ฝ่ายนิติบัญญัติมาจากวิธีการเลือกตั้งโดยประชาชนตามรัฐธรรมนูญ และฝ่ายนิติบัญญัติมีอำนาจในการเลือกนายกรัฐมาตรี มีอำนาจในการบัญญัติกฎหมาย มีอำนาจในการพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปีแก่ฝ่ายบริหาร ซึ่งเป็นวิธีการถ่วงดุลอำนาจฝ่ายบริหารให้เป็นไปตามความต้องการของประชาชน (หรือตัวแทนประชาชน) แต่หากฝ่ายนิติบัญญัติออกกฎหมายที่ทำให้ประเทศชาติเสียหาย ฝ่ายบริหารก็มีอำนาจในการยุบสภาเพื่อคืนอำนาจให้แก่ประชาชน ถือได้ว่าเป็นการถ่วงดุลอำนาจนิติบัญญัติและอำนาจบริหาร ตามพื้นฐานการปกครองโดยระบอบประชาธิปไตย
แต่หากประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศสนใจเพียงผลประโยชน์เฉพาะหน้า อย่างเช่น นโยบายประชานิยมต่างๆ ซึ่งอำนาจในการออกนโยบายเหล่านี้มาจากอำนาจพรรคการเมือง ซึ่งมีผลให้ตัวแทนประชาชนทั้ง สส. และ สว. ที่เข้ามาในวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร หรือเข้ามามีอำนาจนิติบัญญัติส่วนใหญ่มาจากอำนาจพรรคการเมืองที่ออกนโยบายนั้นๆ
หากเป็นดังนี้ อำนาจที่แท้จริงของอำนาจนิติบัญญัติคืออำนาจพรรคการเมือง และหากนโยบายประชานิยมๆนั้น เป็นประโยชน์ต่อประชาชนโดยส่วนรวมจริงๆ แต่เป็นเพียงผลประโยชน์ในระยะสั้นหรือเฉพาะหน้า และประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศเห็นแก่ตัว ต้องการเพียงผลประโยชน์เฉพาะหน้าแล้วโดยไม่สนใจผลประโยชน์ของประเทศชาติในอนาคตแล้ว ประเทศชาติในระยะยาวจะเป็นอย่างไรครับ
ที่มาของอำนาจนิติบัญญติ อำนาจพรรคการเมือง และผลประโยชน์ในระยะยาวของประเทศ
แต่หากประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศสนใจเพียงผลประโยชน์เฉพาะหน้า อย่างเช่น นโยบายประชานิยมต่างๆ ซึ่งอำนาจในการออกนโยบายเหล่านี้มาจากอำนาจพรรคการเมือง ซึ่งมีผลให้ตัวแทนประชาชนทั้ง สส. และ สว. ที่เข้ามาในวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร หรือเข้ามามีอำนาจนิติบัญญัติส่วนใหญ่มาจากอำนาจพรรคการเมืองที่ออกนโยบายนั้นๆ
หากเป็นดังนี้ อำนาจที่แท้จริงของอำนาจนิติบัญญัติคืออำนาจพรรคการเมือง และหากนโยบายประชานิยมๆนั้น เป็นประโยชน์ต่อประชาชนโดยส่วนรวมจริงๆ แต่เป็นเพียงผลประโยชน์ในระยะสั้นหรือเฉพาะหน้า และประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศเห็นแก่ตัว ต้องการเพียงผลประโยชน์เฉพาะหน้าแล้วโดยไม่สนใจผลประโยชน์ของประเทศชาติในอนาคตแล้ว ประเทศชาติในระยะยาวจะเป็นอย่างไรครับ