อธิบายเรื่องผลตัดสินของศาลโลกเมื่อวันที่ 11 พย. 2556 ต่อคดีภิพาทเขาพระวิหาร
(ขอบคุณภาพแผนที่จาก
http://www.asa.or.th/?q=node/105390 )
1. คดีนี้ กัมพูชาได้ยื่นต่อศาลโลกให้ตีความคำพิพากษาของศาลโลกเมื่อปี 2505 ใหม่ โดยกัมพูชาได้เน้นย้ำในประเด็นว่ากัมพูชาควรจะมีสิทธิ์ต่อเขตแดนโดยรอบเขาพระวิหารตามแผนที่ในภาคผนวก 1 (แผนที่ 1:200,000)
นั่นหมายความว่า กัมพูชาต้องการมีอำนาจอธิปไตยเหนือพื้นที่ทับซ้อน 4.6 ตร.กม. ทั้งหมด จากรูปที่ผมเอามาแสดง จะเห็นว่าถ้ากัมพูชาชนะคดีนี้ไทยจะเสียพื้นที่ภูมะเขือ และห้วยตามาเรียทั้งหมด (ดูตรงเส้นเขตแดนแบบกัมพูชา)
2. ศาลมิได้รับคำร้องของกัมพูชาในข้อ 1. คำร้องดังกล่าวจึงตกไป
3. ศาลตัดสินเน้นย้ำไปถึงคำพิพากศาในปี พศ. 2505 ในเรื่องที่ "กัมพูชามีอำนาจเหนืออธิปไตยของดินแดนที่ปราสาทตั้งอยู่" โดยศาลได้ระบุว่า ดินแดนดังกล่าวครอบคลุมถึง "ยอดแหลมหรือบริเวณที่พุ่งขึ้นไปของเขาพระวิหาร" ซึ่งศาลได้ระบุว่าดินแดนดังกล่าวอยู่บริเวณ
- ไม่รวมภูมะเขือหรืออยู่บริเวณเชิงภูมะเขือ (จุด A ในแผนที่) บริเวณวัดแก้วสิกขาคีรีสวาระ
- แต่อยู่เหนือเส้นตามมติ ครม. ที่ไทยอ้างในปี พศ. 2505 (จุดล้อมลั้วลวดหนาว หรือจุด B ในแผนที่)
นั่นหมายความว่าไทยจะต้องขยับกำลังทหารและบุคลกรทั้งหมดออกมาให้เหนือจุด A หรือบริเวณวัดแก้วฯ
4. พึงระลึกไว้ว่าคำตัดสินของศาลในข้อที่ 3. นั้น มิได้เกี่ยวกับเรื่องการปักปันเขตแดนระหว่างทั้งสองประเทศ เพราะศาลมิได้มีอำนาจดังกล่าว หรือมิได้รับพิจารณาในประเด็นดังกล่าว ศาลเพียงแต่กำหนด "สิทธิ์ของกัมพูชาเหนือตัวปราสาท และบริเวณใกล้เคียงปราสาท" หรือการกำหนดอาณาบริเวณทางโบราณคดีของปราสาทเขาพระวิหารที่กัมพูชามีอำนาจเข้าไปจัดการ และประเทศไทยไม่สามารถล่วงละเมิดโดยการเข้าไปขัดขวาง หรือไปทำให้เกิดความไม่สะดวกในบริเวณนั้นได้
5. จากคำตัดสินในข้อ 3. นั้น ทางไทยและกัมพูชาจะต้องมาเจรจาตกลงกันว่าจุด A. ดังกล่าว คือจุดไหนกันแน่ เพราะศาลไม่ได้กำหนดชัดเจนเป็นพิกัดแน่นอนลงไป ซึ่งเป็นเรื่องที่สามารถ เจรจากันได้
6. ความเห็นส่วนตัวของผมเห็นว่าคำตัดสินของศาลครั้งนี้มีลักษณะยุติธรรม และเป็นการประนีประนอมกับคู่กรณีทั้งสองประเทศเป็นที่สุด รวมถึงเป็นการตัดสินที่เอื้อให้มีการบริหารจัดการ มรดกโลกให้ดีที่สุด กัมพูชาสามารถใช้ถนนที่ตัดเข้ามาขึ้นสู่ตัวปราสาททางเขมรต่ำได้ ชาวบ้านทั้งไทยและกัมพูชาสามารถเข้ามาใช้ประโยชน์ในพื้นที่ได้ การบริหารจัดการการท่องเที่ยวจะเกิดขึ้นได้ รวมทั้งจะเป็นการทำให้ปราสาทเขาพระวิหารกลับมาเป็นเทวสถานที่กลับมามีชีวิตอีกครั้ง สามารถให้ทุกคนกลับมาสักการะบูชา กลับมาเป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญทางจิตวิญญาณอีกครั้งหนึ่ง
7. คนเรามองโลกต่างกันได้ คนมองโลกแบบเลว ๆ ก็มองแบบนั้นโดยไม่คิดถึงว่ามันจะ
อย่างไร ถ้าจะบอกว่าเสียดินแดนก็สามารถบอกได้ มีปากก็พูดได้ มีปากกา มีคีย์บอร์ด ก็พิมพ์ ก็เขียนได้ แต่นานวันไปความจริงแท้ก็จะกัดกินความเลวและความเห็นแก่ตัวที่ตัวเองเคยแสดงออกมา คนเราพอตายไปก็ลงหลุมทุกคน ไม่มีใครจำได้ จะจำได้แต่ความเลวความชั่วที่ตัวเองเคยทำไว้ และจะปรากฎไปอีกนานแสนนาน
ตามที่ผมได้อธิบายมา มีจุดไหนที่ไม่ถูกต้อง หรือต้องการอธิบายเพิ่ม เชิญนะครับ ยินดีน้อมรับ
ผลตัดสินของศาลโลกเมื่อวันที่ 11 พย. 2556 ต่อคดีพิพาทเขาพระวิหาร
อธิบายเรื่องผลตัดสินของศาลโลกเมื่อวันที่ 11 พย. 2556 ต่อคดีภิพาทเขาพระวิหาร
(ขอบคุณภาพแผนที่จาก http://www.asa.or.th/?q=node/105390 )
1. คดีนี้ กัมพูชาได้ยื่นต่อศาลโลกให้ตีความคำพิพากษาของศาลโลกเมื่อปี 2505 ใหม่ โดยกัมพูชาได้เน้นย้ำในประเด็นว่ากัมพูชาควรจะมีสิทธิ์ต่อเขตแดนโดยรอบเขาพระวิหารตามแผนที่ในภาคผนวก 1 (แผนที่ 1:200,000)
นั่นหมายความว่า กัมพูชาต้องการมีอำนาจอธิปไตยเหนือพื้นที่ทับซ้อน 4.6 ตร.กม. ทั้งหมด จากรูปที่ผมเอามาแสดง จะเห็นว่าถ้ากัมพูชาชนะคดีนี้ไทยจะเสียพื้นที่ภูมะเขือ และห้วยตามาเรียทั้งหมด (ดูตรงเส้นเขตแดนแบบกัมพูชา)
2. ศาลมิได้รับคำร้องของกัมพูชาในข้อ 1. คำร้องดังกล่าวจึงตกไป
3. ศาลตัดสินเน้นย้ำไปถึงคำพิพากศาในปี พศ. 2505 ในเรื่องที่ "กัมพูชามีอำนาจเหนืออธิปไตยของดินแดนที่ปราสาทตั้งอยู่" โดยศาลได้ระบุว่า ดินแดนดังกล่าวครอบคลุมถึง "ยอดแหลมหรือบริเวณที่พุ่งขึ้นไปของเขาพระวิหาร" ซึ่งศาลได้ระบุว่าดินแดนดังกล่าวอยู่บริเวณ
- ไม่รวมภูมะเขือหรืออยู่บริเวณเชิงภูมะเขือ (จุด A ในแผนที่) บริเวณวัดแก้วสิกขาคีรีสวาระ
- แต่อยู่เหนือเส้นตามมติ ครม. ที่ไทยอ้างในปี พศ. 2505 (จุดล้อมลั้วลวดหนาว หรือจุด B ในแผนที่)
นั่นหมายความว่าไทยจะต้องขยับกำลังทหารและบุคลกรทั้งหมดออกมาให้เหนือจุด A หรือบริเวณวัดแก้วฯ
4. พึงระลึกไว้ว่าคำตัดสินของศาลในข้อที่ 3. นั้น มิได้เกี่ยวกับเรื่องการปักปันเขตแดนระหว่างทั้งสองประเทศ เพราะศาลมิได้มีอำนาจดังกล่าว หรือมิได้รับพิจารณาในประเด็นดังกล่าว ศาลเพียงแต่กำหนด "สิทธิ์ของกัมพูชาเหนือตัวปราสาท และบริเวณใกล้เคียงปราสาท" หรือการกำหนดอาณาบริเวณทางโบราณคดีของปราสาทเขาพระวิหารที่กัมพูชามีอำนาจเข้าไปจัดการ และประเทศไทยไม่สามารถล่วงละเมิดโดยการเข้าไปขัดขวาง หรือไปทำให้เกิดความไม่สะดวกในบริเวณนั้นได้
5. จากคำตัดสินในข้อ 3. นั้น ทางไทยและกัมพูชาจะต้องมาเจรจาตกลงกันว่าจุด A. ดังกล่าว คือจุดไหนกันแน่ เพราะศาลไม่ได้กำหนดชัดเจนเป็นพิกัดแน่นอนลงไป ซึ่งเป็นเรื่องที่สามารถ เจรจากันได้
6. ความเห็นส่วนตัวของผมเห็นว่าคำตัดสินของศาลครั้งนี้มีลักษณะยุติธรรม และเป็นการประนีประนอมกับคู่กรณีทั้งสองประเทศเป็นที่สุด รวมถึงเป็นการตัดสินที่เอื้อให้มีการบริหารจัดการ มรดกโลกให้ดีที่สุด กัมพูชาสามารถใช้ถนนที่ตัดเข้ามาขึ้นสู่ตัวปราสาททางเขมรต่ำได้ ชาวบ้านทั้งไทยและกัมพูชาสามารถเข้ามาใช้ประโยชน์ในพื้นที่ได้ การบริหารจัดการการท่องเที่ยวจะเกิดขึ้นได้ รวมทั้งจะเป็นการทำให้ปราสาทเขาพระวิหารกลับมาเป็นเทวสถานที่กลับมามีชีวิตอีกครั้ง สามารถให้ทุกคนกลับมาสักการะบูชา กลับมาเป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญทางจิตวิญญาณอีกครั้งหนึ่ง
7. คนเรามองโลกต่างกันได้ คนมองโลกแบบเลว ๆ ก็มองแบบนั้นโดยไม่คิดถึงว่ามันจะอย่างไร ถ้าจะบอกว่าเสียดินแดนก็สามารถบอกได้ มีปากก็พูดได้ มีปากกา มีคีย์บอร์ด ก็พิมพ์ ก็เขียนได้ แต่นานวันไปความจริงแท้ก็จะกัดกินความเลวและความเห็นแก่ตัวที่ตัวเองเคยแสดงออกมา คนเราพอตายไปก็ลงหลุมทุกคน ไม่มีใครจำได้ จะจำได้แต่ความเลวความชั่วที่ตัวเองเคยทำไว้ และจะปรากฎไปอีกนานแสนนาน
ตามที่ผมได้อธิบายมา มีจุดไหนที่ไม่ถูกต้อง หรือต้องการอธิบายเพิ่ม เชิญนะครับ ยินดีน้อมรับ