงสุด ถือเป็นการ “กำจัดจุดอ่อน” ทางหนึ่ง อาทิเช่น ที่ดินแถวอำเภอ บ้านค่าย จังหวัดสงขลา 2,500 ไร่ และอำเภอวังจันทร์ 3,000 ไร่ เป็นต้น
“อดีตผู้บริหารหมายเลข 1” เคยเล่า “จุดเด่น” ของ ไออาร์พีซี ให้ “กรุงเทพธุรกิจ Biz Week” ฟังว่า บริษัทแห่งนี้มีสินทรัพย์ “มหาศาล” แต่ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้เต็มที เปรียบเสมือน “คนอ้วนที่มีไขมันเยอะ ทำให้ไม่สามารถทำงานได้เต็มกำลัง” เขายังเปรียบ “ไออาร์พีซี” เหมือน “ผู้หญิงตั้งครรรภ์” ที่มีลูกเล็กๆต้องคอยดูแล ทำให้ความสามารถในการทำงานลดลง
เกือบ 2 เดือนแล้วที่ “ไออาร์พีซี” ปรับเปลี่ยนตัว “ขุนพล” หลังหุ้นใหญ่ปฎิบัติการณ์สลับก้าอี้ ด้วยการยกตำแหน่ง “ผู้นำไออาร์พีซี” ให้ “บุรุษวัย 54 ปี” “ตั้ว-สุกฤตย์ สุรบถโสภณ” อดีตรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ หน่วยธุรกิจปิโตรเคมีและการกลั่น” บมจ.ปตท.หรือ PTT ดีกรีปริญญาตรี เกียรตินิยมอันดับ 2 คณะวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต สาขาวิศวกรรมเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมอบตำแหน่งของ “สุกฤตย์” ให้ “อธิคม” ลูกหม้อเครือปตท.กว่า 20 ปี
“ผมรับรู้มาตลอดว่า หลายคนเป็นห่วงไออาร์พีซี ด้ายความที่เราเป็นบริษัทเดียวในเครือปตท.ที่มีผลการดำเนินงานในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2556 “ขาดทุน” จำนวน 1,000 ล้านบาท แต่วันนี้ผมกำลังวางแผนเตรียมพลิกฟื้นกลับมามี
“กำไรสุทธิ” เหมือนเดิม อย่างน้อยสัญญาณดีเริ่มมาแล้ว หลังไตรมาส 3/2556 บริษัทมี “กำไรสุทธิ” 1,047 ล้านบาท ขณะที่ 9 เดือนที่ผ่านมา ยังพลิกเป็นกำไรสุทธิ 41 ล้านบาท” “สุกฤตย์ สุรบถโสภณ” กรรมการผู้จัดการใหญ่ “ไออาร์พีซี” พูดกลางงานเปิดวิสัยทัศน์ครั้งแรก
เขา เล่าว่า “หลายคนอาจไม่คุ้นหน้าผม แต่นั่งทำงานในเครือปตท.มานานกว่า 33 ปีแล้ว เริ่มงานครั้งแรกใน “บมจ.ไทยออยล์” หรือ TOP ทำนานถึง 20 กว่า ปี ก่อนจะย้ายมานั่งรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ หน่วยธุรกิจปิโตรเคมีและการกลั่นของปตท.ประมาณ 4 ปี
ถามว่า รู้สึกหนักใจหรือไม่ที่ต้องเข้ามาเป็นผู้นำองค์กรแห่งนี้? “เอ็มดีใหญ่” บอกกับ “กรุงเทพธุรกิจ Biz Week” ว่า ไม่หนักใจเลย (ยิ้ม) ตรงข้ามกลับรู้สึก “สนุก” ที่ผ่านมาเห็นการทำงานของบริษัทในเครือปตท.มาตลอด ทำให้มีประสบการณ์ในการทำงานค่อนข้างเยอะ “ผมเห็นโครงการดีๆของบริษัทในเครือมาเยอะ ฉะนั้นอะไรที่ดีเราจะนำมาปรับใช้กับธุรกิจของไออาร์พีซี”
การนำโครงการดีๆมาปรับใช้กับองค์กรแห่งนี้ เปรียบเสมือน “เดินทางลัด” เพื่อดึงเอาศักยภาพของสินทรัพย์ และบุคลากรให้เกิดผลประโยชน์เร็วที่สุด ถือเป็นการสร้าง “มูลค่าเพิ่ม” ให้เกิดขึ้นกับไออาร์พีซีเร็วที่สุด เขาย้ำ
“สุกฤตย์” เล่าถึงแผนงานระยะยาวในช่วง 7 ปีข้างหน้า (2557-2563) ว่า อยากนำพาองค์กรแห่งนี้ขึ้นยืนเคียงบริษัทอื่นๆในเครือปตท.ที่สำคัญจะต้องไม่น้อยหน้าใคร ทั้งในแง่ของ “รายได้และกำไร” เป้าหมายของเรา คือ ในปี 2563 ต้องมี “กำไรสทุธิ 10,000 ล้านบาท”
แม้เราจะเคลื่อนตัวช้ากว่าเพื่อนๆ แต่จะพยายามเร่งฝีเท้าให้ทันเพื่อน ที่ผ่านมาเรามีผู้บริหารหลายรุ่นเข้ามาสานต่องาน ผมเข้ามาเป็นรุ่นที่ 4 ภาระหน้าที่หลัก คือ สร้างความแข็งแกร่งจากสินทรัพย์ที่มีอยู่ให้ดีที่สุด และต้องก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดให้ได้
วางกลยุทธ์พลิกฟื้นไออาร์พีซีอย่างไร? เขาตอบคำถามนี้ว่า ปัจจุบันโครงการฟีนิกซ์มีความคืบหน้าไปแล้วกว่า 55 เปอร์เซ็นต์ โดยโครงการเพิ่มมูลค่าเพื่อผลิตภัณฑ์สะอาด หรือ UHV ที่ใช้เงินลงทุนสูงสุดประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ของโครงการฟีนิกซ์ทั้งหมด ล่าสุดมีความคืบหน้าในการก่อสร้างแล้ว 48 เปอร์เซ็นต์ คาดว่าจะแล้วเสร็จในไตรมาส 3 ปี 2558
เท่ากับว่า “ไออาร์พีซี” จะสามารถใช้กำลังการผลิตของหน่วยกลั่นได้เต็มประสิทธิภาพ โดยเราจะสามารถผลิต Propylene เพิ่มขึ้น 320,000 ตันต่อปี รวมถึงผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่สามารถต่อยอดธุรกิจปิโตรเคมีได้อีกจำนวนมาก นั่นแปลว่า บริษัทจะมี “กำไรขั้นต้น” หรือ GIM เพิ่มขึ้นประมาณ 2-4 เหรียญต่อบาร์เรล
เราคงไม่นั่งรอให้โครงการเพิ่มมูลค่าเพื่อผลิตภัณฑ์สะอาดแล้วเสร็จในปี 2 ปีข้างหน้า เพื่อเพิ่มกำไรขั้นต้นเพียงอย่างเดียว แต่บริษัทจะพัฒนาศักยภาพองค์กร เพื่อมุ่งหน้าสู่ความเป็นเลิศ ด้วย 3 กลยุทธ์ ข้อแรก คือ “การปฏิบัติการเป็นเลิศ” หรือ Operational Excellence เราจะปรับปรุงประสิทธิภาพ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ด้วยการปรับปรุงการดำเนินงาน ด้านการผลิตทั้งระบบ
ข้อสอง “การค้าเป็นเลิศ” หรือ Commercial Excellence บริษัทจะเพิ่มมูลค่าการผลิต และสร้างรายได้ใหม่เพิ่มขึ้นจากธุรกิจเดิม รวมทั้งขยายเข้าสู่ตลาดผลิตภัณฑ์เกรดพิเศษที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น ข้อสุดท้าย คือ “บุคลากรเป็นเลิศ” หรือ Human Resource Excellence เราจะพัฒนาระบบและประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรในองค์กร ซึ่งเป็นกลไกสำคัญที่สุดในการขับเคลื่อนการดำเนินงานต่างๆ ให้สอดคล้องกับกลยุทธ์และทิศทางการดำเนินงาน
กลยุทธ์เหล่านี้จะทำให้กำไรขั้นต้นของบริษัทเพิ่มขึ้นอีก 1-1.5 เหรียญต่อบาร์เรล ภายในระยะเวลา 18 เดือน เราเชื่อว่าว่า ภายในปี 2557 กำไรขั้นต้น (ไม่รวมสต็อก) อยู่ที่ 9.5 เหรียญต่อบาร์เรล เทียบกับกำไรขั้นต้นในปี 2556 ที่อาจอยู่ระดับ 8 เหรียญต่อบาร์เรล (ไม่รวมสต๊อก) “กำไรขั้นต้น” อยู่ภายใต้สมมุติฐานราคาน้ำมันดิบดูไบ 105 เหรียญต่อบาร์เรล และต้นทุนการผลิตที่ 8 เหรียญต่อบาร์เรล
“นายคนใหม่” เล่าต่อว่า เรายังมีโครงการที่จะร่วมทุนกับ “บมจ.พีทีที โกลบอล เคมิคอล” หรือ PTTGC เพื่อทำโครงการต่อยอดธุรกิจ (post phoenix) จำนวน 5 โครงการ มูลค่ารวมประมาณ 65,000ล้านบาท เราจะกู้เงินจากสถาบันการเงิน 50 เปอร์เซ็นต์ ที่เหลือจะมาจากการร่วมทุน โดยจะมาจากไออาร์พีซีประมาณ 15,000 ล้านบาท คาดว่า โครงการต่อยอดธุรกิจจะแล้วเสร็จในปี 2561 ซึ่งจะสามารถสร้างกำไรขั้นต้นเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 1.5 - 3 เหรียญต่อบาร์เรล
ในช่วงต้นปี 2557 บริษัทคงได้ข้อสรุป ในการร่วมทุน 4 โครงการ ประกอบด้วย โครงการผลิตพาราไซลีน (PX; Para-xylene) กำลังการผลิต 1.2 ล้านตันต่อปี โครงการโพลิโพรพิลีน คอมปาวด์ (PPC; Polypropylene Compound) กำลังการผลิต 1.5 แสนตันต่อปี โครงการโพลิออล (Polyol) กำลังการผลิต 1 แสนตันต่อปี และโครงการสไตรีน โมโนเมอร์ (Styrene Monomer) กำลังการผลิต 3.5 แสนตันต่อปี
ส่วนโครงการอะคริลิกแอซิค (AA; Acrylic Acids) กำลังการผลิต 1 แสนตันต่อปี และโครงการซุปเปอร์แอฟซอฟท์แบนท์ โพลิเมอร์ (SAP; Super Absorbent Polymer) กำลังการผลิต 80,000 ตันต่อปี เรากำลังจะหารือกับทาง PTTGC ถามว่า แต่ละโครงการควรมีอัตราผลตอบแทนจากการลงทุน (Return of Investment Capital :ROIC เท่าไร ตัวเลขที่ 14 เปอร์เซ็นต์ ดีที่สุด
ถามถึงแผนใช้เงินลงทุนในช่วง 5 ปีข้างหน้า (2557-2561) เราคงใช้เงินลงทุนประมาณ 110,000ล้านบาท โดยเงินลงทุนของบริษัทจะมาจากกำไรก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย หรือ EBITDA ที่มีอยู่ประมาณ 70,000 ล้านบาท ที่เหลืออีก 40,000 ล้านบาท เราจะกู้เงินแบงก์หรือออกหุ้นกู้ ส่วนเรื่องหนี้สินที่จะต้องคืนในช่วง 5 ปีข้างหน้า จำนวน 45,000 ล้านบาท ในปี 2557 เราจะมีหนี้ครบกำหนดชำระ 16,000 ล้านบาท ตอนนี้ได้เจรจากับธนาคารในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้แล้ว
“เอ็มดีใหญ่” โยนเรื่องการเงินให้ “ดวงกมล เศรษฐธนัง” รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายบัญชีและการเงิน “ไออาร์พีซี” พูดต่อว่า ในช่วงไตรมาส 4/2556 บริษัทอาจมีกำไรพิเศษประมาณ 600-700 ล้านบาท จากการขายที่ดินมากกว่า 150 ไร่ ให้กับโรงไฟฟ้าไออาร์พีซีกรีน ซึ่งเป็นบริษัทย่อย
สำหรับธุรกิจนิคมอุตสาหกรรมบ้านค่าย จังหวัดระยอง พื้นที่ 1,350 ไร่ คาดว่าจะเปิดขายได้ในช่วงต้นปี 2557 คาดว่าจะได้รับใบอนุญาตให้ดำเนินธุรกิจนิคมอุตสาหกรรมในช่วงปลายปี 2556 จากการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือกนอ.
“สุกฤตย์” พูดถึงราคาหุ้น IRPC ว่า วันนี้ยังต่ำกว่าพื้นฐาน คุณลองดูหุ้นตัวอื่นๆ ในกลุ่มปิโตรเคมีและ การกลั่นสิ ราคาหุ้นเขาสูงกว่ามูลค่าหุ้นทางบัญชีต่อหุ้นเกือบทุกตัว วันนี้นักลงทุนคงกำลังรอให้ “ไออาร์พีซี” พัฒนาศักยภาพ สร้างมูลค่าเพิ่มให้ได้เสียก่อนจึงค่อยเข้ามาลงทุน เมื่อถึงวันนั้น ราคาหุ้นคงดีดขึ้นเอง ตอนนี้ราคาหุ้นไม่ไปไหน เพราะเรามีกำไรน้อยมาก เมื่อเทียบกับสินทรัพย์ที่มีอยู่ เป็นแบบนี้ราคาหุ้นจะขึ้นได้อย่างไร เขา เผลอระบายความในใจ
Tags : สุกฤตย์ สุรบถโสภณ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง