สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 2
ขออนุญาต มาตอบซ้ำในกระทู้นี้นะคะ ในนามผู้บริจาค
เราก็บริจาค และ อุปการะเด็กในมูลนิธินี้ 1 คนค่ะ นานหลายปีแล้ว จนต้องนี้น้องโต เป็นหนุ่มน้อยสูงกว่าเราไปแล้ว (กรี๊ดดด)
อ่านหลายๆ ความเห็นเรื่องเงินที่เด็กได้ต่อปี เราค่อนข้างสงสัยว่า พวกท่านไม่ได้อ่านเอกสารเกี่ยวกับโครงการ หรือ รายละเอียดที่ทางมูลนิธิมีให้ตอนอุปการะรึเปล่าคะ? คือเท่าที่เราอ่านและทำความเข้าใจ เงินไม่ได้ส่งให้เด็กเป็นรายเดือนตามยอดเงินที่เราให้ในแต่ละเดือนค่ะ แต่เค้าจะนำเงินที่เราบริจาคในแต่ละเดือน มารวมกัน แล้วนำไปทำโครงการ พัฒนา ชุมชนที่เด็กๆ ที่เราอุปการะ อาศัยอยู่ ให้ดีขึ้น เด็กมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นค่ะ
ส่วนการส่งของให้เด็กนั้น เราทำได้ นอกเหนือจากการบริจาค ซึ่งดีตรงที่ว่า เด็กได้รับจากเราโดยตรงเลย ได้เล่น ได้ใช้ข้าวของ
แต่การตอบ ส่งจดหมายนั้น อันนี้ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าติดอะไรตรงไหนอ่ะนะคะ ส่วนตัวเราได้ทุกปี ได้เรื่อยๆค่ะ ทั้งรายงานพัฒนาการเด็ก และ จดหมายจากตัวน้องเอง แต่เราซะอีกที่ไม่ว่างตอบจดหมายน้อง และไม่ค่อยว่างหาซื้อของขวัญให้เท่าไหร่
เรื่องการส่ง จดหมายให้บริจาคซื้อของขวัญวันเกิดให้เด็กในแต่ละปี ตัวเราไม่ติดใจอะไรนะ มองในแง่การเงิน คือ มูลนิธิ เค้าก็คงต้องหารายได้เพื่อให้มีเงินมาทำโครงการอะไรของเค้าแหล่ะ หรือมองในด้านจิตใจเด็ก หากผู้อุปการณะไม่ว่างไปหาซื้อให้ ก็อำนวยความสะดวกด้วยการสั่งซื้อให้เค้าเลย (ซึ่งเพื่อนเราหลายคน ก็อุปการะแต่เป็นพวกขี้เกียจไปหาซื้อเองนะ ก็จ่ายๆ เงินให้มูลนิธิซื้อไปก็จบ)
เราเองก็ได้รับการแจ้งขอขึ้นเงินที่ต้องจ่ายรายเดือนเช่นกัน แต่ก็ไม่อนุมัติให้ค่ะ ยังบริจาคในอัตราเดิมซึ่งทางมูลนิธิก็ไม่ได้ตื้ออะไรนะคะ ล่าสุดมีวันพบหน้ากันด้วยแต่เราไม่สะดวกไปพบค่ะ เสียดายเหมือนกัน เห็นมาตั้งแต่เล็กๆ ก็อยากเจอตัวจริงเหมือนกันค่ะ
แต่เรื่องตรวจสอบความโปร่งใสของมูลนิธิ หรือเรื่อง เด็กได้รับของ ไม่ได้รับของ ในหลายความเห็นเราว่ายังเป็นเพียง "ข้อสันนิษฐาน" เองนะคะ ยังไม่ได้มีหลักฐานแน่ชัดอะไรนะคะ (ถ้ามีแน่ชัดว่าโกง ไม่โปร่งใส เราก็คงเลิกบริจาคเช่นกันค่ะ) สงสารเด็กค่ะ ถ้าจู่ๆ จะมีคนหวาดระแวง เทกระจาดกันเข้าไปยกเลิกการอุปการะ ด้วยการ "ฟังเค้ามา" ชุมชนแต่ละชุมชนที่เด็กอยู่ มันห่างไกล และ ลำบากมากนะคะ ขอโอกาสให้เค้าเถอะค่ะ ถ้ามันไม่ได้ทำให้เราๆ เดือดร้อนกันมากนักค่ะ
เราก็บริจาค และ อุปการะเด็กในมูลนิธินี้ 1 คนค่ะ นานหลายปีแล้ว จนต้องนี้น้องโต เป็นหนุ่มน้อยสูงกว่าเราไปแล้ว (กรี๊ดดด)
อ่านหลายๆ ความเห็นเรื่องเงินที่เด็กได้ต่อปี เราค่อนข้างสงสัยว่า พวกท่านไม่ได้อ่านเอกสารเกี่ยวกับโครงการ หรือ รายละเอียดที่ทางมูลนิธิมีให้ตอนอุปการะรึเปล่าคะ? คือเท่าที่เราอ่านและทำความเข้าใจ เงินไม่ได้ส่งให้เด็กเป็นรายเดือนตามยอดเงินที่เราให้ในแต่ละเดือนค่ะ แต่เค้าจะนำเงินที่เราบริจาคในแต่ละเดือน มารวมกัน แล้วนำไปทำโครงการ พัฒนา ชุมชนที่เด็กๆ ที่เราอุปการะ อาศัยอยู่ ให้ดีขึ้น เด็กมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นค่ะ
ส่วนการส่งของให้เด็กนั้น เราทำได้ นอกเหนือจากการบริจาค ซึ่งดีตรงที่ว่า เด็กได้รับจากเราโดยตรงเลย ได้เล่น ได้ใช้ข้าวของ
แต่การตอบ ส่งจดหมายนั้น อันนี้ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าติดอะไรตรงไหนอ่ะนะคะ ส่วนตัวเราได้ทุกปี ได้เรื่อยๆค่ะ ทั้งรายงานพัฒนาการเด็ก และ จดหมายจากตัวน้องเอง แต่เราซะอีกที่ไม่ว่างตอบจดหมายน้อง และไม่ค่อยว่างหาซื้อของขวัญให้เท่าไหร่
เรื่องการส่ง จดหมายให้บริจาคซื้อของขวัญวันเกิดให้เด็กในแต่ละปี ตัวเราไม่ติดใจอะไรนะ มองในแง่การเงิน คือ มูลนิธิ เค้าก็คงต้องหารายได้เพื่อให้มีเงินมาทำโครงการอะไรของเค้าแหล่ะ หรือมองในด้านจิตใจเด็ก หากผู้อุปการณะไม่ว่างไปหาซื้อให้ ก็อำนวยความสะดวกด้วยการสั่งซื้อให้เค้าเลย (ซึ่งเพื่อนเราหลายคน ก็อุปการะแต่เป็นพวกขี้เกียจไปหาซื้อเองนะ ก็จ่ายๆ เงินให้มูลนิธิซื้อไปก็จบ)
เราเองก็ได้รับการแจ้งขอขึ้นเงินที่ต้องจ่ายรายเดือนเช่นกัน แต่ก็ไม่อนุมัติให้ค่ะ ยังบริจาคในอัตราเดิมซึ่งทางมูลนิธิก็ไม่ได้ตื้ออะไรนะคะ ล่าสุดมีวันพบหน้ากันด้วยแต่เราไม่สะดวกไปพบค่ะ เสียดายเหมือนกัน เห็นมาตั้งแต่เล็กๆ ก็อยากเจอตัวจริงเหมือนกันค่ะ
แต่เรื่องตรวจสอบความโปร่งใสของมูลนิธิ หรือเรื่อง เด็กได้รับของ ไม่ได้รับของ ในหลายความเห็นเราว่ายังเป็นเพียง "ข้อสันนิษฐาน" เองนะคะ ยังไม่ได้มีหลักฐานแน่ชัดอะไรนะคะ (ถ้ามีแน่ชัดว่าโกง ไม่โปร่งใส เราก็คงเลิกบริจาคเช่นกันค่ะ) สงสารเด็กค่ะ ถ้าจู่ๆ จะมีคนหวาดระแวง เทกระจาดกันเข้าไปยกเลิกการอุปการะ ด้วยการ "ฟังเค้ามา" ชุมชนแต่ละชุมชนที่เด็กอยู่ มันห่างไกล และ ลำบากมากนะคะ ขอโอกาสให้เค้าเถอะค่ะ ถ้ามันไม่ได้ทำให้เราๆ เดือดร้อนกันมากนักค่ะ
แสดงความคิดเห็น
จากกรณีข้อสงสัย มูลนิธิศุภนิมิตร
มี บุคคลที่อ้างเป็นเจ้าหน้าที่ของมูลนิธิ ในความเห็นที่ 50
" สวัสดีครับ ผมเพิ่งเริ่มเล่นพันทิพย์เป็นครั้งแรก และมีโอกาสได้ทำงานกับมูลนิธิศุภนิมิตฯ ขออนุญาตอธิบายเกี่ยวกับการจัดการเงินบริจาคของผู้อุปการะให้ทุกท่านทราบครับ
มูลนิธิศุภนิมิตฯ ดำเนินโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก ครอบครัว และชุมชนในรูปแบบของการพัฒนาชุมชนให้เป็นพื้นที่แบบพึ่งพาตนเองครับ ขออธิบายให้ง่ายต่อความเข้าใจ คือ มูลนิธิฯ จะทำงานร่วมกันคนในชุมชนนั้นๆ เพื่อร่วมกันแก้ปัญหาของชุมชนนั้นๆ อย่างตรงจุดครับ เช่น โครงการที่อมก๋อย จ.เชียงใหม่ มีปัญหาเรื่องสุขภาพอนามัยของเด็ก มูลนิธิฯ จะเข้าไปศึกษาปัญหาและวางแผนการแก้ไขปัญหาร่วมกับคนในชุมชน เมื่อวางแผนเสร็จจะเริ่มดำเนินงานตามแผนของโครงการนั้นๆ "โดยมีเงินบริจาคเพื่อการอุปการะเด็ก" ของโครงการนั้นๆ เป็นส่วนดำเนินงาน ซึ่งสมมติว่า เด็กในความอุปการะของท่านอยู่ที่อมก๋อย เงินบริจาคที่ท่านสนับสนุนจะถูกใช้เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กในพื้นที่นี้เท่านั้น ที่หลายท่านบอกว่าเงินอุปการะเด็กนำมารวมเป็นกองทุนนั้นถูกต้องแล้วครับ แต่ขออธิบายเพิ่มเติมว่า เงินกองทุนดังกล่าวจะถูกใช้เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก ครอบครัว และชุมชนในพื้นที่ที่เด็กในความอุปการะของท่านอาศัยอยู่เท่านั้น
สำหรับท่านผู้อุปการะที่สงสัยว่าเงินบริจาคเพื่ออุปการะเด็กของท่าน 600 บาทต่อเดือนทำไมมูลนิธิฯ ไม่ส่งให้เด็กหรือให้เด็กเพียงปีละไม่กี่ร้อยบาทนั้น เป็นความเข้าใจที่ผิดพลาดครับ เพราะมูลนิธิเชื่อว่าการทำเช่นนั้นเป็น "การสงเคราะห์" ไม่ใช่ "การพัฒนา"
ผมขออัญเชิญพระราชดำรัสของในหลวง (ขออภัยตรงนี้ด้วยครับผมมีความรู้เรื่องราชาศัพท์น้อยมาก หากผิดพลาดในการใช้คำ ขออภัยอีกครั้งมา ณ ที่นี้) ความว่า
"ให้ปลาตัวเดียว เขาก็กินอิ่มแค่วันเดียว แต่ถ้าสอนเขาจับปลา เขาจะมีกินไปตลอดชีวิต"
การจะทำให้เด็กคนหนึ่งเติบโตขึ้นมาเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพไม่สามารถทำให้สำเร็จได้ใน 1 วัน นี่คือเหตุผลที่มูลนิธิฯ ขอการสนับสนุนจากท่านอย่างต่อเนื่องครับ เด็กทุกคนอาศัยอยู่กับครอบครัวของเขา ถ้าหากเรามุ่งพัฒนาแต่เด็กเช่น ส่งเสริมให้เด็กอ่านออกเขียนได้ มีสุขภาพดี มีทักษะอาชีพติดตัว เป็นต้น แต่ครอบครัวเขาไม่ได้รับการพัฒนา ยังคงรับจ้างรายวัน โอกาสที่เด็กจะได้เรียนต่อจนจบก็เป็นไปได้ยากครับ พ่อแม่ของเด็กส่วนใหญ่ต้องการให้เด็กเรียน แต่ก็ต้องยอมรับว่าเมื่อครอบครัวเกิดปัญหาปากท้อง พ่อหรือแม่ของเด็กอาจป่วยไม่สามารถทำงานหนักได้ เด็กก็อาจถูกนำมาใช้แรงงานเพื่อหาเงินมาจุนเจือครอบครัวได้
เด็กที่มูลนิธิฯ ดูแลเป็นกลุ่มเด็กที่เปราะบางที่สุด ไม่ใช่เพียงแค่เขายากจน แต่ยังมีปัญหาครอบครัวอีกหลากหลาย ปัญหาที่สำคัญและพบบ่อยที่สุดอย่างหนึ่ง คือ พ่อแม่หรือผู้ปกครองเด็กต้องการให้เด็กมาทำงาน เป็นแรงงานที่หารายได้ เช่นการรับจ้าง เด็กบางคนจึงต้องออกจากโรงเรียนตามคำสั่งของพ่อแม่ ซึ่งแม้แต่มูลนิธิฯ ก็ไม่สามารถห้ามปรามได้ แต่มูลนิธิฯ ได้พยายามป้องกันปัญหาเหล่านี้ ด้วยการส่งเสริมอาชีพให้ครอบครัว พ่อแม่มีรายได้เสริม เพื่อให้เด็กสามารถเรียนต่อได้ไปพร้อมๆ กับการที่พ่อแม่มีอาชีพที่เป็นของตนเองอย่างแท้จริง เช่น การเลียงปลา การเพาะปลูก การเลี้ยงหมู เลียงวัว เป็นต้นครับ
มูลนิธิฯ ไม่มีอำนาจที่จะไปก้าวก่ายกับเรื่องภายในครอบครัวของเด็ก ยกเว้นในกรณีที่เด็กโดนละเมิดสิทธิที่เขาพึงมีครับ และผมเชื่อว่าทุกท่านในที่นี่มีความตั้งใจอยากช่วยเหลือเด็กเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ซึ่งมูลนิธิฯ ได้นำเงินบริจาคของทุกท่านไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดทุกครั้งครับ
สำหรับเรื่องจดหมายจากเด็กไม่ว่าจะเป็นการขอบคุณหรือเขียนถึงผู้อุปการะ ส่วนหนึ่งต้องยอมรับว่าหน้าที่การสั่งสอนหรืออบรมให้เด็กอ่านออกเขียนได้นั้นเป็นของโรงเรียนที่เด็กเรียนอยู่ครับ มูลนิธิฯ จึงเข้าไปส่งเสริมในส่วนที่โรงเรียนแต่ละแห่งกำลังประสบปัญหา เช่น การส่งเสริมวิชาชีพตัดผม เพาะเห็ด หรืออะไรก็ตามที่หากวันนึงเด็กไม่ได้เรียนต่อเขาต้องสามารถหาเลี้ยงชีพด้วยความรู้ที่มีได้ การเปิดหลักสูตรการเรียนพิเศษเพื่อแก้ไขในส่วนที่เด็กยังอ่อนอยู่ เป็นต้น ผมอยากให้ท่านนึกภาพเด็กในพื้นที่ยากไร้ที่กำลังนั่งเรียนร่วมกับเด็กในช่วงชั้นอื่นๆ (เช่น เด็กป.1 เรียนร่วมกับเด็ก ป.2 ป.3 ในเวลาเดียวกัน ในห้องเดียวกัน) ต้องเขียนจดหมายขอบคุณผู้อุปการะที่เขาไม่เคยพบหรือติดต่อกันผ่านทางจดหมายอาจเพียง 1 ครั้งต่อปี การที่เขาจะเขียนถึงท่านจึงเป็นเรื่องที่ทำได้ยากครับ แต่เจ้าหน้าที่ที่ประจำอยู่ในพื้นที่ต่างตระหนักดีถึงความคาดหวังของผู้อุปการะทุกท่านที่อยากทราบข่าวคราวหรือความรู้สึกของเด็กที่ตนอุปการะอยู่ จึงพยายามอย่างเต็มที่ที่จะให้เด็กเขียนจดหมายถึงผู้อุปการะทุกท่านด้วยความรู้สึกของตนจริงๆ ผมอยากให้ท่านนึกถึงตัวของเด็ก นึกถึงสภาพพื้นที่ที่เด็กอาศัยอยู่ การเดินทางที่ยากลำบากทำให้หลายครั้งจดหมายที่ควรจะถึงมือผู้อุปการะอาจช้าหรือบางท่านไม่ได้รับเนื่องด้วยเด็กบางคนอาจยังอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ หรือเขาไม่ทราบว่าจะเขียนถึงท่านอย่างไร ซึ่งมูลนิธิฯ ไม่มีอำนาจและไม่มีนโยบายในการบังคับเด็กให้ทำสิ่งใดก็ตามที่เขาไม่เต็มใจครับ เด็กหลายคนแม้แต่พูดยังไม่กล้าก็มีครับ ซึ่งเราต้องให้เวลาและทำความคุ้นเคยกับเด็กให้มากขึ้น ผมต้องขออภัยและขอน้อมรับความผิดพลาดนี้ไปดำเนินการปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นครับ
หากท่านถามว่า แล้วเด็กได้อะไรบ้าง ผมขออธิบายดังนี้ครับว่า ในแต่ละพื้นที่มีปัญหาเฉพาะที่แตกต่างกัน นี่คือคำตอบว่าทำไมเราไม่ใช่โมเดลเดียวกันในการแก้ไขปัญหา เด็กในพื้นที่ชายแดนกับเด็กในพื้นที่แห้งแล้ง ก็มีปัญหาที่แตกต่างกันครับ นี่คือสิ่งที่มูลนิธิฯ กำลังดำเนินงานคือ การพัฒนาชุมชนให้เป็นพื้นที่ที่สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน ซึ่งผมขออนุญาตย้ำอีกครั้งว่า การเอาเงินยัดใส่มือเด็กไม่ใช่การแก้ปัญหาที่ถูกต้องครับ เงินบริจาคจะเกิดประโยชน์สูงสุดหากได้นำไปใช้ในทางที่ถูกต้อง เจ้าหน้าที่ของมูลนิธิฯ ที่ประจำอยู่ในพื้นที่ส่วนใหญ่ก็เป็นคนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่นั้นๆ ครับ จึงมีความปรารถนาและตั้งใจจะพัฒนาชุมชนของตนให้ดีขึ้น เพราะเด็กๆ ก็คือลูกหลานของเขาทั้งนั้น เด็กในพื้นที่หนึ่งมีจำนวนหลายพันคนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ห่างไกลกัน ในขณะเดียวกันเจ้าหน้าที่ที่มีอยู่อย่างจำกัดก็พยายามติดตามเด็กอย่างใกล้ชิดและเต็มศักยภาพที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ พาหนะส่วนใหญ่ก็เป็นมอเตอร์ไซด์ครับ เพราะงบประมาณส่วนใหญ่ใช้เพื่อสนับสนุนโครงการพัฒนาทั้งสิ้น ซึ่งในทุกสิ้นปี มูลนิธิฯ มีการจัดทำรายงานประจำปีให้ผู้บริจาคผู้อุปการะทราบซึ่งการใช้จ่ายเงินที่เป็นไปตามกฏหมายและมีการตรวจสอบโดยองค์กรภายในและภายนอกอย่างเข้มงวด เงินทุกบาทของทุกท่านจึงมั่นใจได้ครับว่าถูกนำไปใช้ตามจุดประสงค์ของการขอรับบริจาคอย่างแน่นอน
สิ่งนี้ตอบคำถามว่า ทำไมเวลาถามเด็กว่าได้รับอะไร เด็กจึงตอบว่า ไม่ได้ เพราะมูลนิธิฯ ไม่มีนโยบายสงเคราะห์เด็กครับ แต่ให้ความช่วยเหลือในกรณีที่จำเป็นและเหมาะสม ขอยกตัวอย่างเช่น ในพื้นที่แห้งแล้งที่ทำนาเพาะปลูกได้น้อย มูลนิธิฯ ทราบถึงปัญหาจึงดำเนินโครงการจัดการนำ้ และส่งเสริมอาชีพเลี้ยงสัตว์เช่น หมู วัว แทน ได้ทำการมอบหมู วัว และอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการประกอบอาชีพ รวมถึงทักษะความรู้จากวิทยากรที่พาไปอบรม เพราะมูลนิธิฯ ให้ความสำคัญกับ "คุณภาพ" มากที่สุดครับ การเลี้ยงสัตว์ เลี้ยอย่างไรให้โตดี เลี้ยงอย่างไรให้ประโยชน์คุ้มค่าที่สุด มูลนิธิฯ มีการติดตามผลอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งโครงการนั้นๆ ประสบความสำเร็จ แต่ความสำเร็จนี่ไม่ได้เกิดขึ้นจากชาวบ้านหรือมูลนิธืฯ เพียงเท่านั้น เพราะเงินบริจาคของท่านทำให้เกืดขึ้นครับ สิ่งเหล่านี้ไม่ได้อยู่ในจดหมายของเด็กที่ท่านได้อ่าน เพราะหน้าที่ของพวกเขาคือ ตั้งใจเรียน และแม้เด็กจะไม่ได้รับประโยชน์จากเงินบริจาคของท่านโดยตรง(เช่นเอาเงินให้เด็กไปซื้อของที่เขาอยากได้) แต่ถ้าครอบครัวเขามีอาชีพ มีรายได่ มีความสุข เงินบริจาค 600 บาทจากท่านจะมีค่ามากขึ้นจริงไหมครับ เราต้องใช้เงินเท่าไหร่ถึงจะซื้อความสุขที่ยั่งยืนแบบนี้ได้ครับ
ในครั้งนี้ผมขออนุญาตอธิบายถึงการทำงานของมูลนิธิฯ ในฐานะของเพื่อนสมาชิกในพันทิพย์ครับ ไม่ใช่ในฐานะของเจ้าหน้าที่ ดังนั้น ผมยินดีที่จะอธิบายและตอบข้อสงสัยของทุกท่านอย่างเต็มใจและตรงไปตรงมา ผมเชื่อว่าทุกท่านต้องการช่วยเหลือเด็กช่วยเหลือสังคม ซึ่งผมรู้สึกยินดีและดีใจมากครับที่ยังเห็นความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ในเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน บางทีความสุขที่แท้จริง ก็คือการทำให้ผู้อื่นมีความสุขครับ
คำตอบของผมอาจยาวไป แต่ถ้าท่านใดมีข้อสงสัย ถ้าผมช่วยได้ยินดีตอบทุกคำถามครับ
สุดท้ายผมขอจบด้วยเรื่องราวส่วนตัวที่ผมประทับใจจากผู้อุปการะท่านหนึ่งครับ ท่านเป็นพยาบาลที่ตัดสินใจอุปการะเด็กคนหนึ่งด้วยข้อความในจดหมายแนะนำตัวสั้นๆ ว่า โตขึ้นหนูอยากเป็นพยาบาล ผู้อุปการะท่านนี้ก็สนับสนุนเงินบริจาคไปเรื่อยๆ เป็นเวลากว่า 10 ปีครับทั้งที่ติดต่อทางจดหมายมาตลอดเพราะท่านไม่สะดวกมาพบเด็กในกิจกรรมต่างๆ ที่มูลนิธิฯ จัดขึ้น จนกระทั่งวันที่เด็กคนนี้เรียนจบและได้เป็นพยาบาล ทั้งสองได้พบกันโดยที่ผมเป็นผู้สัมภาษณ์เก็บข้อมูล ความรู้สึกอิ่มเอมใจ เป็นสุขอย่างบอกไม่ถูกมันถูกส่งผ่านมาถึงผมที่แทบไม่ทราบตื้นลึกหนาบางของทั้งสองยังทำให้ผมน้ำตาคลอครับ เด็กคนนั้นเรียกผู้อุปการะว่า แม่ครับ ด้วยเหตุผลอะไรผมไม่ขออธิบายนะครับเพราะเป็นเรื่องส่วนตัวของทั้งสอง แต่ผมจะนึกถึงเรื่องนี้เสมอเวลาท้อใจ มันทำให้ผมรู้ว่าผมกำลังทำอะไร เพื่อใคร และผลลัพธ์มันมีความสุบแค่ไหนครับ
ขอบคุณทุกท่านที่ให้ความสนใจกับมูลนิธิฯ และนึกถึงเด็กๆ ทุกคนครับ