วันรุ่งขึ้น วันนี้จะเป็นการเดินทางไปสักการะพระพุทธรูปหลวงพ่อแก่นจันทร์ที่วัดชมภูนิมิต วัดนี้อยู่ที่ถนนแยกทางหลวงหมายเลข 404 (ปะเหลียน) - บรรจบทางหลวงหมายเลข 406 (ฉลุง) (ทุ่งหว้า) ตำบลทุ่งหว้า อำเภอทุ่งหว้า จ.สตูล พิกัด 7 6.2722N , 99 45.2742E
ประวัติหลวงพ่อแก่นจันทน์(ประวัติพระลากห้ามฝน วัดชมพูนิมิตร อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล)
หลวงพ่อแก่นจันทน์ เป็นพระพุทธรูปที่ ชาวทุ่งหว้าให้ความเคารพนักถือมาเป็นเวลาช้านาน โดยมีประวัติเล่าต่อๆกันมาว่า ชาวบ้านบ้านแหลมแค ตำบลบ้าน ท่าแลหลาอำเภอละงู จังหวัดสตูล ซึ่งอยู่ริมทะเล ไปเจอพระพุทธรูป ๓ องค์ลอยน้ำมา เกยตื้น ที่บ้านแหลมแค โดยพระพุทธรูปองค์ใหญ่ แกะสลักสวยงามมาก และมีพระพุทธรูปองค์ เล็ก อีก ๒ องค์ เข้าใจว่าเป็นพระลูกศิษย์
แต่เนื่องจากว่าชาวบ้านบ้านแหลมแคเป็นชาวอิสลามทั้งหมด จึงส่งข่าวมาบอก นายเทียนยี่ เล่าเซ้ง กับนาย หิ้น โพธิรัตน์ ซึ่งเป็นไทยพุทธ และเป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งวัดชมภูนิมิตร บุคคลทั้งสองจึงชักชวนไทยพุทธชาวทุ่งหว้า จำนวนหนึ่ง เดินเท้าจากอำเภอทุ่งหว้า ไปบ้านแหลมแค และได้อุ้มพระพุทธรูปทั้ง สามองค์ มาไว้ที่ไว้ชมภูนิมิตร ประดิษฐาน เป็นพระประธาน ซึ่งมีเพียง ๓องค์เท่านั้น ขณะเดินทางกลับ เกิดฝนตกหนัก ปรากฏว่า คนอุ้มพระ ไม่เปียกฝน ทำให้ชาวบ้านมีความศรัทธามาก นิยมไปกราบไว้บูชา และบนบานสารกล่าวขอพรเป็นประจำ เมื่อได้ตามที่ขอไว้แล้ว ก็จะนำขนมโค ไปไหว้ เพื่อแก่บน
เมื่อถึงวันออกพรรษา ก็จะมีประเพณีลากพระ โดยทางเรือ ด้วยยังไม่รู้ว่าเป็นพระอะไร จึงเรียนว่า “พระลาก” เพราะนิยมนำมาลากพระในวันออกพรรษา ต่อมาเมื่อถึงวันสงกรานต์ จะนำพระพุทธรูปดังกล่าวมาสรงน้ำ ปรากกฎว่า เศียรพระซึ่งมีลักษณะเป็นเปลวแหลม เกิดบิ่น ขึ้นมา ชาวบ้านจึงเอาเอาเศียรพระ มาดูกัน ปรากฏว่าผู้รู้ บอกว่า เป็นไม้จันทน์ จึงเรียก “หลวงพ่อแก่นจันทน์” แทน “พระลากตั้งแต่นั้นมา
ด้วยความศักดิ์สิทธิ์ ของหลวงพ่อแก่นจันทน์ พุทธบริษัท จึงได้จัดสร้างวิหารหลวงพ่อแก่นจันทน์ เพื่อประดิษฐานหลวงพ่อแก่นจันทน์ และเพื่อเป็นการป้องกันผู้ร้ายมาแอบมาขโมยไป เพราะหลวงพ่อแก่นจันทน์ มีอายุเก่าแก่มาก ป้จจุบันสร้างวิหารเสร็จสิ้นแล้ว และด้วยความจงรักภักดีต่อองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ คณะกรรมการจึงขอพระราชทาน ตราสัญลักษณ์ พระราชพิธีมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา ฉลองไว้ที่หน้าจั่ววิหารหลวงพ่อ
http://www.web-pra.com/Article/Show/523
[SR] หลวงพ่อแก่นจันทร์,ถ้ำเลสเตโกดอน
ประวัติหลวงพ่อแก่นจันทน์(ประวัติพระลากห้ามฝน วัดชมพูนิมิตร อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล)
หลวงพ่อแก่นจันทน์ เป็นพระพุทธรูปที่ ชาวทุ่งหว้าให้ความเคารพนักถือมาเป็นเวลาช้านาน โดยมีประวัติเล่าต่อๆกันมาว่า ชาวบ้านบ้านแหลมแค ตำบลบ้าน ท่าแลหลาอำเภอละงู จังหวัดสตูล ซึ่งอยู่ริมทะเล ไปเจอพระพุทธรูป ๓ องค์ลอยน้ำมา เกยตื้น ที่บ้านแหลมแค โดยพระพุทธรูปองค์ใหญ่ แกะสลักสวยงามมาก และมีพระพุทธรูปองค์ เล็ก อีก ๒ องค์ เข้าใจว่าเป็นพระลูกศิษย์
แต่เนื่องจากว่าชาวบ้านบ้านแหลมแคเป็นชาวอิสลามทั้งหมด จึงส่งข่าวมาบอก นายเทียนยี่ เล่าเซ้ง กับนาย หิ้น โพธิรัตน์ ซึ่งเป็นไทยพุทธ และเป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งวัดชมภูนิมิตร บุคคลทั้งสองจึงชักชวนไทยพุทธชาวทุ่งหว้า จำนวนหนึ่ง เดินเท้าจากอำเภอทุ่งหว้า ไปบ้านแหลมแค และได้อุ้มพระพุทธรูปทั้ง สามองค์ มาไว้ที่ไว้ชมภูนิมิตร ประดิษฐาน เป็นพระประธาน ซึ่งมีเพียง ๓องค์เท่านั้น ขณะเดินทางกลับ เกิดฝนตกหนัก ปรากฏว่า คนอุ้มพระ ไม่เปียกฝน ทำให้ชาวบ้านมีความศรัทธามาก นิยมไปกราบไว้บูชา และบนบานสารกล่าวขอพรเป็นประจำ เมื่อได้ตามที่ขอไว้แล้ว ก็จะนำขนมโค ไปไหว้ เพื่อแก่บน
เมื่อถึงวันออกพรรษา ก็จะมีประเพณีลากพระ โดยทางเรือ ด้วยยังไม่รู้ว่าเป็นพระอะไร จึงเรียนว่า “พระลาก” เพราะนิยมนำมาลากพระในวันออกพรรษา ต่อมาเมื่อถึงวันสงกรานต์ จะนำพระพุทธรูปดังกล่าวมาสรงน้ำ ปรากกฎว่า เศียรพระซึ่งมีลักษณะเป็นเปลวแหลม เกิดบิ่น ขึ้นมา ชาวบ้านจึงเอาเอาเศียรพระ มาดูกัน ปรากฏว่าผู้รู้ บอกว่า เป็นไม้จันทน์ จึงเรียก “หลวงพ่อแก่นจันทน์” แทน “พระลากตั้งแต่นั้นมา
ด้วยความศักดิ์สิทธิ์ ของหลวงพ่อแก่นจันทน์ พุทธบริษัท จึงได้จัดสร้างวิหารหลวงพ่อแก่นจันทน์ เพื่อประดิษฐานหลวงพ่อแก่นจันทน์ และเพื่อเป็นการป้องกันผู้ร้ายมาแอบมาขโมยไป เพราะหลวงพ่อแก่นจันทน์ มีอายุเก่าแก่มาก ป้จจุบันสร้างวิหารเสร็จสิ้นแล้ว และด้วยความจงรักภักดีต่อองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ คณะกรรมการจึงขอพระราชทาน ตราสัญลักษณ์ พระราชพิธีมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา ฉลองไว้ที่หน้าจั่ววิหารหลวงพ่อ
http://www.web-pra.com/Article/Show/523