ขาดริ๊งก์หรือสายดื่มเคยสงสัยไหม ?
ทำไมทุก ๆ ครั้งที่ดื่มแอลกอฮอล์ พฤติกรรมเราถึงเปลี่ยนไป..
ไม่ว่าจะกล้าพูด กล้าแสดงออกมากขึ้น บางครั้งเปลี่ยนไปเป็นคนละคน
จากคนเงียบ ๆ มาส่งเสียงดัง อย่างไม่อายใคร
บางคนเดินเซ เดินไม่ตรงทาง พยุงตัวให้อยู่กับที่ไม่ได้ ก็ยังบอกว่า
“ ไม่มาวววว.. ไม่เป็นไร.. ยังไหว.. ”
คุณเคยเป็นแบบนั้นหรือเปล่า ?
แล้วจะเกิดอะไรขึ้น..
เมื่อตัวคุณที่บอกว่า.. ยังไหว
แต่ “สมอง” ของคุณกลับ ไม่ไหวแล้ว…
และจะยิ่งอันตรายแค่ไหน เมื่อ สมองที่ไม่ไหว..
ต้องเป็นผู้ควบคุม สั่งการ ในยามที่คุณต้องขับขี่ยานพาหนะ อย่าง รถยนต์ หรือ มอเตอร์ไซค์
ทั้ง ๆ ที่เสี้ยววินาทีนั้น คือทางแยกแห่ง ความเป็น หรือ ความตาย..
เชิญเปิดสมอง และไขคำตอบนั้น กับภาพยนตร์โฆษณารณรงค์เรื่องล่าสุด จาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือ สสส. ที่หยิบข้อมูลทางการแพทย์ เรื่อง
ผลกระทบของแอลกอฮอล์ต่อสมอง มาเล่าเรื่องเข้าใจยาก ให้เข้าใจได้ง่าย ๆ ผ่านการ
จำลองภาพการทำงานของสมอง ที่ได้รับแอลกอฮอล์จนทำงานผิดพลาด นำไปสู่อุบัติเหตุแบบที่คาดไม่ถึง…
รู้ไหมว่า ภายในสมองอันซับซ้อน สมองแต่ละส่วน จะมีการแบ่งหน้าที่ ควบคุมร่างกายของเรา ต่างกันออกไป ทั้งส่วนที่ควบคุมด้านบุคลิก ความคิด พฤติกรรม การตัดสินใจ การตอบสนอง การคิดคำนวณ หรือ การมองเห็น เป็นที่มาทำให้ พฤติกรรม การแสดงออก และ กลไกทางร่างกาย ของเราเปลี่ยนไป เมื่อแอลกอฮอล์เดินทางไปยังสมองส่วนต่าง ๆ
เพราะ “สมอง” เป็นหนึ่งในอวัยวะสำคัญ ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากแอลกอฮอล์และส่งผลไปยังการขับขี่
• จากสมองที่ว่องไว.. ตอบสนองได้อย่างรวดเร็ว แม่นยำ เมื่อถูกกดด้วยฤทธิ์ของแอลกอฮอล์ ก็จ
ะทำให้ตอบสนองช้าลง จนตัดสินใจไม่ทัน ว่าจะทำอย่างไรกับเหตุการณ์ตรงหน้า
• จากสมองที่เคยคิดคำนวณได้คล่องแคล่ว..เมื่อถูกกดด้วยฤทธิ์ของแอลกอฮอล์ ก็จะทำให้สมอง
กะระยะ ผิดพลาด มองเห็นวัตถุไกลเป็นใกล้ ใกล้เป็นไกล ทำให้เบรกไม่ทัน
• จากสมองที่เคยยับยั้งชั่งใจ ควบคุมอารมณ์ได้ดี..เมื่อถูกกดด้วยฤทธิ์ของแอลกอฮอล์ ก็อาจเปลี่ยนคนธรรมดาให้กลายเป็นคนอารมณ์ร้อน
กล้าได้กล้าเสีย กล้าเสี่ยง คึกคะนอง และ ขับขี่ด้วยความอันตราย
3 เหตุการณ์ดังกล่าว ถูกนำมาเล่าเรื่องราวผ่านภาพยนตร์โฆษณาชุด
“ดื่มเหล้า เมาถึงสมอง” ผ่านตัวละครสมองสุดจี๊ด ในสีสันชุดชมพูสุดแปลกตา เรื่อง The Loop ที่สะท้อนให้เห็นว่า แอลกอฮอล์ สามารถส่งผลให้สมองทำงานได้ผิดพลาดซ้ำแล้วซ้ำเล่า เพราะกระทบต่อการทำงานของสมองในหลายระบบ ซึ่งหากยังไม่หยุดพฤติกรรมเช่นนี้ ก็อาจมีจุดจบแบบในภาพยนตร์โฆษณาได้เช่นเดียวกัน
โดยผลกระทบของแอลกอฮอล์ที่มีต่อสมองและส่งผลต่อการขับขี่ ตัวอย่างเช่น
1.
มองไม่เห็นคนข้ามถนน เพราะแอลกอฮอล์ส่งผลต่อการโฟกัสของดวงตา ทำให้ตาเบลอ เห็นภาพซ้อน
2.
สมองสั่งเบรกไม่ทัน เพราะแอลกอฮอล์ทำให้การส่งต่อข้อมูลจากสมองสู่อวัยวะส่วนอื่นช้าลง ส่งผลให้ความสามารถในการตอบสนองต่อเหตุการณ์เฉพาะหน้าลดลง
3.
ตัดสินใจผิดพลาด เพราะแอลกอฮอล์ส่งผลต่อสมองส่วนควบคุมสมาธิ ส่งผลต่อการความสามารถในการตัดสินใจเมื่อเจอเหตุการณ์เฉพาะหน้า
4.
ง่วงซึม หลับใน เพราะแอลกอฮอล์ทำให้ประสาทเฉื่อยชา
5.
ตากับเท้าไม่ทำงานร่วมกัน เพราะแอลกอฮอล์ทำให้การมองเห็น และการควบคุมกล้ามเนื้อ ขาดการประสานกัน
การดื่มแอลกอฮอล์ แล้วขับหรือขี่ จึงนับเป็นอีกหนึ่งสาเหตุสำคัญของการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน โดยเฉพาะ 5 ปีที่ผ่านมาในช่วงเทศกาลปีใหม่ มีผู้ขับขี่ที่บาดเจ็บหรือเสียชีวิตไปกว่า 30,000 ราย สร้างความสูญเสียและความโศกเศร้าไปมากพอแล้ว…
ในช่วงปีใหม่นี้ สสส. และ ภาคีเครือข่าย จึงอยากขอชวนคนไทย “ ดื่มไม่ขับ ” รู้เท่าทันอันตรายของแอลกอฮอล์ที่มีต่อสมอง และการขับขี่ เพื่อที่จะได้กลับไปหาคนที่รักถึงบ้านอย่างปลอดภัย
กดติดตามข้อมูลข่าวสาร แคมเปญที่น่าสนใจ และกิจกรรมดีๆ จาก สสส เพิ่มเติมได้ที่ :
Facebook :
Social Marketing Thaihealth by สสส.
Line :
@thaihealththailand
Tiktok :
@thaihealth
Youtube :
SocialMarketingTH
Website :
Social Marketing การตลาดเพื่อสังคม
[Advertorial]
[BR] “ ดื่มเหล้า เมาถึงสมอง ” ความจริงที่นักดื่มหลายคนไม่รู้ ?
ขาดริ๊งก์หรือสายดื่มเคยสงสัยไหม ?
ทำไมทุก ๆ ครั้งที่ดื่มแอลกอฮอล์ พฤติกรรมเราถึงเปลี่ยนไป..
ไม่ว่าจะกล้าพูด กล้าแสดงออกมากขึ้น บางครั้งเปลี่ยนไปเป็นคนละคน
จากคนเงียบ ๆ มาส่งเสียงดัง อย่างไม่อายใคร
บางคนเดินเซ เดินไม่ตรงทาง พยุงตัวให้อยู่กับที่ไม่ได้ ก็ยังบอกว่า
“ ไม่มาวววว.. ไม่เป็นไร.. ยังไหว.. ”
คุณเคยเป็นแบบนั้นหรือเปล่า ?
แล้วจะเกิดอะไรขึ้น..
เมื่อตัวคุณที่บอกว่า.. ยังไหว
แต่ “สมอง” ของคุณกลับ ไม่ไหวแล้ว…
และจะยิ่งอันตรายแค่ไหน เมื่อ สมองที่ไม่ไหว..
ต้องเป็นผู้ควบคุม สั่งการ ในยามที่คุณต้องขับขี่ยานพาหนะ อย่าง รถยนต์ หรือ มอเตอร์ไซค์
ทั้ง ๆ ที่เสี้ยววินาทีนั้น คือทางแยกแห่ง ความเป็น หรือ ความตาย..
เชิญเปิดสมอง และไขคำตอบนั้น กับภาพยนตร์โฆษณารณรงค์เรื่องล่าสุด จาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือ สสส. ที่หยิบข้อมูลทางการแพทย์ เรื่อง ผลกระทบของแอลกอฮอล์ต่อสมอง มาเล่าเรื่องเข้าใจยาก ให้เข้าใจได้ง่าย ๆ ผ่านการ จำลองภาพการทำงานของสมอง ที่ได้รับแอลกอฮอล์จนทำงานผิดพลาด นำไปสู่อุบัติเหตุแบบที่คาดไม่ถึง…
รู้ไหมว่า ภายในสมองอันซับซ้อน สมองแต่ละส่วน จะมีการแบ่งหน้าที่ ควบคุมร่างกายของเรา ต่างกันออกไป ทั้งส่วนที่ควบคุมด้านบุคลิก ความคิด พฤติกรรม การตัดสินใจ การตอบสนอง การคิดคำนวณ หรือ การมองเห็น เป็นที่มาทำให้ พฤติกรรม การแสดงออก และ กลไกทางร่างกาย ของเราเปลี่ยนไป เมื่อแอลกอฮอล์เดินทางไปยังสมองส่วนต่าง ๆ
เพราะ “สมอง” เป็นหนึ่งในอวัยวะสำคัญ ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากแอลกอฮอล์และส่งผลไปยังการขับขี่
• จากสมองที่ว่องไว.. ตอบสนองได้อย่างรวดเร็ว แม่นยำ เมื่อถูกกดด้วยฤทธิ์ของแอลกอฮอล์ ก็จะทำให้ตอบสนองช้าลง จนตัดสินใจไม่ทัน ว่าจะทำอย่างไรกับเหตุการณ์ตรงหน้า
• จากสมองที่เคยคิดคำนวณได้คล่องแคล่ว..เมื่อถูกกดด้วยฤทธิ์ของแอลกอฮอล์ ก็จะทำให้สมอง กะระยะ ผิดพลาด มองเห็นวัตถุไกลเป็นใกล้ ใกล้เป็นไกล ทำให้เบรกไม่ทัน
• จากสมองที่เคยยับยั้งชั่งใจ ควบคุมอารมณ์ได้ดี..เมื่อถูกกดด้วยฤทธิ์ของแอลกอฮอล์ ก็อาจเปลี่ยนคนธรรมดาให้กลายเป็นคนอารมณ์ร้อน กล้าได้กล้าเสีย กล้าเสี่ยง คึกคะนอง และ ขับขี่ด้วยความอันตราย
3 เหตุการณ์ดังกล่าว ถูกนำมาเล่าเรื่องราวผ่านภาพยนตร์โฆษณาชุด “ดื่มเหล้า เมาถึงสมอง” ผ่านตัวละครสมองสุดจี๊ด ในสีสันชุดชมพูสุดแปลกตา เรื่อง The Loop ที่สะท้อนให้เห็นว่า แอลกอฮอล์ สามารถส่งผลให้สมองทำงานได้ผิดพลาดซ้ำแล้วซ้ำเล่า เพราะกระทบต่อการทำงานของสมองในหลายระบบ ซึ่งหากยังไม่หยุดพฤติกรรมเช่นนี้ ก็อาจมีจุดจบแบบในภาพยนตร์โฆษณาได้เช่นเดียวกัน
โดยผลกระทบของแอลกอฮอล์ที่มีต่อสมองและส่งผลต่อการขับขี่ ตัวอย่างเช่น
1. มองไม่เห็นคนข้ามถนน เพราะแอลกอฮอล์ส่งผลต่อการโฟกัสของดวงตา ทำให้ตาเบลอ เห็นภาพซ้อน
2. สมองสั่งเบรกไม่ทัน เพราะแอลกอฮอล์ทำให้การส่งต่อข้อมูลจากสมองสู่อวัยวะส่วนอื่นช้าลง ส่งผลให้ความสามารถในการตอบสนองต่อเหตุการณ์เฉพาะหน้าลดลง
3. ตัดสินใจผิดพลาด เพราะแอลกอฮอล์ส่งผลต่อสมองส่วนควบคุมสมาธิ ส่งผลต่อการความสามารถในการตัดสินใจเมื่อเจอเหตุการณ์เฉพาะหน้า
4. ง่วงซึม หลับใน เพราะแอลกอฮอล์ทำให้ประสาทเฉื่อยชา
5. ตากับเท้าไม่ทำงานร่วมกัน เพราะแอลกอฮอล์ทำให้การมองเห็น และการควบคุมกล้ามเนื้อ ขาดการประสานกัน
การดื่มแอลกอฮอล์ แล้วขับหรือขี่ จึงนับเป็นอีกหนึ่งสาเหตุสำคัญของการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน โดยเฉพาะ 5 ปีที่ผ่านมาในช่วงเทศกาลปีใหม่ มีผู้ขับขี่ที่บาดเจ็บหรือเสียชีวิตไปกว่า 30,000 ราย สร้างความสูญเสียและความโศกเศร้าไปมากพอแล้ว…
ในช่วงปีใหม่นี้ สสส. และ ภาคีเครือข่าย จึงอยากขอชวนคนไทย “ ดื่มไม่ขับ ” รู้เท่าทันอันตรายของแอลกอฮอล์ที่มีต่อสมอง และการขับขี่ เพื่อที่จะได้กลับไปหาคนที่รักถึงบ้านอย่างปลอดภัย
กดติดตามข้อมูลข่าวสาร แคมเปญที่น่าสนใจ และกิจกรรมดีๆ จาก สสส เพิ่มเติมได้ที่ :
Facebook : Social Marketing Thaihealth by สสส.
Line : @thaihealththailand
Tiktok : @thaihealth
Youtube : SocialMarketingTH
Website : Social Marketing การตลาดเพื่อสังคม
[Advertorial]
BR - Business Review : กระทู้นี้เป็นกระทู้รีวิวจากผู้สนับสนุน