เมื่อ "สิทธิ" อยู่เหนือ "จรรยาบรรณ"...ความตกต่ำของตุลาการไทย

เมื่อ "สิทธิ" อยู่เหนือ "จรรยาบรรณ"...ความตกต่ำของตุลาการไทย



เห็นข่าวตุลาการไทยกลุ่มหนึ่ง รวมหัวกันออกมาประกาศ "เลือกข้าง"
แสดงจุดยืนทางการเมืองอย่างโจ่งแจ้งเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา ผมก็ถึงกับ
ผงะ..อยู่ในภาวะตกตะลึงไปชั่วขณะหนึ่งครับ

เพราะผมเข้าใจมาตลอดว่าผู้ที่เป็นตุลาการนั้น ย่อมยึดมั่นในจรรยาบรรณ
แห่งวิชาชีพของตนเป็นสำคัญที่สุด ซึ่งต้องระมัดระวังในการแสดงความ
คิดเห็นอย่างหนึ่งอย่างใดในทุกๆ เรื่อง เนื่องจากผู้ที่เป็นตุลาการนั้นถูก
ยกย่องให้เป็นที่พึ่งของประชาชนทุกหมู่เหล่าในฐานะผู้ให้ความยุติธรรม
มีความเป็นกลาง เปรียบเสมือนตราชั่งที่เที่ยงตรง

แต่วันนี้มีตุลาการกลุ่มหนึ่งออกมาแสดงจุดยืนทางการเมืองอย่างโจ๋งครึ่ม
แม้ว่าจะอ้างสิทธิในฐานะเป็นประชาชนคนหนึ่ง แต่หัวโขนที่คุณสวมอยู่ คือ
"ตุลาการ" มิใช่หรือ???

ผมรู้มาว่า ผู้ที่เป็นตุลาการนั้น เขาต้องใช้ชีวิตอย่างระมัดระวังเรื่อง
ภาพลักษณ์อยู่พอสมควร จะกิน จะอยู่ จะพูดจา แสดงความเห็น
ต้องไม่ให้เป็นที่ครหาของใคร

อย่างเช่น หากตุลาการจะดื่มเหล้า ก็ต้องหลบไปดื่มในที่ลับ เช่น ที่บ้านตัวเอง
หรือที่บ้านคนสนิทกันจริงๆ เท่านั้น…หากผู้ที่เป็นตุลาการจะไปดิ่มเหล้าอยู่ตามผับ
บาร์ เฮฮากับสาวๆ เด็กนั่งดริ้งค์ แล้วอ้างว่าใช้สิทธิในฐานะประชาชนหนึ่ง...
โดยที่คนเขาก็รู้ว่าตนเป็นตุลาการ แบบนี้ทำได้หรือไม่...???



ผมคิดว่าสิ่งที่ทำให้อาชีพตุลาการเป็นที่เคารพนับถือเป็นความพิเศษ
แตกต่างจากอาชีพอื่นๆ ก็คือ "จรรยาบรรณ" แห่งวิชาชีพต่างหากครับ

เมื่อคุณใช้ "สิทธิ" โดยไม่คำนึงถึง "จรรยาบรรณ" แห่งวิชาชีพตุลาการแล้ว
จะให้คนอื่นเขาเคารพนับถือคุณในฐานะตุลาการเช่นเดิมได้อย่างไร?????

จะทำให้ประชาชนเขาเชื่ออย่างสนิทใจได้อย่างไร...ว่าตราชั่งนั้นเที่ยงตรง
และยังสามารถชั่งความยุติธรรมได้จริงๆ???
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่