ผมเคยได้รับถามจากผู้ที่สนใจโหราศาสตร์ว่า ดาวบนท้องฟ้ามันเดินถอยหลังได้อย่างไร คำอธิบายนั้นมันยากจริงๆ มีวิธีอธิบายได้ร้อยแปด หากแต่ภาษิตจีนเขาบอกว่า หนึ่งภาพแทนพันคำ สมัยโบราณนั้นมีแต่ภาพ ไม่มีภาพเคลื่อนไหวหรือคลิปเช่นทุกวันนี้ เพราะถ้ามี ปราชญ์จีนโบราณอาจจะร้อง "ไอ๊หยา" แล้วเปลี่ยนภาษิตเป็น "หนึ่งคลิปแทนล้านคำ" ก็เป็นได้
ภาพที่ท่านเห็นในกระทู้นั้น เป็นภาพที่สร้างจากผลการคำนวณตำแหน่งของดาวโดยตำราสุริยยาตร์และมานัต โดยแสดงดาวอาทิตย์ไว้เป็นจุดสีแดงใหญ่กลางภาพ จุดสีน้ำเงินเล็กๆที่โคจรรอบดาวอาทิตย์นั้นคือโลก และจุดสีชมพูที่โคจรถัดจากวงโคจรของโลกออกมาคือดาวพฤหัสบดี
ดาววงสีแดงเข้มวงนอกสุด คือภาพของดาวพฤหัสบดีที่มองจากโลก ท่านจะเห็นว่า โลกนั้นโคจรอยู่วงใน และมีอัตราการโคจรเร็วกว่าดาวพฤหัสบดี(สีชมพู) ที่โคจรอยู่ด้านนอก ดังนั้น เมื่อมองจากโลก เวลาที่โลกโคจรแซงหน้าดาวพฤหัสบดี (สีชมพู)ไป ก็จะมองเห็นดาวพฤหัสบดี (สีแดงเข้มวงนอกสุด) โคจรถอยหลัง
ส่วนตัวเลขที่เปลี่ยนตลอดเวลานั้น คือสาระสำคัญของการคำนวณดาวด้วยตำราสุริยยาตร์และมานัตครับ
ภาพเล็กไปสักหน่อยนะครับ เพราะเขาอนุญาตให้ใส่ภาพได้ขนาดจำกัด
มาดูดาวพฤหัสบดีโคจรกันดีกว่า
ผมเคยได้รับถามจากผู้ที่สนใจโหราศาสตร์ว่า ดาวบนท้องฟ้ามันเดินถอยหลังได้อย่างไร คำอธิบายนั้นมันยากจริงๆ มีวิธีอธิบายได้ร้อยแปด หากแต่ภาษิตจีนเขาบอกว่า หนึ่งภาพแทนพันคำ สมัยโบราณนั้นมีแต่ภาพ ไม่มีภาพเคลื่อนไหวหรือคลิปเช่นทุกวันนี้ เพราะถ้ามี ปราชญ์จีนโบราณอาจจะร้อง "ไอ๊หยา" แล้วเปลี่ยนภาษิตเป็น "หนึ่งคลิปแทนล้านคำ" ก็เป็นได้
ภาพที่ท่านเห็นในกระทู้นั้น เป็นภาพที่สร้างจากผลการคำนวณตำแหน่งของดาวโดยตำราสุริยยาตร์และมานัต โดยแสดงดาวอาทิตย์ไว้เป็นจุดสีแดงใหญ่กลางภาพ จุดสีน้ำเงินเล็กๆที่โคจรรอบดาวอาทิตย์นั้นคือโลก และจุดสีชมพูที่โคจรถัดจากวงโคจรของโลกออกมาคือดาวพฤหัสบดี
ดาววงสีแดงเข้มวงนอกสุด คือภาพของดาวพฤหัสบดีที่มองจากโลก ท่านจะเห็นว่า โลกนั้นโคจรอยู่วงใน และมีอัตราการโคจรเร็วกว่าดาวพฤหัสบดี(สีชมพู) ที่โคจรอยู่ด้านนอก ดังนั้น เมื่อมองจากโลก เวลาที่โลกโคจรแซงหน้าดาวพฤหัสบดี (สีชมพู)ไป ก็จะมองเห็นดาวพฤหัสบดี (สีแดงเข้มวงนอกสุด) โคจรถอยหลัง
ส่วนตัวเลขที่เปลี่ยนตลอดเวลานั้น คือสาระสำคัญของการคำนวณดาวด้วยตำราสุริยยาตร์และมานัตครับ
ภาพเล็กไปสักหน่อยนะครับ เพราะเขาอนุญาตให้ใส่ภาพได้ขนาดจำกัด