ภาษามีตระกูล
ลักษณะของหน่วยคำในแต่ละภาษาจะขึ้นอยู่กับลักษณะของภาษาว่าเป็นภาษาตระกูลใด หน่วยคำของภาษาในแต่ละตระกูลจะแตกต่างกันออกไป ดังต่อไปนี้
1. ภาษาคำโดด (Aralytic หรือ Isolating Language)
คำในภาษาตระกูลนี้จะเป็นอิสระในตัวเอง จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปเมื่ออยู่ในประโยค ไม่ว่าในตำแหน่งใดก็ตาม ลักษณะของหน่วยคำจะเห็นได้อย่างชัดเจน เช่น ภาษาไทย และภาษาจีน
2. ภาษามีวัตติปัจจัย (Inflectional Language)
คำในภาษาตระกูลนี้จะสังเกตุได้ยากกว่าภาษาคำโดดเพราะลักษณะของคำจะต้องประกอบด้วย รากคำ ( Root) กับคำเติม ( Aiffix) คำเติมนี้อาจทำให้ความหมายเปลี่ยนแปลง หรืออาจเปลี่ยนเพศ พจน์ บุรุษกาลและอื่น ๆ เช่น ภาษากรีก ละติน บาลีสันสกฤต
3. ภาษาคำติดต่อ (Agglutinative Language)
คำในภาษาตระกูลนี้มีลักษณะเหมือนกับภาษามีวิภัตติปัจจัย คือ จะต้องประกอบด้วย รากคำ ( Root) กับคำเติม ( Aiffix) เช่น ภาษาตุรกี ตากาลอค ( ฟิลิปปินส์ ) อินเดียนแดง
4. ภาษาคำควบหลายพยางค์ (Polysynthetic Language)
ลักษณะของคำในตระกูลนี้คล้ายคลึงกับภาษาติดต่อ ต่างกันที่ว่าภาษาติดต่อหนึ่งคำอาจมีหลายหน่วยคำ คือหน่วยคำที่เป็นรากคำ (Root) และหน่วยคำที่เป็นคำเติม (Affix) ซึ่งจะสังเกตหน่วยคำได้จากการเปรียบเทียบประโยคที่มีความหมายแตกต่างกันเล็กน้อย เช่น ภาษาชาวเอสกิโม เวราครูซ
คือ เรางงตรงภาษาคำควบหลายพยางค์ (Polysynthetic Language) ค่ะ
ยังสรุปลักษณะเด่นๆออกมาไม่ได้เลย ไม่รู้ว่ามันต่างกับพวกอื่นๆยังไง
ใครที่พอรู้จักภาษาในกลุ่มนี้ ช่วยยกตัวอย่างทีนะคะ
ภาษาคำควบหลายพยางค์เป็นยังไงคะ
ลักษณะของหน่วยคำในแต่ละภาษาจะขึ้นอยู่กับลักษณะของภาษาว่าเป็นภาษาตระกูลใด หน่วยคำของภาษาในแต่ละตระกูลจะแตกต่างกันออกไป ดังต่อไปนี้
1. ภาษาคำโดด (Aralytic หรือ Isolating Language)
คำในภาษาตระกูลนี้จะเป็นอิสระในตัวเอง จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปเมื่ออยู่ในประโยค ไม่ว่าในตำแหน่งใดก็ตาม ลักษณะของหน่วยคำจะเห็นได้อย่างชัดเจน เช่น ภาษาไทย และภาษาจีน
2. ภาษามีวัตติปัจจัย (Inflectional Language)
คำในภาษาตระกูลนี้จะสังเกตุได้ยากกว่าภาษาคำโดดเพราะลักษณะของคำจะต้องประกอบด้วย รากคำ ( Root) กับคำเติม ( Aiffix) คำเติมนี้อาจทำให้ความหมายเปลี่ยนแปลง หรืออาจเปลี่ยนเพศ พจน์ บุรุษกาลและอื่น ๆ เช่น ภาษากรีก ละติน บาลีสันสกฤต
3. ภาษาคำติดต่อ (Agglutinative Language)
คำในภาษาตระกูลนี้มีลักษณะเหมือนกับภาษามีวิภัตติปัจจัย คือ จะต้องประกอบด้วย รากคำ ( Root) กับคำเติม ( Aiffix) เช่น ภาษาตุรกี ตากาลอค ( ฟิลิปปินส์ ) อินเดียนแดง
4. ภาษาคำควบหลายพยางค์ (Polysynthetic Language)
ลักษณะของคำในตระกูลนี้คล้ายคลึงกับภาษาติดต่อ ต่างกันที่ว่าภาษาติดต่อหนึ่งคำอาจมีหลายหน่วยคำ คือหน่วยคำที่เป็นรากคำ (Root) และหน่วยคำที่เป็นคำเติม (Affix) ซึ่งจะสังเกตหน่วยคำได้จากการเปรียบเทียบประโยคที่มีความหมายแตกต่างกันเล็กน้อย เช่น ภาษาชาวเอสกิโม เวราครูซ
คือ เรางงตรงภาษาคำควบหลายพยางค์ (Polysynthetic Language) ค่ะ
ยังสรุปลักษณะเด่นๆออกมาไม่ได้เลย ไม่รู้ว่ามันต่างกับพวกอื่นๆยังไง
ใครที่พอรู้จักภาษาในกลุ่มนี้ ช่วยยกตัวอย่างทีนะคะ