สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 8
ขึ้นอยู่กับ
1. ความลึกของแผลไฟไหม้
- 1st Degree / Superficial burn ถึงแค่ชั้นหนังกำพร้า (epidermis)
- 2nd Degree มีการโดนทำลายของชั้นหนังแท้บางส่วน
- 3rd Degree (Full Thickness) หนังกำพร้า หนังแท้ ไปหมดเลย
- 4th Degree อันนี้ทั้งหนังทั้งกล้ามเนื้อทั้งกระดูกก็โดนไหม้หมด
2. พื้นที่ของแผลไหม้ (Total Body Surface Area : TBSA)
ในการถูกไฟไหม้นั้น ความร้อนจะทำให้เซลล์ตายได้ และตามมาด้วยการอักเสบตามมาอีกหลายขั้นตอน และทำให้ทั้งร่างกายอยู่ในภาวะ Stress
เนื่องจากผิวหนังมีหน้าที่
- ปกป้องร่างกายจากการสูญเสียความชื้น ความชื้นมาจากน้ำในร่างกายนั่นเอง ดังนั้นในผู้ป่วยไฟไหม้เราก็จะเสียความชื้นได้ง่ายขึ้น นั่นแปลว่าร่างกายจะสูญเสียน้ำอยู่เรื่อยๆ จนไม่สามารถควบคุมปริมาณน้ำในร่างกาย (ซึ่งเลือดส่วนหนึ่งก็คือน้ำ) และทำให้อวัยวะสำคัญๆ ขาดเลือดได้ ร่วมกับมีภาวะเกลือแร่ในร่างกายไม่สมดุล
- ควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย
- ป้องกันการติดเชื้อ
เนื่องจากการรักษาแผลไฟไหม้ ยิ่งรุนแรงมากก็ต้องนอนโรงพยาบาลกันยาวๆ ดังนั้นก็มีโอกาสติดเชื้อได้ง่ายขึ้นพอสมควร ร่วมกับมีภาวะเสียน้ำ ขาดอาหาร ฯลฯ ร่างกายก็ไม่มีปัญญาไปสู้กับเชื้อ (ที่มักจะรุนแรงซะด้วยสิ.. ) ไม่เฉพาะแค่ที่ผิวหนัง เนื่องจากร่างกายไม่มีปัญญาไปสู้กับเชื้อ (ไม่ว่าจะที่ไหน) ก็อาจจะติดเชื้อที่ปอด ทางเดินปัสสาวะ และอาจตามมาด้วยติดเชื้อในเลือดได้
สรุปก็คือ
โอกาสการรอดชีวิตขึ้นอยู่กับ พื้นที่ผิว, ความลึกของแผล, ตัวผู้ป่วยเอง (อายุ/โรคประจำตัว ฯลฯ), ศักยภาพของโรงพยาบาลด้วย (ถ้าของเมืองนอก Burn 70-80% ก็รอดได้ครับ)
1. ความลึกของแผลไฟไหม้
- 1st Degree / Superficial burn ถึงแค่ชั้นหนังกำพร้า (epidermis)
- 2nd Degree มีการโดนทำลายของชั้นหนังแท้บางส่วน
- 3rd Degree (Full Thickness) หนังกำพร้า หนังแท้ ไปหมดเลย
- 4th Degree อันนี้ทั้งหนังทั้งกล้ามเนื้อทั้งกระดูกก็โดนไหม้หมด
2. พื้นที่ของแผลไหม้ (Total Body Surface Area : TBSA)
ในการถูกไฟไหม้นั้น ความร้อนจะทำให้เซลล์ตายได้ และตามมาด้วยการอักเสบตามมาอีกหลายขั้นตอน และทำให้ทั้งร่างกายอยู่ในภาวะ Stress
เนื่องจากผิวหนังมีหน้าที่
- ปกป้องร่างกายจากการสูญเสียความชื้น ความชื้นมาจากน้ำในร่างกายนั่นเอง ดังนั้นในผู้ป่วยไฟไหม้เราก็จะเสียความชื้นได้ง่ายขึ้น นั่นแปลว่าร่างกายจะสูญเสียน้ำอยู่เรื่อยๆ จนไม่สามารถควบคุมปริมาณน้ำในร่างกาย (ซึ่งเลือดส่วนหนึ่งก็คือน้ำ) และทำให้อวัยวะสำคัญๆ ขาดเลือดได้ ร่วมกับมีภาวะเกลือแร่ในร่างกายไม่สมดุล
- ควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย
- ป้องกันการติดเชื้อ
เนื่องจากการรักษาแผลไฟไหม้ ยิ่งรุนแรงมากก็ต้องนอนโรงพยาบาลกันยาวๆ ดังนั้นก็มีโอกาสติดเชื้อได้ง่ายขึ้นพอสมควร ร่วมกับมีภาวะเสียน้ำ ขาดอาหาร ฯลฯ ร่างกายก็ไม่มีปัญญาไปสู้กับเชื้อ (ที่มักจะรุนแรงซะด้วยสิ.. ) ไม่เฉพาะแค่ที่ผิวหนัง เนื่องจากร่างกายไม่มีปัญญาไปสู้กับเชื้อ (ไม่ว่าจะที่ไหน) ก็อาจจะติดเชื้อที่ปอด ทางเดินปัสสาวะ และอาจตามมาด้วยติดเชื้อในเลือดได้
สรุปก็คือ
โอกาสการรอดชีวิตขึ้นอยู่กับ พื้นที่ผิว, ความลึกของแผล, ตัวผู้ป่วยเอง (อายุ/โรคประจำตัว ฯลฯ), ศักยภาพของโรงพยาบาลด้วย (ถ้าของเมืองนอก Burn 70-80% ก็รอดได้ครับ)
แสดงความคิดเห็น
ทำไมคนไข้ทีไฟลวกถ้าเกิน 50% เช่น 70% ถึงไม่รอดอะครับ