บทเรียนของคนไทย อย่าให้ใครมาหลอกอีก รู้หรือไม่ว่าพวกเราถูกหลอกมาตลอดเรื่องเขาพระวิหาร คัดมาจาก
Banaze นะครับ
มีคนหลอกเราว่าเขาพระวิหารเป็นของกัมพูชาแค่ตัวปราสาท พื้นดินใต้ปราสาทเป็นของไทย นั้นเป็นการโกหกคำโต เนื่องจากเมื่อปี 2505 ศาลโลกตัดสินไว้ชัดเจนว่า "ปราสาทพระวิหาร ตั้งอยู่ภายใต้อาณาเขต อธิปไตยของกัมพูชา" ซึ่งหมายความว่าทั้งตัวปราสาทและพื้นดินใต้ปราสาทเป็นของกัมพูชาทั้งหมด แน่นอนว่าปราสาทไม่ได้ลอยอยู่บนฟ้าแต่มันตั้งอยู่บนผืนดินที่ตั้งนั้นแน่นอน
มีคนหลอกเราว่าไทยเราสามารถอุททรณ์คำตัดสินนี้ได้ เพราะจอมพล สฤษ เคยประกาศเอาไว้ว่า ขอสงวนสิทธิ์ที่ไทยจะทวงคืนปราสาทในอนาคต นั่นก็คือเรื่องถูกหลอกอีกเรื่องหนึ่ง เพราะธรรมนูญศาลโลกกำหนดไว้ว่า การอุททรณ์ดังกล่าวนั้นต้องดำเนินการภายใน 10 ปี หลังการตัดสิน และต้องมีหลักฐานใหม่เพื่อนำไปรื้อฟื้นคดีความ ซึ่งจากวันนั้นจนถึงวันนี้ (2505 - ปัจจุบัน) รวมระยะเวลากว่า 50 ปี ไม่เคยมีรัฐบาลใดไปเรียกร้องสิทธิ์ต่อศาลโลกเลยแม้แต่รัฐบาลเดียว ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลทหาร เผด็จการ รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง รัฐบาลที่แสดงตนว่ารักชาติรักแผ่นดินหรือรักความเป็นไทยมากแค่ไหนก็ไม่มีรัฐบาลใดไปทวงคืนเลย
มีคนหลอกเราว่าไทยไม่เคยยอมรับแผนที่ 1:200,000 ที่ฝรั่งเศสทำขึ้น และรัฐบาลกัมพูชาใช้เป็นหลักฐานในศาลโลก อย่างไรก็ตามบรรพบุรุษเราไม่ได้คิดเช่นนั้น ... แผนที่ 1:200,000 นั้นเกิดขึ้นจากสนธิสัญญาร่วมฝรั่งเศสโดยคณะกรรมาธิการปักปันเขตแดนร่วม เพื่อกำหนดเส้นเขตแดนระหว่างกันให้ชัดเจน ซึ่งการขีดเขตแดงให้ชัดเจนดังกล่าวไม่เคยอยู่ในแนวคิดรัฐโบราณมาก่อน ผู้คนยังคงเคลื่อนย้ายไปมาระหว่างเขตแดน โดยไม่มีใครรู้จักเส้นแบ่งเขตแดนดังกล่าวเลย การขีดเส้นแบ่งเขตแดนระหว่างรัฐในเขตนี้จึงยังไม่เยมีใครทำมาก่อน ผู้แทนไทยที่ทำหน้าที่นี้คือ "เจ้าพระยาวงศานุประพัทธ์" ได้รับเอาแผนที่ดังกล่าวมาใช้งานอีกทั้ง "สมเด็จกรมพระยาดำรงค์ราชานุภาพ เสนาบดี กระทรวงมหาดไทยในสมัยนั้น" ยังขอให้ฝรั่งเศษคัดลอกเพิ่มให้อีกกว่า 15 ชุด
มีคนหลอกเราว่าแผนที่ 1:200,000 จะทำให้ไทยเราเสียดินแดนยาวไปจนถึงจังหวัดตราดนั้นเป็นเรื่องโกหกหลอกลวงอย่างสิ้นเชิง การปักปันเขตแดนต้องทำโดยคณะกรรมการร่วมระหว่างประเทศ ซึ่งจะตกลงปักปันกันเป็นช่วง ๆ ไป ด้วยการพิจารณาด้วยเหตุผลที่แตกต่างกันในแต่ละจุด และมิหนำซ้ำไทยยังเคยใช้แผนที่ 1:200,000 นี้ อ้างเอาพื้นที่ทับซ้อนจาก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว บริเวณแม่น้ำเหืองมาแล้วอีกด้วย
มีคนหลอกเราว่าถ้าเรายอมรับคำตัดสินของศาลโลกจะทำให้เสียเขตแดนทางทะเลที่มีปรัพยากรณ์แก๊สและน้ำมันมากมาย นี่เป็นการโกหกซ้อนกันสองเรื่องเลยทีเดียว
1. การปักปันเขตแดนทางทะเลกับกัมพูชาโดย "พลเรือเอก ถนอม เจริญลาภ - เจ้ากรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ" นายทหารเรือผู้เชี่ยวชาญกฏหมายทะเล และเป็นกรรมการปักปันเขตแดนระหว่างประเทศต่าง ๆ มากมาย ยืนยันอย่างหนักแน่นว่า การแบ่งเขตแดนระหว่างไทยและกัมพูชานั้น มีลักษณะพิเศษคือ มีข้อตกลงทางบก 1 ฉบับ และข้อตกลงทางทะเล 1 ฉบับ ดังนั้นไม่ว่าเขตแดนทางบกจะถูกปรับปรุงหรือไม่อย่างไร ก็ไม่เกี่ยวข้องกับเขตแดนทางทะเลอย่างแน่นอน
2. ยังไม่พบว่าแหล่งแก๊สและน้ำมันที่ค้นพบในพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลนี้ มีความคุ้มทุนที่จะขุดเจาะแต่อย่างใด
ที่สำคัญที่สุด ซีรี่ส์ลวงหลอกระดับมหากาพย์ที่บอกว่า การขึ้นทะเบียนเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก และ MOU 2551 ทำให้ประเทศไทยต้องเสียดินแดน จนกลายเป็นเรื่องใหญ่โตเกิดการชุมนุมทวงคืน เกิดการรุนแรงระหว่างประทะกันของสองประเทศ จนกัมพูชาต้องยื่นให้ศาลโลกตีความคำพิพากษาใหม่ในปี 2554 นี่ถือเป็นคำโกหกที่ทำให้ ประเทศชาติและประชาชนชาวไทย เสียหายอย่างร้ายแรง อาทิเช่น
- ทหารเสียชีวิตกว่า 16 นาย
- พลเรือนเสียชีวิต 3 คน บาดเจ็บรวมกว่า 140 คน
- การค้าชายแดนเสียหายกว่า 10,000 ล้านบาท
การขึ้นทะเบียนมรดกโลกโดย UNESCO ไม่มีผลต่อพื้นที่และเส้นแขตแดนใด ๆ ทั้งสิ้น การขอขึ้นทะเบียนร่วมและ MOU 2551 นี้ต่างหากที่ทำให้ทั้งสองชาติมีโอกาสพัฒนาและใช้พื้นที่ร่วมกันฉันมิตร
น่าเสียดายที่บุคคลบางกลุ่มไม่รักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติ ใช้ประเด็นนี้เพื่อผลทางการเมืองฝ่ายของตนเอง ทำให้เราเสียข้อตกลงที่ดีที่สุดนับตั้งแต่มีความขัดแย้งมาตลอด 50 ปี และทำให้การแก้ปัญหาทั้งหมดต้องดิ่งลงเหว
ถึงตอนนี้แม้ว่าคำวินิจฉัยของศาลโลกจะเป็นอย่างไร เราก็ไม่อยากให้คนไทยถูกหลอกซ้ำแล้วซ้ำเล่า เราจะสุมไฟแห่งความโกรธแค้นด้วยคำโกหก ด้วยประวัติศาสตร์แห่งความเกลียดชังต่อไปอีกนานแค่ไหน หรือเราจะมีสติบนข้อเท็จจริง เรียนรู้บทเรียนจากอดีต และหาทางออกร่วมกันบนสันติภาพ เพื่อไม่ให้ใครต้องเจ็บปวดจากสงครามและความรุนแรงอีก มาเปลี่ยนพื้นที่แห่งความขัดแย้งยาวนานนี้ มาเป็นสัญลักษณ์แห่งความร่วมมือของ ASEAN และเป็นตัวอย่างให้โลกได้เห็นต่อไป ... อย่าให้ใครมาหลอกเราอีก! -- New Culture Team
ดูวิดีโอและภาพประกอบเพื่อความเข้าใจได้ที่
Banaze.com หรือหน้าเฟสของ
New Culture โดยตรง
อ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลที่ใช้สร้างวิดีโอดังกล่าว
+ จุมพต สายสุนทร, กฎหมายระหว่างประเทศ, (กรุงเทพ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2556)
+ ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, ประมวลสนธิสัญญา อนุสัญญา ความตกลง บันทึกความเข้าใจและแผนที่ ระหว่างสยามประเทศไทยกับประเทศอาเซียนเพื่อนบ้าน: กัมพูชา – ลาว – พม่า – มาเลเซีย, (กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2554)
+ ธงชัย วินิจจะกูล, กำเนิดสยามจากแผนที่ ประวัติศาสตร์ภูมิกายาของชาติ, (กรุงเทพฯ: โครงการจัดพิมพ์คบไฟ, 2556)
+ บุญร่วม เทียมจันทร์, ไทยแพ้คดีเสียดินแดนให้เขมร, (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ อนิเมทกรุ๊ป จำกัด, 2550)
+ เบน แอนเดอร์สัน, ชุมชนจินตกรรม, (กรุงเทพฯ :มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2554)
+ พลเรือเอก ถนอม เจริญลาภ, กฎหมายทะเลและเขตทางทะเลของประเทศไทย, (กรุงเทพฯ : โครงการจัดการความรู้เพื่อผลประโยชน์เเห่งชาติทางทะเล)
+ พลโทนพดล โชติศิริ, เขตแดนไทย, (กรุงเทพฯ: โครงการความมั่นคงศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555)
+ ภาสกร ชุณหอุไร, คู่มือนักศึกษา กฎหมายระหว่างประเทศ แผนกคดีเมือง (ภาคสันติ) , (กรุงเทพฯ: 2519)
+ อรอนงค์ ทิพย์พิมล/ขนศักดิ์ สายจำปา/ดุลยภาค ปรีชารัชช/สุภลักษณ์ กาญจนขุนดี/อัครพงษ์ ค่ำคูณ, เขตแดนสยามประเทศไทย – มาเลเซีย – พม่า – ลาว – กัมพูชา, (กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2554)
+ คำพิพากษาศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ คดีปราสาทพระวิหาร พ.ศ. ๒๕๐๕, (กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์เคล็ดไทย, 2551)
Charter of the united nations, 1945 A.D.
+ กระทรวงต่างประเทศ, สรุปข้อมูลของคดีตีความคำพิพากษา คดีปราสาทพระวิหารปี 2505, (กรุงเทพฯ: กระทรวงต่างประเทศ, 2556)
http://th.wikipedia.org/wiki/คดีปราสาทพระวิหาร_พ.ศ._2505
เขาพระวิหาร!! ความจริงที่คุณควรรู้ อย่าให้ใครมาหลอกอีก!!
บทเรียนของคนไทย อย่าให้ใครมาหลอกอีก รู้หรือไม่ว่าพวกเราถูกหลอกมาตลอดเรื่องเขาพระวิหาร คัดมาจาก Banaze นะครับ
มีคนหลอกเราว่าเขาพระวิหารเป็นของกัมพูชาแค่ตัวปราสาท พื้นดินใต้ปราสาทเป็นของไทย นั้นเป็นการโกหกคำโต เนื่องจากเมื่อปี 2505 ศาลโลกตัดสินไว้ชัดเจนว่า "ปราสาทพระวิหาร ตั้งอยู่ภายใต้อาณาเขต อธิปไตยของกัมพูชา" ซึ่งหมายความว่าทั้งตัวปราสาทและพื้นดินใต้ปราสาทเป็นของกัมพูชาทั้งหมด แน่นอนว่าปราสาทไม่ได้ลอยอยู่บนฟ้าแต่มันตั้งอยู่บนผืนดินที่ตั้งนั้นแน่นอน
มีคนหลอกเราว่าไทยเราสามารถอุททรณ์คำตัดสินนี้ได้ เพราะจอมพล สฤษ เคยประกาศเอาไว้ว่า ขอสงวนสิทธิ์ที่ไทยจะทวงคืนปราสาทในอนาคต นั่นก็คือเรื่องถูกหลอกอีกเรื่องหนึ่ง เพราะธรรมนูญศาลโลกกำหนดไว้ว่า การอุททรณ์ดังกล่าวนั้นต้องดำเนินการภายใน 10 ปี หลังการตัดสิน และต้องมีหลักฐานใหม่เพื่อนำไปรื้อฟื้นคดีความ ซึ่งจากวันนั้นจนถึงวันนี้ (2505 - ปัจจุบัน) รวมระยะเวลากว่า 50 ปี ไม่เคยมีรัฐบาลใดไปเรียกร้องสิทธิ์ต่อศาลโลกเลยแม้แต่รัฐบาลเดียว ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลทหาร เผด็จการ รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง รัฐบาลที่แสดงตนว่ารักชาติรักแผ่นดินหรือรักความเป็นไทยมากแค่ไหนก็ไม่มีรัฐบาลใดไปทวงคืนเลย
มีคนหลอกเราว่าไทยไม่เคยยอมรับแผนที่ 1:200,000 ที่ฝรั่งเศสทำขึ้น และรัฐบาลกัมพูชาใช้เป็นหลักฐานในศาลโลก อย่างไรก็ตามบรรพบุรุษเราไม่ได้คิดเช่นนั้น ... แผนที่ 1:200,000 นั้นเกิดขึ้นจากสนธิสัญญาร่วมฝรั่งเศสโดยคณะกรรมาธิการปักปันเขตแดนร่วม เพื่อกำหนดเส้นเขตแดนระหว่างกันให้ชัดเจน ซึ่งการขีดเขตแดงให้ชัดเจนดังกล่าวไม่เคยอยู่ในแนวคิดรัฐโบราณมาก่อน ผู้คนยังคงเคลื่อนย้ายไปมาระหว่างเขตแดน โดยไม่มีใครรู้จักเส้นแบ่งเขตแดนดังกล่าวเลย การขีดเส้นแบ่งเขตแดนระหว่างรัฐในเขตนี้จึงยังไม่เยมีใครทำมาก่อน ผู้แทนไทยที่ทำหน้าที่นี้คือ "เจ้าพระยาวงศานุประพัทธ์" ได้รับเอาแผนที่ดังกล่าวมาใช้งานอีกทั้ง "สมเด็จกรมพระยาดำรงค์ราชานุภาพ เสนาบดี กระทรวงมหาดไทยในสมัยนั้น" ยังขอให้ฝรั่งเศษคัดลอกเพิ่มให้อีกกว่า 15 ชุด
มีคนหลอกเราว่าแผนที่ 1:200,000 จะทำให้ไทยเราเสียดินแดนยาวไปจนถึงจังหวัดตราดนั้นเป็นเรื่องโกหกหลอกลวงอย่างสิ้นเชิง การปักปันเขตแดนต้องทำโดยคณะกรรมการร่วมระหว่างประเทศ ซึ่งจะตกลงปักปันกันเป็นช่วง ๆ ไป ด้วยการพิจารณาด้วยเหตุผลที่แตกต่างกันในแต่ละจุด และมิหนำซ้ำไทยยังเคยใช้แผนที่ 1:200,000 นี้ อ้างเอาพื้นที่ทับซ้อนจาก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว บริเวณแม่น้ำเหืองมาแล้วอีกด้วย
มีคนหลอกเราว่าถ้าเรายอมรับคำตัดสินของศาลโลกจะทำให้เสียเขตแดนทางทะเลที่มีปรัพยากรณ์แก๊สและน้ำมันมากมาย นี่เป็นการโกหกซ้อนกันสองเรื่องเลยทีเดียว
1. การปักปันเขตแดนทางทะเลกับกัมพูชาโดย "พลเรือเอก ถนอม เจริญลาภ - เจ้ากรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ" นายทหารเรือผู้เชี่ยวชาญกฏหมายทะเล และเป็นกรรมการปักปันเขตแดนระหว่างประเทศต่าง ๆ มากมาย ยืนยันอย่างหนักแน่นว่า การแบ่งเขตแดนระหว่างไทยและกัมพูชานั้น มีลักษณะพิเศษคือ มีข้อตกลงทางบก 1 ฉบับ และข้อตกลงทางทะเล 1 ฉบับ ดังนั้นไม่ว่าเขตแดนทางบกจะถูกปรับปรุงหรือไม่อย่างไร ก็ไม่เกี่ยวข้องกับเขตแดนทางทะเลอย่างแน่นอน
2. ยังไม่พบว่าแหล่งแก๊สและน้ำมันที่ค้นพบในพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลนี้ มีความคุ้มทุนที่จะขุดเจาะแต่อย่างใด
ที่สำคัญที่สุด ซีรี่ส์ลวงหลอกระดับมหากาพย์ที่บอกว่า การขึ้นทะเบียนเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก และ MOU 2551 ทำให้ประเทศไทยต้องเสียดินแดน จนกลายเป็นเรื่องใหญ่โตเกิดการชุมนุมทวงคืน เกิดการรุนแรงระหว่างประทะกันของสองประเทศ จนกัมพูชาต้องยื่นให้ศาลโลกตีความคำพิพากษาใหม่ในปี 2554 นี่ถือเป็นคำโกหกที่ทำให้ ประเทศชาติและประชาชนชาวไทย เสียหายอย่างร้ายแรง อาทิเช่น
- ทหารเสียชีวิตกว่า 16 นาย
- พลเรือนเสียชีวิต 3 คน บาดเจ็บรวมกว่า 140 คน
- การค้าชายแดนเสียหายกว่า 10,000 ล้านบาท
การขึ้นทะเบียนมรดกโลกโดย UNESCO ไม่มีผลต่อพื้นที่และเส้นแขตแดนใด ๆ ทั้งสิ้น การขอขึ้นทะเบียนร่วมและ MOU 2551 นี้ต่างหากที่ทำให้ทั้งสองชาติมีโอกาสพัฒนาและใช้พื้นที่ร่วมกันฉันมิตร
น่าเสียดายที่บุคคลบางกลุ่มไม่รักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติ ใช้ประเด็นนี้เพื่อผลทางการเมืองฝ่ายของตนเอง ทำให้เราเสียข้อตกลงที่ดีที่สุดนับตั้งแต่มีความขัดแย้งมาตลอด 50 ปี และทำให้การแก้ปัญหาทั้งหมดต้องดิ่งลงเหว
ถึงตอนนี้แม้ว่าคำวินิจฉัยของศาลโลกจะเป็นอย่างไร เราก็ไม่อยากให้คนไทยถูกหลอกซ้ำแล้วซ้ำเล่า เราจะสุมไฟแห่งความโกรธแค้นด้วยคำโกหก ด้วยประวัติศาสตร์แห่งความเกลียดชังต่อไปอีกนานแค่ไหน หรือเราจะมีสติบนข้อเท็จจริง เรียนรู้บทเรียนจากอดีต และหาทางออกร่วมกันบนสันติภาพ เพื่อไม่ให้ใครต้องเจ็บปวดจากสงครามและความรุนแรงอีก มาเปลี่ยนพื้นที่แห่งความขัดแย้งยาวนานนี้ มาเป็นสัญลักษณ์แห่งความร่วมมือของ ASEAN และเป็นตัวอย่างให้โลกได้เห็นต่อไป ... อย่าให้ใครมาหลอกเราอีก! -- New Culture Team
ดูวิดีโอและภาพประกอบเพื่อความเข้าใจได้ที่ Banaze.com หรือหน้าเฟสของ New Culture โดยตรง
อ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลที่ใช้สร้างวิดีโอดังกล่าว
+ จุมพต สายสุนทร, กฎหมายระหว่างประเทศ, (กรุงเทพ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2556)
+ ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, ประมวลสนธิสัญญา อนุสัญญา ความตกลง บันทึกความเข้าใจและแผนที่ ระหว่างสยามประเทศไทยกับประเทศอาเซียนเพื่อนบ้าน: กัมพูชา – ลาว – พม่า – มาเลเซีย, (กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2554)
+ ธงชัย วินิจจะกูล, กำเนิดสยามจากแผนที่ ประวัติศาสตร์ภูมิกายาของชาติ, (กรุงเทพฯ: โครงการจัดพิมพ์คบไฟ, 2556)
+ บุญร่วม เทียมจันทร์, ไทยแพ้คดีเสียดินแดนให้เขมร, (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ อนิเมทกรุ๊ป จำกัด, 2550)
+ เบน แอนเดอร์สัน, ชุมชนจินตกรรม, (กรุงเทพฯ :มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2554)
+ พลเรือเอก ถนอม เจริญลาภ, กฎหมายทะเลและเขตทางทะเลของประเทศไทย, (กรุงเทพฯ : โครงการจัดการความรู้เพื่อผลประโยชน์เเห่งชาติทางทะเล)
+ พลโทนพดล โชติศิริ, เขตแดนไทย, (กรุงเทพฯ: โครงการความมั่นคงศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555)
+ ภาสกร ชุณหอุไร, คู่มือนักศึกษา กฎหมายระหว่างประเทศ แผนกคดีเมือง (ภาคสันติ) , (กรุงเทพฯ: 2519)
+ อรอนงค์ ทิพย์พิมล/ขนศักดิ์ สายจำปา/ดุลยภาค ปรีชารัชช/สุภลักษณ์ กาญจนขุนดี/อัครพงษ์ ค่ำคูณ, เขตแดนสยามประเทศไทย – มาเลเซีย – พม่า – ลาว – กัมพูชา, (กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2554)
+ คำพิพากษาศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ คดีปราสาทพระวิหาร พ.ศ. ๒๕๐๕, (กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์เคล็ดไทย, 2551)
Charter of the united nations, 1945 A.D.
+ กระทรวงต่างประเทศ, สรุปข้อมูลของคดีตีความคำพิพากษา คดีปราสาทพระวิหารปี 2505, (กรุงเทพฯ: กระทรวงต่างประเทศ, 2556)
http://th.wikipedia.org/wiki/คดีปราสาทพระวิหาร_พ.ศ._2505