เลยไปหาข้อมูลมา ตามนี้ เป็นวิทยาทานดีเหมือนกันนะคะ
แอลกอฮอล์ (เหล้า เบียร์ ไวน์หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบ)
ผลกระทบของแอลกอฮอล์ต่อทารกในครรภ์ พบเมื่อแม่ดื่มแอลกอฮอล์ช่วงปฏิสนธิหรือในช่วง 3 เดือนแรก ความรุนแรงขึ้นอยู่กับปริมาณแอลกอฮอล์ที่ดื่ม หากดื่มในปริมาณมากจะส่งผลให้ทารกเมื่อคลอดมีลักษณะของโรคกลุ่มอาการของทารกที่เกิดจากมารดาที่ดื่มแอลกอฮอล์ (Fetal alcohol syndrome, FAS) ซึ่งมีลักษณะทางร่างกายที่ผิดปกติ คือ
- ช่องตาสั้น
- ร่องริมฝีปากบน (Phil rum) เรียบ
- ริมฝีปากบนยาวและบาง
- หนังคลุมหัวตามาก (epicanthal folds)
- จมูกแบน
- ปลายจมูกเชิดขึ้น
- บริเวณส่วนกลางใบหน้ามีการพัฒนาน้อยกว่าปกติ (midface hypoplasia)
แอลกอฮอล์ทำให้เกิดการทำลายของเซลล์ประสาท ส่งผลให้มีการเจริญเติบโตบกพร่อง น้ำหนักแรกเกิดน้อยและมีอัตราการเพิ่มน้ำหนักหลังเกิดน้อย ศีรษะเล็ก เกิดความผิดปกติของโครงสร้างสมอง เช่น ไม่มีสมองใหญ่ (anencephaly) สมองใหญ่มีร่องผิดปกติ (schizencephaly) เยื่อหุ้มสมองและเนื้อสมองเลื่อน (lumbarmeningomyelocele) ส่วนด้านพัฒนาการของสติปัญญาก็มีความบกพร่อง มีปัญหาด้านความจำ การเคลื่อนไหวผิดปกติ มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคทางจิตเวช เช่น ภาวะวิตกกังวล (anxiety disorder) มีภาวะซึมเศร้า (depression) พฤติกรรมอันธพาล (conduct disorder) และมีปัญหาพฤติกรรมอื่น ๆ เช่น อาการซุกซนไม่อยู่นิ่ง และสมาธิสั้น
ทีมา :
http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=796
เห็นลูกลำยองแล้วสงสัยว่า เหล้ามีผลกระทบอย่างไรกับเด็กในครรภ์
แอลกอฮอล์ (เหล้า เบียร์ ไวน์หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบ)
ผลกระทบของแอลกอฮอล์ต่อทารกในครรภ์ พบเมื่อแม่ดื่มแอลกอฮอล์ช่วงปฏิสนธิหรือในช่วง 3 เดือนแรก ความรุนแรงขึ้นอยู่กับปริมาณแอลกอฮอล์ที่ดื่ม หากดื่มในปริมาณมากจะส่งผลให้ทารกเมื่อคลอดมีลักษณะของโรคกลุ่มอาการของทารกที่เกิดจากมารดาที่ดื่มแอลกอฮอล์ (Fetal alcohol syndrome, FAS) ซึ่งมีลักษณะทางร่างกายที่ผิดปกติ คือ
- ช่องตาสั้น
- ร่องริมฝีปากบน (Phil rum) เรียบ
- ริมฝีปากบนยาวและบาง
- หนังคลุมหัวตามาก (epicanthal folds)
- จมูกแบน
- ปลายจมูกเชิดขึ้น
- บริเวณส่วนกลางใบหน้ามีการพัฒนาน้อยกว่าปกติ (midface hypoplasia)
แอลกอฮอล์ทำให้เกิดการทำลายของเซลล์ประสาท ส่งผลให้มีการเจริญเติบโตบกพร่อง น้ำหนักแรกเกิดน้อยและมีอัตราการเพิ่มน้ำหนักหลังเกิดน้อย ศีรษะเล็ก เกิดความผิดปกติของโครงสร้างสมอง เช่น ไม่มีสมองใหญ่ (anencephaly) สมองใหญ่มีร่องผิดปกติ (schizencephaly) เยื่อหุ้มสมองและเนื้อสมองเลื่อน (lumbarmeningomyelocele) ส่วนด้านพัฒนาการของสติปัญญาก็มีความบกพร่อง มีปัญหาด้านความจำ การเคลื่อนไหวผิดปกติ มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคทางจิตเวช เช่น ภาวะวิตกกังวล (anxiety disorder) มีภาวะซึมเศร้า (depression) พฤติกรรมอันธพาล (conduct disorder) และมีปัญหาพฤติกรรมอื่น ๆ เช่น อาการซุกซนไม่อยู่นิ่ง และสมาธิสั้น
ทีมา : http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=796