นักลงทุนคงได้ข่าวคราวกับกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน EGATIF มาบ้างแล้ว
อยากถามทรรศนะของชาวสินธรว่าคิดเห็นอย่างไรกับตัวนี้บ้าง
มีข้อดีข้อเสียตรงไหน
ผมเห็นว่าข้อดีของกองทุนคือเป็นธุรกิจที่แข็งแกร่ง น่าจะไปได้ดี
ส่วนข้อเสียก็เนื่องจากการดำเนินงานอาจเป็นรูปแบบรัฐวิสาหกิจ อาจมีความเชื่องช้า มีช่องโหว่ในการดำเนินการหรือเปล่า
ชาวสินธรมองกันยังไง
อยากทราบหลายๆทรรศนะจากชาวสินธรครับ
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
http://www.egat.co.th/index.php?option=com_content&view=article&id=937:egatnews-20150430-01&catid=31&Itemid=208
กฟผ. ได้ฤกษ์ระดมทุนผ่านกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานกองแรกของประเทศไทยที่สนับสนุนโดยรัฐวิสาหกิจ โดยลงทุนในสิทธิรายได้ค่าความพร้อมจ่ายไฟฟ้า ของโรงไฟฟ้าพระนครเหนือ ชุดที่ 1 เป็นเวลา 20 ปี 20150430-M01-01
นายสุนชัย คำนูณเศรษฐ์ ผู้ว่าการ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยว่า จากนโยบายของภาครัฐที่ต้องการผลักดันให้รัฐวิสาหกิจของไทยที่มีความพร้อมให้จัดหาแหล่งเงินทุนทางเลือกใหม่ เพื่อให้สามารถจัดหาเงินทุนในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ทั้งนี้ กฟผ.ในฐานะผู้ผลิตไฟฟ้ารายใหญ่ของประเทศ จึงระดมทุนผ่านกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน EGATIF (“กองทุนรวมฯ”) ซึ่งเป็นกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานกองแรกในประเทศไทย ที่เข้าลงทุนในสิทธิรายได้ค่าความพร้อมจ่ายไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าที่รัฐวิสาหกิจเป็นเจ้าของและเป็นผู้บริหารจัดการโรงไฟฟ้า ทั้งนี้ กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน EGATIF เปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะนักลงทุนรายย่อยได้เข้ามามีส่วนร่วมลงทุนพัฒนาระบบไฟฟ้าและสร้างความมั่นคงด้านพลังงานไฟฟ้า
สำหรับกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน EGATIF ได้รับการสนับสนุนโดยตรงจาก กฟผ. ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ ที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญด้านการผลิตไฟฟ้า การเดินเครื่องจักรและบำรุงรักษาโรงไฟฟ้ามากที่สุดในประเทศไทย ทั้งนี้ กฟผ. มีสัดส่วนกำลังการผลิตไฟฟ้ามากที่สุดในประเทศ โดย กฟผ. มีทีมงานเดินเครื่องและบำรุงรักษา เพื่อดูแลโรงไฟฟ้าของ กฟผ. ทั้งหมดเอง อีกทั้งยังรับบริหารจัดการ ด้านการเดินเครื่องและซ่อมบำรุงให้แก่ผู้ผลิตไฟฟ้าภาคเอกชนอีกด้วย
สำหรับการระดมทุนผ่านกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน EGATIF กฟผ. ได้มอบหมายให้ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) เป็นที่ปรึกษาทางการเงินและผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจัดจำหน่าย และบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงไทย จำกัด (มหาชน) เป็นผู้จัดการกองทุน โดยกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน EGATIF จะเข้าลงทุนในสิทธิรายได้ค่าความพร้อมจ่ายของโรงไฟฟ้าพระนครเหนือ ชุดที่ 1 (“โรงไฟฟ้าฯ”) เป็นระยะเวลา 20 ปี ซึ่งการจัดตั้งกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน EGATIF ในครั้งนี้ จะทำให้ กฟผ. สามารถนำเงินที่ได้จากการระดมทุนไปใช้ในการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานไฟฟ้า เพื่อรองรับปริมาณความต้องการใช้ไฟฟ้าภายในประเทศที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับยังสามารถช่วยลดภาระด้านการลงทุนของภาครัฐ อีกด้วย
ทั้งนี้ กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน EGATIF จะลงทุนในสิทธิรายได้ค่าความพร้อมจ่ายของโรงไฟฟ้าพระนครเหนือ ชุดที่ 1 โดยมีกำลังการผลิตไฟฟ้าตามสัญญาอยู่ที่ 670 Glossary Link เมกะวัตต์ ซึ่งใช้ระบบการผลิตไฟฟ้าแบบพลังงานความร้อนร่วม โดยใช้ก๊าซธรรมชาติและไอน้ำมาเป็นตัวผลิตกระแสไฟฟ้า ทั้งนี้ โรงไฟฟ้าพระนครเหนือ ชุดที่ 1 เป็นหนึ่งในโรงไฟฟ้าที่ใหม่ที่สุดของ กฟผ. ที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าที่ทันสมัยที่สุดของไทยและเป็นที่ยอมรับกันแพร่หลายทั่วโลก ประกอบกับทำเลที่ตั้งของโรงไฟฟ้าพระนครเหนือ ชุดที่ 1 นั้นตั้งอยู่ใกล้พื้นที่ที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูง จึงเป็นโรงไฟฟ้าที่มีความสำคัญลำดับต้นๆ ที่ผลิตไฟฟ้าส่งเข้าระบบส่ง เพื่อลดความสูญเสียพลังงานระหว่างการส่งไฟฟ้าตามระบบส่ง ทำให้โรงไฟฟ้าพระนครเหนือ ชุดที่ 1 ได้รับโอกาสผลิตไฟฟ้าเต็มความสามารถตลอดเวลา
นอกจากนี้ กฟผ.ยังจะเข้าถือหน่วยลงทุนร้อยละ 25 เป็นเวลาอย่างน้อย 5 ปี ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 75 จะเสนอขายแก่ผู้จองซื้อสถาบันและผู้จองซื้อทั่วไป เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่นักลงทุนที่จะเข้าซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมฯ ว่าสินทรัพย์ที่ลงทุนนั้นเป็นสินทรัพย์ที่มีศักยภาพที่ดีที่สุดของ กฟผ.
นายอาทิตย์ นันทวิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและรองประธานกรรมการบริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงินและผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่าย กล่าวว่า EGATIF เป็นกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานกองแรกที่ได้รับการสนับสนุนโดยรัฐวิสาหกิจ ซึ่งกองทุนรวมฯ จะเข้าลงทุนในสิทธิรายได้ค่าความพร้อมจ่ายของโรงไฟฟ้าพระนครเหนือ ชุดที่ 1 ตามสัญญาการเข้าลงทุนเป็นระยะเวลา 20 ปี ซึ่งโรงไฟฟ้าดังกล่าวเป็นโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วมซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ได้รับการยอมรับและมีความน่าเชื่อถือในระดับสากล โดย กฟผ. จะรับภาระค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานและบำรุงรักษาที่เกี่ยวข้องกับโรงไฟฟ้าฯ ทั้งหมด อีกทั้ง กฟผ. มีความเชี่ยวชาญในการเดินเครื่องและซ่อมบำรุงโรงไฟฟ้ามากที่สุดในประเทศไทย จึงสามารถมั่นใจในความพร้อมในการเดินเครื่องผลิตไฟฟ้าและการบำรุงรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดอายุการลงทุน 20 ปีของกองทุนรวมฯ นอกจากนี้ กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน EGATIF จะเป็นกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานในกิจการไฟฟ้าที่ใหญ่ที่สุดในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในขณะนี้ โดยจุดเด่นต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้น ทำให้กองทุนรวมฯ มีโครงสร้างรายได้ที่ชัดเจน สม่ำเสมอ และผันผวนต่ำใกล้เคียงกับตราสารหนี้
ส่วนขั้นตอนการจัดตั้งกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน EGATIF นั้น ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงไทย จำกัด (มหาชน) ได้ยื่นร่างหนังสือชี้ชวนให้แก่สำนักงานกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาอนุมัติ โดยหลังจากที่หนังสือชี้ชวนมีผลบังคับใช้ ก็จะสามารถเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมฯ ได้ประมาณปลายเดือนมิถุนายนนี้ โดยรูปแบบการจัดสรรหน่วยลงทุนในส่วนที่จัดสรรให้แก่ผู้จองซื้อทั่วไปนั้นจะเป็นแบบ Small Lot First เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้จองซื้อทั่วไปทุกรายที่สนใจได้มีส่วนร่วมในการลงทุนเพื่อพัฒนาและสร้างความมั่นคงด้านพลังงานไฟฟ้าของประเทศ
ด้านนางชวินดา หาญรัตนกูล กรรมการผู้จัดการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน EGATIF มีโครงสร้างรายได้ที่ชัดเจนและมีรายได้สม่ำเสมอ ซึ่งสิทธิรายได้ค่าความพร้อมจ่ายที่ EGATIF จะได้รับนั้นขึ้นอยู่กับความพร้อมในการจ่ายไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าพระนครเหนือชุดที่ 1 เท่านั้น ซึ่งไม่ได้ขึ้นอยู่กับปริมาณการใช้ไฟฟ้าจริงและความต้องการใช้ไฟฟ้าและ ไม่ขึ้นกับอัตราค่าไฟฟ้าแต่อย่างใด นอกจากนี้ กองทุนรวมฯ ยังได้รับความคุ้มครองจากกรมธรรม์ประกันภัยที่ครอบคลุมทั้งหมด 4 ประเภท เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นต่อโรงไฟฟ้าฯ ในกรณีที่โรงไฟฟ้าฯ ได้รับความเสียหายและมีผลกระทบต่อรายได้ค่าความพร้อมจ่าย อาทิเช่น ประกันภัยธุรกิจหยุดชะงัก (Business Interruption Insurance) โดยหากโรงไฟฟ้าฯ ได้รับความเสียหายและไม่มีความพร้อมในการผลิตไฟฟ้า กฟผ.จะได้รับสินไหมทดแทนจากบริษัทประกันภัยและจะส่งมอบสินไหมทดแทนดังกล่าวให้แก่กองทุนรวมฯ นอกจากนี้กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน EGATIF มีนโยบายการจ่ายเงินปันผลไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของกำไรสุทธิที่ปรับปรุงแล้ว โดยจะจ่ายเงินปันผลอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง
สร้างเมื่อ วันพฤหัสบดี, 30 เมษายน 2558 15:09
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
กฟผ.จะเปิดขายกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน EGATIF ชาวสินธรคิดว่าน่าสนใจแค่ไหน
อยากถามทรรศนะของชาวสินธรว่าคิดเห็นอย่างไรกับตัวนี้บ้าง
มีข้อดีข้อเสียตรงไหน
ผมเห็นว่าข้อดีของกองทุนคือเป็นธุรกิจที่แข็งแกร่ง น่าจะไปได้ดี
ส่วนข้อเสียก็เนื่องจากการดำเนินงานอาจเป็นรูปแบบรัฐวิสาหกิจ อาจมีความเชื่องช้า มีช่องโหว่ในการดำเนินการหรือเปล่า
ชาวสินธรมองกันยังไง
อยากทราบหลายๆทรรศนะจากชาวสินธรครับ
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
http://www.egat.co.th/index.php?option=com_content&view=article&id=937:egatnews-20150430-01&catid=31&Itemid=208
กฟผ. ได้ฤกษ์ระดมทุนผ่านกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานกองแรกของประเทศไทยที่สนับสนุนโดยรัฐวิสาหกิจ โดยลงทุนในสิทธิรายได้ค่าความพร้อมจ่ายไฟฟ้า ของโรงไฟฟ้าพระนครเหนือ ชุดที่ 1 เป็นเวลา 20 ปี 20150430-M01-01
นายสุนชัย คำนูณเศรษฐ์ ผู้ว่าการ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยว่า จากนโยบายของภาครัฐที่ต้องการผลักดันให้รัฐวิสาหกิจของไทยที่มีความพร้อมให้จัดหาแหล่งเงินทุนทางเลือกใหม่ เพื่อให้สามารถจัดหาเงินทุนในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ทั้งนี้ กฟผ.ในฐานะผู้ผลิตไฟฟ้ารายใหญ่ของประเทศ จึงระดมทุนผ่านกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน EGATIF (“กองทุนรวมฯ”) ซึ่งเป็นกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานกองแรกในประเทศไทย ที่เข้าลงทุนในสิทธิรายได้ค่าความพร้อมจ่ายไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าที่รัฐวิสาหกิจเป็นเจ้าของและเป็นผู้บริหารจัดการโรงไฟฟ้า ทั้งนี้ กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน EGATIF เปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะนักลงทุนรายย่อยได้เข้ามามีส่วนร่วมลงทุนพัฒนาระบบไฟฟ้าและสร้างความมั่นคงด้านพลังงานไฟฟ้า
สำหรับกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน EGATIF ได้รับการสนับสนุนโดยตรงจาก กฟผ. ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ ที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญด้านการผลิตไฟฟ้า การเดินเครื่องจักรและบำรุงรักษาโรงไฟฟ้ามากที่สุดในประเทศไทย ทั้งนี้ กฟผ. มีสัดส่วนกำลังการผลิตไฟฟ้ามากที่สุดในประเทศ โดย กฟผ. มีทีมงานเดินเครื่องและบำรุงรักษา เพื่อดูแลโรงไฟฟ้าของ กฟผ. ทั้งหมดเอง อีกทั้งยังรับบริหารจัดการ ด้านการเดินเครื่องและซ่อมบำรุงให้แก่ผู้ผลิตไฟฟ้าภาคเอกชนอีกด้วย
สำหรับการระดมทุนผ่านกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน EGATIF กฟผ. ได้มอบหมายให้ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) เป็นที่ปรึกษาทางการเงินและผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจัดจำหน่าย และบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงไทย จำกัด (มหาชน) เป็นผู้จัดการกองทุน โดยกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน EGATIF จะเข้าลงทุนในสิทธิรายได้ค่าความพร้อมจ่ายของโรงไฟฟ้าพระนครเหนือ ชุดที่ 1 (“โรงไฟฟ้าฯ”) เป็นระยะเวลา 20 ปี ซึ่งการจัดตั้งกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน EGATIF ในครั้งนี้ จะทำให้ กฟผ. สามารถนำเงินที่ได้จากการระดมทุนไปใช้ในการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานไฟฟ้า เพื่อรองรับปริมาณความต้องการใช้ไฟฟ้าภายในประเทศที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับยังสามารถช่วยลดภาระด้านการลงทุนของภาครัฐ อีกด้วย
ทั้งนี้ กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน EGATIF จะลงทุนในสิทธิรายได้ค่าความพร้อมจ่ายของโรงไฟฟ้าพระนครเหนือ ชุดที่ 1 โดยมีกำลังการผลิตไฟฟ้าตามสัญญาอยู่ที่ 670 Glossary Link เมกะวัตต์ ซึ่งใช้ระบบการผลิตไฟฟ้าแบบพลังงานความร้อนร่วม โดยใช้ก๊าซธรรมชาติและไอน้ำมาเป็นตัวผลิตกระแสไฟฟ้า ทั้งนี้ โรงไฟฟ้าพระนครเหนือ ชุดที่ 1 เป็นหนึ่งในโรงไฟฟ้าที่ใหม่ที่สุดของ กฟผ. ที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าที่ทันสมัยที่สุดของไทยและเป็นที่ยอมรับกันแพร่หลายทั่วโลก ประกอบกับทำเลที่ตั้งของโรงไฟฟ้าพระนครเหนือ ชุดที่ 1 นั้นตั้งอยู่ใกล้พื้นที่ที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูง จึงเป็นโรงไฟฟ้าที่มีความสำคัญลำดับต้นๆ ที่ผลิตไฟฟ้าส่งเข้าระบบส่ง เพื่อลดความสูญเสียพลังงานระหว่างการส่งไฟฟ้าตามระบบส่ง ทำให้โรงไฟฟ้าพระนครเหนือ ชุดที่ 1 ได้รับโอกาสผลิตไฟฟ้าเต็มความสามารถตลอดเวลา
นอกจากนี้ กฟผ.ยังจะเข้าถือหน่วยลงทุนร้อยละ 25 เป็นเวลาอย่างน้อย 5 ปี ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 75 จะเสนอขายแก่ผู้จองซื้อสถาบันและผู้จองซื้อทั่วไป เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่นักลงทุนที่จะเข้าซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมฯ ว่าสินทรัพย์ที่ลงทุนนั้นเป็นสินทรัพย์ที่มีศักยภาพที่ดีที่สุดของ กฟผ.
นายอาทิตย์ นันทวิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและรองประธานกรรมการบริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงินและผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่าย กล่าวว่า EGATIF เป็นกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานกองแรกที่ได้รับการสนับสนุนโดยรัฐวิสาหกิจ ซึ่งกองทุนรวมฯ จะเข้าลงทุนในสิทธิรายได้ค่าความพร้อมจ่ายของโรงไฟฟ้าพระนครเหนือ ชุดที่ 1 ตามสัญญาการเข้าลงทุนเป็นระยะเวลา 20 ปี ซึ่งโรงไฟฟ้าดังกล่าวเป็นโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วมซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ได้รับการยอมรับและมีความน่าเชื่อถือในระดับสากล โดย กฟผ. จะรับภาระค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานและบำรุงรักษาที่เกี่ยวข้องกับโรงไฟฟ้าฯ ทั้งหมด อีกทั้ง กฟผ. มีความเชี่ยวชาญในการเดินเครื่องและซ่อมบำรุงโรงไฟฟ้ามากที่สุดในประเทศไทย จึงสามารถมั่นใจในความพร้อมในการเดินเครื่องผลิตไฟฟ้าและการบำรุงรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดอายุการลงทุน 20 ปีของกองทุนรวมฯ นอกจากนี้ กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน EGATIF จะเป็นกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานในกิจการไฟฟ้าที่ใหญ่ที่สุดในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในขณะนี้ โดยจุดเด่นต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้น ทำให้กองทุนรวมฯ มีโครงสร้างรายได้ที่ชัดเจน สม่ำเสมอ และผันผวนต่ำใกล้เคียงกับตราสารหนี้
ส่วนขั้นตอนการจัดตั้งกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน EGATIF นั้น ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงไทย จำกัด (มหาชน) ได้ยื่นร่างหนังสือชี้ชวนให้แก่สำนักงานกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาอนุมัติ โดยหลังจากที่หนังสือชี้ชวนมีผลบังคับใช้ ก็จะสามารถเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมฯ ได้ประมาณปลายเดือนมิถุนายนนี้ โดยรูปแบบการจัดสรรหน่วยลงทุนในส่วนที่จัดสรรให้แก่ผู้จองซื้อทั่วไปนั้นจะเป็นแบบ Small Lot First เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้จองซื้อทั่วไปทุกรายที่สนใจได้มีส่วนร่วมในการลงทุนเพื่อพัฒนาและสร้างความมั่นคงด้านพลังงานไฟฟ้าของประเทศ
ด้านนางชวินดา หาญรัตนกูล กรรมการผู้จัดการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน EGATIF มีโครงสร้างรายได้ที่ชัดเจนและมีรายได้สม่ำเสมอ ซึ่งสิทธิรายได้ค่าความพร้อมจ่ายที่ EGATIF จะได้รับนั้นขึ้นอยู่กับความพร้อมในการจ่ายไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าพระนครเหนือชุดที่ 1 เท่านั้น ซึ่งไม่ได้ขึ้นอยู่กับปริมาณการใช้ไฟฟ้าจริงและความต้องการใช้ไฟฟ้าและ ไม่ขึ้นกับอัตราค่าไฟฟ้าแต่อย่างใด นอกจากนี้ กองทุนรวมฯ ยังได้รับความคุ้มครองจากกรมธรรม์ประกันภัยที่ครอบคลุมทั้งหมด 4 ประเภท เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นต่อโรงไฟฟ้าฯ ในกรณีที่โรงไฟฟ้าฯ ได้รับความเสียหายและมีผลกระทบต่อรายได้ค่าความพร้อมจ่าย อาทิเช่น ประกันภัยธุรกิจหยุดชะงัก (Business Interruption Insurance) โดยหากโรงไฟฟ้าฯ ได้รับความเสียหายและไม่มีความพร้อมในการผลิตไฟฟ้า กฟผ.จะได้รับสินไหมทดแทนจากบริษัทประกันภัยและจะส่งมอบสินไหมทดแทนดังกล่าวให้แก่กองทุนรวมฯ นอกจากนี้กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน EGATIF มีนโยบายการจ่ายเงินปันผลไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของกำไรสุทธิที่ปรับปรุงแล้ว โดยจะจ่ายเงินปันผลอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง
สร้างเมื่อ วันพฤหัสบดี, 30 เมษายน 2558 15:09
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------