ฐานเศรษฐกิจ : กฟผ. เล็งตั้ง กองทุนโครงสร้างฯ
สร.กฟผ. จับตาตั้งกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน หวั่น.. ค่าไฟฟ้าแพง จากการจ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหุ้นสูงเกินกว่า.. ดอกเบี้ยเงินกู้ เตรียมเปิดเวที มค. '57 เชิญผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายชี้แจงข้อสงสัย ถึงความจำเป็น & หาแนวทางหาเงินจากแหล่งอื่นแทน , ขณะที่ผู้ว่าการกฟผ.ปัด ไม่ได้นำสู่การแปรรูป เป็นการระดมทุน เพื่อใช้ก่อสร้างโรงไฟฟ้าในอนาคต
นายศิริชัย ไม้งาม ปธ.สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ การไฟฟ้าฯ(สร.กฟผ.) เปิดเผย..
ตามที่ ก.การคลัง มีนโยบายในการจัดหาแหล่งเงินกู้ทางเลือกใหม่ เพื่อให้สามารถจัดหาเงินทุน ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ โดยไม่ติดข้อจำกัดด้วยภาระหนี้ของประเทศ ทางสนง.คณะกก. นโยบายรัฐวิสาหกิจ(สคร.) จึงได้ให้กฟผ.ไปพิจารณาแหล่งเงินทุนผ่าน.. กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน โดยจะใช้รายได้ หรือกระแสเงินสดในอนาคตของโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วมพระนครเหนือ ขนาดกำลังการผลิต 800เมกะวัตต์ เป็นทรัพย์สินในการระดมทุน เพื่อนำเงินไปพัฒนาโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้า & โครงการขยายระบบส่งไฟฟ้าของกฟผ. นั้น
" ทั้งนี้ เนื่องจากยังมีความสับสน & ยังไม่มีความเข้าใจของพนง.หรือแม้แต่บุคคลภายนอก ถึงความจำเป็นแค่ไหนที่กฟผ.จะต้องใช้โรงไฟฟ้าพระนครเหนือนำไประดมทุน เนื่องจากกฟผ.ในฐานะรัฐวิสาหกิจยังสามารถกู้เงินเพื่อมาลงทุนได้อีกมาก โดยไม่กระทบเพดานหนี้สาธารณะ โดยเฉพาะการนำเงินมาเพื่อใช้ในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพระนครเหนือเฟส 2 ขนาดกำลังการผลิต 900 เมกะวัตต์ ไม่ต่ำกว่า 2 หมื่นล้านบาท ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างในขณะนี้"
ขณะเดียวกัน จากการหารือกับคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานหรือกกพ.มีความเป็นห่วงว่า หากมีเงินที่ได้จากการดมทุนผ่านกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน นำไปใช้ในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าในอนาคตจากการปลดโรงไฟฟ้าเก่าและการก่อสร้างโรงไฟฟ้าใหม่อีกไม่ต่ำกว่า 6-7 หมื่นล้านบาท จะส่งผลให้ต้นทุนของค่าไฟฟ้าปรับตัวสูงขึ้น เพราะเมื่อมีการระดมเงินทุนจากประชาชนหรือนักลงทุนทั่วไปแล้ว การสร้างผลประโยชน์ตอบแทนให้กับนักลงทุนจากเงินปันผล น่าจะ.. สูงกว่าต้นทุนของดอกเบี้ยที่กู้เงินมาลงทุน
ดังนั้น สร.กฟผ.จะติดตามเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด เพื่อทำความกระจ่างให้เกิดขึ้นว่า.. การระดมเงินทุนผ่านกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานครั้งนี้ จะเป็นเสมือนหนึ่ง.. การแปรรูปกฟผ.หรือไม่ ? , โดยในช่วงเดือน มค. '57 สร.กฟผ.จะจัดเวที เพื่อให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องทำการชี้แจงถึงความจำเป็นต้องตั้งกองทุนขึ้นมา & มีความจำเป็นมากน้อยแค่ไหน และหากไม่มีการตั้งกองทุนรวมขึ้นมา กฟผ.สามารถจัดหาแหล่งเงินทุนจากที่อื่นได้อีกหรือไม่ ? , อัตราผลตอบแทนกับอัตราดอกเบี้ยที่กู้มาอย่างไหนคุ้มกว่ากัน รวมถึงผลกระทบค่าไฟฟ้าที่จะสูงขึ้นจากระดับในปัจจุบันมากน้อยเพียงใด เป็นต้น
ด้านนายสุนชัย คำนูณเศรษฐ์ ผู้ว่าการกฟผ. กล่าวว่า..
การจัดตั้งกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ได้ให้ทาง ธ.ไทยพาณิชย์ เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน เพื่อทำการศึกษา กำหนดโครงสร้าง & แนวทางในการจัดตั้งกองทุน ที่จะเป็นทางเลือกในการระดมทุน โดยไม่ก่อให้เกิดหนี้สาธารณะเพิ่ม ซึ่งกฟผ.ยังเป็นเจ้าของกิจการและมีอำนาจบริหารในการเดินเครื่องโรงไฟฟ้าอยู่
ซึ่งรูปแบบโครงสร้าง & แนวทางการจัดตั้งกองทุน จะถูกกำหนดให้เป็นเครื่องมือในการระดมเงินทุนเท่านั้น ไม่ได้นำไปสู่การแปรรูปกฟผ.แต่อย่างใด โดยในเบื้องต้นกำหนดขนาดของกองทุนรวมไว้ประมาณ 1 หมื่นล้านบาท มีอายุ 15-25 ปี ซึ่งคาดว่าจะสามารถศึกษารูปแบบการจัดตั้งกองทุนรวมได้ประมาณต้นไตรมาสแรกของปีหน้า เพื่อนำเสนอเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) หากเห็นชอบก็จะเสนอขายได้ภายใน 180วัน
สำหรับโรงไฟฟ้าพระนครเหนือ ที่จะขายเข้ากองทุนนั้น จะมีรายได้ประมาณ 2,000ล้านบาทต่อปี ซึ่งผลตอบแทนคาดว่าจะสูงกว่าพันธบัตรที่ กฟผ.เคยออกมาก่อนหน้านี้ที่มีอัตราดอกเบี้ยในระดับ 4.725% และการจัดตั้งกองทุนดังกล่าวจะสามารถระดมทุนให้กับ กฟผ.ได้ถึง 1.5 - 1.7 หมื่นล้านบ. & จะสามารถขายหน่วยลงทุนของกองทุนและนำเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯช่วงไตรมาส 2-3 ของปีหน้า ต่อไป.. ด้วย !
*** กฟผ. เล็งตั้ง >> กองทุนโครงสร้าง.. " พื้น~ถัน "
สร.กฟผ. จับตาตั้งกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน หวั่น.. ค่าไฟฟ้าแพง จากการจ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหุ้นสูงเกินกว่า.. ดอกเบี้ยเงินกู้ เตรียมเปิดเวที มค. '57 เชิญผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายชี้แจงข้อสงสัย ถึงความจำเป็น & หาแนวทางหาเงินจากแหล่งอื่นแทน , ขณะที่ผู้ว่าการกฟผ.ปัด ไม่ได้นำสู่การแปรรูป เป็นการระดมทุน เพื่อใช้ก่อสร้างโรงไฟฟ้าในอนาคต
นายศิริชัย ไม้งาม ปธ.สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ การไฟฟ้าฯ(สร.กฟผ.) เปิดเผย..
ตามที่ ก.การคลัง มีนโยบายในการจัดหาแหล่งเงินกู้ทางเลือกใหม่ เพื่อให้สามารถจัดหาเงินทุน ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ โดยไม่ติดข้อจำกัดด้วยภาระหนี้ของประเทศ ทางสนง.คณะกก. นโยบายรัฐวิสาหกิจ(สคร.) จึงได้ให้กฟผ.ไปพิจารณาแหล่งเงินทุนผ่าน.. กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน โดยจะใช้รายได้ หรือกระแสเงินสดในอนาคตของโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วมพระนครเหนือ ขนาดกำลังการผลิต 800เมกะวัตต์ เป็นทรัพย์สินในการระดมทุน เพื่อนำเงินไปพัฒนาโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้า & โครงการขยายระบบส่งไฟฟ้าของกฟผ. นั้น
" ทั้งนี้ เนื่องจากยังมีความสับสน & ยังไม่มีความเข้าใจของพนง.หรือแม้แต่บุคคลภายนอก ถึงความจำเป็นแค่ไหนที่กฟผ.จะต้องใช้โรงไฟฟ้าพระนครเหนือนำไประดมทุน เนื่องจากกฟผ.ในฐานะรัฐวิสาหกิจยังสามารถกู้เงินเพื่อมาลงทุนได้อีกมาก โดยไม่กระทบเพดานหนี้สาธารณะ โดยเฉพาะการนำเงินมาเพื่อใช้ในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพระนครเหนือเฟส 2 ขนาดกำลังการผลิต 900 เมกะวัตต์ ไม่ต่ำกว่า 2 หมื่นล้านบาท ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างในขณะนี้"
ขณะเดียวกัน จากการหารือกับคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานหรือกกพ.มีความเป็นห่วงว่า หากมีเงินที่ได้จากการดมทุนผ่านกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน นำไปใช้ในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าในอนาคตจากการปลดโรงไฟฟ้าเก่าและการก่อสร้างโรงไฟฟ้าใหม่อีกไม่ต่ำกว่า 6-7 หมื่นล้านบาท จะส่งผลให้ต้นทุนของค่าไฟฟ้าปรับตัวสูงขึ้น เพราะเมื่อมีการระดมเงินทุนจากประชาชนหรือนักลงทุนทั่วไปแล้ว การสร้างผลประโยชน์ตอบแทนให้กับนักลงทุนจากเงินปันผล น่าจะ.. สูงกว่าต้นทุนของดอกเบี้ยที่กู้เงินมาลงทุน
ดังนั้น สร.กฟผ.จะติดตามเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด เพื่อทำความกระจ่างให้เกิดขึ้นว่า.. การระดมเงินทุนผ่านกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานครั้งนี้ จะเป็นเสมือนหนึ่ง.. การแปรรูปกฟผ.หรือไม่ ? , โดยในช่วงเดือน มค. '57 สร.กฟผ.จะจัดเวที เพื่อให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องทำการชี้แจงถึงความจำเป็นต้องตั้งกองทุนขึ้นมา & มีความจำเป็นมากน้อยแค่ไหน และหากไม่มีการตั้งกองทุนรวมขึ้นมา กฟผ.สามารถจัดหาแหล่งเงินทุนจากที่อื่นได้อีกหรือไม่ ? , อัตราผลตอบแทนกับอัตราดอกเบี้ยที่กู้มาอย่างไหนคุ้มกว่ากัน รวมถึงผลกระทบค่าไฟฟ้าที่จะสูงขึ้นจากระดับในปัจจุบันมากน้อยเพียงใด เป็นต้น
ด้านนายสุนชัย คำนูณเศรษฐ์ ผู้ว่าการกฟผ. กล่าวว่า..
การจัดตั้งกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ได้ให้ทาง ธ.ไทยพาณิชย์ เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน เพื่อทำการศึกษา กำหนดโครงสร้าง & แนวทางในการจัดตั้งกองทุน ที่จะเป็นทางเลือกในการระดมทุน โดยไม่ก่อให้เกิดหนี้สาธารณะเพิ่ม ซึ่งกฟผ.ยังเป็นเจ้าของกิจการและมีอำนาจบริหารในการเดินเครื่องโรงไฟฟ้าอยู่
ซึ่งรูปแบบโครงสร้าง & แนวทางการจัดตั้งกองทุน จะถูกกำหนดให้เป็นเครื่องมือในการระดมเงินทุนเท่านั้น ไม่ได้นำไปสู่การแปรรูปกฟผ.แต่อย่างใด โดยในเบื้องต้นกำหนดขนาดของกองทุนรวมไว้ประมาณ 1 หมื่นล้านบาท มีอายุ 15-25 ปี ซึ่งคาดว่าจะสามารถศึกษารูปแบบการจัดตั้งกองทุนรวมได้ประมาณต้นไตรมาสแรกของปีหน้า เพื่อนำเสนอเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) หากเห็นชอบก็จะเสนอขายได้ภายใน 180วัน
สำหรับโรงไฟฟ้าพระนครเหนือ ที่จะขายเข้ากองทุนนั้น จะมีรายได้ประมาณ 2,000ล้านบาทต่อปี ซึ่งผลตอบแทนคาดว่าจะสูงกว่าพันธบัตรที่ กฟผ.เคยออกมาก่อนหน้านี้ที่มีอัตราดอกเบี้ยในระดับ 4.725% และการจัดตั้งกองทุนดังกล่าวจะสามารถระดมทุนให้กับ กฟผ.ได้ถึง 1.5 - 1.7 หมื่นล้านบ. & จะสามารถขายหน่วยลงทุนของกองทุนและนำเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯช่วงไตรมาส 2-3 ของปีหน้า ต่อไป.. ด้วย !