[Loser Voice] หรือนี่คือ “ปัญหา” ในการมองโลกแบบ “ชนชั้นกลาง” ของไทย?
โดย : TonyMao_NK51
E - Mail : tonymao_nk51@hotmail.com
Facebook : TonyMao Nk
สิ่งที่ผมค่อนข้างจะรู้สึกเบื่อหน่ายมากในช่วงนี้ ดูเหมือนชนชั้นกลางไทย จะมองอะไรในแง่
“หลักนิติศาสตร์” ไปเสียหมด อะไรคือหลักนิติศาสตร์? พูดง่ายๆ คือมองพฤติกรรมทุกอย่างของมนุษย์เพียงว่าถูกหรือผิด ในแง่
“กฎหมายของรัฐ” เท่านั้น หากกฎหมายของรัฐว่าผิด มันต้องผิด และหากกฎหมายของรัฐว่ามันถูก มันต้องถูก โดยที่ไม่ต้องไปใช้หลักการอื่นพิจารณาอีกแล้ว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ค่านิยม ชนชั้นในสังคม เศรษฐกิจ กระแสจากต่างประเทศ ฯลฯ อีกมากมาย
คำถามคือ..มนุษย์เราสามารถใช้กฎหมายชี้ถูก – ผิด เพื่อให้ความยุติธรรมได้ทั้งหมดทุกกรณีจริงๆ หรือ?
เช่นเรื่องของหาบเร่แผงลอย ผมเคยเขียนบทความไปเรื่องหนึ่ง อธิบายว่าเหตุใดมันถึงเกิดขึ้นมา ลูกค้ามาจากไหน ซึ่งพอปะติดปะต่อกันแล้วมันกลายเป็นเรื่องของความไม่เท่าเทียมในการพัฒนา ( มีที่ไหน รัฐสมัยใหม่เริ่มมาแล้ว 50 ปี นับแต่แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1 แต่วันนี้ทุกอย่างยังรวมอยู่ที่ กทม. คนจากทั่วประเทศจึงต้องอพยพเข้ามาหาโอกาสอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แน่นอนถ้าคนเยอะ การบริหารจัดการมันก็ยากเป็นธรรมดา ) ขณะเดียวกันคนไทยก็ชอบอะไรง่ายๆ สบายๆ ไม่ต้องวางแผนชีวิตมาก ซึ่งมันฝังใน DNA ของเราไปแล้ว คนไทยส่วนมากรู้สึกเสมอว่าเมืองไทยอุดมสมบูรณ์ เมื่ออุดมสมบูรณ์จึงไม่มีแรงจูงใจให้ต้องวางแผนชีวิต และเมื่อไม่ชินกับการวางแผนชีวิต ระเบียบวินัยจึงไม่เกิด (ส่วนฝรั่ง ญี่ปุ่น สิงคโปร์ อิสราเอล แผ่นดินเขาไม่อุดมสมบูรณ์เท่าเรา ดังนั้นเวลาจึงมีค่า ที่ดินจึงมีค่า จะทำอะไรก็ต้องวางแผนให้รอบคอบที่สุด พอทำบ่อยๆ รุ่นสู่รุ่น มันจึงมีระเบียบวินัยไปเอง)
นี่เป็นเรื่องของประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ( รวมถึงเป็นเรื่องของชนชั้นด้วย ) พบว่ามีน้อยคนที่เข้าใจว่าการแก้ไขมันต้องเป็นอะไรที่มากกว่าการบังคับใช้กฎหมาย 100% ส่วนมากมีแต่จะพูดว่า
“ความจนไม่ใช่ข้ออ้างให้เป็นคนเลว” ,
“ชั้นยอมตายดีกว่าจะทำสิ่งผิด” ,
“รู้ว่าเกิดมาไม่ดีก็ต้องพัฒนาตัวเอง”
มีไม่กี่ความเห็นหรอกครับ ที่บอกว่าเราต้องคิดไปถึงการกระจายความเจริญเพื่อลดความแออัดของประชากรแฝงในเมือง เพราะถ้ามีประชากรพอเหมาะกับพื้นที่ของเมือง การบริหารให้เรียบร้อยโดยที่ไม่เกิดความขัดแย้งมันย่อมทำได้ง่าย เผลอๆ ไม่ต้องทำอะไร มันก็เป็นไปเองตามธรรมชาติ คนน้อยลง แผงลอยก็ลดลง รถยนต์บนถนนก็ลดลง ความแออัดชวนให้รำคาญตารำคาญใจก็ลดลง นี่หลักเศรษฐศาสตร์ง่ายๆ Demand ลด Supply มันก็ลดไปเอง ที่สำคัญ ทั้งที่สมัยนี้ก็มีองค์ความรู้ ที่สนับสนุนทฤษฎีที่ว่าการที่พ่อแม่มีเวลาอยู่กับลูกเพียงพอ จะส่งผลในการพัฒนาของเด็กด้วย ทั้ง IQ และ EQ ( ประเทศในยุโรปให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาก ) ทีนี้ถามว่าครอบครัวไทยส่วนใหญ่มีเวลาเช่นนั้นหรือเปล่า? ในเมื่อแรงงานไทยส่วนมากอยู่รอดด้วย OT แบบบ้าเลือด แถมไม่น้อยที่ต้องทิ้งลูกหลานให้อยู่ในชนบทกันทั้งนั้น คนที่โตมาแบบนี้ จะมีสักกี่คนที่ยังเป็นคนดีพร้อมอยู่ได้
แต่ชนชั้นกลางไทยก็ยังเชิดชูบรรดา Rare Case ( นึกไม่ออกกรุณาดูละคร "ทองเนื้อเก้า" ชนชั้นกลางจะเชื่อว่าทุกคนเป็นคนดีแบบวันเฉลิมได้ แม้ว่าจะเกิดมาอยู่ในแดนเถื่อนแค่ไหนก็ตาม ) และคาดหวังว่าเด็กจากชนชั้นล่างทุกคนจะทำแบบ Rare Case ได้ ( ก็ถ้าทุกคนทำแบบนั้นได้ ป่านนี้มนุษย์เข้านิพพานไปหมดแล้วครับ )
หรือการพิจารณาการถือครองที่ดินเสียใหม่ ทุกวันนี้คนรวยมีที่ดินมาก มีแล้วก็ไม่ได้ใช้อะไร ปล่อยว่างๆ แต่คนอีกมากไม่มีที่ดิน จึงต้องบุกรุกจนภาครัฐต้องเข้ามาไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ถ้าเป็นคนที่เข้าใจ ก็จะมองข้าราชการที่ใช้วิธีไกล่เกลี่ยแบบให้คนจนอยู่ได้ แต่ต้องไม่ขยายที่เพิ่ม จัดตั้งให้เป็นชุมชนให้มีการดูแลตัวเอง มีการส่งเสริมคุณภาพชีวิตโดยเฉพาะการศึกษาและสาธารณสุข ว่าเป็นวิธีที่ดีเพราะปฏิเสธไม่ได้ว่า ณ วันนี้ ความเหลื่อมล้ำยังมีมากในสังคมไทย หากคนที่ไม่เข้าใจ ก็จะต่อว่าเจ้าหน้าที่หละหลวมหย่อนยาน เมตตาคนชั่วเกินไป ต้องแจ้ง ม.157 ต้องไล่ออกจากราชการ ต้องเผาทำลายชุมชนผิดกฏหมาย ขับไล่พวกมันไปให้หมด ( แน่นอนชนชั้นกลางไทยมักจะเป็นอย่างหลังเสียด้วย )
ยังไม่ต้องคิดถึงรากของปัญหานี้ ผมไม่รู้ว่าจะมีชนชั้นกลางไทยสักกี่คน ที่รู้ว่าช่วงท้ายๆ ของรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลย์สงคราม เคยพยายามจะจำกัดการถือครองที่ดินของเอกชนไม่ให้เกินรายละ 50 ไร่ แต่ถูกยกเลิกไปสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ แน่นอนถ้ามองที่บุคคล ทั้ง 2 จอมพลมีความเป็นเผด็จการทั้งคู่ แต่เมื่อมองในแง่นโยบาย การจำกัดการถือครองที่ดิน ก็เป็นการให้ที่ดินส่วนมากอยู่กับรัฐ จากนั้นรัฐก็สามารถนำที่ดินนั้นไปใช้ประโยชน์ได้ ซึ่งถ้าหากวันใดที่มีรัฐบาลเป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง รัฐบาลก็ต้องฟังเสียงประชาชน ทำงานเพื่อประชาชน ที่ดินตรงนี้อาจนำไปทำตลาดที่มีค่าเช่าราคาถูกสำหรับผู้ขาย – ผู้ซื้อรายได้น้อย , อาจนำไปทำชุมชนบ้านเอื้ออาทรให้รากหญ้าเช่า – ซื้อ ในราคาที่เหมาะสมกับรายได้ รวมทั้งนำไปทำแก้มลิงรับน้ำก็ยังได้หากที่นั้นเหมาะสมพอ
แต่ถึงไม่รู้เรื่องนี้ ชนชั้นกลางไทยก็ควรจะผ่านตามาบ้าง กับความพยายามในการเก็บภาษีที่ดิน – มรดก ในหลายยุคสมัย ว่าเป็นการลดความเหลื่อมล้ำในการถือครองทรัพย์สินของปัจเจกชน ทว่าผมแทบไม่เคยเห็นชนชั้นกลางไทยปลุกให้เป็นกระแสสังคม ทั้งที่เป็นการแก้ปัญหาที่ยั่งยืน ( หรือชนชั้นกลางไทย ไม่เคยเข้าใจทฤษฎีของ Maslow ที่ว่าความสุขลำดับต่ำสุดคือกินอิ่ม นอนหลับ ปลอดภัย สุขภาพดี อันเป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนต้องมี แต่ชนชั้นกลางไทยต่างเรียกร้องให้มนุษย์ทุกคนโดดขึ้นไปมีความสุขด้านบนสุด คือความอิ่มเอมใจ แม้ว่าจะลำบากแค่ไหนก็ตาม ) นี่เป็นมิติทางชนชั้น ที่ชนชั้นกลางไทยไม่เคยยอมรับและร่วมกันแก้ไข
ไม่นับเรื่องของปัญหาทุนใหญ่ทั้งต่างชาติและในชาติ พยายามทำทุกอย่างเพื่อไม่ให้ทุนหน้าใหม่ถือกำเนิด ผ่านสิ่งที่เรียกว่า
“ทรัพย์สินทางปัญญา” ที่แม้เฉียดนิดเฉียดหน่อยต้องโดนฟ้องให้พินาศราบคาบไป และทุนใหญ่พวกนี้ เป็นตัวการสร้างความเหลื่อมล้ำมากที่สุด ดังจะเห็นว่ามักจะ 2 มาตรฐานเสมอ ในประเทศแม่ของทุนหรือประเทศที่ผู้คนชาตินิยมสูง ก็จะดำเนินการให้มีมาตรฐานหน่อย ทั้งด้านแรงงานและสิ่งแวดล้อม แต่ในประเทศที่คนทั่วไปไม่ค่อยชาตินิยม รัฐบาลกับทุนในประเทศก็จะเอาหูไปนาเอาตาไปไร่ ขณะที่ชนชั้นกลางก็จะเชิดชูต่างชาติ มองว่าการได้ยกระดับไปใช้ของแพง เป็นคนมีรสนิยมอีกระดับที่เหนือกว่าคนทั่วไป แล้วก็มาเหยียดเพื่อนร่วมชาติกันเอง
( มีต่อจ้า )
[Loser Voice] หรือนี่คือ “ปัญหา” ในการมองโลกแบบ “ชนชั้นกลาง” ของไทย?
โดย : TonyMao_NK51
E - Mail : tonymao_nk51@hotmail.com
Facebook : TonyMao Nk
สิ่งที่ผมค่อนข้างจะรู้สึกเบื่อหน่ายมากในช่วงนี้ ดูเหมือนชนชั้นกลางไทย จะมองอะไรในแง่ “หลักนิติศาสตร์” ไปเสียหมด อะไรคือหลักนิติศาสตร์? พูดง่ายๆ คือมองพฤติกรรมทุกอย่างของมนุษย์เพียงว่าถูกหรือผิด ในแง่ “กฎหมายของรัฐ” เท่านั้น หากกฎหมายของรัฐว่าผิด มันต้องผิด และหากกฎหมายของรัฐว่ามันถูก มันต้องถูก โดยที่ไม่ต้องไปใช้หลักการอื่นพิจารณาอีกแล้ว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ค่านิยม ชนชั้นในสังคม เศรษฐกิจ กระแสจากต่างประเทศ ฯลฯ อีกมากมาย
คำถามคือ..มนุษย์เราสามารถใช้กฎหมายชี้ถูก – ผิด เพื่อให้ความยุติธรรมได้ทั้งหมดทุกกรณีจริงๆ หรือ?
เช่นเรื่องของหาบเร่แผงลอย ผมเคยเขียนบทความไปเรื่องหนึ่ง อธิบายว่าเหตุใดมันถึงเกิดขึ้นมา ลูกค้ามาจากไหน ซึ่งพอปะติดปะต่อกันแล้วมันกลายเป็นเรื่องของความไม่เท่าเทียมในการพัฒนา ( มีที่ไหน รัฐสมัยใหม่เริ่มมาแล้ว 50 ปี นับแต่แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1 แต่วันนี้ทุกอย่างยังรวมอยู่ที่ กทม. คนจากทั่วประเทศจึงต้องอพยพเข้ามาหาโอกาสอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แน่นอนถ้าคนเยอะ การบริหารจัดการมันก็ยากเป็นธรรมดา ) ขณะเดียวกันคนไทยก็ชอบอะไรง่ายๆ สบายๆ ไม่ต้องวางแผนชีวิตมาก ซึ่งมันฝังใน DNA ของเราไปแล้ว คนไทยส่วนมากรู้สึกเสมอว่าเมืองไทยอุดมสมบูรณ์ เมื่ออุดมสมบูรณ์จึงไม่มีแรงจูงใจให้ต้องวางแผนชีวิต และเมื่อไม่ชินกับการวางแผนชีวิต ระเบียบวินัยจึงไม่เกิด (ส่วนฝรั่ง ญี่ปุ่น สิงคโปร์ อิสราเอล แผ่นดินเขาไม่อุดมสมบูรณ์เท่าเรา ดังนั้นเวลาจึงมีค่า ที่ดินจึงมีค่า จะทำอะไรก็ต้องวางแผนให้รอบคอบที่สุด พอทำบ่อยๆ รุ่นสู่รุ่น มันจึงมีระเบียบวินัยไปเอง)
นี่เป็นเรื่องของประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ( รวมถึงเป็นเรื่องของชนชั้นด้วย ) พบว่ามีน้อยคนที่เข้าใจว่าการแก้ไขมันต้องเป็นอะไรที่มากกว่าการบังคับใช้กฎหมาย 100% ส่วนมากมีแต่จะพูดว่า “ความจนไม่ใช่ข้ออ้างให้เป็นคนเลว” , “ชั้นยอมตายดีกว่าจะทำสิ่งผิด” , “รู้ว่าเกิดมาไม่ดีก็ต้องพัฒนาตัวเอง”
มีไม่กี่ความเห็นหรอกครับ ที่บอกว่าเราต้องคิดไปถึงการกระจายความเจริญเพื่อลดความแออัดของประชากรแฝงในเมือง เพราะถ้ามีประชากรพอเหมาะกับพื้นที่ของเมือง การบริหารให้เรียบร้อยโดยที่ไม่เกิดความขัดแย้งมันย่อมทำได้ง่าย เผลอๆ ไม่ต้องทำอะไร มันก็เป็นไปเองตามธรรมชาติ คนน้อยลง แผงลอยก็ลดลง รถยนต์บนถนนก็ลดลง ความแออัดชวนให้รำคาญตารำคาญใจก็ลดลง นี่หลักเศรษฐศาสตร์ง่ายๆ Demand ลด Supply มันก็ลดไปเอง ที่สำคัญ ทั้งที่สมัยนี้ก็มีองค์ความรู้ ที่สนับสนุนทฤษฎีที่ว่าการที่พ่อแม่มีเวลาอยู่กับลูกเพียงพอ จะส่งผลในการพัฒนาของเด็กด้วย ทั้ง IQ และ EQ ( ประเทศในยุโรปให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาก ) ทีนี้ถามว่าครอบครัวไทยส่วนใหญ่มีเวลาเช่นนั้นหรือเปล่า? ในเมื่อแรงงานไทยส่วนมากอยู่รอดด้วย OT แบบบ้าเลือด แถมไม่น้อยที่ต้องทิ้งลูกหลานให้อยู่ในชนบทกันทั้งนั้น คนที่โตมาแบบนี้ จะมีสักกี่คนที่ยังเป็นคนดีพร้อมอยู่ได้
แต่ชนชั้นกลางไทยก็ยังเชิดชูบรรดา Rare Case ( นึกไม่ออกกรุณาดูละคร "ทองเนื้อเก้า" ชนชั้นกลางจะเชื่อว่าทุกคนเป็นคนดีแบบวันเฉลิมได้ แม้ว่าจะเกิดมาอยู่ในแดนเถื่อนแค่ไหนก็ตาม ) และคาดหวังว่าเด็กจากชนชั้นล่างทุกคนจะทำแบบ Rare Case ได้ ( ก็ถ้าทุกคนทำแบบนั้นได้ ป่านนี้มนุษย์เข้านิพพานไปหมดแล้วครับ )
หรือการพิจารณาการถือครองที่ดินเสียใหม่ ทุกวันนี้คนรวยมีที่ดินมาก มีแล้วก็ไม่ได้ใช้อะไร ปล่อยว่างๆ แต่คนอีกมากไม่มีที่ดิน จึงต้องบุกรุกจนภาครัฐต้องเข้ามาไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ถ้าเป็นคนที่เข้าใจ ก็จะมองข้าราชการที่ใช้วิธีไกล่เกลี่ยแบบให้คนจนอยู่ได้ แต่ต้องไม่ขยายที่เพิ่ม จัดตั้งให้เป็นชุมชนให้มีการดูแลตัวเอง มีการส่งเสริมคุณภาพชีวิตโดยเฉพาะการศึกษาและสาธารณสุข ว่าเป็นวิธีที่ดีเพราะปฏิเสธไม่ได้ว่า ณ วันนี้ ความเหลื่อมล้ำยังมีมากในสังคมไทย หากคนที่ไม่เข้าใจ ก็จะต่อว่าเจ้าหน้าที่หละหลวมหย่อนยาน เมตตาคนชั่วเกินไป ต้องแจ้ง ม.157 ต้องไล่ออกจากราชการ ต้องเผาทำลายชุมชนผิดกฏหมาย ขับไล่พวกมันไปให้หมด ( แน่นอนชนชั้นกลางไทยมักจะเป็นอย่างหลังเสียด้วย )
ยังไม่ต้องคิดถึงรากของปัญหานี้ ผมไม่รู้ว่าจะมีชนชั้นกลางไทยสักกี่คน ที่รู้ว่าช่วงท้ายๆ ของรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลย์สงคราม เคยพยายามจะจำกัดการถือครองที่ดินของเอกชนไม่ให้เกินรายละ 50 ไร่ แต่ถูกยกเลิกไปสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ แน่นอนถ้ามองที่บุคคล ทั้ง 2 จอมพลมีความเป็นเผด็จการทั้งคู่ แต่เมื่อมองในแง่นโยบาย การจำกัดการถือครองที่ดิน ก็เป็นการให้ที่ดินส่วนมากอยู่กับรัฐ จากนั้นรัฐก็สามารถนำที่ดินนั้นไปใช้ประโยชน์ได้ ซึ่งถ้าหากวันใดที่มีรัฐบาลเป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง รัฐบาลก็ต้องฟังเสียงประชาชน ทำงานเพื่อประชาชน ที่ดินตรงนี้อาจนำไปทำตลาดที่มีค่าเช่าราคาถูกสำหรับผู้ขาย – ผู้ซื้อรายได้น้อย , อาจนำไปทำชุมชนบ้านเอื้ออาทรให้รากหญ้าเช่า – ซื้อ ในราคาที่เหมาะสมกับรายได้ รวมทั้งนำไปทำแก้มลิงรับน้ำก็ยังได้หากที่นั้นเหมาะสมพอ
แต่ถึงไม่รู้เรื่องนี้ ชนชั้นกลางไทยก็ควรจะผ่านตามาบ้าง กับความพยายามในการเก็บภาษีที่ดิน – มรดก ในหลายยุคสมัย ว่าเป็นการลดความเหลื่อมล้ำในการถือครองทรัพย์สินของปัจเจกชน ทว่าผมแทบไม่เคยเห็นชนชั้นกลางไทยปลุกให้เป็นกระแสสังคม ทั้งที่เป็นการแก้ปัญหาที่ยั่งยืน ( หรือชนชั้นกลางไทย ไม่เคยเข้าใจทฤษฎีของ Maslow ที่ว่าความสุขลำดับต่ำสุดคือกินอิ่ม นอนหลับ ปลอดภัย สุขภาพดี อันเป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนต้องมี แต่ชนชั้นกลางไทยต่างเรียกร้องให้มนุษย์ทุกคนโดดขึ้นไปมีความสุขด้านบนสุด คือความอิ่มเอมใจ แม้ว่าจะลำบากแค่ไหนก็ตาม ) นี่เป็นมิติทางชนชั้น ที่ชนชั้นกลางไทยไม่เคยยอมรับและร่วมกันแก้ไข
ไม่นับเรื่องของปัญหาทุนใหญ่ทั้งต่างชาติและในชาติ พยายามทำทุกอย่างเพื่อไม่ให้ทุนหน้าใหม่ถือกำเนิด ผ่านสิ่งที่เรียกว่า “ทรัพย์สินทางปัญญา” ที่แม้เฉียดนิดเฉียดหน่อยต้องโดนฟ้องให้พินาศราบคาบไป และทุนใหญ่พวกนี้ เป็นตัวการสร้างความเหลื่อมล้ำมากที่สุด ดังจะเห็นว่ามักจะ 2 มาตรฐานเสมอ ในประเทศแม่ของทุนหรือประเทศที่ผู้คนชาตินิยมสูง ก็จะดำเนินการให้มีมาตรฐานหน่อย ทั้งด้านแรงงานและสิ่งแวดล้อม แต่ในประเทศที่คนทั่วไปไม่ค่อยชาตินิยม รัฐบาลกับทุนในประเทศก็จะเอาหูไปนาเอาตาไปไร่ ขณะที่ชนชั้นกลางก็จะเชิดชูต่างชาติ มองว่าการได้ยกระดับไปใช้ของแพง เป็นคนมีรสนิยมอีกระดับที่เหนือกว่าคนทั่วไป แล้วก็มาเหยียดเพื่อนร่วมชาติกันเอง
( มีต่อจ้า )