สรุปความรู้หลักสูตรVIรุ่น4(Part3วิเคราะห์งบการเงิน Pฉัตรชัย)
"ขอบคุณ earthcu Posted: Tue Oct 29, 2013 10:06 pm"
http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f=1&t=56771
เนื่องด้วยผมมีโอกาสได้เข้าร่วมหลักสูตรอบรมการลงทุนแบบเน้นคุณค่า รุ่นที่ 4 ในวันที่ 5,6,12,13 ตุลาคมที่ผ่านมา จึงอยากจะขอสรุปความรู้ที่ได้จากงานครั้งนี้บางส่วนเผื่อเป็นประโยชน์ต่อเพื่อนนักลงทุนท่านอื่นๆที่ไม่ได้มาร่วมงานอบรมในครั้งนี้ครับ
วันที่ 6 ตุลาคม 2556
Part 3 : การวิเคราะห์งบการเงิน (อ.ฉัตรชัย วงแก้วเจริญ)
1.ก่อนเริ่มวิเคราะห์งบการเงิน นักลงทุนควรที่จะเข้าใจในกิจการ (เช่นจากรายงาน 56-1) รวมไปถึงเข้าใจในอุตสาหกรรม ในแง่สภาพการแข่งขัน, ปัจจัยสำคัญในการแข่งขันรวมไปถึงสภาพแวดล้อมของอุตสาหกรรม
2.ข้อจำกัดของงบการเงิน
2.1 การจัดสรรรายได้และค่าใช้จ่ายสำหรับรอบระยะเวลาหนึ่งขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของบุคคล เช่นการตีราคาสินค้าคงเหลือ, การคิดค่าเสื่อมราคา, การแยกรายการที่เกิดขึ้นระหว่างปีว่าเป็นรายจ่ายฝ่ายทุน หรือเป็นค่าใช้จ่ายในงวดนั้น
2.2 จำนวนที่ปรากฏในงบแสดงฐานะทางการเงินไม่ถูกต้องตรงตามข้อเท็จจริง
2.3 งบการเงินไม่สามารถแสดงปัจจัยที่ไม่เป็นตัวเงิน เช่นชื่อเสียงของธุรกิจ, ความเชื่อถือจากเจ้าหนี้ , ลักษณะของผู้บริหาร
3.ประเด็นที่สำคัญอย่างหนึ่งที่ควรจะต้องให้ความสนใจในการอ่านงบการเงินคือลูกหนี้การค้าสุทธิ โดยเฉพาะถ้าเจอบริษัทที่มีลูกหนี้การค้าที่เกินกำหนดชำระ(เช่นมากกว่า 3-6 เดือน หรือ มากกว่า6-12 เดือน)เป็นปริมาณที่สูงถ้าเทียบกับลูกหนี้การค้าสุทธิทั้งหมดเพราะมีโอกาสที่ลูกหนี้การค้าก้อนนี้จะทำให้บริษัทนี้ต้องตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญเป็นจำนวนมาก
ซึ่งในอดีตก็เคยมี case เหตุการณ์ที่บริษัทแสดงลูกหนี้การค้าที่เกินกำหนดชำระเป็นจำนวนมากแล้วทำให้ปีต่อๆมา บริษัทนี้ต้องตั้งค่าเผื่อสำรองหนี้สงสัยจะสูญเป็นจำนวนมากจนบริษัทมีผลขาดทุนสุทธิจำนวนมากและท้ายที่สุดทำให้ส่วนของผู้ถือหุ้นลดลงจนติดลบได้
4.สินค้าคงเหลือ
การวัดมูลค่าสินค้าคงเหลือนั้นต้องวัดมูลค่าด้วยราคาทุนหรือมูลค่าสุทธิที่จะได้รับ แล้วแต่มูลค่าใดจะต่ำกว่า
ซึ่งในบางครั้งอาจจะเกิดเหตุการณ์ที่บางบริษัทมีการเพิ่มของสินค้าคงเหลือเป็นจำนวนมาก ซึ่งอาจจะเกิดจากการที่ผู้บริหารมองว่าราคาของวัตถุดิบมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นทำให้ทำการกู้เงินระยะสั้นมาเพื่อ stock สินค้าไว้ ในกรณีนี้อาจจะเกิดเหตุการณ์ที่ทำให้บริษัทมีผลขาดทุนจากการปรับมูลค่าสินค้าคงเหลือลดลงเป็นจำนวนมากได้ ถ้าเหตุการณ์ไม่เป็นไปตามที่ผู้บริหารคาดการณ์ไว้ ซึ่งในอดีตก็เคยเกิดเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นกับบางบริษัท
5.การจัดประเภทเงินลงทุน
5.1 ถือเพื่อลงทุน
1.)หลักทรัพย์เพื่อค้า : เงินลงทุนในหลักทรัพย์ที่จดทะเบียนโดยมีวัตถุประสงค์หลักที่จะขายในอนาคตอันใกล้
โดยจะลงบัญชีโดยราคาตลาด ณ วันปิดบัญชี และรับรู้กำไรหรือขาดทุนในงบกำไรขาดทุน
2.)หลักทรัพย์เผื่อขาย : เงินลงทุนในหลักทรัพย์ที่จดทะเบียน ซึ่งไม่ถือเป็นหลักทรัพย์เพื่อค้า
โดยจะลงบัญชีโดยราคาตลาด ณ วันปิดบัญชี และรับรู้กำไรหรือขาดทุนในส่วนของเจ้าของ
3.)เงินลงทุนทั่วไป : เงินลงทุนในหลักทรัพย์ที่ไม่ได้จดทะเบียน (ลงบัญชีตามราคาทุน)
5.2 ถือเพื่อมีส่วนร่วมในการบริหารกิจการ
1.)เงินลงทุนในบริษัทร่วม โดยถือหุ้นตั้งแต่ 20% ขึ้นไปแต่ไม่เกิน 50% (ลงบัญชีตามราคาทุน)
2.)เงินลงทุนในบริษัทย่อยโดยถือหุ้นตั้งแต่ 50%ขึ้นไป (ลงบัญชีตามราคาทุน)
6.อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน
หมายถึง อสังหาริมทรัพย์ (ที่ดิน หรือ อาคาร หรือที่ดินและอาคาร) ที่ถือครอง เพื่อหาประโยชน์จากรายได้ค่าเช่า หรือจากการเพิ่มขึ้นของมูลค่าของสินทรัพย์ หรือทั้งสองอย่าง โดยทั้งนี้ไม่ได้มีไว้เพื่อ
1.)ใช้ในการผลิตหรือจัดหาสินค้าหรือให้บริการ หรือใช้ในการบริหารงานของกิจการ หรือ
2.)ขายตามลักษณะการประกอบธุรกิจตามปกติ
โดยวิธีการวัดมูลค่า อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนนั้นมี 2 วิธี
1.)ราคาทุน : จำนวนเงินสดหรือรายการเทียบเท่าเงินสดที่กิจการจ่ายไป หรือมูลค่ายุติธรรม ของสิ่งตอบแทนอื่นที่กิจการมอบให้เพื่อให้ได้มาซึ่งสินทรัพย์ ณ เวลาที่ได้สินทรัพย์นั้นมา หรือ ณ เวลาที่ก่อสร้างสินทรัพย์นั้น
2.)มูลค่ายุติธรรม : จำนวนเงินที่ผู้ซื้อและผู้ขายตกลงแลกเปลี่ยนสินทรัพย์กันในขณะที่ทั้งสองฝ่ายมีความรู้และเต็มใจในการแลกเปลี่ยนและสามารถต่อรองราคากันได้อย่างเป็นอิสระในลักษณะของผู้ที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกัน
ซึ่งจะมีข้อกำหนดเพิ่มเติมคือ กิจการที่เลือกใช้วิธีมูลค่ายุติธรรม ต้องวัดมูลค่าของอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนทั้งหมดด้วยวิธีมูลค่ายุติธรรม และหากกิจการใช้วิธีมูลค่ายุติธรรม กิจการต้องใช้ต่อเนื่องจนกว่าจะมีการจำหน่าย
สำหรับข้อแตกต่างระหว่างวิธีทุนและวิธีมูลค่ายุติธรรม
วิธีทุน : 1.)มีค่าเสื่อมราคา 2.)บันทึกมูลค่าโดยนำราคาทุน-ค่าเสื่อมราคาสะสม 3.)ผลกระทบต่องบกำไรขาดทุนจะรับรู้ค่าใช้จ่ายจากค่าเสื่อมราคา
วิธีมูลค่ายุติธรรม : 1.)ไม่คิดค่าเสื่อมราคา 2.)บันทึกมูลค่าโดยปรับมูลค่า ทุกรอบบัญชี 3.)ผลกระทบต่องบกำไรขาดทุนจะรับรู้ผลกำไร/ขาดทุนจากการเปลี่ยนแปลงมูลค่า
7.การขายสินค้า กิจการต้องรับรู้รายได้จากการขายสินค้า เมื่อเป็นไปตามเงื่อนไขทุกข้อ ดังต่อไปนี้
1) กิจการได้โอนความเสี่ยงและผลตอบแทนที่มีนัยสำคัญของความเป็นเจ้าของสินค้าให้กับผู้รับซื้อแล้ว
2.)กิจการไม่เกี่ยวข้องในการบริหารสินค้าอย่างต่อเนื่องในระดับที่เจ้าของพึงกระทำ หรือไม่ได้ควบคุมสินค้าที่ขายไปแล้วทั้งทางตรงและทางอ้อม
3.)กิจการสามารถวัดมูลค่าของจำนวนรายได้ ได้อย่างน่าเชื่อถือ
4.)มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่กิจการจะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ ของรายการบัญชีนั้น
5.)กิจการสามารถวัดมูลค่าของต้นทุนที่เกิดขึ้นหรือที่จะเกิดขึ้น อันเนื่องมาจากรายการนั้นได้อย่างน่าเชื่อถือ
โดยกรณีศึกษาของเรื่องนี้นั้น เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับบริษัทหนึ่งในอดีตที่อาศัยช่องโหว่ในการบันทึกบัญชีรับรู้รายได้จากการขายสินค้าที่ฝากไว้กับร้านค้าซึ่งถือเป็นการให้เครดิตร้านค้าที่นำสินค้านี้ไปขาย ทว่าบริษัทนี้นั้นกลับบันทึกบัญชีดังกล่าวเป็น “การขายสินค้าเงินสด” ทั้งๆที่ยังไม่ได้รับเงินเข้ามาส่งผลให้บริษัทนี้มีผลการดำเนินงานที่ดีเกินความเป็นจริง ในช่วงระยะเวลาดังกล่าว
8.ประเภทของกำไร
กำไรขั้นต้น (Gross Profit) = ยอดขาย-ต้นทุนขาย
กำไรจากการดำเนินงาน (Operating Margin) = กำไรขั้นต้น-ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร
กำไรก่อนหักดอกเบี้ยจ่ายและภาษี (EBIT) = กำไรจากการดำเนินงาน +รายได้อื่น
กำไรสุทธิ (Net Profit) = EBIT-ค่าใช้จ่ายทางการเงิน-ภาษี
EBITDA = EBIT+ค่าเสื่อมราคา+ค่าใช้จ่ายตัดจ่าย
9.Profit is an opinion.Cash is fact.
Operating Cash Flow is more accurate than Net Profit.
โดยกระแสเงินสดที่เกิดจากกิจกรรมดำเนินงาน จะเป็นข้อบ่งชี้ที่สำคัญที่แสดงถึงความสามารถในการดำเนินงานของกิจการในการก่อให้เกิดกระแสเงินสดที่เพียงพอเพื่อจ่ายชำระเงินกู้ยืม เพื่อการดำเนินการของกิจการ เพื่อจ่ายเงินปันผล และเพื่อการลงทุนใหม่ๆ โดยไม่ต้องพึ่งพา การจัดหาเงินจากแหล่งเงินภายนอก
10.งบกระแสเงินสดบอกวงจรชีวิตของกิจการ
งบกระแสเงินสดนั้นจะเป็นงบที่แสดงการได้รับเงินสดและการใช้จ่ายเงินสดของกิจการ
งบกระแสเงินสดนั้นจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วนตามกิจกรรมต่างๆของกิจการ ประกอบด้วย
1.) กิจกรรมดำเนินงาน จะเป็นรายการที่เกี่ยวกับการดำเนินการตามปรกติของกิจการ ดังนั้นรายการนี้จะสามารถบอกเราได้ว่ากิจการนั้นดำเนินธุรกิจแล้วมีเงินสดรับมากกว่าจ่าย หรือว่าจ่ายมากกว่ารับ
2.) กิจกรรมการลงทุน จะเป็นรายการที่เกี่ยวกับการลงทุนในสินทรัพย์ทั้งที่มีตัวตนและไม่มีตัวตน เช่น สิทธิบัตรต่างๆ และรายการที่ขายสินทรัพย์ทั้ง 2 ประเภท
3.)กิจกรรมเกี่ยวกับการเงิน ทั้งการเพิ่มทุนจดทะเบียน การกู้ยืม/ชำระหนี้เงินกู้ยืม การจ่ายเงินปันผล
ดังนั้นการวิเคราะห์งบกระแสเงินสดจะสามารถบอกเราได้ว่า สถานะของบริษัทนั้นอยู่ในประเภทใด
1.) ถ้าบริษัทมีเงินสดรับจากกิจกรรมทางการเงิน เช่น การเพิ่มทุน การกู้ยืม และบริษัทมีเงินสดจ่ายในกิจกรรมการลงทุน แสดงว่าบริษัทยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น การดำเนินงานยังไม่สามารถหาเงินสดได้เพียงพอในการขยายการลงทุนที่ยังคงมากอยู่
2.)ถ้าบริษัทมีเงินสดรับจากกิจกรรมดำเนินงาน และมีเงินสดจ่ายในกิจกรรมการลงทุน แสดงว่าบริษัทอยู่ในสถานะการเติบโต ธุรกิจของบริษัทสามารถหาเงินสดได้แล้ว แต่ยังคงมีภาระที่จะขยายการลงทุนอยู่
3.) ถ้าบริษัทมีเงินสดรับจากกิจกรรมดำเนินงาน และมีเงินสดจ่ายในกิจกรรมทางการเงิน เช่น ชำระหนี้เงินกู้ แสดงว่าบริษัทอยู่ในสถานะที่โตเต็มที่ ไม่มีภาระที่จะขยายการลงทุนเพิ่มเติม
4.) บริษัทจะมีเงินสดรับจากกิจกรรมดำเนินงาน และมีเงินสดจ่ายในกิจกรรมทางการเงิน คือ การจ่ายเงินปันผล แสดงว่าบริษัทอยู่ในสถานะ ห่านทองคำครับ คือบริษัทสามารถหาเงินสดจากการดำเนินงานได้ อีกทั้งยังไม่มีภาระการใช้เงิน ไม่ว่าจะเป็นการขยายการลงทุนหรือการชำระหนี้เงินกู้ บริษัทจึงมีเงินสดเหลือที่จะจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้น
(ที่มาจาก viewtopic.php?f=35&t=1096 งบกระแสเงินสดสามารถบอกวงจรชีวิตของบริษัท by P’Chatchai)
11. Big Bath
หมายถึงเหตุการณ์ที่มีการชำระงบการเงินครั้งใหญ่โดยบริษัททำการบันทึกเอาสิ่งต่างๆที่ไม่ดีโยนมันทิ้งในงบการเงินงวดปัจจุบันซึ่งจะส่งผลทำให้งบการเงินในงวดนี้เกิดการขาดทุนอย่างหนัก แล้วหลังจากนั้นจะมีแต่สิ่งดีๆเข้ามาสู่งบการเงินในงวดต่อไป โดยมักจะเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้นในช่วงเปลี่ยนผู้บริหารหรือเจ้าของ
(ปล.ผมลองไปหาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้เพิ่มเติมทำให้ได้ทราบข้อมูลเพิ่มเติมกับอีก 1 เรื่อง คือ Cooking Jar Reserve
Cookie Jar Reserve เลือกที่จะ ประมาณการต้นทุนให้สูงในงวดปัจจุบันในรูปของการตั้งสำรองต่างเพื่อจะได้ให้ งวดต่อๆไปมีค่าใช้จ่ายน้อยลง วิธีการนี้จะมีการตั้งสำรองไว้เป็นค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร ซึ่งแน่นอนจะทำให้กำไรในงวดที่ตั้งสำรองลดลงทันที จากนั้นอาจมีการดึงการตั้งสำรองกลับในแต่ละงวดเพื่อเพิ่มกำไร
นิยมทำกันคือ
- ประมาณการคืนสินค้า/รับประกัน สินค้า
- ประมาณการตัดหนี้ สูญ
- ประมาณการสินค้า เสื่อมคุณภาพ
- ประมาณการค่าใช้ จ่ายในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
- ประมาณการ%ที่งานเสร็จตามสัญญาก่อสร้างระยะยาว
ที่มาจาก
http://www.thaivi.com/2010/02/426/ (Creative Accounting 2 Earning Management by P’มนตรี) )
12.การตกแต่งงบการเงิน
12.1การตกแต่งงบกำไรขาดทุน
1.)รับรู้ รายได้เร็วเกินไป
2.)รับรู้ รายได้มากเกินจริง
3.)เพิ่มผลการดำเนินงาน จากรายได้พิเศษ
4.)บันทึก ค่าใช้จ่ายเป็นสินทรัพย์
12.2การตกแต่งงบกระแสเงินสด
1.)บันทึกกระแสเงินรับจากกิจกรรมจัดหาเงิน เป็นกิจกรรมดำเนินงาน
2.)บันทึกกระแสเงินจ่ายจากกิจกรรมดำเนินงาน เป็นกิจกรรมลงทุน
3.)เพิ่มกระแสเงินสดสุทธิจากการดำเนินงาน โดยรายได้พิเศษ
4.)เพิ่มกระแสเงินสดสุทธิจากการดำเนินงาน โดยการขายสินทรัพย์
13.สัญญาณเตือนภัยในงบการเงิน
13.1 รายงานของผู้สอบบัญชีที่ยาวผิดปกติ มีการเอ่ยถึง ความไม่แน่นอนต่างๆ ที่มีสาระสำคัญมีการออกรายงานที่ช้ากว่าปกติ หรือมีการเปลี่ยนแปลงตัวผู้สอบบัญชี
13.2 การเปลี่ยนแปลงในนโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการบัญชี ไปสู่นโยบายที่หละหลวมมากขึ้น
13.3 บัญชีลูกหนี้การค้า หรือรายได้ค้างรับ
-ลูกหนี้การค้า หรือรายได้ค้างรับ ค้างชำระเกินกำหนดค่อนข้างมาก
-บัญชีลูกหนี้การค้า หรือ รายได้ค้างรับ มียอดสูงขึ้น ในขณะที่ยอดขายไม่เปลี่ยนแปลงไปจากปีก่อน
-การพึ่งพิงอยู่กับลูกค้าน้อยราย
13.4 สินค้าคงเหลือ
-สินค้าคงเหลือที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่ยอดขายไม่เปลี่ยนแปลง
-การเปลี่ยนแปลงวิธีการตีราคาสินค้าคงเหลือ
13.5 เงินลงทุนในหลักทรัพย์ในความต้องการของตลาด โอนจากสินทรัพย์หมุนเวียนไปเป็น สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน
https://www.facebook.com/pages/%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%AB%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%9C%E0%B8%A5/198068607020376
สรุปความรู้หลักสูตรVIรุ่น4(Part3วิเคราะห์งบการเงิน Pฉัตรชัย)
"ขอบคุณ earthcu Posted: Tue Oct 29, 2013 10:06 pm"
http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f=1&t=56771
เนื่องด้วยผมมีโอกาสได้เข้าร่วมหลักสูตรอบรมการลงทุนแบบเน้นคุณค่า รุ่นที่ 4 ในวันที่ 5,6,12,13 ตุลาคมที่ผ่านมา จึงอยากจะขอสรุปความรู้ที่ได้จากงานครั้งนี้บางส่วนเผื่อเป็นประโยชน์ต่อเพื่อนนักลงทุนท่านอื่นๆที่ไม่ได้มาร่วมงานอบรมในครั้งนี้ครับ
วันที่ 6 ตุลาคม 2556
Part 3 : การวิเคราะห์งบการเงิน (อ.ฉัตรชัย วงแก้วเจริญ)
1.ก่อนเริ่มวิเคราะห์งบการเงิน นักลงทุนควรที่จะเข้าใจในกิจการ (เช่นจากรายงาน 56-1) รวมไปถึงเข้าใจในอุตสาหกรรม ในแง่สภาพการแข่งขัน, ปัจจัยสำคัญในการแข่งขันรวมไปถึงสภาพแวดล้อมของอุตสาหกรรม
2.ข้อจำกัดของงบการเงิน
2.1 การจัดสรรรายได้และค่าใช้จ่ายสำหรับรอบระยะเวลาหนึ่งขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของบุคคล เช่นการตีราคาสินค้าคงเหลือ, การคิดค่าเสื่อมราคา, การแยกรายการที่เกิดขึ้นระหว่างปีว่าเป็นรายจ่ายฝ่ายทุน หรือเป็นค่าใช้จ่ายในงวดนั้น
2.2 จำนวนที่ปรากฏในงบแสดงฐานะทางการเงินไม่ถูกต้องตรงตามข้อเท็จจริง
2.3 งบการเงินไม่สามารถแสดงปัจจัยที่ไม่เป็นตัวเงิน เช่นชื่อเสียงของธุรกิจ, ความเชื่อถือจากเจ้าหนี้ , ลักษณะของผู้บริหาร
3.ประเด็นที่สำคัญอย่างหนึ่งที่ควรจะต้องให้ความสนใจในการอ่านงบการเงินคือลูกหนี้การค้าสุทธิ โดยเฉพาะถ้าเจอบริษัทที่มีลูกหนี้การค้าที่เกินกำหนดชำระ(เช่นมากกว่า 3-6 เดือน หรือ มากกว่า6-12 เดือน)เป็นปริมาณที่สูงถ้าเทียบกับลูกหนี้การค้าสุทธิทั้งหมดเพราะมีโอกาสที่ลูกหนี้การค้าก้อนนี้จะทำให้บริษัทนี้ต้องตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญเป็นจำนวนมาก
ซึ่งในอดีตก็เคยมี case เหตุการณ์ที่บริษัทแสดงลูกหนี้การค้าที่เกินกำหนดชำระเป็นจำนวนมากแล้วทำให้ปีต่อๆมา บริษัทนี้ต้องตั้งค่าเผื่อสำรองหนี้สงสัยจะสูญเป็นจำนวนมากจนบริษัทมีผลขาดทุนสุทธิจำนวนมากและท้ายที่สุดทำให้ส่วนของผู้ถือหุ้นลดลงจนติดลบได้
4.สินค้าคงเหลือ
การวัดมูลค่าสินค้าคงเหลือนั้นต้องวัดมูลค่าด้วยราคาทุนหรือมูลค่าสุทธิที่จะได้รับ แล้วแต่มูลค่าใดจะต่ำกว่า
ซึ่งในบางครั้งอาจจะเกิดเหตุการณ์ที่บางบริษัทมีการเพิ่มของสินค้าคงเหลือเป็นจำนวนมาก ซึ่งอาจจะเกิดจากการที่ผู้บริหารมองว่าราคาของวัตถุดิบมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นทำให้ทำการกู้เงินระยะสั้นมาเพื่อ stock สินค้าไว้ ในกรณีนี้อาจจะเกิดเหตุการณ์ที่ทำให้บริษัทมีผลขาดทุนจากการปรับมูลค่าสินค้าคงเหลือลดลงเป็นจำนวนมากได้ ถ้าเหตุการณ์ไม่เป็นไปตามที่ผู้บริหารคาดการณ์ไว้ ซึ่งในอดีตก็เคยเกิดเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นกับบางบริษัท
5.การจัดประเภทเงินลงทุน
5.1 ถือเพื่อลงทุน
1.)หลักทรัพย์เพื่อค้า : เงินลงทุนในหลักทรัพย์ที่จดทะเบียนโดยมีวัตถุประสงค์หลักที่จะขายในอนาคตอันใกล้
โดยจะลงบัญชีโดยราคาตลาด ณ วันปิดบัญชี และรับรู้กำไรหรือขาดทุนในงบกำไรขาดทุน
2.)หลักทรัพย์เผื่อขาย : เงินลงทุนในหลักทรัพย์ที่จดทะเบียน ซึ่งไม่ถือเป็นหลักทรัพย์เพื่อค้า
โดยจะลงบัญชีโดยราคาตลาด ณ วันปิดบัญชี และรับรู้กำไรหรือขาดทุนในส่วนของเจ้าของ
3.)เงินลงทุนทั่วไป : เงินลงทุนในหลักทรัพย์ที่ไม่ได้จดทะเบียน (ลงบัญชีตามราคาทุน)
5.2 ถือเพื่อมีส่วนร่วมในการบริหารกิจการ
1.)เงินลงทุนในบริษัทร่วม โดยถือหุ้นตั้งแต่ 20% ขึ้นไปแต่ไม่เกิน 50% (ลงบัญชีตามราคาทุน)
2.)เงินลงทุนในบริษัทย่อยโดยถือหุ้นตั้งแต่ 50%ขึ้นไป (ลงบัญชีตามราคาทุน)
6.อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน
หมายถึง อสังหาริมทรัพย์ (ที่ดิน หรือ อาคาร หรือที่ดินและอาคาร) ที่ถือครอง เพื่อหาประโยชน์จากรายได้ค่าเช่า หรือจากการเพิ่มขึ้นของมูลค่าของสินทรัพย์ หรือทั้งสองอย่าง โดยทั้งนี้ไม่ได้มีไว้เพื่อ
1.)ใช้ในการผลิตหรือจัดหาสินค้าหรือให้บริการ หรือใช้ในการบริหารงานของกิจการ หรือ
2.)ขายตามลักษณะการประกอบธุรกิจตามปกติ
โดยวิธีการวัดมูลค่า อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนนั้นมี 2 วิธี
1.)ราคาทุน : จำนวนเงินสดหรือรายการเทียบเท่าเงินสดที่กิจการจ่ายไป หรือมูลค่ายุติธรรม ของสิ่งตอบแทนอื่นที่กิจการมอบให้เพื่อให้ได้มาซึ่งสินทรัพย์ ณ เวลาที่ได้สินทรัพย์นั้นมา หรือ ณ เวลาที่ก่อสร้างสินทรัพย์นั้น
2.)มูลค่ายุติธรรม : จำนวนเงินที่ผู้ซื้อและผู้ขายตกลงแลกเปลี่ยนสินทรัพย์กันในขณะที่ทั้งสองฝ่ายมีความรู้และเต็มใจในการแลกเปลี่ยนและสามารถต่อรองราคากันได้อย่างเป็นอิสระในลักษณะของผู้ที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกัน
ซึ่งจะมีข้อกำหนดเพิ่มเติมคือ กิจการที่เลือกใช้วิธีมูลค่ายุติธรรม ต้องวัดมูลค่าของอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนทั้งหมดด้วยวิธีมูลค่ายุติธรรม และหากกิจการใช้วิธีมูลค่ายุติธรรม กิจการต้องใช้ต่อเนื่องจนกว่าจะมีการจำหน่าย
สำหรับข้อแตกต่างระหว่างวิธีทุนและวิธีมูลค่ายุติธรรม
วิธีทุน : 1.)มีค่าเสื่อมราคา 2.)บันทึกมูลค่าโดยนำราคาทุน-ค่าเสื่อมราคาสะสม 3.)ผลกระทบต่องบกำไรขาดทุนจะรับรู้ค่าใช้จ่ายจากค่าเสื่อมราคา
วิธีมูลค่ายุติธรรม : 1.)ไม่คิดค่าเสื่อมราคา 2.)บันทึกมูลค่าโดยปรับมูลค่า ทุกรอบบัญชี 3.)ผลกระทบต่องบกำไรขาดทุนจะรับรู้ผลกำไร/ขาดทุนจากการเปลี่ยนแปลงมูลค่า
7.การขายสินค้า กิจการต้องรับรู้รายได้จากการขายสินค้า เมื่อเป็นไปตามเงื่อนไขทุกข้อ ดังต่อไปนี้
1) กิจการได้โอนความเสี่ยงและผลตอบแทนที่มีนัยสำคัญของความเป็นเจ้าของสินค้าให้กับผู้รับซื้อแล้ว
2.)กิจการไม่เกี่ยวข้องในการบริหารสินค้าอย่างต่อเนื่องในระดับที่เจ้าของพึงกระทำ หรือไม่ได้ควบคุมสินค้าที่ขายไปแล้วทั้งทางตรงและทางอ้อม
3.)กิจการสามารถวัดมูลค่าของจำนวนรายได้ ได้อย่างน่าเชื่อถือ
4.)มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่กิจการจะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ ของรายการบัญชีนั้น
5.)กิจการสามารถวัดมูลค่าของต้นทุนที่เกิดขึ้นหรือที่จะเกิดขึ้น อันเนื่องมาจากรายการนั้นได้อย่างน่าเชื่อถือ
โดยกรณีศึกษาของเรื่องนี้นั้น เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับบริษัทหนึ่งในอดีตที่อาศัยช่องโหว่ในการบันทึกบัญชีรับรู้รายได้จากการขายสินค้าที่ฝากไว้กับร้านค้าซึ่งถือเป็นการให้เครดิตร้านค้าที่นำสินค้านี้ไปขาย ทว่าบริษัทนี้นั้นกลับบันทึกบัญชีดังกล่าวเป็น “การขายสินค้าเงินสด” ทั้งๆที่ยังไม่ได้รับเงินเข้ามาส่งผลให้บริษัทนี้มีผลการดำเนินงานที่ดีเกินความเป็นจริง ในช่วงระยะเวลาดังกล่าว
8.ประเภทของกำไร
กำไรขั้นต้น (Gross Profit) = ยอดขาย-ต้นทุนขาย
กำไรจากการดำเนินงาน (Operating Margin) = กำไรขั้นต้น-ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร
กำไรก่อนหักดอกเบี้ยจ่ายและภาษี (EBIT) = กำไรจากการดำเนินงาน +รายได้อื่น
กำไรสุทธิ (Net Profit) = EBIT-ค่าใช้จ่ายทางการเงิน-ภาษี
EBITDA = EBIT+ค่าเสื่อมราคา+ค่าใช้จ่ายตัดจ่าย
9.Profit is an opinion.Cash is fact.
Operating Cash Flow is more accurate than Net Profit.
โดยกระแสเงินสดที่เกิดจากกิจกรรมดำเนินงาน จะเป็นข้อบ่งชี้ที่สำคัญที่แสดงถึงความสามารถในการดำเนินงานของกิจการในการก่อให้เกิดกระแสเงินสดที่เพียงพอเพื่อจ่ายชำระเงินกู้ยืม เพื่อการดำเนินการของกิจการ เพื่อจ่ายเงินปันผล และเพื่อการลงทุนใหม่ๆ โดยไม่ต้องพึ่งพา การจัดหาเงินจากแหล่งเงินภายนอก
10.งบกระแสเงินสดบอกวงจรชีวิตของกิจการ
งบกระแสเงินสดนั้นจะเป็นงบที่แสดงการได้รับเงินสดและการใช้จ่ายเงินสดของกิจการ
งบกระแสเงินสดนั้นจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วนตามกิจกรรมต่างๆของกิจการ ประกอบด้วย
1.) กิจกรรมดำเนินงาน จะเป็นรายการที่เกี่ยวกับการดำเนินการตามปรกติของกิจการ ดังนั้นรายการนี้จะสามารถบอกเราได้ว่ากิจการนั้นดำเนินธุรกิจแล้วมีเงินสดรับมากกว่าจ่าย หรือว่าจ่ายมากกว่ารับ
2.) กิจกรรมการลงทุน จะเป็นรายการที่เกี่ยวกับการลงทุนในสินทรัพย์ทั้งที่มีตัวตนและไม่มีตัวตน เช่น สิทธิบัตรต่างๆ และรายการที่ขายสินทรัพย์ทั้ง 2 ประเภท
3.)กิจกรรมเกี่ยวกับการเงิน ทั้งการเพิ่มทุนจดทะเบียน การกู้ยืม/ชำระหนี้เงินกู้ยืม การจ่ายเงินปันผล
ดังนั้นการวิเคราะห์งบกระแสเงินสดจะสามารถบอกเราได้ว่า สถานะของบริษัทนั้นอยู่ในประเภทใด
1.) ถ้าบริษัทมีเงินสดรับจากกิจกรรมทางการเงิน เช่น การเพิ่มทุน การกู้ยืม และบริษัทมีเงินสดจ่ายในกิจกรรมการลงทุน แสดงว่าบริษัทยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น การดำเนินงานยังไม่สามารถหาเงินสดได้เพียงพอในการขยายการลงทุนที่ยังคงมากอยู่
2.)ถ้าบริษัทมีเงินสดรับจากกิจกรรมดำเนินงาน และมีเงินสดจ่ายในกิจกรรมการลงทุน แสดงว่าบริษัทอยู่ในสถานะการเติบโต ธุรกิจของบริษัทสามารถหาเงินสดได้แล้ว แต่ยังคงมีภาระที่จะขยายการลงทุนอยู่
3.) ถ้าบริษัทมีเงินสดรับจากกิจกรรมดำเนินงาน และมีเงินสดจ่ายในกิจกรรมทางการเงิน เช่น ชำระหนี้เงินกู้ แสดงว่าบริษัทอยู่ในสถานะที่โตเต็มที่ ไม่มีภาระที่จะขยายการลงทุนเพิ่มเติม
4.) บริษัทจะมีเงินสดรับจากกิจกรรมดำเนินงาน และมีเงินสดจ่ายในกิจกรรมทางการเงิน คือ การจ่ายเงินปันผล แสดงว่าบริษัทอยู่ในสถานะ ห่านทองคำครับ คือบริษัทสามารถหาเงินสดจากการดำเนินงานได้ อีกทั้งยังไม่มีภาระการใช้เงิน ไม่ว่าจะเป็นการขยายการลงทุนหรือการชำระหนี้เงินกู้ บริษัทจึงมีเงินสดเหลือที่จะจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้น
(ที่มาจาก viewtopic.php?f=35&t=1096 งบกระแสเงินสดสามารถบอกวงจรชีวิตของบริษัท by P’Chatchai)
11. Big Bath
หมายถึงเหตุการณ์ที่มีการชำระงบการเงินครั้งใหญ่โดยบริษัททำการบันทึกเอาสิ่งต่างๆที่ไม่ดีโยนมันทิ้งในงบการเงินงวดปัจจุบันซึ่งจะส่งผลทำให้งบการเงินในงวดนี้เกิดการขาดทุนอย่างหนัก แล้วหลังจากนั้นจะมีแต่สิ่งดีๆเข้ามาสู่งบการเงินในงวดต่อไป โดยมักจะเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้นในช่วงเปลี่ยนผู้บริหารหรือเจ้าของ
(ปล.ผมลองไปหาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้เพิ่มเติมทำให้ได้ทราบข้อมูลเพิ่มเติมกับอีก 1 เรื่อง คือ Cooking Jar Reserve
Cookie Jar Reserve เลือกที่จะ ประมาณการต้นทุนให้สูงในงวดปัจจุบันในรูปของการตั้งสำรองต่างเพื่อจะได้ให้ งวดต่อๆไปมีค่าใช้จ่ายน้อยลง วิธีการนี้จะมีการตั้งสำรองไว้เป็นค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร ซึ่งแน่นอนจะทำให้กำไรในงวดที่ตั้งสำรองลดลงทันที จากนั้นอาจมีการดึงการตั้งสำรองกลับในแต่ละงวดเพื่อเพิ่มกำไร
นิยมทำกันคือ
- ประมาณการคืนสินค้า/รับประกัน สินค้า
- ประมาณการตัดหนี้ สูญ
- ประมาณการสินค้า เสื่อมคุณภาพ
- ประมาณการค่าใช้ จ่ายในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
- ประมาณการ%ที่งานเสร็จตามสัญญาก่อสร้างระยะยาว
ที่มาจาก http://www.thaivi.com/2010/02/426/ (Creative Accounting 2 Earning Management by P’มนตรี) )
12.การตกแต่งงบการเงิน
12.1การตกแต่งงบกำไรขาดทุน
1.)รับรู้ รายได้เร็วเกินไป
2.)รับรู้ รายได้มากเกินจริง
3.)เพิ่มผลการดำเนินงาน จากรายได้พิเศษ
4.)บันทึก ค่าใช้จ่ายเป็นสินทรัพย์
12.2การตกแต่งงบกระแสเงินสด
1.)บันทึกกระแสเงินรับจากกิจกรรมจัดหาเงิน เป็นกิจกรรมดำเนินงาน
2.)บันทึกกระแสเงินจ่ายจากกิจกรรมดำเนินงาน เป็นกิจกรรมลงทุน
3.)เพิ่มกระแสเงินสดสุทธิจากการดำเนินงาน โดยรายได้พิเศษ
4.)เพิ่มกระแสเงินสดสุทธิจากการดำเนินงาน โดยการขายสินทรัพย์
13.สัญญาณเตือนภัยในงบการเงิน
13.1 รายงานของผู้สอบบัญชีที่ยาวผิดปกติ มีการเอ่ยถึง ความไม่แน่นอนต่างๆ ที่มีสาระสำคัญมีการออกรายงานที่ช้ากว่าปกติ หรือมีการเปลี่ยนแปลงตัวผู้สอบบัญชี
13.2 การเปลี่ยนแปลงในนโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการบัญชี ไปสู่นโยบายที่หละหลวมมากขึ้น
13.3 บัญชีลูกหนี้การค้า หรือรายได้ค้างรับ
-ลูกหนี้การค้า หรือรายได้ค้างรับ ค้างชำระเกินกำหนดค่อนข้างมาก
-บัญชีลูกหนี้การค้า หรือ รายได้ค้างรับ มียอดสูงขึ้น ในขณะที่ยอดขายไม่เปลี่ยนแปลงไปจากปีก่อน
-การพึ่งพิงอยู่กับลูกค้าน้อยราย
13.4 สินค้าคงเหลือ
-สินค้าคงเหลือที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่ยอดขายไม่เปลี่ยนแปลง
-การเปลี่ยนแปลงวิธีการตีราคาสินค้าคงเหลือ
13.5 เงินลงทุนในหลักทรัพย์ในความต้องการของตลาด โอนจากสินทรัพย์หมุนเวียนไปเป็น สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน
https://www.facebook.com/pages/%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%AB%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%9C%E0%B8%A5/198068607020376