ถูกผิด? อยู่ที่คุณเป็นใคร?
ไม่มีคำอธิบาย ดูเอาเถิดครับ !!!!
แต่กับอีกคน?
ยกฟ้อง"อาจารย์ จุฬาฯ"ฉีกบัตรเลือกตั้ง ปี′49 อธิบดีศาลเห็นแย้ง ชี้กระทำผิดอาญาทำให้เสียทรัพย์แล้ว
วันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2553 เวลา 08:20:12 น.
ในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อ
"วันที่ 2 เมษายน 2549" ณ หน่วยเลือกตั้ง 62 เขตเลือกตั้งที่ 21 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ แขวง-เขตสวนหลวง กทม. เมื่อเวลา 09.30 น. นายไชยยันต์ ไชยพร อายุ 47 ปี หัวหน้าภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บัญชีหมายเลข 96 ได้เดินเข้าคูหาลงคะแนน และกาช่องไม่เลือกใคร ก่อนเดินถือบัตรลงคะแนนออกมาให้สื่อมวลชนดู
"ผมขอทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง" จากนั้นจึงฉีกบัตรเลือกตั้ง และยอมให้เจ้าหน้าที่ตำรวจประจำหน่วยเลือกตั้ง สน.ประเวศ 2 นาย เดินมาควบคุมตัวแต่โดยดี ทั้งสองฝ่ายต่างยิ้มให้กันอย่างเป็นกันเอง ในขณะที่ประชาชนจำนวนมากที่มาใช้สิทธิปรบมือโห่ร้องให้กำลังใจ รวมถึงนายยืนยง โอภากุล หัวหน้าวงคาราบาว ซึ่งมาร่วมสังเกตการณ์ด้วย
จากนั้น นายไชยยันต์ขออ่านแถลงการณ์ที่เตรียมมาจำนวน 4 แผ่น ให้ผู้สื่อข่าวฟัง โดยตำรวจทั้งสองคนก็ยินยอมแต่โดยดี มีใจความโดยสรุปว่า "ระบอบทักษิณ" ได้ยักยอก และยึดครองประชาธิปไตยโดยสิ้นเชิงแล้ว การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นการลงมติรับรองผู้นำเผด็จการเท่านั้น การยุบสภาที่เกิดขึ้นทำไปเพื่อประโยชน์ของคนคนเดียวที่ไม่ยอมรับการตรวจสอบปัญหาคอร์รัปชั่นและผลประโยชน์ที่ทับซ้อนที่ได้กระทำไป ในสถานการณ์เผด็จการจำแลงเช่นนี้ รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันได้เล็งเห็น และให้สิทธิพื้นฐานแก่ชนชาวไทยไว้แล้ว ในมาตรา 65 จึงขอปฏิเสธหน้าที่พลเมืองที่กำหนดไว้ในกฎหมายเลือกตั้ง เพื่อรักษาสิทธิเสรีภาพโดยฉีกบัตรเลือกตั้ง
"คดีนี้ผมจะเรียนต่อเจ้าพนักงานว่า ผมขอสู้คดีในชั้นศาล โดยจะไม่ยอมรับการเปรียบเทียบปรับใดๆ โดยจะขอต่อสู้คดีนำสืบให้ศาลเห็นถึงการใช้อำนาจยุบสภาโดยบิดเบือนจากวิถีทางในรัฐธรรมนูญเป็นลำดับไป และขอยืนยันว่า ผมไม่ได้ป่วยทางจิต" นายไชยยันต์ระบุ
ผ่านมา 4 ปี คดีนายไชยยันต์ ไชยพรฉีกบัตรเลือกตั้ง ศาลจังหวัดพระโขนง ได้นัดฟังคำพิพากษา ในวันที่29 ตุลาคม เวลาบ่าย โดยก่อนหน้านี้ นายไชยยันต์ ได้ร้องขอความเป็นธรรม ต่ออัยการสูงสุด แต่ที่สุด อัยการ ได้ยื่นฟ้องต่อศาลจังหวัดพระโขนง เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2553
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม ที่ศาลจังหวัดพระโขนง ถนนสรรพาวุธ ศาลมีคำพิพากษายกฟ้องคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นายไชยยันต์ ไชยพร อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นจำเลยฐานกระทำผิด พ.ร.บ.ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 ม.108 ที่ห้ามมิให้ผู้หนึ่งผู้ใดทำบัตรเลือกตั้งดีให้เป็นบัตรเสีย และ ป.อาญา ม.358 ฐานทำให้เสียทรัพย์
ศาลพิเคราะห์พยานหลักฐานและคำให้การของโจทก์จำเลยแล้วเห็นว่า การเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2549 ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยที่ 9/2549 ว่า เป็นการเลือกตั้งที่ไม่เที่ยงธรรม ไม่เป็นการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง ไม่ชอบตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 บัตรเลือกตั้งที่กรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งมอบให้แก่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจึงไม่ใช่บัตรเลือกตั้งเป็นเพียงแบบพิมพ์บัตรเลือกตั้ง การกระทำของจำเลยจึงไม่อาจเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.และ สว. ฯ ม.108 และการที่จำเลยมาใช้สิทธิเลือกตั้งแล้วฉีกบัตรเฉพาะในส่วนที่ได้รับมาทั้งสองใบอย่างเปิดเผยเพื่อสื่อให้ประชาชนตระหนักถึงการเลือกตั้งที่ไม่ชอบธรรม โดยไม่ได้ก่อให้เกิดความวุ่นวายหรือความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด จึงเป็นการใช้สิทธิต่อต้านการเลือกตั้งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยสันติวิธี ทั้งบัตรเลือกตั้งดังกล่าวก็เป็นทรัพย์ที่ กกต.ใช้ในการทำความผิดในการเลือกตั้งและมีราคาเพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองของประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ตามที่โจทก์ฟ้อง พิพากษายกฟ้อง
อย่างไรก็ตาม มีความเห็นแย้งของการตัดสินคดีดังกล่าว โดย นายฉัตรไชย จันทร์พรายศรี อธิบดีผู้พิพากษา ภาค 3 ได้ทำความเห็นแย้งระบุว่า สำหรับปัญหาว่าจำเลยกระทำความผิดฐานทำให้เสียหายทรัพย์หรือไม่นั้น เห็นว่าความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์นั้น ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 358 บัญญัติว่า "ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย ทำให้เสื่อมค่า หรือทำให้ไร้ประโยชน์ ซึ่งทรัพย์ของผู้อื่นหรือผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย ผู้นั้นกระทำความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์..." เห็นได้ว่าองค์ประกอบภายนอกของความผิดฐานนี้ คือการทำให้ทรัพย์เสียหาย ถูกทำลาย เสื่อมค่า หรือไร้ประโยชน์ และทรัพย์นั้นเป็นของผู้อื่นหรือผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย ส่วนองค์ประกอบภายในคือเจตนากระทำเพื่อให้ทรัพย์นั้นเสียหาย ถูกทำลาย เสื่อมค่าหรือไร้ประโยชน์ ซึ่งเป็นเจตนาธรรมดา
จำเลยเบิกความว่าจำเลยฉีกบัตรเลือกตั้งเพื่อสื่อแก่ประชาชนให้ตระหนักถึงการเลือกตั้งที่ไม่ชอบและไม่เป็นธรรม เพื่อสื่อให้เห็นว่าจำเลยรักษาสิทธิของตนเองมิให้เป็นส่วนหนึ่งของการเลือกตั้งที่ไม่ชอบธรรมและไม่เป็นธรรม เพื่อสื่อให้เห็นว่าจำเลยรักษาสิทธิของตนเองมิให้เป็นส่วนหนึ่งของการเลือกตั้งที่ไม่เป็นธรรม แสดงว่าจำเลยเจตนา ทำลายหรือทำให้บัตรเลือกตั้งนั้นไร้ประโยชน์แล้ว จำเลยจะอ้างว่าเป็นการกระทำเพื่อรักษาสิทธิของตนเองมิให้เป็นส่วนหนึ่งของการเลือกตั้งที่จำเลยเห็นว่าเป็นการเลือกตั้งที่ไม่เป็นธรรมหาได้ไม่ เมื่อบัตรเลือกตั้งที่จำเลยฉีกเป็นเอกสารหรือกระดาษอันเป็นทรัพย์สินของผู้เสียหาย การกระทำของจำเลยย่อมเป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 358 แล้ว จึงขอถือเป็นความเห็นแย้งของนายฉัตรไชย พร้อมกับลงความเห็นว่ามีความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 358
นายไชยยันต์ ไชยพร คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้สัมภาษณ์ "มติชนออนไลน์" ว่า คดีเกิดขึ้นในช่วงเหตุการณ์การเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2549 ซึ่งศาลจังหวัดตรังก็ได้ยกฟ้องไปแล้วเช่นกัน เพราะเหตุมาจากการเลือกตั้งในครั้งนั้นมันไม่ถูกต้อง ซึ่งส่วนตัวคิดว่าหากมีการวิจารณ์ว่าเป็นคำตัดสินที่ 2 มาตรฐานไม่น่าจะถูกต้อง เราต้องพิจารณาว่าสิ่งที่เกิดขึ้นมันเพราะอะไร ทั้งการยุบสภาและการเลือกตั้งในครั้งชอบธรรมหรือไม่ ขอให้พิจารณาตรงนี้ด้วย
"อย่างไรก็ตาม ผมเห็นว่าใครจะทำอะไรที่คิดว่าเป็นการต่อต้าน อย่างที่เขาชอบพูดๆ กันว่าอารยขัดขืน ที่ชอบเรียก ชอบใช้กันนั้น ผมเห็นว่าจะทำอะไร หากสิ่งที่คุณทำมันต่อต้านหรือละเมิดกฎหมาย แต่หากมีเหตุผลและคิดว่ามันถูกต้องชอบธรรมก็ทำไป แต่ต้องพร้อมยอมรับในการเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมด้วย พร้อมต่อสู้ในกระบวนการยุติธรรม อันนี้ผมขอยืนยันว่าทุกสี ไม่ว่าสีอะไร แต่ขอว่าอย่ามาอ้างอารยขัดขืน แล้วคุณหมายถึงการหลบหนีไม่ยอมเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม อย่างนี้ไม่ถูกต้อง"
เมื่อถามว่าอาจเรียกได้ว่าเป็นนักวิชาการคนแรกที่ใช้วิธีฉีกบัตรเพื่อแสดงความต่อต้าน นายไชยยันต์ กล่าวว่า ตนเชื่อในสิ่งที่ทำ และก็เชื่อในกระบวนการยุติะรรมด้วย อย่างไรก็ตาม ในทางตรงข้ามถ้าศาลตัดสินว่าผิดก็พร้อมน้อมรับคำตัดสินเช่นกัน
"ถ้าศาลตัดสินว่าผิด ผมก็ยอมรับ ถ้าไม่งั้นก็ไปอยู่ในป่าดีกว่า ไปอยู่ตามตะเข็บชายแดนดีกว่า" นายไชยยันต์ กล่าว
ต่อข้อถามว่าจะสามารถใช้เป็นบรรทัดฐานในคดีอื่นๆ ต่อไปได้หรือไม่ นายไชยยันต์ กล่าวว่า คิดว่าน่าจะเป็นกรณีๆ ไปมากกว่า คงไม่ใช่ในทุกครั้งที่มีการกระทำฉีกบัตรเลือกตั้งแบบอารยขัดขืน คงต้องพิจารณาที่เหตุและผลด้วย เพราะความที่เราเป็นนักรัฐศาสตร์ เราได้ศึกษาและเรียนรู้มา เราเห็นว่าทั้งการยุบสภาและการเลือกตั้งมันไม่ถูกต้องไม่ชอบธรรม จึงต้องแสดงออกด้วยการต่อต้านมันมีเหตุและผลในตัวมันเอง
ก่อนหน้านี้ นายแก้วสรร อติโพธิ อดีตสมาชิกวุฒิสภาและอดีตอาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดเผยว่า"มติชนออนไลน์"ว่า " ผมไม่ได้เป็นพยานในคดีดังกล่าว แต่ได้ให้คำปรึกษานายไชยยันต์ ในการสู้คดี สำหรับแนวทางการต่อสู้คดีมี 2 ประเด็น ประกอบด้วย 1) สู้ตามกฎหมายเลือกตั้งว่าไม่มีความผิด เพราะมีแนวฎีกาว่า บัตรเลือกตั้งที่ห้ามทำให้เสียหาย หมายถึงบัตรที่กาลงคะแนนและอยู่ในหีบบัตรเลือกตั้งแล้ว แต่หากยังไม่ลงคะแนน ก็เป็นบัตรของเรา ซึ่งในประเด็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ มีแนวฎีกาเคยมีคำวินิจฉัยเอาไว้ 2) สู้ว่าเป็นสิทธิที่ทำได้ ตามรัฐธรรมนูญ เพราะการยุบสภาไม่ถูกต้อง การเลือกตั้งครั้งนั้นไม่ถูกต้อง จึงอยู่ในการต่อสู้แบบอารยขัดขืน ไม่ได้ทำให้ใครเสียหาย "
แหล่งข่าวในวงการนักกฎหมายมหาชน เปิดเผยว่า คดีนี้ถูกจับตามองเป็นพิเศษ โดยเฉพาะในประเด็นกระบวนการยุติธรรมจะเป็น 2 มาตรฐานหรือไม่ เพราะคดีฉีกบัตรเลือกตั้งมีแนวคำพิพากษาที่แตกต่างกันมาก
ที่มา
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1288336222&grpid=00&catid=
ฉีกบัตรเลือกตั้ง ผิดหรือไม่? Double standard
ไม่มีคำอธิบาย ดูเอาเถิดครับ !!!!
แต่กับอีกคน?
ยกฟ้อง"อาจารย์ จุฬาฯ"ฉีกบัตรเลือกตั้ง ปี′49 อธิบดีศาลเห็นแย้ง ชี้กระทำผิดอาญาทำให้เสียทรัพย์แล้ว
วันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2553 เวลา 08:20:12 น.
ในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อ "วันที่ 2 เมษายน 2549" ณ หน่วยเลือกตั้ง 62 เขตเลือกตั้งที่ 21 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ แขวง-เขตสวนหลวง กทม. เมื่อเวลา 09.30 น. นายไชยยันต์ ไชยพร อายุ 47 ปี หัวหน้าภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บัญชีหมายเลข 96 ได้เดินเข้าคูหาลงคะแนน และกาช่องไม่เลือกใคร ก่อนเดินถือบัตรลงคะแนนออกมาให้สื่อมวลชนดู
"ผมขอทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง" จากนั้นจึงฉีกบัตรเลือกตั้ง และยอมให้เจ้าหน้าที่ตำรวจประจำหน่วยเลือกตั้ง สน.ประเวศ 2 นาย เดินมาควบคุมตัวแต่โดยดี ทั้งสองฝ่ายต่างยิ้มให้กันอย่างเป็นกันเอง ในขณะที่ประชาชนจำนวนมากที่มาใช้สิทธิปรบมือโห่ร้องให้กำลังใจ รวมถึงนายยืนยง โอภากุล หัวหน้าวงคาราบาว ซึ่งมาร่วมสังเกตการณ์ด้วย
จากนั้น นายไชยยันต์ขออ่านแถลงการณ์ที่เตรียมมาจำนวน 4 แผ่น ให้ผู้สื่อข่าวฟัง โดยตำรวจทั้งสองคนก็ยินยอมแต่โดยดี มีใจความโดยสรุปว่า "ระบอบทักษิณ" ได้ยักยอก และยึดครองประชาธิปไตยโดยสิ้นเชิงแล้ว การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นการลงมติรับรองผู้นำเผด็จการเท่านั้น การยุบสภาที่เกิดขึ้นทำไปเพื่อประโยชน์ของคนคนเดียวที่ไม่ยอมรับการตรวจสอบปัญหาคอร์รัปชั่นและผลประโยชน์ที่ทับซ้อนที่ได้กระทำไป ในสถานการณ์เผด็จการจำแลงเช่นนี้ รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันได้เล็งเห็น และให้สิทธิพื้นฐานแก่ชนชาวไทยไว้แล้ว ในมาตรา 65 จึงขอปฏิเสธหน้าที่พลเมืองที่กำหนดไว้ในกฎหมายเลือกตั้ง เพื่อรักษาสิทธิเสรีภาพโดยฉีกบัตรเลือกตั้ง
"คดีนี้ผมจะเรียนต่อเจ้าพนักงานว่า ผมขอสู้คดีในชั้นศาล โดยจะไม่ยอมรับการเปรียบเทียบปรับใดๆ โดยจะขอต่อสู้คดีนำสืบให้ศาลเห็นถึงการใช้อำนาจยุบสภาโดยบิดเบือนจากวิถีทางในรัฐธรรมนูญเป็นลำดับไป และขอยืนยันว่า ผมไม่ได้ป่วยทางจิต" นายไชยยันต์ระบุ
ผ่านมา 4 ปี คดีนายไชยยันต์ ไชยพรฉีกบัตรเลือกตั้ง ศาลจังหวัดพระโขนง ได้นัดฟังคำพิพากษา ในวันที่29 ตุลาคม เวลาบ่าย โดยก่อนหน้านี้ นายไชยยันต์ ได้ร้องขอความเป็นธรรม ต่ออัยการสูงสุด แต่ที่สุด อัยการ ได้ยื่นฟ้องต่อศาลจังหวัดพระโขนง เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2553
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม ที่ศาลจังหวัดพระโขนง ถนนสรรพาวุธ ศาลมีคำพิพากษายกฟ้องคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นายไชยยันต์ ไชยพร อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นจำเลยฐานกระทำผิด พ.ร.บ.ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 ม.108 ที่ห้ามมิให้ผู้หนึ่งผู้ใดทำบัตรเลือกตั้งดีให้เป็นบัตรเสีย และ ป.อาญา ม.358 ฐานทำให้เสียทรัพย์
ศาลพิเคราะห์พยานหลักฐานและคำให้การของโจทก์จำเลยแล้วเห็นว่า การเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2549 ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยที่ 9/2549 ว่า เป็นการเลือกตั้งที่ไม่เที่ยงธรรม ไม่เป็นการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง ไม่ชอบตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 บัตรเลือกตั้งที่กรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งมอบให้แก่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจึงไม่ใช่บัตรเลือกตั้งเป็นเพียงแบบพิมพ์บัตรเลือกตั้ง การกระทำของจำเลยจึงไม่อาจเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.และ สว. ฯ ม.108 และการที่จำเลยมาใช้สิทธิเลือกตั้งแล้วฉีกบัตรเฉพาะในส่วนที่ได้รับมาทั้งสองใบอย่างเปิดเผยเพื่อสื่อให้ประชาชนตระหนักถึงการเลือกตั้งที่ไม่ชอบธรรม โดยไม่ได้ก่อให้เกิดความวุ่นวายหรือความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด จึงเป็นการใช้สิทธิต่อต้านการเลือกตั้งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยสันติวิธี ทั้งบัตรเลือกตั้งดังกล่าวก็เป็นทรัพย์ที่ กกต.ใช้ในการทำความผิดในการเลือกตั้งและมีราคาเพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองของประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ตามที่โจทก์ฟ้อง พิพากษายกฟ้อง
อย่างไรก็ตาม มีความเห็นแย้งของการตัดสินคดีดังกล่าว โดย นายฉัตรไชย จันทร์พรายศรี อธิบดีผู้พิพากษา ภาค 3 ได้ทำความเห็นแย้งระบุว่า สำหรับปัญหาว่าจำเลยกระทำความผิดฐานทำให้เสียหายทรัพย์หรือไม่นั้น เห็นว่าความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์นั้น ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 358 บัญญัติว่า "ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย ทำให้เสื่อมค่า หรือทำให้ไร้ประโยชน์ ซึ่งทรัพย์ของผู้อื่นหรือผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย ผู้นั้นกระทำความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์..." เห็นได้ว่าองค์ประกอบภายนอกของความผิดฐานนี้ คือการทำให้ทรัพย์เสียหาย ถูกทำลาย เสื่อมค่า หรือไร้ประโยชน์ และทรัพย์นั้นเป็นของผู้อื่นหรือผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย ส่วนองค์ประกอบภายในคือเจตนากระทำเพื่อให้ทรัพย์นั้นเสียหาย ถูกทำลาย เสื่อมค่าหรือไร้ประโยชน์ ซึ่งเป็นเจตนาธรรมดา
จำเลยเบิกความว่าจำเลยฉีกบัตรเลือกตั้งเพื่อสื่อแก่ประชาชนให้ตระหนักถึงการเลือกตั้งที่ไม่ชอบและไม่เป็นธรรม เพื่อสื่อให้เห็นว่าจำเลยรักษาสิทธิของตนเองมิให้เป็นส่วนหนึ่งของการเลือกตั้งที่ไม่ชอบธรรมและไม่เป็นธรรม เพื่อสื่อให้เห็นว่าจำเลยรักษาสิทธิของตนเองมิให้เป็นส่วนหนึ่งของการเลือกตั้งที่ไม่เป็นธรรม แสดงว่าจำเลยเจตนา ทำลายหรือทำให้บัตรเลือกตั้งนั้นไร้ประโยชน์แล้ว จำเลยจะอ้างว่าเป็นการกระทำเพื่อรักษาสิทธิของตนเองมิให้เป็นส่วนหนึ่งของการเลือกตั้งที่จำเลยเห็นว่าเป็นการเลือกตั้งที่ไม่เป็นธรรมหาได้ไม่ เมื่อบัตรเลือกตั้งที่จำเลยฉีกเป็นเอกสารหรือกระดาษอันเป็นทรัพย์สินของผู้เสียหาย การกระทำของจำเลยย่อมเป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 358 แล้ว จึงขอถือเป็นความเห็นแย้งของนายฉัตรไชย พร้อมกับลงความเห็นว่ามีความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 358
นายไชยยันต์ ไชยพร คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้สัมภาษณ์ "มติชนออนไลน์" ว่า คดีเกิดขึ้นในช่วงเหตุการณ์การเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2549 ซึ่งศาลจังหวัดตรังก็ได้ยกฟ้องไปแล้วเช่นกัน เพราะเหตุมาจากการเลือกตั้งในครั้งนั้นมันไม่ถูกต้อง ซึ่งส่วนตัวคิดว่าหากมีการวิจารณ์ว่าเป็นคำตัดสินที่ 2 มาตรฐานไม่น่าจะถูกต้อง เราต้องพิจารณาว่าสิ่งที่เกิดขึ้นมันเพราะอะไร ทั้งการยุบสภาและการเลือกตั้งในครั้งชอบธรรมหรือไม่ ขอให้พิจารณาตรงนี้ด้วย
"อย่างไรก็ตาม ผมเห็นว่าใครจะทำอะไรที่คิดว่าเป็นการต่อต้าน อย่างที่เขาชอบพูดๆ กันว่าอารยขัดขืน ที่ชอบเรียก ชอบใช้กันนั้น ผมเห็นว่าจะทำอะไร หากสิ่งที่คุณทำมันต่อต้านหรือละเมิดกฎหมาย แต่หากมีเหตุผลและคิดว่ามันถูกต้องชอบธรรมก็ทำไป แต่ต้องพร้อมยอมรับในการเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมด้วย พร้อมต่อสู้ในกระบวนการยุติธรรม อันนี้ผมขอยืนยันว่าทุกสี ไม่ว่าสีอะไร แต่ขอว่าอย่ามาอ้างอารยขัดขืน แล้วคุณหมายถึงการหลบหนีไม่ยอมเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม อย่างนี้ไม่ถูกต้อง"
เมื่อถามว่าอาจเรียกได้ว่าเป็นนักวิชาการคนแรกที่ใช้วิธีฉีกบัตรเพื่อแสดงความต่อต้าน นายไชยยันต์ กล่าวว่า ตนเชื่อในสิ่งที่ทำ และก็เชื่อในกระบวนการยุติะรรมด้วย อย่างไรก็ตาม ในทางตรงข้ามถ้าศาลตัดสินว่าผิดก็พร้อมน้อมรับคำตัดสินเช่นกัน
"ถ้าศาลตัดสินว่าผิด ผมก็ยอมรับ ถ้าไม่งั้นก็ไปอยู่ในป่าดีกว่า ไปอยู่ตามตะเข็บชายแดนดีกว่า" นายไชยยันต์ กล่าว
ต่อข้อถามว่าจะสามารถใช้เป็นบรรทัดฐานในคดีอื่นๆ ต่อไปได้หรือไม่ นายไชยยันต์ กล่าวว่า คิดว่าน่าจะเป็นกรณีๆ ไปมากกว่า คงไม่ใช่ในทุกครั้งที่มีการกระทำฉีกบัตรเลือกตั้งแบบอารยขัดขืน คงต้องพิจารณาที่เหตุและผลด้วย เพราะความที่เราเป็นนักรัฐศาสตร์ เราได้ศึกษาและเรียนรู้มา เราเห็นว่าทั้งการยุบสภาและการเลือกตั้งมันไม่ถูกต้องไม่ชอบธรรม จึงต้องแสดงออกด้วยการต่อต้านมันมีเหตุและผลในตัวมันเอง
ก่อนหน้านี้ นายแก้วสรร อติโพธิ อดีตสมาชิกวุฒิสภาและอดีตอาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดเผยว่า"มติชนออนไลน์"ว่า " ผมไม่ได้เป็นพยานในคดีดังกล่าว แต่ได้ให้คำปรึกษานายไชยยันต์ ในการสู้คดี สำหรับแนวทางการต่อสู้คดีมี 2 ประเด็น ประกอบด้วย 1) สู้ตามกฎหมายเลือกตั้งว่าไม่มีความผิด เพราะมีแนวฎีกาว่า บัตรเลือกตั้งที่ห้ามทำให้เสียหาย หมายถึงบัตรที่กาลงคะแนนและอยู่ในหีบบัตรเลือกตั้งแล้ว แต่หากยังไม่ลงคะแนน ก็เป็นบัตรของเรา ซึ่งในประเด็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ มีแนวฎีกาเคยมีคำวินิจฉัยเอาไว้ 2) สู้ว่าเป็นสิทธิที่ทำได้ ตามรัฐธรรมนูญ เพราะการยุบสภาไม่ถูกต้อง การเลือกตั้งครั้งนั้นไม่ถูกต้อง จึงอยู่ในการต่อสู้แบบอารยขัดขืน ไม่ได้ทำให้ใครเสียหาย "
แหล่งข่าวในวงการนักกฎหมายมหาชน เปิดเผยว่า คดีนี้ถูกจับตามองเป็นพิเศษ โดยเฉพาะในประเด็นกระบวนการยุติธรรมจะเป็น 2 มาตรฐานหรือไม่ เพราะคดีฉีกบัตรเลือกตั้งมีแนวคำพิพากษาที่แตกต่างกันมาก
ที่มา http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1288336222&grpid=00&catid=