ในช่วงการต่อต้าน พ.ร.บ.นริโทษกรรม ผมได้มีโอกาสเห็นภาพของครูที่ใช้ลูกศิษย์ตัวเองเป็นเครื่องมือในการแสดงความเห็นทางการเมืองอยู่หลายภาพ รู้สึกเศร้าใจอย่างไรบอกไม่ถูก วันนี้เลยขอหยิบเรื่องราวเก่าๆที่เคยเขียนไว้เกี่ยวกับครูมาถ่ายทอดมุมมองที่ต่างออกไปบ้าง และก็มีโคลงสี่สุภาพที่ผมแต่งขึ้นใหม่ เพื่อเคารพสักการะพระคุณครู ที่เคยประสิทธิประสาทความรู้ ให้ผมสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมนี้ได้อย่างมีสติไตร่ตรอง
+.+.+.+.+.+.+.+.+.+.+.+.+.+.+.+.+.+.+.+.+.+
พวกหรีดดอกไม้สดแขวนเรียงกันไว้บนผ้าม่านหนาสีแดงเลือดนกบนศาลาวัด ซึ่งจัดเป็นที่ตั้งงานศพ ด้านขวามีรูปภาพของผู้ตายอยู่ในชุดเสื้อเชิ้ตสีขาว ยิ้มสดใสผมขาวโพลนตามวัยเจ็ดสิบปี เขาคือครู แสวง ครูที่ใจดีและคอยประสิทธิประสาทวิชาให้กับเด็กในหมู่บ้านนี้ หรือที่คนทั่วไปรู้จักในนาม ครูสี........
เพราะหลังเกษียณอายุราชการ ครูแสวงเป็นตัวตั้งตัวตีทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์กลุ่มก้อนทางการเมืองสีหนึ่ง ให้กับคนที่เคารพนับถือแก่ แต่ก็ไม่มีสักครั้งเลย ที่เมื่อครูแสวงได้ชักชวนประชาสัมพันธ์แล้ว คนที่รับฟังนั้น มีท่าทีไม่เห็นด้วย ครูแสวงจะตื้อหรือรบเร้าให้คนอื่นหันมาคิดเห็นตามแก่ แก่ยังมีคำพูดติดปากอยู่เสมอที่ฟังคล้ายปลอบใจตัวเองว่า “เรื่องการเมืองมันบังคับกันไม่ได้ ไม่เป็นไร....ไม่เป็นไร แต่ถ้าเปลี่ยนใจเมื่อไร ก็บอกกันนะ”
เสียงมโหรีปี่พาทย์ที่ดังจากลำโพงรอบด้าน เป็นพัฒนาการของการจัดงานในยุควงมโหรีจริงๆ กลายเป็นสิ่งที่หายากเข้าไปทุกที แม้แต่ในจังหวัดชนบทแบบนี้ แต่เสียงจากเทปคาสเซ็สที่ผ่านเครื่องขยายเสียง ก็ชวนให้เศร้าสร้อยตามบรรยากาศของงานที่จัดขึ้นเพราะการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก คนที่มาร่วมงาน นั่งบ้างยืนบ้างจับกลุ่มสนทนากันในเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับผู้ที่จากไป
แต่ล่ะคนมีสีหน้าซึมเศร้า แววตาบ่งบอกได้ถึงความอาลัยอาวรณ์ บางคนควบคุมตัวเองไม่อยู่ น้ำตารินไหลเมื่อยามไปจุดธูปไหว้ ขอขมาเป็นครั้งสุดท้ายต่อหน้าโลงศพ หยาดน้ำตาไม่รู้กี่หยด จากใครหลายคนที่รินหลั่งบนหมอนรองไหว้สีเหลืองใบนั้น
กลิ่นควันธูปที่ลอยอ้อยอิ่งจากกระถางธูป เตือนให้ใครบางคนต้องทำหน้าที่เปลี่ยนกระถางธูปใหม่ เพราะกระถางธูปใบเก่า อัดแน่นไปด้วยก้านธูปที่ไหม้หมดไปแค่ไม่ถึงครึ่งดอก บ่งบอกได้ถึงจำนวนคนที่มาร่วมไว้อาลัยให้กับผู้ที่จากไปในครั้งสุดท้าย
2 ทุ่มแล้ว พระสงฆ์สี่รูปเดินเข้ามาในโถงศาลาวัด เดินขึ้นไปนั่งบนชานไม้ยกสูงจากระดับพื้นศาลา แขกที่มาร่วมงาน พากันนั่งประจำที่ ศักดิ์ยกมือขึ้นพนม ดวงตามีแววสงบแต่ลึกๆ แล้วเขารู้ว่ามันเต็มไปด้วยความรู้สึกมากมาย ที่เขาเองก็ยังไม่สามารถแยกได้ว่าความรู้สึกเช่นนั้นคืออะไร รู้แต่ว่ามันกำลังคุกคามความสงบที่เคยมีอยู่ทุกวินาที ศักดิ์ไม่ได้ร้องให้เลยสักนิดเมื่อมรณกรรมของคุณครูมาถึง ความเสียใจถูกเก็บกักไว้ในส่วนลึกใครๆ ก็ว่าเขาเป็นคนเข้มแข็ง มีเพียงอาการขมวดคิ้วและเม้มริมฝีปากเท่านั้น
ไม่นานนักการสวดพระอภิธรรมก็จบสิ้น เจ้าภาพจัดการประเคนจตุปัจจัยแด่พระสงฆ์ นิมนต์ท่านลงจากศาลาไป ศักดิ์ลุกขึ้นจากที่นั่ง และเดินเลี่ยงออกมาด้านนอก หลบเลี่ยงที่จะนั่งฟังกลุ่มคนอุดมการณ์เดียวกับครูแสวง ที่จับกลุ่มวิพากษ์วิจารณ์เรื่องทางการเมืองกันบนศาลาวัด ศักดิ์เดินออกมาหามุมสงบโคนต้นปีบนอกศาลา นั่งอิงแอบเงาความมืด
30 ปีแล้วมั้ง ที่เขาได้รู้จักกับผู้มีพระคุณท่านนี้ ยังนึกภาพตัวเองร้องไห้กระจองอแงในวันแรกที่แม่จูงเขามาเรียนป.เกียมในภาษาของคนบ้านนอก หรือชั้นอนุบาลของคนกรุง ในโรงเรียนประจำหมู่บ้านได้ ครูแสวงนี่แหละเป็นคนเข้ามาจับตัวเขาที่กำลังดิ้นรนพยายามจะวิ่งตามแม่ ที่เดินจากไป ยังจำนกกระสากระดาษตัวแรกที่ครูแสวงเอามาหลอกล่อให้เขาสนใจและหยุดร้องไห้ได้ดี
วันนี้เขาอยากได้นกกระสากระดาษตัวนั้นอีกครั้ง เพราะน้ำตาในใจเขามันไหลหลั่งไม่มีทีท่าว่าจะหยุด
เนื่องจากเป็นโรงเรียนบ้านนอกเล็กๆแห่งหนึ่งในจังหวัดสิงห์บุรี เมื่อ 30 ปีก่อน โรงเรียนวัดที่เขาเรียนนั้นจึงมีครูเพียง 7 คน ครูหนึ่งคนจึงต้องทำหน้าที่สอนหลายวิชาให้กับหลายชั้นเรียน ทุกชั้นเรียนมีนักเรียนตั้งแต่ ป.เกียมจนถึงป.6 รวมกันทั้งหมด 40 กว่าคนเป็นเด็กที่อยู่ในละแวกนั้น ครูแสวงสอนวิชาพละและ ส.ป.ช เรียกอย่างเต็มยศว่า สร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต
ครูแสวงเป็นผู้ที่ทำให้เขารู้จักอวัยวะส่วนต่างของร่างกาย สอนให้รู้จักต้นไม้ใบหญ้า สอนให้รู้จักสัตว์เลี้ยงสัตว์ป่า สอนให้รู้จักศาสนาและวัฒนธรรม สอนให้รู้จักประเทศของเรา และอีกเยอะแยะมากมาย และมีเรื่องหนึ่งที่ยังจดจำฝั่งใจมาจนถึงทุกวันนี้ คงเป็นเรื่องเกี่ยวกับระบอบการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
ยังจำได้ดีในวันที่เขาได้รู้จักประชาธิปไตยครั้งแรก ก็ตอนสมัย ป.5 ซึ่งครูแสวงจัดให้มีการเลือกตั้งหัวหน้าห้องขึ้น ซึ่งปกติแล้ว อีหวาน ลูกยายปริก ทำหน้าที่นี่มาตลอดตั้งแต่ ป.1-ป.4 ครูแสวงนั้นแหละที่เป็นคนแต่งตั้งให้ ก็แน่ล่ะ อีหวานมันเป็นเด็กโข่งเรียนซ้ำชั้นมา 2 ปี แถมตัวใหญ่ยังกับหมีควาย ตัวใหญ่กว่าเด็กผู้ชายเสียอีก มันคุมเพื่อนๆในห้องได้อยู่แล้ว ในสมัยเด็กๆเขายังไม่เข้าใจหน้าที่รับผิดชอบของหัวหน้าห้อง รู้เพียงแต่ว่าเป็นคนกล่าวนำทักทายสวัสดีคุณครูยามครูเข้ามาสอน และกล่าวนำอำลาคุณครูยามสอนเสร็จเท่านั้น
แต่ระบอบประชาธิปไตยจำต้องมีการขันอาสาเพื่อเข้าเป็นตัวแทนลงคัดเลือก ซึ่งครูแสวงเลือกคนขึ้นมาคนหนึ่งเป็นหลักไว้แล้ว และแน่นอน อีหวานในฐานะหัวหน้าห้องคนเก่า ก็ได้รับการเสนอชื่อจากครูแสวง ตอนนั้นเพื่อนร่วมชั้นของศักดิ์มีเพียงแค่ 6 คน ต่างมองหน้ากันไปมา ไม่มีใครกล้าเสนอตัวเองเลย ล้วนเกรงกลัวบารมีอีหวานกันจับใจ เพราะไม่รู้ว่าหากลงแข่งขันแล้วเกิดชนะขึ้นมา อีหวานจะผูกใจเจ็บตามมาเอาเรื่องที่หลังหรือเปล่า นึกถึงตอนนี้ ศักดิ์มีรอยยิ้มที่มุมปาก ตอนนั้นยอมรับเลยว่า เขากลัวอีหวานเอามากๆ
จึงเดือดร้อนครูแสวงต้องกระตุ้นเตือนนักเรียนที่เหลือว่า “ประชาธิปไตยคือเสรีภาพในการแสดงความเห็น หากปล่อยให้ความกลัวหรืออำนาจใดมาครอบงำการตัดสินใจที่จะเลือกหรือแสดงออก จะใช่ประชาธิปไตยได้อย่างไร” สำหรับเด็กบ้านนอกที่วันๆเอาแต่ดีดลูกหินลูกแก้ว คำกล่าวเหล่านี้อาจจะถูกต้อง แต่ก็เข้าใจได้ยากเกินไปสำหรับเด็ก และจนแล้วจนรอด ก็ไม่มีใครอาสา อีหวานได้เป็นหัวหน้าห้องเหมือนเดิม
แต่ศักดิ์ก็มีความทรงจำเกี่ยวกับประชาธิปไตยที่สวยงาม เพราะเขาชนะเลิศประกวดเรียงความระดับจังหวัด ในหัวข้อ อุดมการณ์ประชาธิปไตยของฉัน ทำเอาครูแสวงยิ้มไม่ยอมหุบไปหลายวัน เป็นปลื้มและชื่นชมลูกศิษย์ที่สอนมากับมือ แต่เด็กก็คือเด็ก ยังไม่เข้าใจความหมายสิ่งที่ตัวเองเขียนอย่างถ่องแท้ แค่ศักดิ์เขียนตามแบบที่เขาคิด ซึ่งเป็นแนวคิดง่ายๆ สำหรับระบอบประชาธิปไตย คือการเคารพเสียงส่วนใหญ่เท่านั้นเอง
“ดีมาก มีอุดมการณ์ ดีมาก” ครูแสวงพร่ำชมเมื่อได้อ่านเรียงความฉบับนั้นของเขา
“จงยึดมั่นในอุดมการณ์แบบนี้ต่อไปนะ” คำเหล่านั้น กว่าเขาจะมาเข้าใจจริงๆได้ ก็ตอนโตเป็นผู้ใหญ่นี้แหละ
“ทุกคนดูเอาไว้ ประชาธิปไตยที่ดี ต้องมีอุดมการณ์ แต่อุดมการณ์ของแต่ล่ะคน ใช่ว่าจะต้องเหมือนกันหมด เพราะประชาธิปไตยคือเสรีภาพ แต่ล่ะคนสามารถเลือกเชื่อในสิ่งที่ตัวเองคิดว่าถูกต้องได้ จำไว้นะ นักเรียนทุกคน” “ครับ/ค่ะ”เพื่อนนักเรียนร่วมห้องรวมทั้งเขา รับคำครูแสวงอย่างพร้อมเพรียง
เพราะอุดมการณ์นี่เองที่ทำให้ศักดิ์เกือบจะต้องสังเวยชีวิต ให้กับอุดมการณ์ประชาธิปไตยของเขาเมื่อตอนเหตุการณ์พฤกษาทมิฬ ปี 35 ความรุนแรงที่ครูไม่เคยได้สอนสั่ง ถาโถมเข้ากระหน่ำเขาอย่างบ้าคลั่ง จนเขาต้องหลบแอบซ่อนอยู่ใกล้ศพ ของผู้คนร่วมอุดมการณ์เดียวกับเขา นั่นสอนให้เขารู้จักโลกแห่งความเป็นจริง ที่ไม่เคยปรากฏอยู่ในบทเรียนวิชา ส.ป.ช ที่ครูพร่ำสอน นั่นคือจุดเริ่มของความแตกต่างทางความคิด ที่ต่อมาแตกต่างกันชัดเจนในเรื่องทางการเมืองสำหรับเขากับครูผู้มีพระคุณ
แม้ว่าเรียนจบชั้นประถมแล้ว ครูแสวงก็ใช่ว่าจะห่างหายไปจากชีวิตเขา เพราะแกก็มีพื้นเพอยู่ที่นี่ มีแค่ช่วงเรียนมหาวิทยาลัยเท่านั้น ที่เขากับคุณครูได้เหินห่างกันไปบ้าง ศักดิ์ จำได้ดี ในวันที่เขาเรียนจบปริญญาแล้วกลับมาเพื่อรับหน้าที่สืบทอดกิจการเล็กๆที่บ้าน ก็เป็นวันที่ครูแสวงเกษียณอายุราชการพอดี งานเลี้ยงส่งครูผู้ทำหน้าที่ดูแลสั่งสอนบุตรหลานของคนในหมู่บ้านถูกจัดขึ้น แม้จะใช้งบประมาณไม่มากจัดกันตามประสาคนบ้านนอกคอกนา แต่ดูใหญ่โตด้วยจำนวนคนที่เข้ามาร่วมงาน ครูทุกคนที่เคยสอนที่นี่ หากเกษียณอายุราชการได้รับเกียรติแบบนี้เสมอ
และงานศพก็ไม่ต่างกัน คร่าคร่ำไปด้วยลูกศิษย์ลูกหามากมาย ต่างช่วยกันคนล่ะไม้คนลืมมือ ช่วยงานเจ้าภาพทุกอย่าง เหมือนทำเพื่อแสดงความกตัญญูกตเวทีครั้งสุดท้าย
“เฮ้ย มานั่งทำไร มืดๆว่ะ ไอ้ศักดิ์”เสียงหนึ่งปลุกเขาจากภวังค์
“มานั่งรอดักฉุดสาวๆ เอ็งเห็นสาวๆบ้างไหมวะ อีหวาน ข้าเห็นมีแต่หมีควาย”เขาตอบหยอกแรงๆกับเพื่อนวัยเด็ก ที่เดินเข้ามาสนทนาด้วย
“แหม ไอ้นี้ วอนโดนส้นซะแล้ว...”อีหวานตอบกับมา ก่อนจะพากันหัวเราะร่วนเมื่อสบตากัน ตั้งแต่เริ่มงานมาเขาแทบไม่ได้สนทนากับเพื่อนเลย เพราะเห็นมันยุ่งๆ วุ่นวายกับการต้อนรับแขกเหรื่อแทนเจ้าภาพ แต่พอจะได้คุยกับเพื่อนร่วมห้องคนอื่นๆอยู่บ้าง
“เอ็งรู้แล้วใช่ไหม ว่าพรุ่งนี้วันเผา พวกแกนนำที่กรุงเทพของกลุ่มที่ครูไปเข้าร่วม จะมาเป็นเจ้าภาพวันเผา”อีหวานเอ่ยถามลอยๆ สายตาจับจ้องขึ้นไปบนศาลา
“เอ่อ รู้แล้ว ข้าก็ถึงกะว่าจะฝากซองของข้า ให้เอ็งเอาไปให้เมียครูไง”
“อ้าว ไอ้ ชิ...หาย สรุปรุ่นเราทั้งรุ่น กะจะไม่มีใครมาวันเผาเลยเรอะ”อีหวานสบถบ่น พร้อมบอกกับเขาว่า เพื่อนร่วมรุ่นคนอื่นๆก็ต่างฝากซองให้มันเก็บไว้ เตรียมเอาไปมอบให้ญาติครูแสวงพรุ่งนี้ ซึ่งมันเก็บมาครบแล้ว ขาดแต่เขาคนเดียว
“ก็เอ็งไง อีหวาน ในฐานะหัวหน้าห้อง เอ็งต้องไปเป็นตัวแทนเพื่อนๆในห้อง”ศักดิ์ควักซองช่วยงานที่เตรียมไว้ส่งให้อีหวาน และตอบอย่างที่เคยได้หารือกับเพื่อนร่วมรุ่นคนอื่นๆ ซึ่งพร้อมเพรียงใจกัน จะไม่ไปงานวันเผาครูแสวงพรุ่งนี้ เนื่องด้วยแต่ล่ะคน ต่างรู้สึกรังเกียจเดียดฉันท์พฤติกรรมแกนนำกลุ่มนี้อยู่เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว
“กรรมเวรของข้า แต่ก็เอาเถอะ ข้ารับหน้าเองก็ได้”อีหวานรับซองของเขา ไปใส่ไว้ในกระเป๋าถือ ใส่ไว้รวมกับซองแบบเดียวกันอยู่ในนั้น 5-6 ซอง
“เอ่อ แบบนี้สิหัวหน้าห้องของพวกเรา”เขาตบไหล่ตบหลังเพื่อนสาวอย่างพอใจ และคิดว่าตั้งแต่อีหวานเป็นหัวหน้าห้องของเขามา มีครั้งนี้แหละ ที่เขาเห็นว่ามันทำหน้าที่ได้เหมาะสมกับตำแหน่งที่สุด
“แต่เอ็งอย่าไปเผลอยกมือไหว้ ไอ้พวกนั้นเข้าล่ะ เดี๋ยวมันจะมาชวนเอ็งเข้ากลุ่มด้วย”
“จะด่าให้ล่ะสิไม่ว่า ถ้าขืนสอใส่เกือกมาชวนข้า..ไอ้พวกที่คอยถ่วงความเจริญประเทศ”อีหวานพึมพำตอบ สายตาจับจ้องไปที่รูปครูแสวงที่ตั้งอยู่หน้าโลงศพแล้วบอกกับเขาว่า
“ไม่รู้ครู เขาคิดอะไรของเขาเนอะ ถึงได้ไปเชื่อคนพวกนั้น”
“อย่าไปคิดแบบนั้นเลย เหมือนที่ครูเคยสอนเราตอนเด็กๆไง”อีหวานพยักหน้ารับคำเขา เข้าใจในความหมายที่เพื่อนพูด
“แล้วครู เขาจะเสียใจไหม ถ้าหากรู้ว่าพวกเราคิดไม่เหมือนเขา”เป็นคำถามที่ศักดิ์ได้แต่คิดในใจไม่ได้พูดออกมา ซึ่งคงไม่ต่างกับ อีหวานและเพื่อนๆคนอื่นๆที่คิดเช่นเดียวกัน แต่ไม่เคยมีใคร เปิดเผยความในใจออกมาให้ครูได้รู้เลย ว่าพวกตนคิดเห็นเช่นไรทางการเมือง พวกเขาไม่มีความกล้าพอที่จะบอกว่า เขาชื่นชมนักการเมืองคนหนึ่ง ซึ่งครูของพวกเขาตั้งแง่รังเกียจ
“ครูครับ จะผิดไหม ถ้าจะบอกครูว่า ผมชอบ.....”วันนี้ทุกคนก็คงได้แต่เก็บงำความรู้สึกในใจไว้ แต่หวังว่าดวงวิญญาณของผู้มีพระคุณอย่างครูแสวงจะเข้าใจ ในเหตุผลที่เขาเลือกที่คิดแบบนั้น
พระคุณของครู ลูกศิษย์ทุกคนต่างจำใจไว้ไม่เคยลืมเลือน คำสอนของครูก็เช่นกัน ไม่เคยจางหายไปจากเด็กชั้นประถมทุกคนเมื่อ 30 ปีก่อนเลยแม้แต่คนเดียว
“ทุกๆคน มีสิทธิที่จะเลือกเชื่อในสิ่งที่ตนคิดว่าถูกต้อง”
และวันนี้ พวกเขาได้เลือกแล้ว
แม้จะต่างจากความเชื่อของครูผู้สอน
คนที่เคยทำดี ต่อให้มีความต่างทางอุดมการณ์แค่ไหน ยังไงก็เป็นคนดี
ผิดกับคนที่เป็นคนเลว ต่อให้มีอุดมการณ์ที่ดีแค่ไหน ยังไงก็เป็นคนเลว
วันสุดท้ายของครูผู้สอนให้รู้จักอุดมการณ์(โคลงสี่สุภาพ เรื่องสั้น)
พวกหรีดดอกไม้สดแขวนเรียงกันไว้บนผ้าม่านหนาสีแดงเลือดนกบนศาลาวัด ซึ่งจัดเป็นที่ตั้งงานศพ ด้านขวามีรูปภาพของผู้ตายอยู่ในชุดเสื้อเชิ้ตสีขาว ยิ้มสดใสผมขาวโพลนตามวัยเจ็ดสิบปี เขาคือครู แสวง ครูที่ใจดีและคอยประสิทธิประสาทวิชาให้กับเด็กในหมู่บ้านนี้ หรือที่คนทั่วไปรู้จักในนาม ครูสี........
เพราะหลังเกษียณอายุราชการ ครูแสวงเป็นตัวตั้งตัวตีทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์กลุ่มก้อนทางการเมืองสีหนึ่ง ให้กับคนที่เคารพนับถือแก่ แต่ก็ไม่มีสักครั้งเลย ที่เมื่อครูแสวงได้ชักชวนประชาสัมพันธ์แล้ว คนที่รับฟังนั้น มีท่าทีไม่เห็นด้วย ครูแสวงจะตื้อหรือรบเร้าให้คนอื่นหันมาคิดเห็นตามแก่ แก่ยังมีคำพูดติดปากอยู่เสมอที่ฟังคล้ายปลอบใจตัวเองว่า “เรื่องการเมืองมันบังคับกันไม่ได้ ไม่เป็นไร....ไม่เป็นไร แต่ถ้าเปลี่ยนใจเมื่อไร ก็บอกกันนะ”
เสียงมโหรีปี่พาทย์ที่ดังจากลำโพงรอบด้าน เป็นพัฒนาการของการจัดงานในยุควงมโหรีจริงๆ กลายเป็นสิ่งที่หายากเข้าไปทุกที แม้แต่ในจังหวัดชนบทแบบนี้ แต่เสียงจากเทปคาสเซ็สที่ผ่านเครื่องขยายเสียง ก็ชวนให้เศร้าสร้อยตามบรรยากาศของงานที่จัดขึ้นเพราะการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก คนที่มาร่วมงาน นั่งบ้างยืนบ้างจับกลุ่มสนทนากันในเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับผู้ที่จากไป
แต่ล่ะคนมีสีหน้าซึมเศร้า แววตาบ่งบอกได้ถึงความอาลัยอาวรณ์ บางคนควบคุมตัวเองไม่อยู่ น้ำตารินไหลเมื่อยามไปจุดธูปไหว้ ขอขมาเป็นครั้งสุดท้ายต่อหน้าโลงศพ หยาดน้ำตาไม่รู้กี่หยด จากใครหลายคนที่รินหลั่งบนหมอนรองไหว้สีเหลืองใบนั้น
กลิ่นควันธูปที่ลอยอ้อยอิ่งจากกระถางธูป เตือนให้ใครบางคนต้องทำหน้าที่เปลี่ยนกระถางธูปใหม่ เพราะกระถางธูปใบเก่า อัดแน่นไปด้วยก้านธูปที่ไหม้หมดไปแค่ไม่ถึงครึ่งดอก บ่งบอกได้ถึงจำนวนคนที่มาร่วมไว้อาลัยให้กับผู้ที่จากไปในครั้งสุดท้าย
2 ทุ่มแล้ว พระสงฆ์สี่รูปเดินเข้ามาในโถงศาลาวัด เดินขึ้นไปนั่งบนชานไม้ยกสูงจากระดับพื้นศาลา แขกที่มาร่วมงาน พากันนั่งประจำที่ ศักดิ์ยกมือขึ้นพนม ดวงตามีแววสงบแต่ลึกๆ แล้วเขารู้ว่ามันเต็มไปด้วยความรู้สึกมากมาย ที่เขาเองก็ยังไม่สามารถแยกได้ว่าความรู้สึกเช่นนั้นคืออะไร รู้แต่ว่ามันกำลังคุกคามความสงบที่เคยมีอยู่ทุกวินาที ศักดิ์ไม่ได้ร้องให้เลยสักนิดเมื่อมรณกรรมของคุณครูมาถึง ความเสียใจถูกเก็บกักไว้ในส่วนลึกใครๆ ก็ว่าเขาเป็นคนเข้มแข็ง มีเพียงอาการขมวดคิ้วและเม้มริมฝีปากเท่านั้น
ไม่นานนักการสวดพระอภิธรรมก็จบสิ้น เจ้าภาพจัดการประเคนจตุปัจจัยแด่พระสงฆ์ นิมนต์ท่านลงจากศาลาไป ศักดิ์ลุกขึ้นจากที่นั่ง และเดินเลี่ยงออกมาด้านนอก หลบเลี่ยงที่จะนั่งฟังกลุ่มคนอุดมการณ์เดียวกับครูแสวง ที่จับกลุ่มวิพากษ์วิจารณ์เรื่องทางการเมืองกันบนศาลาวัด ศักดิ์เดินออกมาหามุมสงบโคนต้นปีบนอกศาลา นั่งอิงแอบเงาความมืด
30 ปีแล้วมั้ง ที่เขาได้รู้จักกับผู้มีพระคุณท่านนี้ ยังนึกภาพตัวเองร้องไห้กระจองอแงในวันแรกที่แม่จูงเขามาเรียนป.เกียมในภาษาของคนบ้านนอก หรือชั้นอนุบาลของคนกรุง ในโรงเรียนประจำหมู่บ้านได้ ครูแสวงนี่แหละเป็นคนเข้ามาจับตัวเขาที่กำลังดิ้นรนพยายามจะวิ่งตามแม่ ที่เดินจากไป ยังจำนกกระสากระดาษตัวแรกที่ครูแสวงเอามาหลอกล่อให้เขาสนใจและหยุดร้องไห้ได้ดี
วันนี้เขาอยากได้นกกระสากระดาษตัวนั้นอีกครั้ง เพราะน้ำตาในใจเขามันไหลหลั่งไม่มีทีท่าว่าจะหยุด
เนื่องจากเป็นโรงเรียนบ้านนอกเล็กๆแห่งหนึ่งในจังหวัดสิงห์บุรี เมื่อ 30 ปีก่อน โรงเรียนวัดที่เขาเรียนนั้นจึงมีครูเพียง 7 คน ครูหนึ่งคนจึงต้องทำหน้าที่สอนหลายวิชาให้กับหลายชั้นเรียน ทุกชั้นเรียนมีนักเรียนตั้งแต่ ป.เกียมจนถึงป.6 รวมกันทั้งหมด 40 กว่าคนเป็นเด็กที่อยู่ในละแวกนั้น ครูแสวงสอนวิชาพละและ ส.ป.ช เรียกอย่างเต็มยศว่า สร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต
ครูแสวงเป็นผู้ที่ทำให้เขารู้จักอวัยวะส่วนต่างของร่างกาย สอนให้รู้จักต้นไม้ใบหญ้า สอนให้รู้จักสัตว์เลี้ยงสัตว์ป่า สอนให้รู้จักศาสนาและวัฒนธรรม สอนให้รู้จักประเทศของเรา และอีกเยอะแยะมากมาย และมีเรื่องหนึ่งที่ยังจดจำฝั่งใจมาจนถึงทุกวันนี้ คงเป็นเรื่องเกี่ยวกับระบอบการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
ยังจำได้ดีในวันที่เขาได้รู้จักประชาธิปไตยครั้งแรก ก็ตอนสมัย ป.5 ซึ่งครูแสวงจัดให้มีการเลือกตั้งหัวหน้าห้องขึ้น ซึ่งปกติแล้ว อีหวาน ลูกยายปริก ทำหน้าที่นี่มาตลอดตั้งแต่ ป.1-ป.4 ครูแสวงนั้นแหละที่เป็นคนแต่งตั้งให้ ก็แน่ล่ะ อีหวานมันเป็นเด็กโข่งเรียนซ้ำชั้นมา 2 ปี แถมตัวใหญ่ยังกับหมีควาย ตัวใหญ่กว่าเด็กผู้ชายเสียอีก มันคุมเพื่อนๆในห้องได้อยู่แล้ว ในสมัยเด็กๆเขายังไม่เข้าใจหน้าที่รับผิดชอบของหัวหน้าห้อง รู้เพียงแต่ว่าเป็นคนกล่าวนำทักทายสวัสดีคุณครูยามครูเข้ามาสอน และกล่าวนำอำลาคุณครูยามสอนเสร็จเท่านั้น
แต่ระบอบประชาธิปไตยจำต้องมีการขันอาสาเพื่อเข้าเป็นตัวแทนลงคัดเลือก ซึ่งครูแสวงเลือกคนขึ้นมาคนหนึ่งเป็นหลักไว้แล้ว และแน่นอน อีหวานในฐานะหัวหน้าห้องคนเก่า ก็ได้รับการเสนอชื่อจากครูแสวง ตอนนั้นเพื่อนร่วมชั้นของศักดิ์มีเพียงแค่ 6 คน ต่างมองหน้ากันไปมา ไม่มีใครกล้าเสนอตัวเองเลย ล้วนเกรงกลัวบารมีอีหวานกันจับใจ เพราะไม่รู้ว่าหากลงแข่งขันแล้วเกิดชนะขึ้นมา อีหวานจะผูกใจเจ็บตามมาเอาเรื่องที่หลังหรือเปล่า นึกถึงตอนนี้ ศักดิ์มีรอยยิ้มที่มุมปาก ตอนนั้นยอมรับเลยว่า เขากลัวอีหวานเอามากๆ
จึงเดือดร้อนครูแสวงต้องกระตุ้นเตือนนักเรียนที่เหลือว่า “ประชาธิปไตยคือเสรีภาพในการแสดงความเห็น หากปล่อยให้ความกลัวหรืออำนาจใดมาครอบงำการตัดสินใจที่จะเลือกหรือแสดงออก จะใช่ประชาธิปไตยได้อย่างไร” สำหรับเด็กบ้านนอกที่วันๆเอาแต่ดีดลูกหินลูกแก้ว คำกล่าวเหล่านี้อาจจะถูกต้อง แต่ก็เข้าใจได้ยากเกินไปสำหรับเด็ก และจนแล้วจนรอด ก็ไม่มีใครอาสา อีหวานได้เป็นหัวหน้าห้องเหมือนเดิม
แต่ศักดิ์ก็มีความทรงจำเกี่ยวกับประชาธิปไตยที่สวยงาม เพราะเขาชนะเลิศประกวดเรียงความระดับจังหวัด ในหัวข้อ อุดมการณ์ประชาธิปไตยของฉัน ทำเอาครูแสวงยิ้มไม่ยอมหุบไปหลายวัน เป็นปลื้มและชื่นชมลูกศิษย์ที่สอนมากับมือ แต่เด็กก็คือเด็ก ยังไม่เข้าใจความหมายสิ่งที่ตัวเองเขียนอย่างถ่องแท้ แค่ศักดิ์เขียนตามแบบที่เขาคิด ซึ่งเป็นแนวคิดง่ายๆ สำหรับระบอบประชาธิปไตย คือการเคารพเสียงส่วนใหญ่เท่านั้นเอง
“ดีมาก มีอุดมการณ์ ดีมาก” ครูแสวงพร่ำชมเมื่อได้อ่านเรียงความฉบับนั้นของเขา
“จงยึดมั่นในอุดมการณ์แบบนี้ต่อไปนะ” คำเหล่านั้น กว่าเขาจะมาเข้าใจจริงๆได้ ก็ตอนโตเป็นผู้ใหญ่นี้แหละ
“ทุกคนดูเอาไว้ ประชาธิปไตยที่ดี ต้องมีอุดมการณ์ แต่อุดมการณ์ของแต่ล่ะคน ใช่ว่าจะต้องเหมือนกันหมด เพราะประชาธิปไตยคือเสรีภาพ แต่ล่ะคนสามารถเลือกเชื่อในสิ่งที่ตัวเองคิดว่าถูกต้องได้ จำไว้นะ นักเรียนทุกคน” “ครับ/ค่ะ”เพื่อนนักเรียนร่วมห้องรวมทั้งเขา รับคำครูแสวงอย่างพร้อมเพรียง
เพราะอุดมการณ์นี่เองที่ทำให้ศักดิ์เกือบจะต้องสังเวยชีวิต ให้กับอุดมการณ์ประชาธิปไตยของเขาเมื่อตอนเหตุการณ์พฤกษาทมิฬ ปี 35 ความรุนแรงที่ครูไม่เคยได้สอนสั่ง ถาโถมเข้ากระหน่ำเขาอย่างบ้าคลั่ง จนเขาต้องหลบแอบซ่อนอยู่ใกล้ศพ ของผู้คนร่วมอุดมการณ์เดียวกับเขา นั่นสอนให้เขารู้จักโลกแห่งความเป็นจริง ที่ไม่เคยปรากฏอยู่ในบทเรียนวิชา ส.ป.ช ที่ครูพร่ำสอน นั่นคือจุดเริ่มของความแตกต่างทางความคิด ที่ต่อมาแตกต่างกันชัดเจนในเรื่องทางการเมืองสำหรับเขากับครูผู้มีพระคุณ
แม้ว่าเรียนจบชั้นประถมแล้ว ครูแสวงก็ใช่ว่าจะห่างหายไปจากชีวิตเขา เพราะแกก็มีพื้นเพอยู่ที่นี่ มีแค่ช่วงเรียนมหาวิทยาลัยเท่านั้น ที่เขากับคุณครูได้เหินห่างกันไปบ้าง ศักดิ์ จำได้ดี ในวันที่เขาเรียนจบปริญญาแล้วกลับมาเพื่อรับหน้าที่สืบทอดกิจการเล็กๆที่บ้าน ก็เป็นวันที่ครูแสวงเกษียณอายุราชการพอดี งานเลี้ยงส่งครูผู้ทำหน้าที่ดูแลสั่งสอนบุตรหลานของคนในหมู่บ้านถูกจัดขึ้น แม้จะใช้งบประมาณไม่มากจัดกันตามประสาคนบ้านนอกคอกนา แต่ดูใหญ่โตด้วยจำนวนคนที่เข้ามาร่วมงาน ครูทุกคนที่เคยสอนที่นี่ หากเกษียณอายุราชการได้รับเกียรติแบบนี้เสมอ
และงานศพก็ไม่ต่างกัน คร่าคร่ำไปด้วยลูกศิษย์ลูกหามากมาย ต่างช่วยกันคนล่ะไม้คนลืมมือ ช่วยงานเจ้าภาพทุกอย่าง เหมือนทำเพื่อแสดงความกตัญญูกตเวทีครั้งสุดท้าย
“เฮ้ย มานั่งทำไร มืดๆว่ะ ไอ้ศักดิ์”เสียงหนึ่งปลุกเขาจากภวังค์
“มานั่งรอดักฉุดสาวๆ เอ็งเห็นสาวๆบ้างไหมวะ อีหวาน ข้าเห็นมีแต่หมีควาย”เขาตอบหยอกแรงๆกับเพื่อนวัยเด็ก ที่เดินเข้ามาสนทนาด้วย
“แหม ไอ้นี้ วอนโดนส้นซะแล้ว...”อีหวานตอบกับมา ก่อนจะพากันหัวเราะร่วนเมื่อสบตากัน ตั้งแต่เริ่มงานมาเขาแทบไม่ได้สนทนากับเพื่อนเลย เพราะเห็นมันยุ่งๆ วุ่นวายกับการต้อนรับแขกเหรื่อแทนเจ้าภาพ แต่พอจะได้คุยกับเพื่อนร่วมห้องคนอื่นๆอยู่บ้าง
“เอ็งรู้แล้วใช่ไหม ว่าพรุ่งนี้วันเผา พวกแกนนำที่กรุงเทพของกลุ่มที่ครูไปเข้าร่วม จะมาเป็นเจ้าภาพวันเผา”อีหวานเอ่ยถามลอยๆ สายตาจับจ้องขึ้นไปบนศาลา
“เอ่อ รู้แล้ว ข้าก็ถึงกะว่าจะฝากซองของข้า ให้เอ็งเอาไปให้เมียครูไง”
“อ้าว ไอ้ ชิ...หาย สรุปรุ่นเราทั้งรุ่น กะจะไม่มีใครมาวันเผาเลยเรอะ”อีหวานสบถบ่น พร้อมบอกกับเขาว่า เพื่อนร่วมรุ่นคนอื่นๆก็ต่างฝากซองให้มันเก็บไว้ เตรียมเอาไปมอบให้ญาติครูแสวงพรุ่งนี้ ซึ่งมันเก็บมาครบแล้ว ขาดแต่เขาคนเดียว
“ก็เอ็งไง อีหวาน ในฐานะหัวหน้าห้อง เอ็งต้องไปเป็นตัวแทนเพื่อนๆในห้อง”ศักดิ์ควักซองช่วยงานที่เตรียมไว้ส่งให้อีหวาน และตอบอย่างที่เคยได้หารือกับเพื่อนร่วมรุ่นคนอื่นๆ ซึ่งพร้อมเพรียงใจกัน จะไม่ไปงานวันเผาครูแสวงพรุ่งนี้ เนื่องด้วยแต่ล่ะคน ต่างรู้สึกรังเกียจเดียดฉันท์พฤติกรรมแกนนำกลุ่มนี้อยู่เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว
“กรรมเวรของข้า แต่ก็เอาเถอะ ข้ารับหน้าเองก็ได้”อีหวานรับซองของเขา ไปใส่ไว้ในกระเป๋าถือ ใส่ไว้รวมกับซองแบบเดียวกันอยู่ในนั้น 5-6 ซอง
“เอ่อ แบบนี้สิหัวหน้าห้องของพวกเรา”เขาตบไหล่ตบหลังเพื่อนสาวอย่างพอใจ และคิดว่าตั้งแต่อีหวานเป็นหัวหน้าห้องของเขามา มีครั้งนี้แหละ ที่เขาเห็นว่ามันทำหน้าที่ได้เหมาะสมกับตำแหน่งที่สุด
“แต่เอ็งอย่าไปเผลอยกมือไหว้ ไอ้พวกนั้นเข้าล่ะ เดี๋ยวมันจะมาชวนเอ็งเข้ากลุ่มด้วย”
“จะด่าให้ล่ะสิไม่ว่า ถ้าขืนสอใส่เกือกมาชวนข้า..ไอ้พวกที่คอยถ่วงความเจริญประเทศ”อีหวานพึมพำตอบ สายตาจับจ้องไปที่รูปครูแสวงที่ตั้งอยู่หน้าโลงศพแล้วบอกกับเขาว่า
“ไม่รู้ครู เขาคิดอะไรของเขาเนอะ ถึงได้ไปเชื่อคนพวกนั้น”
“อย่าไปคิดแบบนั้นเลย เหมือนที่ครูเคยสอนเราตอนเด็กๆไง”อีหวานพยักหน้ารับคำเขา เข้าใจในความหมายที่เพื่อนพูด
“แล้วครู เขาจะเสียใจไหม ถ้าหากรู้ว่าพวกเราคิดไม่เหมือนเขา”เป็นคำถามที่ศักดิ์ได้แต่คิดในใจไม่ได้พูดออกมา ซึ่งคงไม่ต่างกับ อีหวานและเพื่อนๆคนอื่นๆที่คิดเช่นเดียวกัน แต่ไม่เคยมีใคร เปิดเผยความในใจออกมาให้ครูได้รู้เลย ว่าพวกตนคิดเห็นเช่นไรทางการเมือง พวกเขาไม่มีความกล้าพอที่จะบอกว่า เขาชื่นชมนักการเมืองคนหนึ่ง ซึ่งครูของพวกเขาตั้งแง่รังเกียจ
“ครูครับ จะผิดไหม ถ้าจะบอกครูว่า ผมชอบ.....”วันนี้ทุกคนก็คงได้แต่เก็บงำความรู้สึกในใจไว้ แต่หวังว่าดวงวิญญาณของผู้มีพระคุณอย่างครูแสวงจะเข้าใจ ในเหตุผลที่เขาเลือกที่คิดแบบนั้น
พระคุณของครู ลูกศิษย์ทุกคนต่างจำใจไว้ไม่เคยลืมเลือน คำสอนของครูก็เช่นกัน ไม่เคยจางหายไปจากเด็กชั้นประถมทุกคนเมื่อ 30 ปีก่อนเลยแม้แต่คนเดียว
“ทุกๆคน มีสิทธิที่จะเลือกเชื่อในสิ่งที่ตนคิดว่าถูกต้อง”
และวันนี้ พวกเขาได้เลือกแล้ว
แม้จะต่างจากความเชื่อของครูผู้สอน
คนที่เคยทำดี ต่อให้มีความต่างทางอุดมการณ์แค่ไหน ยังไงก็เป็นคนดี
ผิดกับคนที่เป็นคนเลว ต่อให้มีอุดมการณ์ที่ดีแค่ไหน ยังไงก็เป็นคนเลว