สายวันที่ 19 พฤศจิกายน2556 ถือเป็นวันประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญสูงสุดอีกวันหนึ่งของวงการเดินและจักรยานไทย อันรวมความไปถึงคนพิการ เพราะคณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบเรื่อง‘การจัดระบบและโครงสร้าง เพื่อส่งเสริมการเดินและการใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน’แล้ว
สืบเนื่องจากการที่หลายฝ่าย อันรวมถึงชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทย(ทีซีซี) ได้ร่วมด้วยช่วยกันผลักดันเป็นนโยบายสาธารณะว่าด้วยการเดินและการใช้จักรยานในวิถีชีวิตประจำวัน ผ่านกระบวนการและการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ(สช.)
โดยกระบวนการการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ทั้งในส่วนภูมิภาคและส่วนกลาง จนได้ออกมาเป็นฉันทามติ‘มติสมัชชาสุขภาพ ครั้งที่ 5’เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2555 และได้ผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(คสช.) ในอีกขั้นตอนหนึ่งเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2556
ทั้งนี้ตามขั้นตอนทางกฎหมาย มติของสมัชชาสุขภาพแห่งชาตินี้ต้องผ่านความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีอีกขั้นตอนหนึ่งเป็นขั้นตอนสุดท้าย ซึ่งคสช.โดยนายพงษ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคสช. ได้นำเรื่องนี้เข้าสู่การพิจารณาของครม.เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2556 ซึ่งครม.ได้ให้ความเห็นชอบมติคสช. นี้แล้วในช่วงสายของวันดังกล่าว
อนึ่งมีข้อสังเกตว่า หัวหน้าสูงสุดของหน่วยงานราชการหลายแห่งได้มีหนังสือแสดงความเห็นสอดคล้องและสนับสนุนนโยบายสาธารณะเดิน-จักรยานนี้ มาก่อนการพิจารณาของครม.ด้วย เช่น นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง(รมต.กระทรวงการคลัง) นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล(รมว.กระทรวงพลังงาน) นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ(รมต.กระทรวงมหาดไทย) นายสนธยา คุณปลื้ม(รมต.กระทรวงวัฒนธรรม) นายประเสริฐ บุญชัยสุข (รมต.กระทรวงอุตสาหกรรม) นางปวีณา หงสกุล(รมต.กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์) นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์(รมต.กระทรงคมนาคม) นายวิเชษฐ์ เกษมทองศรี(รมต.กระทรงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) และนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ (เลขาธิการ คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ,สศช.)
จากนี้ไป กระทรวงและหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องก็สามารถนำมติครม.นี้ไปใช้ในการกำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์ วางแผนและแผนงาน รวมทั้งของบประมาณ ตลอดจนนำงบประมาณที่ได้ไปใช้เพื่อพัฒนาทั้งโครงสร้างทางกายภาพและโครงสร้างของสังคม ให้สอดคล้องและเหมาะสมกับวิถีชีวิตไทย ในการเดินและการใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน
รายละเอียดของมติครม.กับมติคสช.นี้เข้าใจว่าอาจมีส่วนที่ไม่ตรงกันหรือต่างกันบ้างเล็กน้อย ตรงนี้ยังไม่เด่นชัด เมื่อเราได้รายละเอียดดังกล่าวจากสำนักเลขาธิการครม. เราจะนำความคืบหน้ามานำเสนอต่อพวกเราต่อไป
แต่ ณ เวลานี้ เราขอแสดงความยินดีกับทุกคนที่ได้มีส่วนขับเคลื่อนผลักดันนโยบายสาธารณะในระดับชาติ ออกมาจนถึงจุดที่จะเรียกว่า‘จุดสูงสุด’ก็ได้นี้
http://www.thaicyclingclub.org/article/detail/1952
งานนี้มีเฮ...ครม.ผ่านมติ เดิน-จักรยานแล้ว
สืบเนื่องจากการที่หลายฝ่าย อันรวมถึงชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทย(ทีซีซี) ได้ร่วมด้วยช่วยกันผลักดันเป็นนโยบายสาธารณะว่าด้วยการเดินและการใช้จักรยานในวิถีชีวิตประจำวัน ผ่านกระบวนการและการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ(สช.)
โดยกระบวนการการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ทั้งในส่วนภูมิภาคและส่วนกลาง จนได้ออกมาเป็นฉันทามติ‘มติสมัชชาสุขภาพ ครั้งที่ 5’เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2555 และได้ผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(คสช.) ในอีกขั้นตอนหนึ่งเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2556
ทั้งนี้ตามขั้นตอนทางกฎหมาย มติของสมัชชาสุขภาพแห่งชาตินี้ต้องผ่านความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีอีกขั้นตอนหนึ่งเป็นขั้นตอนสุดท้าย ซึ่งคสช.โดยนายพงษ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคสช. ได้นำเรื่องนี้เข้าสู่การพิจารณาของครม.เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2556 ซึ่งครม.ได้ให้ความเห็นชอบมติคสช. นี้แล้วในช่วงสายของวันดังกล่าว
อนึ่งมีข้อสังเกตว่า หัวหน้าสูงสุดของหน่วยงานราชการหลายแห่งได้มีหนังสือแสดงความเห็นสอดคล้องและสนับสนุนนโยบายสาธารณะเดิน-จักรยานนี้ มาก่อนการพิจารณาของครม.ด้วย เช่น นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง(รมต.กระทรวงการคลัง) นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล(รมว.กระทรวงพลังงาน) นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ(รมต.กระทรวงมหาดไทย) นายสนธยา คุณปลื้ม(รมต.กระทรวงวัฒนธรรม) นายประเสริฐ บุญชัยสุข (รมต.กระทรวงอุตสาหกรรม) นางปวีณา หงสกุล(รมต.กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์) นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์(รมต.กระทรงคมนาคม) นายวิเชษฐ์ เกษมทองศรี(รมต.กระทรงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) และนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ (เลขาธิการ คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ,สศช.)
จากนี้ไป กระทรวงและหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องก็สามารถนำมติครม.นี้ไปใช้ในการกำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์ วางแผนและแผนงาน รวมทั้งของบประมาณ ตลอดจนนำงบประมาณที่ได้ไปใช้เพื่อพัฒนาทั้งโครงสร้างทางกายภาพและโครงสร้างของสังคม ให้สอดคล้องและเหมาะสมกับวิถีชีวิตไทย ในการเดินและการใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน
รายละเอียดของมติครม.กับมติคสช.นี้เข้าใจว่าอาจมีส่วนที่ไม่ตรงกันหรือต่างกันบ้างเล็กน้อย ตรงนี้ยังไม่เด่นชัด เมื่อเราได้รายละเอียดดังกล่าวจากสำนักเลขาธิการครม. เราจะนำความคืบหน้ามานำเสนอต่อพวกเราต่อไป
แต่ ณ เวลานี้ เราขอแสดงความยินดีกับทุกคนที่ได้มีส่วนขับเคลื่อนผลักดันนโยบายสาธารณะในระดับชาติ ออกมาจนถึงจุดที่จะเรียกว่า‘จุดสูงสุด’ก็ได้นี้
http://www.thaicyclingclub.org/article/detail/1952