P/E เรื่องธรรมดา ที่"ไม่ธรรมดา"

กระทู้สนทนา
ออกตัวก่อนว่าเพิ่งศึกษาเรื่องหุ้นอย่างจริงจังเมื่อ 5 เดือนที่ผ่าน แต่มีความสนใจในตัวหุ้นเป็นพิเศษ เม่าเนิร์ด และที่ทำกระทู้นี้ขึ้นเพื่อ

1. ทำความเข้าใจกับตัวเองเรื่องความรู้ว่ามีความถูกต้องเพียงใด ถ้าไม่ถูกต้องรบกวนผู้รู้ หรือ กูรู แนะนำได้เลยครับ เพื่อให้ท่านที่สนใจทราบด้วย เม่าคัทลอส
2. ให้ความรู้กับเพื่อนนักลงทุนที่ลงทุนใหม่ ให้เลือกหุ้นด้วยตัวเองเป็น ไม่อยากให้ตามเพื่อน ตามเซียน หรือตามโบรกเกอร์ แล้วพอหุ้นตก ติดดอยก็โทษพวกเค้าเหล่านั้นทั้งๆ ที่ตัวเองเป็นคนกดสั่งซื้อ หรือ โทรไปบอกเขาเอง เม่าจอแดง2

และด้วยความมันส์ดังนี้

1. งงมากกับราคาขึ้นๆ ลงๆ ตามปัจจัยหลายๆอย่าง บางทีกำไรดีแต่ดีไม่เท่าที่คาดการณ์ (ไม่รู้ว่าใครคาดดารณ์) ราคาตก ขาดทุนแต่ขาดทุนน้อยกว่าที่คาด ราคาขึ้นซะงั้น เม่าคัทลอส
2. ค่าที่ใช้ในการเลือกมีเยอะมาก ไม่ว่าจะเป็น P/E ,EBITDA, EBIT,Revenue, ROA, ROE , Cash Flow , PEG เป็นต้น เม่าแพนด้า
3. กูรู VI แต่ละท่านมีแนวทางและเหตุผลในการเลือกหุ้นต่างกัน แต่ทุกคนที่เป็น VI จริงๆ Port ก็โตกันทุกคน นางพญาเม่า
4. สูตรต่างๆที่ออกมาในท้องตลาด ทั้ง Internet และ หนังสือ อาจจะใช้ไม่ได้ผลในสถานการณ์ พูดง่ายๆ คือ คุณต้องหาสูตรที่เหมาะในการเลือกหุ้นกับวุฒิภาวะ วุฒิเชิงอารมณ์ของตัวคุณเอง เม่าหนาว
5. คำว่า "วินัยเชิงอารมณ์" และ "จิตวิทยาในการลงทุน" ช่างลึกซึ้งนัก เม่าอดีต

ว่าด้วยเรื่องที่ 1 : P/E เรื่องธรรมดา ที่ "ไม่ธรรมดา"  กระทิงเริงร่า

เนื่องด้วยนักวิชาการที่ให้ความสำคัญกับ P/E ที่สุด น่าจะเป็น เบนจามิน เกรแฮม ผู้คิดค้นการหาหุ้นแบบมุลค่าขึ้นมาโดยกล่าวว่าหุ้นที่มี P/E สูงเกินไปเป็นหุ้นที่ไม่น่าซื้อเพราะ เราต้องจ่ายในราคาทุน "แพง" และจะทำให้ Margin of Safety หรือส่วนต่างความปลอดภันน้อยลง (แต่ในปัจจุบันเรื่อง P/E ที่แพงนั้น ก็ด้วยค่าความนิยมในตัวหุ้น หรือ หุ้นนั้นเป็นหุ้นโตเร็ว ถึงแม้บางครั้ง P/E จะแพงไปบ้าง(แต่ไม่แพงจนเกินไป) ซึ่งในข้อนี้ผมเห็นด้วยครับ)

P = Price หรือ ราคาของหุ้น ณ ช่วงขณะนั้น

E = Earning หรือกำไรต่อหุ้น ซึ่งในตลาดใช้เป็น Forward Earning หรือ กำไรที่คาดการณ์ในอนาคต

ค่า P คงไม่ต้องอธิบายกันมากครับ เพราะเราเห็นอยู่แล้วว่าราคานั้นขึ้นๆ ลงๆ แต่ก็มีความสำคัญ ที่สำคัญเพราะเป็นตัวกำหนดในตอนท้ายว่า ราคาเท่านี้ "สมควรซื้อหรือเปล่า"

ดังนั้นมาดูที่ E ครับ

ยกตัวอย่างครับ



จากรูปด้านบน จะคำนวณค่า E ได้ จาก P/E = 32.32 ค่า P = 40.50 บาท ดังนั้นค่า E = 40.50/32.32 = 1.25 บาทต่อหุ้น

ใน Sheet เดียวกัน ตรงกลาง ทางขวามือ (ดูที่งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ)



จะเห็นได้ว่าบรรทัด กำไรต่อหุ้น(บาท) หรือ ค่า E หรือ Earning = 0.95 บาท ต่อ หุ้น
0.95 บาท มาจากไหน ? มาจาก  E = กำไรสุทธิ(ล้านบาท)/จำนวนหุ้น(ล้านหุ้น) = 8,494.53/8,983.10 = 0.9456 = 0.95 บาท ต่อหุ้น
(*** กำไรต่อหุ้นนี้คือ กำไร ณ ไตรมาสที่ 3 หรือกำไรใน 9 เดือนเท่านั้นไม่ใช่ 12 เดือน) แต่ E ตอนใช้คิด คือ 1.25 บาทต่อหุ้น หรือ ราคาที่ประเมินว่าสิ้นปี ค่า E คงจะอยู่ที่ 1.25 บาทต่อหุ้น

ซึ่งต้องมาดูว่าที่ใช้ 1.25 บาทนั้น ถูกต้องแค่ไหน อาจจะมากกว่าหรือน้อยกว่านั้นครับ ลองสักเกตุที่ ปี 2555(ทั้งปี) = 1.23 บาท ต่อ หุ้น และ ปี 2555 (เดือน 1 - 9) = 0.92 บาท ต่อหุ้น ดังนั้น ที่ 1.25 บาท ต่อ หุ้น ก็คำนวนจากเหตุผลก็พอรับได้ครับ ที่ บ. นี้จะมีอัตรากำไรเพิ่มขึ้น แค่ 1.62 % เม่าโกรธ คำถามต่อมา แล้วเราจะใช้ตัวไหนหล่ะทีนี้ ในส่วนตัวผมเองการใช้ค่า E ในอนาคต เหมือนการคาดการณ์ในอนาคตว่าจะกำไรเท่าโน้น เท่านี้ ซึ่งไม่น่าจะมีใครเดาได้ถูกครับ ดังนั้นเราเองควรจะศึกษาค่า E 10 ปี ย้อนหลัง ว่าเติบโตเช่นไร(อย่าลืม คูณจำนวนหุ้นนะครับเพราะบางบริษัทมีการแตกหุ้นครับ) จะทำให้รู้ว่าบริษัทกำไรเติบโตมาทุกปีในอัตราเท่านี้ และอาจจะเติบโตไปอีกในอนาคต การใช้ค่า E ที่รู้อยู่แล้วหรือ E ของปีก่อนๆ และถ้าบริษัทมีผลกำไรเติบโตอีก จะทำให้เรามีส่วนต่างความปลอดภัยเพิ่มขึ้นอีกครับ  

คำถามต่อมาซื้อที่ราคาเท่านี้ P/E ขนาดนี้น่าซื้อไหม นั่นก็แล้วแต่วิจารณญาณส่วนบุคคลครับ แต่ขอให้ใช้เหตุผลในการซื้อ เพราะเหตุผลนี้จะยึดเหนี่ยวให้เราถือหุ้น ไม่ขายตัดทุน เพราะเราได้คำนวณมาแล้ว ตัดสินใจแล้วว่า บ. นี้ น่าลงทุน

ผมอยากจะยกตัวอย่างในส่วนที่ผมคิดขึ้นมาเอง ถ้า บ. ค่า P/E ย้อนหลัง 10 ปี อยู่ที่ 30 ทุก ๆ ปี



และคำกล่าวของสุดยอด VI ที่ว่า ซื้อหุ้น บ. ที่สุดยอด ในราคาเหมาะสม ดีกว่าซื้อหุ้น บ. ปานกลาง ในราคาถูกนั้น เป็นคำพูดที่ผมชอบที่สุดครับ เม่าฝึกจิตเม่าฝึกจิต

หวังว่าคงเป็นประโยชน์กับเพื่อนๆ นักลงทุนไม่มากก็น้อยนะครับ

หากมีข้อผิดพลาดอันใด จะนำไปแก้ไข และแก้ข้อความให้ถูกต้อครับ รบกวนพี่ๆ แนะนำด้วยครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่