หากต้นไม้โค่นทับคุณในขณะที่คุณกำลังทำสมาธิอยู่ในป่า คุณจะรู้สึกเจ็บหรือไม่ คำตอบคือ รู้สึกเจ็บแน่นอน แต่อาจจะรู้สึกไม่มากเท่ากับเมื่อคุณโดนต้นไม้โค่นทับในเวลาที่คุณไม่ได้ทำสมาธิ นักวิจัยจาก North Carolina และ Wisconsin ได้รายงานไว้ใน Journal of Neuroscience ฉบับเดือนเมษายน 54 ไว้ว่า ผู้ที่ได้รับการฝึกฝนจิตด้วยการทำสมาธิ (Samatha) เมื่อได้รับความเจ็บปวดจะมีความรู้สึกเจ็บปวดที่น้อยลงกว่าตอนที่พวกเขายังไม่ได้ฝึกฝนการทำสมาธิ ทีมนักวิจัยกล่าวว่า การทำสมาธิช่วยให้เราสามารถเปิดหรือปิดการทำงานของสมองบางส่วนโดยที่เราไม่ตั้งใจ และโดยที่เราไม่รู้ตัว
Robert Coghill นักวิจัยด้านประสาทวิทยาจาก Wake Forest University School of Medicine ใน North Carolina กล่าวว่า คนทุกคนเมื่อถูกตีด้วยท่อนไม้จะรู้สึกเจ็บ แต่จะรู้สึกมากน้อยไม่เท่ากัน จิตสำนึก (Concious mind) ซึ่งได้รับข้อมูลจากประสบการณ์ส่วนบุคคลและสภาพแวดล้อมจะเป็นส่วนที่ทำหน้าที่ตัดสินใจว่าความรู้สึกใดควรจะให้ความสนใจและความรู้สึกใดควรจะถูกเพิกเฉย
ตลอดเวลา สมองของเราถูกป้อนข้อมูลต่างๆ จำนวนมาก เพียงแต่เราไม่ได้ให้ความสนใจกับทุกๆข้อมูล
ในการวิจัย Coghill และทีมวิจัยได้กระตุ้นอาสาสมัคร 15 คนด้วยอุปกรณ์ที่ทำจากโลหะแบบต่างๆ ที่มีความร้อน 49 องศาเซลเซียสจากนั้นก็ใช้เครื่อง MRI เพื่อวัดผลปฏิกิริยาตอบรับจากสมองของ อาสาสมัคร ผลการทดสอบพบว่าชีพจรของอาสาสมัครที่อยู่ระหว่างการทำสมาธิจะจะแสดงความไม่พึงพอใจน้อยกว่าร้อยละ 57 และชีพจรมีความรุนแรงน้อยกว่าร้อยละ 40 เมื่อเปรียบเทียบกับ
อาสาสมัครที่อยู่ในสภาวะปกติ
Fadel Zeidan ซึ่งเป็นนักวิจัยคนหนึ่งในทีม ได้ฝึกฝนการทำสมาธิมากว่าสิบปี Zeidan ได้จัดหลักสูตรสอนการทำสมาธิแก่ผู้ที่ไม่เคยได้รับการฝึกมาก่อน โดยผู้เรียนจะได้รับการฝึกครั้งละ 20 นาที หลังจากที่ได้รับการฝึก 4 ครั้งผู้เรียนสามารถกำหนดเพ่งความสนใจไปที่ลมหายใจได้ทันทีโดยที่ไม่ถูกรบกวนโดยความปวดเมื่อยหรือความคิดที่ว้าวุ่น
ในความจริงแล้ว การทำสมาธิซึ่งมักจะมาพร้อมกับความสงบ จุดประกายให้กับสมองเช่นเดียวกับไฟที่ประดับอยู่บนต้นคริสมาส ยกตัวอย่างเช่น สมองส่วนลึกที่เรียกว่า Insula ซึ่งเป็นส่วนที่สัมพันธ์ความรู้สึกร้อน หนาว และความเจ็บปวดจะถูกกระตุ้นขึ้นในการทดลองการทำสมาธิ และสมองส่วนนี้อาจจะอยู่เหนือการรับรู้ของเรา หากคุณเคยพยายามอดกลั้นที่จะไม่กระหน่ำบีบแตรรถอย่างหยาบคายท่ามกลางการจราจรติดขัด คุณจะต้องขอบคุณสมองส่วนที่เรียกว่า Insula นี้ซึ่งช่วยคุณระงับความรู้สึกเจ็บปวด ผู้ที่เคยทำสมาธิจะสามารถระงับความคิดและมองกลับไปที่ความคิดของตนเองได้ ในทางกลับกัน สมองส่วนที่เรียกว่า Thalamus จะถูกระงับการทำงานเมื่อทำสมาธิ Thalamus เป็นส่วนที่กรองรับสัญญาณความรู้สึกที่ถูกส่งมาจากร่างกายไปยังสมอง การทำสมาธิจะช่วยลดการรับความรู้สึกเจ็บปวดเข้าไปสู่จิตสำนึก
Donald Price นักวิจัยทางด้านความเจ็บปวดและยาที่มีฤทธิทางจิตแต่ไม่มีฤทธิทางการยา (Placebo) จาก University of Florida เมือง Gainesville กล่าวว่า การทดลองนี้แสดงให้เห็นความสามารถของการใช้จิตวิทยาเพื่อบรรเทาความเจ็บปวด ในบางกรณี การเปลี่ยนทัศนคติที่มีต่อผู้ป่วยก็สามารถช่วยบรรเทาความเจ็บปวดได้เท่าๆ กับการใช้มอร์ฟีน แต่แพทย์และพยาบาลส่วนใหญ่ไม่มีเวลา
มากพอที่จะใช้วิธีการทำสมาธิในการรักษาได้
Susan Smalley ผู้บริหารศูนย์การวิจัย The Mindful Awareness แห่ง UCLA ได้กล่าวว่า การนำวิธีการทำสมาธิไปใช้ในโรงพยาบาลเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลา มีการทดลองไม่กี่ครั้งที่ให้ความสนใจไปที่ผลของการทำสมาธิที่มีต่อสุขภาพ อย่างไรก็ตาม เธอหวังว่าการทำสมาธิจะเป็นกิจกรรมหนึ่งที่ได้รับความนิยมมากขึ้นในหมู่ชาวอเมริกัน “เช่นเดียวกับที่ มีคนจำนวนไม่มากยินดีคาดเข็มขัดนิรภัยในสมัยที่มีการรณรงค์การใช้เข็มขัดนิรภัยช่วงแรกๆ ในตอนนี้คาดเข็มขัดนิรภัยทุกคน การฝึกฝนทางจิตก็คงจะเป็นเช่นเดียวกัน”
ที่มา :
http://www.most.go.th/main/index.php/service/information-service/surfing-the-science/2632-meditators-can-concentrate-the-hurt-away.html
ฝากเพจที่เฟสบุคด้วยนะครับ
เพจ "โลกแห่งความจริง" เพจสำหรับชาววิทย์ ความรู้ต่างๆต่างทุกมุมโลก
https://www.facebook.com/Real.of.The.world
สมาธิช่วยลดความเจ็บปวด
หากต้นไม้โค่นทับคุณในขณะที่คุณกำลังทำสมาธิอยู่ในป่า คุณจะรู้สึกเจ็บหรือไม่ คำตอบคือ รู้สึกเจ็บแน่นอน แต่อาจจะรู้สึกไม่มากเท่ากับเมื่อคุณโดนต้นไม้โค่นทับในเวลาที่คุณไม่ได้ทำสมาธิ นักวิจัยจาก North Carolina และ Wisconsin ได้รายงานไว้ใน Journal of Neuroscience ฉบับเดือนเมษายน 54 ไว้ว่า ผู้ที่ได้รับการฝึกฝนจิตด้วยการทำสมาธิ (Samatha) เมื่อได้รับความเจ็บปวดจะมีความรู้สึกเจ็บปวดที่น้อยลงกว่าตอนที่พวกเขายังไม่ได้ฝึกฝนการทำสมาธิ ทีมนักวิจัยกล่าวว่า การทำสมาธิช่วยให้เราสามารถเปิดหรือปิดการทำงานของสมองบางส่วนโดยที่เราไม่ตั้งใจ และโดยที่เราไม่รู้ตัว
Robert Coghill นักวิจัยด้านประสาทวิทยาจาก Wake Forest University School of Medicine ใน North Carolina กล่าวว่า คนทุกคนเมื่อถูกตีด้วยท่อนไม้จะรู้สึกเจ็บ แต่จะรู้สึกมากน้อยไม่เท่ากัน จิตสำนึก (Concious mind) ซึ่งได้รับข้อมูลจากประสบการณ์ส่วนบุคคลและสภาพแวดล้อมจะเป็นส่วนที่ทำหน้าที่ตัดสินใจว่าความรู้สึกใดควรจะให้ความสนใจและความรู้สึกใดควรจะถูกเพิกเฉย
ตลอดเวลา สมองของเราถูกป้อนข้อมูลต่างๆ จำนวนมาก เพียงแต่เราไม่ได้ให้ความสนใจกับทุกๆข้อมูล
ในการวิจัย Coghill และทีมวิจัยได้กระตุ้นอาสาสมัคร 15 คนด้วยอุปกรณ์ที่ทำจากโลหะแบบต่างๆ ที่มีความร้อน 49 องศาเซลเซียสจากนั้นก็ใช้เครื่อง MRI เพื่อวัดผลปฏิกิริยาตอบรับจากสมองของ อาสาสมัคร ผลการทดสอบพบว่าชีพจรของอาสาสมัครที่อยู่ระหว่างการทำสมาธิจะจะแสดงความไม่พึงพอใจน้อยกว่าร้อยละ 57 และชีพจรมีความรุนแรงน้อยกว่าร้อยละ 40 เมื่อเปรียบเทียบกับ
อาสาสมัครที่อยู่ในสภาวะปกติ
Fadel Zeidan ซึ่งเป็นนักวิจัยคนหนึ่งในทีม ได้ฝึกฝนการทำสมาธิมากว่าสิบปี Zeidan ได้จัดหลักสูตรสอนการทำสมาธิแก่ผู้ที่ไม่เคยได้รับการฝึกมาก่อน โดยผู้เรียนจะได้รับการฝึกครั้งละ 20 นาที หลังจากที่ได้รับการฝึก 4 ครั้งผู้เรียนสามารถกำหนดเพ่งความสนใจไปที่ลมหายใจได้ทันทีโดยที่ไม่ถูกรบกวนโดยความปวดเมื่อยหรือความคิดที่ว้าวุ่น
ในความจริงแล้ว การทำสมาธิซึ่งมักจะมาพร้อมกับความสงบ จุดประกายให้กับสมองเช่นเดียวกับไฟที่ประดับอยู่บนต้นคริสมาส ยกตัวอย่างเช่น สมองส่วนลึกที่เรียกว่า Insula ซึ่งเป็นส่วนที่สัมพันธ์ความรู้สึกร้อน หนาว และความเจ็บปวดจะถูกกระตุ้นขึ้นในการทดลองการทำสมาธิ และสมองส่วนนี้อาจจะอยู่เหนือการรับรู้ของเรา หากคุณเคยพยายามอดกลั้นที่จะไม่กระหน่ำบีบแตรรถอย่างหยาบคายท่ามกลางการจราจรติดขัด คุณจะต้องขอบคุณสมองส่วนที่เรียกว่า Insula นี้ซึ่งช่วยคุณระงับความรู้สึกเจ็บปวด ผู้ที่เคยทำสมาธิจะสามารถระงับความคิดและมองกลับไปที่ความคิดของตนเองได้ ในทางกลับกัน สมองส่วนที่เรียกว่า Thalamus จะถูกระงับการทำงานเมื่อทำสมาธิ Thalamus เป็นส่วนที่กรองรับสัญญาณความรู้สึกที่ถูกส่งมาจากร่างกายไปยังสมอง การทำสมาธิจะช่วยลดการรับความรู้สึกเจ็บปวดเข้าไปสู่จิตสำนึก
Donald Price นักวิจัยทางด้านความเจ็บปวดและยาที่มีฤทธิทางจิตแต่ไม่มีฤทธิทางการยา (Placebo) จาก University of Florida เมือง Gainesville กล่าวว่า การทดลองนี้แสดงให้เห็นความสามารถของการใช้จิตวิทยาเพื่อบรรเทาความเจ็บปวด ในบางกรณี การเปลี่ยนทัศนคติที่มีต่อผู้ป่วยก็สามารถช่วยบรรเทาความเจ็บปวดได้เท่าๆ กับการใช้มอร์ฟีน แต่แพทย์และพยาบาลส่วนใหญ่ไม่มีเวลา
มากพอที่จะใช้วิธีการทำสมาธิในการรักษาได้
Susan Smalley ผู้บริหารศูนย์การวิจัย The Mindful Awareness แห่ง UCLA ได้กล่าวว่า การนำวิธีการทำสมาธิไปใช้ในโรงพยาบาลเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลา มีการทดลองไม่กี่ครั้งที่ให้ความสนใจไปที่ผลของการทำสมาธิที่มีต่อสุขภาพ อย่างไรก็ตาม เธอหวังว่าการทำสมาธิจะเป็นกิจกรรมหนึ่งที่ได้รับความนิยมมากขึ้นในหมู่ชาวอเมริกัน “เช่นเดียวกับที่ มีคนจำนวนไม่มากยินดีคาดเข็มขัดนิรภัยในสมัยที่มีการรณรงค์การใช้เข็มขัดนิรภัยช่วงแรกๆ ในตอนนี้คาดเข็มขัดนิรภัยทุกคน การฝึกฝนทางจิตก็คงจะเป็นเช่นเดียวกัน”
ที่มา : http://www.most.go.th/main/index.php/service/information-service/surfing-the-science/2632-meditators-can-concentrate-the-hurt-away.html
ฝากเพจที่เฟสบุคด้วยนะครับ
เพจ "โลกแห่งความจริง" เพจสำหรับชาววิทย์ ความรู้ต่างๆต่างทุกมุมโลก
https://www.facebook.com/Real.of.The.world