เมื่อวันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๕๖ นายมณเฑียร บุญตัน สมาชิกวุฒิสภา ได้ขอตั้งกระทู้ถามด่วนต่อนายกรัฐมนตรี เรื่อง การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศที่ประชาชนทุกกลุ่มรวมถึงคนพิการและผู้สูงอายุ สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ร่วมกัน โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
ตามที่เมื่อวันที่ ๘ ตุลาคม ๒๕๕๖ วุฒิสภาได้มีมติรับร่างพระราชบัญญัติให้อำนาจกระทรวงการ คลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ พ.ศ. .... ไว้พิจารณา ถึงแม้ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวจะมีหลักการและเหตุผลที่ดี แต่การที่รัฐบาลจะกู้เงินสองล้านล้านบาทเพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาการเดินทางและการขนส่ง ทั้งทางบก ทางน้ำ และทางราง โดยอ้างเหตุผลว่าเพื่อรองรับการขยายตัวของเมืองและการเพิ่มขึ้นของประชากรที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วนั้น ปรากฏว่าในร่างพระราช บัญญัติดังกล่าว รวมถึงยุทธศาสตร์และแผนงานในบัญชีท้าย ไม่มีการกำหนดแนวทางหรือมาตรการเพื่อให้ประชาชนทุกกลุ่มสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้จากสภาพแวดล้อมของการพัฒนาโครงสร้าง พื้นฐานดังกล่าว โดยเฉพาะคนพิการและผู้สูงอายุซึ่งมีจำนวนรวมกันแล้วไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบของประชากร จึงทำให้เชื่อได้ว่าการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งดังกล่าว ขาดหลักประกันที่มั่นคงในการให้ บริการสาธารณะทั้งปวงสำหรับทุกคนอย่างเท่าเทียม โดยสุ่มเสี่ยงจะนำไปสู่เหตุการณ์ทำนองเดียวกับที่ “ภาคีเครือข่ายประชาชน : ทุกคนขึ้นรถเมล์ได้ทุกคัน” กำลังเรียกร้องขอความเป็นธรรมต่อรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเรื่อง โครงการจัดซื้อรถโดยสาร (รถเมล์) ใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ (NGV) จำนวน ๓,๑๘๓ คันที่ยังไม่มีหลักประกันว่ารถเมล์ที่มาจากภาษีของประชาชนทุกคันจะสามารถใช้ได้โดยคนทุกคน
ทั้งนี้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ และพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐ มีบทบัญญัติให้คนพิการมีสิทธิเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้จากสวัสดิการ สิ่งอำนวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะ และความช่วยเหลือที่เหมาะสมจากรัฐ อีกทั้งการกล่าวถ้อยแถลงของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีต่อที่ประชุมคณะมนตรี สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ สมัยที่ ๒๔ (HRC 24) เมื่อวันที่ ๙ กันยายน ๒๕๕๖ ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส ซึ่งมีสาระสำคัญว่า “สำหรับผู้พิการดิฉันได้สนับสนุนนโยบายและการปฏิบัติการให้ดำเนินการตามมาตรฐานสากลเพื่อคนพิการ (Universal Design) เพื่อลดอุปสรรคทางกายภาพ ผู้พิการต้องสามารถเข้าถึงบริการการเดินทางที่เท่าเทียม ตลอดจนสิทธิประโยชน์ทางสังคม และการสร้างรายได้”
ภาพวาดการ์ตูน รถเมล์เพื่อทุกคน ดังนั้น หากรัฐบาลมีการศึกษารับฟังความคิดเห็น โดยให้ทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วม เพื่อร่วมกันกำหนดมาตรการในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งที่เหมาะสมสำหรับคนทุกกลุ่ม โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับกลุ่มคนพิการและผู้สูงอายุซึ่งนับวันจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ไว้ตั้งแต่ในร่างพระราชบัญญัติให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินฯ ยุทธศาสตร์ แผนงาน ตลอดจนโครงการที่เกี่ยวข้อง ก็จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง จึงขอเรียนถามว่า
๑. รัฐบาลมีนโยบาย มาตรการและแนวทางการดำเนินงานในการสร้างหลักประกันการเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ร่วมกันของประชาชนทุกกลุ่มรวมถึงคนพิการและผู้สูงอายุอย่างเท่าเทียม ทั่วถึง และเป็นธรรม ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ ตามบทบัญญัติของกฎหมายและพันธกรณีระหว่างประเทศข้างต้น หรือไม่ อย่างไร ขอทราบรายละเอียด
๒. รัฐบาลมีแนวทางการดำเนินงาน ในการนำหลักการการเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ร่วมกัน (Accessibility) ซึ่งประกอบด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการ ๓ ประการ ได้แก่ การออกแบบที่เป็นสากลและเป็นธรรม (Universal Design) เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ... (Assistive Technology) และการช่วยเหลือที่สมเหตุสมผล (Reasonable Accommodation) มาใช้ในการดำเนินการเรื่องการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ หรือไม่ อย่างไร
๓.รัฐบาลได้เปิดโอกาสให้ภาคส่วนต่างๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้มีส่วนได้เสียร่วมจัดทำยุทธศาสตร์ แผนงานและโครงการที่เกี่ยวข้อง หรือไม่ อย่างไร
๔.รัฐบาลมีการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ด้านการออกแบบที่เป็นสากลและเป็นธรรม (Universal Design) และเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ... (Assistive Technology) หรือไม่อย่างไรถ้ามีช่วยระบุด้วยว่ารัฐบาลมีการสนับสนุนอย่างไรขอให้ตอบในที่ประชุมวุฒิสภา
ทั้งนี้ นายมณเฑียร บุญตัน ได้กล่าวทิ้งท้าย ว่า “กระทู้นี้ หากท่านตอบไม่ได้ หรือไม่ยอมตอบ ผมก็ไม่อาจสนับสนุน พรบ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินสองล้านล้านบาทได้ แม้อยากยกมือให้จนใจจะขาดก็ตาม”
ขอบคุณ ...
https://www.facebook.com/mbuntan (ขนาดไฟล์: 0 )
(นายมณเฑียร บุญตัน/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ๒๑ ต.ค.๒๕๕๖)
http://www.tddf.or.th/news/detail.php?contentid=0072&postid=0006321¤tpage=1
การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งกับ“ภาคีเครือข่ายประชาชน: ทุกคนขึ้นรถเมล์ได้ทุกคัน”
ตามที่เมื่อวันที่ ๘ ตุลาคม ๒๕๕๖ วุฒิสภาได้มีมติรับร่างพระราชบัญญัติให้อำนาจกระทรวงการ คลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ พ.ศ. .... ไว้พิจารณา ถึงแม้ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวจะมีหลักการและเหตุผลที่ดี แต่การที่รัฐบาลจะกู้เงินสองล้านล้านบาทเพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาการเดินทางและการขนส่ง ทั้งทางบก ทางน้ำ และทางราง โดยอ้างเหตุผลว่าเพื่อรองรับการขยายตัวของเมืองและการเพิ่มขึ้นของประชากรที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วนั้น ปรากฏว่าในร่างพระราช บัญญัติดังกล่าว รวมถึงยุทธศาสตร์และแผนงานในบัญชีท้าย ไม่มีการกำหนดแนวทางหรือมาตรการเพื่อให้ประชาชนทุกกลุ่มสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้จากสภาพแวดล้อมของการพัฒนาโครงสร้าง พื้นฐานดังกล่าว โดยเฉพาะคนพิการและผู้สูงอายุซึ่งมีจำนวนรวมกันแล้วไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบของประชากร จึงทำให้เชื่อได้ว่าการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งดังกล่าว ขาดหลักประกันที่มั่นคงในการให้ บริการสาธารณะทั้งปวงสำหรับทุกคนอย่างเท่าเทียม โดยสุ่มเสี่ยงจะนำไปสู่เหตุการณ์ทำนองเดียวกับที่ “ภาคีเครือข่ายประชาชน : ทุกคนขึ้นรถเมล์ได้ทุกคัน” กำลังเรียกร้องขอความเป็นธรรมต่อรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเรื่อง โครงการจัดซื้อรถโดยสาร (รถเมล์) ใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ (NGV) จำนวน ๓,๑๘๓ คันที่ยังไม่มีหลักประกันว่ารถเมล์ที่มาจากภาษีของประชาชนทุกคันจะสามารถใช้ได้โดยคนทุกคน
ทั้งนี้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ และพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐ มีบทบัญญัติให้คนพิการมีสิทธิเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้จากสวัสดิการ สิ่งอำนวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะ และความช่วยเหลือที่เหมาะสมจากรัฐ อีกทั้งการกล่าวถ้อยแถลงของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีต่อที่ประชุมคณะมนตรี สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ สมัยที่ ๒๔ (HRC 24) เมื่อวันที่ ๙ กันยายน ๒๕๕๖ ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส ซึ่งมีสาระสำคัญว่า “สำหรับผู้พิการดิฉันได้สนับสนุนนโยบายและการปฏิบัติการให้ดำเนินการตามมาตรฐานสากลเพื่อคนพิการ (Universal Design) เพื่อลดอุปสรรคทางกายภาพ ผู้พิการต้องสามารถเข้าถึงบริการการเดินทางที่เท่าเทียม ตลอดจนสิทธิประโยชน์ทางสังคม และการสร้างรายได้”
ภาพวาดการ์ตูน รถเมล์เพื่อทุกคน ดังนั้น หากรัฐบาลมีการศึกษารับฟังความคิดเห็น โดยให้ทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วม เพื่อร่วมกันกำหนดมาตรการในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งที่เหมาะสมสำหรับคนทุกกลุ่ม โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับกลุ่มคนพิการและผู้สูงอายุซึ่งนับวันจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ไว้ตั้งแต่ในร่างพระราชบัญญัติให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินฯ ยุทธศาสตร์ แผนงาน ตลอดจนโครงการที่เกี่ยวข้อง ก็จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง จึงขอเรียนถามว่า
๑. รัฐบาลมีนโยบาย มาตรการและแนวทางการดำเนินงานในการสร้างหลักประกันการเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ร่วมกันของประชาชนทุกกลุ่มรวมถึงคนพิการและผู้สูงอายุอย่างเท่าเทียม ทั่วถึง และเป็นธรรม ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ ตามบทบัญญัติของกฎหมายและพันธกรณีระหว่างประเทศข้างต้น หรือไม่ อย่างไร ขอทราบรายละเอียด
๒. รัฐบาลมีแนวทางการดำเนินงาน ในการนำหลักการการเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ร่วมกัน (Accessibility) ซึ่งประกอบด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการ ๓ ประการ ได้แก่ การออกแบบที่เป็นสากลและเป็นธรรม (Universal Design) เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ... (Assistive Technology) และการช่วยเหลือที่สมเหตุสมผล (Reasonable Accommodation) มาใช้ในการดำเนินการเรื่องการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ หรือไม่ อย่างไร
๓.รัฐบาลได้เปิดโอกาสให้ภาคส่วนต่างๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้มีส่วนได้เสียร่วมจัดทำยุทธศาสตร์ แผนงานและโครงการที่เกี่ยวข้อง หรือไม่ อย่างไร
๔.รัฐบาลมีการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ด้านการออกแบบที่เป็นสากลและเป็นธรรม (Universal Design) และเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ... (Assistive Technology) หรือไม่อย่างไรถ้ามีช่วยระบุด้วยว่ารัฐบาลมีการสนับสนุนอย่างไรขอให้ตอบในที่ประชุมวุฒิสภา
ทั้งนี้ นายมณเฑียร บุญตัน ได้กล่าวทิ้งท้าย ว่า “กระทู้นี้ หากท่านตอบไม่ได้ หรือไม่ยอมตอบ ผมก็ไม่อาจสนับสนุน พรบ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินสองล้านล้านบาทได้ แม้อยากยกมือให้จนใจจะขาดก็ตาม”
ขอบคุณ ... https://www.facebook.com/mbuntan (ขนาดไฟล์: 0 )
(นายมณเฑียร บุญตัน/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ๒๑ ต.ค.๒๕๕๖)
http://www.tddf.or.th/news/detail.php?contentid=0072&postid=0006321¤tpage=1