ในปี 2025 นี้! วงแหวนดาวเสาร์จะหายไปจากสายตาชาวโลก

ที่มา  :- https://mgronline.com/science/detail/9680000003458



เนื้อหา :-

“ดาวเสาร์” ถือเป็นหนึ่งในดาวเคราะห์ที่โดดเด่นที่สุดในระบบสุริยะ เนื่องจากมรีวงแหวนที่ชัดเจนกว่าดาวเคราะห์ใดๆ ในระบบสุริยะจักรวาลของเรา จนทำให้ดาวเคราะห์แก๊สยักส์ดวงนี้ได้รับฉายาว่า “ราชาแห่งวงแหวน”

แต่ในปี 2025 นี้ นับต่อไปอีกประมาณ 18 เดือน หรือประมาณ 1 ปีครึ่ง หากมองดาวเสาร์ผ่านกล้องดูดาว จะพบกับภาพที่เปลี่ยนไปจากเดิม โดยจะเป็นภาพดาวเสาร์ดูเหมือนไร้วงแหวน มองแล้วเหมือนดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ ทำให้ดูแปลกตาไป


สาเหตุที่วงแหวนของดาวเสาร์หายไปนั้น เนื่องจากวงโคจรของดาวเสาร์ ที่โคจรรอบดวงอาทิตย์อยู่ในระนาบเอียง ทำให้เราสามารถมองเห็นวงแหวนได้ถนัด ขณะที่ดาวเสาร์เอียงทำมุมในองศาต่างๆ กับโลก ระหว่างการโคจรรอบดวงอาทิตย์บางช่วง

เราอาจจะมองเห็นดาวเสาร์มีรูปลักษณ์เปลี่ยนไป เช่น ในปี 2025 นี้ ที่ดาวเสาร์ไม่ได้เอียงทำมุมหรือทำมุม 0 องศา จนทำให้วงแหวนอยู่ในแนวทับซ้อน ขนานไปกับระนาบสายตาของมนุษย์บนโลกพอดี

โดยองศาการเอียงของดาวในช่วงนี้จะทำให้เราเห็นวงแหวนของดาวเสาร์เป็นเส้นตรงบางๆ หรือแทบจะมองไม่เห็น แม้ในมุมมองคุ้นตาจะเห็นวงแหวนนั้นมีความกว้างใหญ่มาก แต่ความหนาของวงแหวนนั้น ความหนาประมาณ 10 - 100 เมตรเท่านั้น


การเอียงเข้าหาโลกในช่วง 18 เดือนนี้ จะทำให้เราเห็นวงแหวนของดาวเสาร์จากด้านข้างแนวขนาน ซึ่งในมุมมองนี้ ทำให้ภาพที่ปรากฏเหมือนดาวเสาร์ไร้วงแหวนแบบชั่วคราว ภาพแปลกตานี้ และสามารถเห็นได้อย่างชัดเจนใน วันที่ 23 มีนาคม ปี 2025 ปรากฏการณ์นี้จะเกิดขึ้นทุก 13 - 15 ปี ขณะที่โลกโคจรข้ามจุดตัดระนาบวงแหวน (ring plane crossing) ของดาวเสาร์

ภาพของดาวเสาร์ไร้วงแหวน สามารถจะเกิดขึ้นได้ถึง 3 ครั้ง ใน 1 รอบ เช่น ในช่วงทศวรรษ 1990 วงแหวนของดาวเสาร์เลือนหายไปทั้งในวันที่ 22 พ.ค. และ 10 ส.ค. ปี 1995 รวมทั้งหายไปอีกครั้งในวันที่ 10 ก.พ. ปี 1996 อย่างไรก็ตาม  เหตุการณ์รอบล่าสุดที่เกิดขึ้นเมื่อปี 2009 และในปี 2025 ที่จะถึงนี้ เราจะมองเห็นดาวเสาร์ไร้วงแหวนเพียงครั้งเดียวเท่านั้น

ดาวเคราะห์ที่มีวงแหวนสวยงามดวงนี้ เป็นดาวเคราะห์บริวารของดวงอาทิตย์ เป็นดาวเคราะห์ดวงที่ 6 ถัดจากดาวพฤหัสบดี
และเป็นดาวเคราะห์ที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของระบบสุริยะ รองจากดาวพฤหัสบดี ใช้เวลาในการโคจรรอบดวงอาทิตย์ประมาณ 30 ปี



ข้อมูล - รูปอ้างอิง
- thaiastro.nectec.or.th สมาคมดาราศาสตร์ไทย
- www.nasa.gov
- universetoday.com
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่