คำแถลงการณ์ร่วม
ณ วันที่ 22 พฤษภาคม 2551
1.ราชอาณาจักรไทยสนับสนุนการขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก ซึ่งเสนอโดยกัมพูชา ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สมัยที่ 32 (ณ เมืองควิเบก ประเทศแคนาดา ในเดือนกรกฎาคม 2551) ขอบเขตของปราสาทปรากฏตาม N.1 ในแผนที่ที่จัดทำโดยเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของกัมพูชาตามที่แนบมาพร้อมนี้ ทั้งนี้ แผนที่ดังกล่าวได้กำหนดเขตอนุรักษ์ (buffer zone) ทางทิศตะวันออกและทิศใต้ของตัวปราสาทไว้ด้วยดังปรากฏตาม N.2
2.ด้วยเจตนารมณ์แห่งไมตรีจิตและการประนีประนอม ราชอาณาจักรกัมพูชายอมรับว่าปราสาทพระวิหารจะได้รับการเสนอให้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก โดยในชั้นนี้
ไม่มีเขตอนุรักษ์ในพื้นที่ทางทิศตะวันตกและทิศเหนือของตัวปราสาท
3. ให้ใช้
แผนที่ที่ระบุในย่อหน้าที่ 1 แทนแผนที่ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องและรวมทั้งSchema Directeur pour ta Zonage de Preah Vihear ตลอดจนการอ้างอิงโดยรูปภาพต่างๆ ทั้งหมดที่แสดงให้เห็นถึงเขตคุ้มครอง (core zone) หรือการกำหนดเขตอื่นๆ (zonage) ในบริเวณปราสาทพระวิหารตามที่ระบุในเอกสารประกอบคำขอขึ้นทะเบียนของกัมพูชา
4.ในระหว่างที่ยังไม่มีผลของการปฏิบัติงานของคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วม (JBC) ในพื้นที่รอบตัวปราสาทพระวิหารทางทิศตะวันตกและทางทิศเหนือดังปรากฏตาม N.3 ในแผนที่ที่ระบุในย่อหน้าที่ 1 ข้างต้น
แผนบริหารจัดการในพื้นที่ดังกล่าวจะได้รับการจัดทำขึ้นร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของกัมพูชาและของไทย โดยสอดคล้องกับมาตรฐานการอนุรักษ์ระดับสากล เพื่อรักษาคุณค่าอันเป็นสากลที่โดดเด่นของปราสาท ทั้งนี้ ให้บรรจุแผนการบริหารจัดการดังกล่าวไว้ในแผนบริหารจัดการฉบับสุดท้ายสำหรับตัวปราสาทและพื้นที่รอบๆ ตัวปราสาท ซึ่งจะต้องเสนอต่อศูนย์มรดกโลกภายในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2553 สำหรับการพิจารณาของคณะกรรมการมรดกโลกในสมัยที่ 34 ในปี 2553
5.การขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก
จะไม่มีผลกระทบต่อสิทธิของราชอาณาจักรกัมพูชาและราชอาณาจักรไทยในการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนของคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วม (JBC) ของทั้งสองประเทศ
6.ราชอาณาจักรกัมพูชาและราชอาณาจักรไทยขอแสดงความขอบคุณเป็นอย่างยิ่งต่อผู้อำนวยการใหญ่ยูเนสโก นายโคอิชิโร มัตซุอุระ สำหรับความช่วยเหลือในการอำนวยความสะดวกในกระบวนการอันนำไปสู่การขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก
- ช่วยอ่านและดูภาพแผนผังไปด้วย ให้ดูหมายเลขในภาพ เช่น คำว่า N1 ก็คือโซนหมายเลข 1. ตามในภาพ
- เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น ผมได้ทำ Link ไว้ที่ตัวหนังสือสีส้มๆ ให้กดดูได้เลยว่าข้อความนั้นคืออะไร
- ที่ขีดเส้นใต้ และเน้นตัวหนา เป็นสิ่งที่เป็นสาระสำคัญของกระทู้นี้ ใครเห็นแตกต่าง ให้ก๊อปไปโต้แย้งได้เลย
- แจ้งผู้ที่ยังไม่ทราบ ว่าแถลงการณ์ร่วมฉบับนี้ทางการไทยได้ยกเลิกไปแล้ว เพราะอะไรลองหาข้อมูลดูกันเอง
โดยกัมพูชาก็รับทราบโดยไม่ติดใจการยกเลิก
และกรรมการยูเนสโก้ก็ไม่นำแถลงการณ์ร่วมไปใช้ในการตัดสินใจการขึ้นทะเบียน ตาม
มติ ข้อ 5. ของที่ประชุมครั้งที่ 32 (ประชุมครั้งที่32 ช่วง รมต.นพดล 2551 )
ดูคำแถลงการณ์ร่วมกันชัดๆ นพดลและรัฐบาลสมัคร เคยปกป้องพื้นที่ด้านซ้ายของตัวปราสาทไว้ได้ แต่วันนี้ไทยเสียสิทธิไปแล้ว
คำแถลงการณ์ร่วม
ณ วันที่ 22 พฤษภาคม 2551
1.ราชอาณาจักรไทยสนับสนุนการขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก ซึ่งเสนอโดยกัมพูชา ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สมัยที่ 32 (ณ เมืองควิเบก ประเทศแคนาดา ในเดือนกรกฎาคม 2551) ขอบเขตของปราสาทปรากฏตาม N.1 ในแผนที่ที่จัดทำโดยเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของกัมพูชาตามที่แนบมาพร้อมนี้ ทั้งนี้ แผนที่ดังกล่าวได้กำหนดเขตอนุรักษ์ (buffer zone) ทางทิศตะวันออกและทิศใต้ของตัวปราสาทไว้ด้วยดังปรากฏตาม N.2
2.ด้วยเจตนารมณ์แห่งไมตรีจิตและการประนีประนอม ราชอาณาจักรกัมพูชายอมรับว่าปราสาทพระวิหารจะได้รับการเสนอให้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก โดยในชั้นนี้ ไม่มีเขตอนุรักษ์ในพื้นที่ทางทิศตะวันตกและทิศเหนือของตัวปราสาท
3. ให้ใช้แผนที่ที่ระบุในย่อหน้าที่ 1 แทนแผนที่ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องและรวมทั้งSchema Directeur pour ta Zonage de Preah Vihear ตลอดจนการอ้างอิงโดยรูปภาพต่างๆ ทั้งหมดที่แสดงให้เห็นถึงเขตคุ้มครอง (core zone) หรือการกำหนดเขตอื่นๆ (zonage) ในบริเวณปราสาทพระวิหารตามที่ระบุในเอกสารประกอบคำขอขึ้นทะเบียนของกัมพูชา
4.ในระหว่างที่ยังไม่มีผลของการปฏิบัติงานของคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วม (JBC) ในพื้นที่รอบตัวปราสาทพระวิหารทางทิศตะวันตกและทางทิศเหนือดังปรากฏตาม N.3 ในแผนที่ที่ระบุในย่อหน้าที่ 1 ข้างต้น แผนบริหารจัดการในพื้นที่ดังกล่าวจะได้รับการจัดทำขึ้นร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของกัมพูชาและของไทย โดยสอดคล้องกับมาตรฐานการอนุรักษ์ระดับสากล เพื่อรักษาคุณค่าอันเป็นสากลที่โดดเด่นของปราสาท ทั้งนี้ ให้บรรจุแผนการบริหารจัดการดังกล่าวไว้ในแผนบริหารจัดการฉบับสุดท้ายสำหรับตัวปราสาทและพื้นที่รอบๆ ตัวปราสาท ซึ่งจะต้องเสนอต่อศูนย์มรดกโลกภายในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2553 สำหรับการพิจารณาของคณะกรรมการมรดกโลกในสมัยที่ 34 ในปี 2553
5.การขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกจะไม่มีผลกระทบต่อสิทธิของราชอาณาจักรกัมพูชาและราชอาณาจักรไทยในการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนของคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วม (JBC) ของทั้งสองประเทศ
6.ราชอาณาจักรกัมพูชาและราชอาณาจักรไทยขอแสดงความขอบคุณเป็นอย่างยิ่งต่อผู้อำนวยการใหญ่ยูเนสโก นายโคอิชิโร มัตซุอุระ สำหรับความช่วยเหลือในการอำนวยความสะดวกในกระบวนการอันนำไปสู่การขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก
- ช่วยอ่านและดูภาพแผนผังไปด้วย ให้ดูหมายเลขในภาพ เช่น คำว่า N1 ก็คือโซนหมายเลข 1. ตามในภาพ
- เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น ผมได้ทำ Link ไว้ที่ตัวหนังสือสีส้มๆ ให้กดดูได้เลยว่าข้อความนั้นคืออะไร
- ที่ขีดเส้นใต้ และเน้นตัวหนา เป็นสิ่งที่เป็นสาระสำคัญของกระทู้นี้ ใครเห็นแตกต่าง ให้ก๊อปไปโต้แย้งได้เลย
- แจ้งผู้ที่ยังไม่ทราบ ว่าแถลงการณ์ร่วมฉบับนี้ทางการไทยได้ยกเลิกไปแล้ว เพราะอะไรลองหาข้อมูลดูกันเอง
โดยกัมพูชาก็รับทราบโดยไม่ติดใจการยกเลิก
และกรรมการยูเนสโก้ก็ไม่นำแถลงการณ์ร่วมไปใช้ในการตัดสินใจการขึ้นทะเบียน ตามมติ ข้อ 5. ของที่ประชุมครั้งที่ 32 (ประชุมครั้งที่32 ช่วง รมต.นพดล 2551 )